การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยเป็นกระบวนการสำคัญในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและมาตรฐานสากล กระบวนการนี้รวมถึงการประเมินคุณภาพของหลักสูตร ความสามารถของบุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก และการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้กรอบมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ AUN-QA ซึ่งเน้นให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และจริยธรรม แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในอนาคตมุ่งเน้นการปรับปรุงหลักสูตรและการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินคุณภาพและเทคโนโลยีเพื่อให้บัณฑิตพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน
จากการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (CLOs) ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) ได้เน้นถึงความสำคัญของการใช้หลักการการศึกษาที่มีโครงสร้างและความเชื่อมโยงระหว่างระดับต่าง ๆ ของการเรียนรู้ การกำหนด CLOs ที่เชื่อมโยงกับ PLOs ช่วยให้หลักสูตรมีความเป็นระบบ โดยมีการวิเคราะห์ K-S-A (Knowledge, Skill, Attitude) เพื่อช่วยให้การเขียนของทุกวิชามีเป้าหมายชัดเจนและตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ใช้บัณฑิต สถานประกอบการ และสถาบันการศึกษา
การออกแบบ CLOs ให้สอดคล้องกับ PLOs มีการใช้ Bloom’s Taxonomy ซึ่งแบ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสามด้านหลัก ได้แก่ พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ที่เกี่ยวข้องกับความรู้และการคิดวิเคราะห์, จิตพิสัย (Affective Domain) ที่เกี่ยวกับทัศนคติและค่านิยม, และทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ซึ่งเน้นที่ทักษะการปฏิบัติ นอกจากนี้ Bloom’s Taxonomy ยังจัดระดับการเรียนรู้เป็นขั้น ๆ ไล่ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงขั้นสูงสุด เช่น ความจำ (Remembering), ความเข้าใจ (Understanding), การนำไปใช้ (Applying), การวิเคราะห์ (Analyzing), การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating) รายละเอียดของ Bloom’s Taxonomy สามารถดูได้จากลิงก์ 1) Bloom’s Taxonomy of Learning Domains (https://drive.google.com/file/d/16URSpSnD3B_RBMMqZ2EPZxCYD7rN3TBH/view)
2) Revised Bloom’s Taxonomy All Domains (https://drive.google.com/file/d/1-uELNJubUxbR8r_kJnlFcoMem7RupP7x/view)
การใช้ Bloom’s Taxonomy ในการกำหนด CLOs ช่วยให้อาจารย์สามารถระบุเป้าหมายการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับระดับความรู้และทักษะที่คาดหวังในแต่ละรายวิชาได้อย่างชัดเจนและวัดผลได้อย่างเหมาะสม เช่น หากรายวิชาต้องการให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ การกำหนด CLOs ควรอยู่ในระดับ Analyzing หรือ Applying ซึ่งจะช่วยให้การออกแบบการสอนและการประเมินมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
|
จากการเข้าร่วมอบรม โครงการพัฒนาการสนับสนุนด้านงานคลังและพัสดุเพื่อการบริหารงบประมาณ เรื่อง การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ที่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ ดังนี้
1. กระบวนการขออนุมัติ คู่มือขั้นตอนในการขออนุมัติโครงการ (เช่น อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ) และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณ การดำเนินโครงการ และการรายงานการเงิน
2. ประเภทค่าใช้จ่าย รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่สามารถเบิกได้ เช่น วัสดุการฝึกอบรม ประกาศนียบัตร ค่าเช่าอุปกรณ์ และค่าเดินทาง
3. กระบวนการงบประมาณ วิธีการรายงานและขอเบิกค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการประเภทต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม บริการวิชาการ และกิจกรรมที่ไม่ใช่การฝึกอบรม
