เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)
วันที่เขียน 4/9/2567 15:06:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/9/2567 6:33:33
เปิดอ่าน: 56 ครั้ง

การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2567 (CRCI2024)

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 10   ประจำปี 2567 (CRCI2024)  สรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับจากการฟังบรรยายพิเศษ หัวข้อ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับการขับเคลื่อน Appropriate Technology เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย ดังนี้

Appropriate Technology (เทคโนโลยีที่เหมาะสม) หมายถึง องค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่มีอยู่เดิม ซึ่งได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับแล้วว่าใช้ได้ดี มีราคาที่เหมาะสมเข้าถึงได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง สามารถขยายผลและสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยลักษณะโครงการวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีดังนี้

  1. โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับผลิตภาพหรือกำลังการผลิต หรือส่งเสริมอาชีพผลิตภัณฑ์หรือบริการทางเศรษฐกิจของประชาชนหรือวิสาหกิจในท้องถิ่นหรือชุมชน
  2. โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นหรือชุมชนหรือเพื่อช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพ เด็ก ผู้สูงวัย หรือกลุ่มเปราะบางอื่น
  3. โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน หรือเพื่อสงวนรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม องค์ความรู้พื้นถิ่น หรือวัฒนธรรมของชุมชนหรือประชาชน
  4. โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่อยู่แล้ว ทั้งที่เป็นสาธารณะและมีเจ้าของจากแหล่งข้อมูลภายในประเทศและต่างประเทศ และสำรวจความต้องการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่ต่างๆ
  5. โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่เดิมมาพัฒนา ปรับปรุง ต่อยอด ลดต้นทุนการผลิต หรือขยายผลจากต้นแบบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงผลงานนั้นได้อย่างทั่วถึงในราคามี่เหมาะสม
  6. โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังข้อมูลและแฟลต์ฟอร์มเทคโนโลยีที่เหมาะสมหรือนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปเผยแพร่ และถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม และผู้ประกอบการรายย่อย
  7. โครงการส่งเสริมการก่อตั้งศูนย์เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้ชุมชนหรือประชาชนในพื้นที่เข้าถึงโดยคิดค่าบริการที่เหมาะสม
  8. โครงการอื่นที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม

ในปี ค.ศ. 2003 Barrett H., and Christopher B. (2003) ได้กำหนดลักษณะ และเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไว้เป็นแนวทาง 4 ลักษณะ ดังนี้

  1. การออกแบบที่เรียบง่าย (Minimalist design) จะมีการออกแบบที่เรียบง่าย และง่ายต่อการใช้งาน แต่ไม่จำเป็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะง่ายไปด้วย เทคโนโลยีที่เหมาะสมหลายอย่างเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงได้ด้วย
  2. ผลิตได้ง่าย (Easy to manufacture) เพื่อหลีกเลี่ยงทักษะการผลิตมีราคาถูก ไม่ใช้เงินทุนมากเพื่อลดต้นทุนในการนำไปใช้งาน
  3. แก้ปัญหาสังคม (Solving social problems) เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองของชุมชนเป็นอย่างมากจึงเป็นเหตุผลที่เทคโนโลยีที่เหมาะสมมักมีขนาดเล็กที่คนในชุมชนสามารถนำ ไปบริหารจัดการด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่เหมาะสมหลายอย่างที่เป็นเทคโนโลยีในระดับใหญ่
  4. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental friendly) เทคโนโลยีที่เหมาะสมเน้นการนำ ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้น้อยที่สุดและส่งผลกระทบในแง่ลบต่อสิ่งแวดล้อม ให้น้อยที่สุดมุ่งเน้นไปที่การใช้งานพลังงานหมุนเวียน

จากนิยาม แนวคิดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการประเมินระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Appropriate Technology Level: ATL) ที่เหมาะสมให้ทราบว่าระดับของเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพอยู่ในระดับใด เพื่อผลักดันให้ผลงานวิจัยมีคุณภาพทั้งในเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และพร้อมนำ ไปใช้ประโยชน์ ได้จริงในเชิงพาณิชย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ระดับการประเมินเทคโนโลยีที่เหมาะสม แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ATL_A, ATL_B, ATL_C และ ATL_D ซึ่งเทียบเคียงกับ Technology Readiness Level หรือระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

อย่างไรก็ตาม ในการนำเทคโนโลยีถ่ายทอดต่อชุมชนหรือพื้นที่ควรมีการประเมินระดับความพร้อมของความรู้และเทคโนโลยีทางด้านสังคม (Societal Readiness Level หรือ SRL) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อการออกแบบ Technology Transfer ในการสร้างการรยอมรับปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเหตุ : รายละเอียดขั้นตอนการประเมิน เกณฑ์การประเมิน และแบบประเมิน สามารถศึกษาได้จาก คู่มือการประเมินระดับเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate technology level, ATL) ISBN: 978-616-8337-18-9 และ ตัวอย่างแพลตฟอร์มบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อสังคมเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สามารถเข้าถึงได้จากช่องทาง https://rinmp.com/

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
เข้าร่วมโครงการ » สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ หลักสูตร Data Science
Data Science เป็นสาขาที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญในโลกธุรกิจและการวิจัย การเข้าใจแนวคิดและเทคนิคพื้นฐาน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง และการสื่อสารผลลัพธ์ จะช่วยให้สามาร...
Big Data  Data Analysis  Data Visualization  Machine Learning  Statistics     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน จีรวรรณ พัชรประกิติ  วันที่เขียน 7/9/2567 5:45:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/9/2567 6:32:04   เปิดอ่าน 113  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง