|
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
»
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
|
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน"
การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารกับเรา ในบทความนี้จึงจะขอนำเสนอเทคนิคการฟังแบบ Active มีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้ครับ
1. นกแก้ว: ลักษณะเด่นของนกแก้ว คือ สามารถเลียนแบบเสียงต่างๆ ได้ เวลาสนทนาเราลองเป็นนกแก้วดูครับ เค้าพูดอะไรกับเราให้ลองทวนคำพูดที่เค้าพูดออกมา เป็นการบอกว่าเราได้ยินสิ่งที่เค้าพูดแล้วนะ ถ้าเราสามารถทวนคำพูดได้แสดงว่าเราฟังอย่างตั้งใจ
2. ฟองน้ำ: มีลักษณะที่นุ่มนวลและซึมซับสิ่งที่อยู่รอบข้างได้เป็นอย่างดี เมื่อเราเป็นคู่สนทนาที่มีลักษณะแบบฟองน้ำเราจะใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล ท่าทางที่เป็นมิตร ภาษาที่ไพเราะ แล้วรับฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสาร โดยไม่ขัดจังหวะ การยิ้ม การสบตา การโน้มตัวเข้าหาผู้พูด ก็เป็นท่าทางที่ดีที่แสดงออกว่าเรากำลังฟัง
3. ลูกหมา: ลูกหมามีความอยากรู้อยากเห็น ในบางการสนทนา เราอาจถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังคุย หากคำถามนั้นช่วยให้สิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อชัดเจนมากขึ้น ที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าเราให้ความสนใจกับคำพูดของเขา
ลองฟังแบบนกแก้ว ฟองน้ำและลูกหมา ดูไหมครับ บางทีเราอาจจะได้ยินสิ่งที่เราได้ฟังมาตลอดก็ได้
//ถอดประสบการณ์การอบรม Design thinking: Gain empathy//
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
เรื่องทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3240
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
พูนพัฒน์ พูนน้อย
วันที่เขียน
6/9/2562 16:49:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 12:05:12
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
งานด้านการต่างประเทศ
»
มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับความจำเป็นในการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ
|
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะต้องตั้งขึ้นตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มหาวิทยาลัยได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 ซึ่งได้แก่ความเป็นนานาชาติ หากมีการจัดตั้งควรจะมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขในระดับสากลสู่ประชาคมโลก
2. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาที่เป็นความต้องการมีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพได้ทั้งในและต่างประเทศ
3. เพื่อสร้างหลักสูตรการศึกษาระดับนานาชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
4. เพื่อสร้างงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
5. สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม ด้านการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน แก่ชุมชน และประชาคมโลก
6. เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบริหารจัดการ(One- stop service center) ด้านการต่างประเทศ
หากมีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เราจะเห็นได้ถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน คือ บัณฑิตมีความเป็นนานาชาติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก เพิ่มอันดับมหาวิทยาลัยจากการจัดอันดับโลกให้สูงขึ้น เนื่องจากคะแนนกว่าร้อยละ 50 ขึ้นกับความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยที่คนเกิดลดลง จำนวนนักศึกษาไทยมีแนวโน้มลดลง จึงต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาจากต่างประเทศให้มากขึ้น เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งมีทุนจำนวนมากจำเพาะให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น และส่งเสริมบรรยากาศความเป็นนานาชาติภายในมหาวิทยาลัย และส่งเสริมศักยภาพด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้น
|
คำสำคัญ :
ความเป็นนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติ
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
เรื่องทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3762
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
รัชชุพงษ์ ถมวัฒนศิลป์
วันที่เขียน
27/3/2560 8:59:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 15:40:55
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|