4. ระเบียบมหาวิทยาลัยใหม่ การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านงบประมาณที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ รวมถึงระเบียบการจัดซื้อ การรายงาน และมาตรการประหยัดค่าใช้จ่าย
5. ข้อกำหนดด้านเอกสาร คำแนะนำในการจัดเตรียมและส่งเอกสารทางการเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงินและหลักฐานการเบิกจ่ายตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย
ความรู้ที่ได้รับจากโครงการสามารถใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. การบริหารจัดการการเงินที่ดีขึ้น การนำกระบวนการทางการเงินใหม่มาปรับใช้ ช่วยให้สามารถจัดการงบประมาณสำหรับโครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. การดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความรู้เกี่ยวกับประเภทค่าใช้จ่ายและกระบวนการอนุมัติที่ชัดเจน ช่วยให้การจัดเตรียมเอกสารทางการเงินเป็นไปได้รวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ทำให้การบริหารโครงการเป็นไปอย่างราบรื่น
3. การปฏิบัติตามระเบียบ การเข้าใจกฎระเบียบใหม่ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินของโครงการทั้งหมดมีการบันทึกอย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบหรือการจัดการงบประมาณที่ผิดพลาด
|
การอบรมเรื่อง "การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการวิจัยและนวัตกรรมด้วย AI" จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการใช้ AI ในกระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะการใช้ AI ที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการดำเนินงานวิจัย ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพได้ในระยะเวลาที่สั้นลง
เครื่องมือ AI ที่ถูกนำเสนอในการอบรม ได้แก่ ChatGPT ซึ่งเป็นระบบ AI ประเภท Large Language Model (LLM) ที่ได้รับการพัฒนาโดย OpenAI โดย ChatGPT สามารถใช้ในการโต้ตอบ ตอบคำถาม และช่วยเหลือในการดำเนินงานวิจัยในหลายด้าน ตั้งแต่การให้ข้อมูล การแก้โจทย์ปัญหา ไปจนถึงการช่วยสร้างสรรค์งานวิชาการ การใช้งาน ChatGPT สามารถช่วยลดภาระงานที่ซับซ้อน เช่น การเขียน Paraphrase การตรวจสอบ Plagiarism การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานวิจัย และการสร้างบทคัดย่อ ซึ่งทำให้การทำงานของนักวิจัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
AI ยังสามารถช่วยนักวิจัยในการค้นหาข้อมูลทางวิชาการจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการสรุปเนื้อหาสำคัญจากงานวิจัย การสร้างหัวข้อวิจัยใหม่ การตรวจสอบช่องว่างในงานวิจัยเก่า และการออกแบบการทดลองหรือวิธีวิจัยที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการนำ AI มาใช้ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผ่านการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ต่างๆ เช่น ChatGPT, Claude หรือ RapidMiner ซึ่งสามารถช่วยในการจัดการข้อมูล เช่น การทำ Data Cleaning การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐาน หรือการทดสอบทางสถิติต่างๆ
ในการเขียนรายงานและบทความวิชาการ AI ยังช่วยให้การจัดรูปแบบรายงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำรายการอ้างอิง การสร้างบทคัดย่อ การเขียนข้อเสนอแนะ การแปลงงานวิจัยให้เป็นบทความวิจัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานของวารสารต่างๆ นอกจากนี้ AI ยังสามารถช่วยแปลภาษาหรือแปลงข้อมูลจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งอย่างรวดเร็ว และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาที่แปลได้อีกด้วย
แม้ว่า AI จะมีประสิทธิภาพสูงและมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการวิจัย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่นักวิจัยต้องระมัดระวัง เช่น การมีอคติในข้อมูล (Bias) ความไม่แม่นยำในบางกรณี และความเสี่ยงในการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ การใช้ AI ในงานวิจัยยังต้องคำนึงถึงข้อจำกัดทางด้านจริยธรรมและกฎหมาย นักวิจัยจึงควรตรวจสอบผลลัพธ์จาก AI อย่างรอบคอบ และใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยเหลือมากกว่าการพึ่งพาเต็มที่ในการทำงาน ดังนั้น การใช้ AI ในงานวิจัยสามารถเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพได้อย่างมาก แต่ต้องใช้อย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ
|
การนำไปใช้ประโยชน์จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (backward design)
Backward design เป็นกระบวนการวางการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้และการประเมินก่อนจากนั้นจึงจัดระเบียบเนื้อหาการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ในลำดับที่เหมาะสมในขั้นตอนถัดไป ขั้นตอนหลักในการใช้วิธี Backward design รวมถึงดังนี้:
1. กำหนดผลการเรียนรู้: ในขั้นตอนแรก ผู้สอนต้องกำหนดผลการเรียนรู้ คือสิ่งที่นักเรียนควรเรียนรู้และทำเมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ควรจะเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนและบ่งบอกถึงความเข้าใจและทักษะที่นักเรียนควรพัฒนา
2. กำหนดวิธีการประเมิน: หลังจากกำหนดผลการเรียนรู้ ผู้สอนควรกำหนดวิธีการประเมินที่จะใช้เพื่อวัดความสำเร็จในการบรรลุผลนั้น
3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้: ผู้สอนจะกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้และกิจกรรมที่จะช่วยให้นักเรียนบรรลุผลการเรียนรู้และเตรียมพร้อมสำหรับการประเมิน การออกแบบนี้ควรเน้นการเรียนรู้ที่มีความหมายและสอดคล้องกับผลการเรียนรู้
4. การสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้: ผู้สอนจะทำการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อให้นักเรียนสามารถบรรลุผลการเรียนรู้
5. การประเมินความสำเร็จ: ผู้สอนจะใช้วิธีการประเมินที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 2 เพื่อวัดความสำเร็จของนักเรียนในการบรรลุผลการเรียนรู้ การประเมินจะช่วยให้ผู้สอนปรับปรุงกระบวนการสอนในอนาคต
backward design จึงเป็นวิธีการวางแผนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผลการเรียนรู้และการประเมินก่อนจากการกำหนดเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้วิธีนี้ช่วยให้การสอนมีความความสอดคล้องและมี
ประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้น
|
ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 กําหนดให้หน่วยงานที่มีการนําเข้า ส่งออก ขายนําผ่าน ผลิตหรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องจัดให้มีผู้ดําเนินการ เพื่อทําหน้าที่ควบคุมดูแลกิจกรรม และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเพื่อทําหน้าที่ดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ทั้งนี้ผู้ดําเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ดําเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 ซึ่งกําหนดให้ต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งหรือวันที่ได้รับใบอนุญาตและให้ได้รับการอบรมซ้ำอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
ผู้ดําเนินการ หรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการที่ต้องดําเนินงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรมหรือมีการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558โดยใช้หลักสูตรอบรมของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศรับรองโดยหลักสูตรประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ โดยมีสาระสําคัญ ได้แก่ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยการทําลายและการขนส่งเชื้อโรค การจัดการขยะติดเชื้อ และการจัดการสารชีวภาพรั่วไหล
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในมาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ รวมถึงพัฒนาทักษะการดําเนินการตามหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
และเพื่อให้มีความเข้าใจกฎระเบียบ หลักการและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อป้องกันอันตรายและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และทราบแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพรวมถึงปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเอง ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
การอบรมเรื่อง ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) นี้สามารถเข้าร่วมอบรมได้ตามมหาวิทยาลัยหลายแห่งโดยมีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศรับรอง
|
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นงานประชุมวิชาการที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ วิจัย และ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สำหรับบุคลากร อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และผู้ที่สนใจ ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ความคิดเห็น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเพื่อนำไปร้างคุณค่าและพัฒนาต่อยอดไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้นเป็นโอกาสที่นักวิจัยและผู้ที่ทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องจะมาแบ่งปันความรู้ ผลงานวิจัย และความคิดใหม่ ๆ ซึ่งสร้างการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากกันและกันได้ ทำให้ได้รับข้อมูลการพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งช่วยในการเรียนรู้และปรับปรุงทักษะ สร้างเครือข่ายกับนักวิจัย ที่สามารถเป็นประโยชน์ในการร่วมงานในอนาคต ประสบการณ์ที่ได้รับจากงานประชุมสามารถนำกลับมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือในโครงการวิจัยได้
สำหรับ Proceeding book สามารถอ่านได้จาก https://sciencebase.mju.ac.th/CSTI2023/
|
ChatGPT คือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาโดย OpenAI เป็นแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานโดยการเรียนรู้จากข้อมูลที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต ระบบ ChatGPT ถูกฝึกให้สามารถเข้าใจและตอบคำถามของผู้ใช้อย่างมีความเข้าใจและครบถ้วน ซึ่งมีความสามารถในการสนทนาและให้ข้อมูลต่าง ๆ ตามคำถามหรือคำขอที่ผู้ใช้ส่งเข้ามา โดย ChatGPT สามารถใช้ในหลายประเภทของการประยุกต์ใช้ ในด้านการศึกษา Chat GPT ช่วยในการให้คำอธิบาย คำแนะนำการเรียน การทำแบบฝึกหัด การเขียนเนื้อหา และการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็วและสะดวก ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ของผู้ใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและกระชับมากขึ้นในหลายด้านของการศึกษาและการเรียนรู้
การเริ่มใช้ ChatGPT สามารถทำตามขั้นตอนดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน: ChatGPT มีหลายรูปแบบในการใช้งาน เช่น เว็บไซต์ออนไลน์
2. ลงทะเบียนหรือเข้าสู่ระบบ: ลงทะเบียนหรือเข้าสู่ระบบก่อนที่จะเริ่มใช้งาน ChatGPT ให้ทำตามขั้นตอนที่ระบบกำหนด
3. รับคำถามหรือป้อนคำถาม: หลังจากเข้าสู่ระบบแล้ว สามารถพิมพ์หรือสร้างคำถามหรือข้อความที่ต้องการจาก ChatGPT
4. รอรับคำตอบ: ChatGPT จะประมวลผลคำถามและสร้างคำตอบ
5. ตรวจสอบคำตอบ: หลังจากที่ได้รับคำตอบจาก ChatGPT ควรตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของข้อมูลที่ได้รับ
|
ISO 22000:2005 เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยอาหารอีกตัวหนึ่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจกรรมในอุตสาหกรรมอาหารโดยตรง รวมถึงความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อาหาร ตัวมาตรฐาน ISO 22000 จะครอบคลุมข้อกำหนดทั้ง GMP, HACCP รวมถึงข้อกำหนดที่สำคัญภายในระบบการจัดการขององค์กร มาตรฐานมุ้งเน้นไปที่ผู้ประกอบการให้รักษาความปลอดภัยของอาหารที่มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะเป็นการรวมข้อกำหนดจากมาตรฐานต่างๆ ที่นำมาใช้ในปัจจุบัน เป็นตัวช่วยให้เกิดความปลอดภัยตลอดเส้นทางของห่วงโซ่อาหาร มีการควบคุมอันตรายร่วมอยู่ด้วย ทุกขั้นตอนจะมีการตรวจสอบอย่างถูกต้อง โดยจะนำเอาข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกรายมาทำการพิจารณา เพื่อให้เกิดความถูกต้องกับความต้องการของลูกค้า มาตรฐานของ ISO 22000 จะเน้นเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหารที่ถูกผลิตในอุตสาหกรรมโลก ซึ่งจะเป็นอาหารที่ถูกผลิตขึ้นในปริมาณมากๆ มีขั้นตอนที่ซับซ้อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ถูกยกขึ้นมาให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารมากขึ้น และคาดหวังว่าเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐและผู้ผลิตอาหารจะช่วยดูแลสุขภาพของประชาชนได้ ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นสิ่งท้าทายสำหรับผู้ประกอบอาการอาหารเป้นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผนเพื่อสร้างความปลอดภัยที่รับประกันได้ในกระบวนการ Supply chain อันซับซ้อน ในการนำระบบมาตรฐานอาหาร ISO 22000:2018 มาใช้สำหรับอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐาน (prerequisite program) ที่ดี เพราะสามารถนำมาใช้ควบคุมการปฏิบัติงานในโรงงาน ความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับอาหาร โปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐานต้องเหมาะสมกับองค์กรและบริบทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหาร เหมาะสมขนาดชนิด และลักษณะธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต การประเมินอันตรายต้องมีเกณฑ์ในการประเมินที่แน่นอนชัดเจน เช่น การใช้คำถามและจะประเมินความเสี่ยงออกมา 3 ระดับ คือ ความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง และสูง หลังจากประเมินความเสี่ยงแล้ว ทำการควบคุมความเสี่ยงนั้น ๆ โดยต้องมีมาตรการอย่างเป็นระบบ สามารถวัดผลได้ มีการเฝ้าระวัง การตรวจติดตามเพื่อตรวจสอบ
|
จากงานประชุมวิชาการ the 6th Burapha University International Conference 2017 ได้มีการรับฟัง เสวนา และการนำเสนองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ งานวิจัยเรื่องการใช้สมุนไพรเป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจเพราะการใช้สมุนไพรเป็นความรู้ภูมิปัญญาของไทยมาตั้งแต่โบราณ ผู้คนทุกระดับสามารถเข้าถึงการใช้ชนิดนี้ได้ การใช้สมุนไพรอย่างปลอดภัยจึงมีความสำคัญมาก สมุนไพรที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่ามีปัญหาการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์อยู่มาก ทำให้สินค้าสมุนไพรไม่ได้มาตรฐาน วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการปนเปื้อนโดยไม่มีสารตกค้างคือการใช้รังสี มีงานวิจัยจากสถาบันนิวเคลียร์แห่งชาติได้ทดสอบการใช้อิเล็คตรอนบีมมาลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ โดยใช้ความแรงของอิเล็คตรอนบีมในระดับต่างๆ พบว่า เมื่อใช้อิเล็คตรอนบีม 20 กิโลเกรย์สามารถลดการปนเปื้อนของจุลลินทรีย์ได้เป็นที่น่าพอใจ และไม่ทำให้คุณค่าของสารสำคัญที่มีในสมุนไพรนั้นหายไป แต่ลักษณะทางกายภาพบางอย่าง (สี) ของสมุนไพรนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย การใช้อิเล็คตรอนบีมจึงเป็นอีกวิธีที่น่าสนใจสำหรับนักวิจัย ผู้ผลิตสินค้าเกี่ยวกับสมุนไพร ผู้นำเข้าและส่งออก เป็นต้น
|
การศึกษาแพทย์แผนไทยประกอบด้วย 4 วิชาหลัก ได้แก่ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย และหัตถการไทย เป็นการอบรมที่เน้นการบรรยายและปฏิบัติการ ความรู้จากการอบรมนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง สมุนไพรเพื่อบำรุงสุขภาพและรักษาโรค การเรียนรู้ชนิดของพืชสมุนไพร ตำรับยาจากคัมภีร์ต่างๆ เป็นศาสตร์ที่เป็นองค์ความรู้ของแผ่นดิน แต่ความรู้เหล่านี้ยังต้องการการพิสูจน์ด้วยวิธีการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ความรู้จากการแพทย์แผนไทยและวิทยาศาสตร์ปัจจุบันจึงยังเป็นศาสตร์ที่ต้องการการศึกษาเพื่อเชื่อมโยงอยู่อีกมาก นอกจากนี้แล้วพืชพรรณต่างๆที่มีความสำคัญในทางการแพทย์ยังน่าส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบครบวงจร เช่น การปลูก การบำรุงดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การแปรรูป และการจัดจำหน่าย
|
|