สรุปสาระ จากการฟังบรรยาย "ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายของนักไอที" โดย รองศาสตราจารย์ ภู่วรวรรณ สู่การต่อยอดด้านแผน ICT
วันที่เขียน 5/7/2557 6:52:25     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:56:05
เปิดอ่าน: 9037 ครั้ง

ณ วันนี้ เทคโนโลยีอุบัติใหม่ทำให้การใช้ชีวิตในรูปแบบ Digital Ecology System and Digital culture ก่อให้เกิดรูปแบบการศึกษาแบบกลับด้าน แผนทางด้าน ICT ของมหาวิทยาลัย จึงต้องปรับให้สนับสนุนและรองรับความท้าทายใหม่นี้

เมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม 2557 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศได้จัดโครงการบรรยายเรื่อง "ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายของนักไอที" โดย รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มสมรรถนะแห่งการรู้เท่าทันการเปลี่ยนเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคที่มีเทคโนโลยีอุบัติใหม่เกิดขึ้นมากมาย และมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ การทำงาน ทั้งต่อตัวบุคคล และสังคม ซึ่งเป็นความท้าทายต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงาน ของสังคมปัจจุบัน

 

       ซึ่งจากการได้เข้าฟังบรรยายครั้งนี้ ก่อนอื่นต้องขอสรุปที่ได้มา เฉพาะที่รับมาได้ ก่อนนะคะ เพราะรศ. ยืน ภู่วรวรรณ เป็นผู้มีความรู้มากมาย มีแนวคิดที่ทันสมัย เป็นปรมาจารย์ด้าน IT หากท่านใดมีเพิ่มเติมสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้คะ          

       คำสำคัญของการบรรยายในครั้งนี้คือนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอุบัติใหม่และรูปแบบการศึกษาแบบกลับด้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 เป็นเทคโนโลยีที่ยุคก่อนยังไม่เคยมี เช่น SmartTV SmartPhone 3DPrinter เทคโนโลยีไร้สาย และมีแนวโน้มสู่คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่ เช่น แว่นตา นาฬกา และปรับเปลี่ยนรูปแบบสังคมเป็นแบบ Digital Ecology System and Digital Culture สังคมบนโลกดิจิตอล!!!

       ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์สูงขึ้น และเติบโตในแบบ Exponentail ความจุฮาร์ดดิสต์ที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ความสามารถของ CPU ที่สูงขึ้น และเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 10 ปี ตามกฏของ Moore'Law ซึ่งถ้า CPU โตในอัตรานี้ อีก 10 ปี ความสามารถของ CPU จะเทียบเท่าสมองมนุษย์!!!!   

ข้อมูลต่างๆ มากมาย ถูกเก็บสะสมไว้บน Cloud เทคโนโลยีช่วยให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยมีการจัดการเชื่อมโยงข้อมูลเป็นแผนผังความรู้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Knowleage Analytical Engine ทำให้สามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้

       สาเหตุแห่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีอุบัติใหม่ คือการใช้อินเทอร์เน็ต ความรู้ต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดสะสม จะเป็นตัวขับเคลื่อนการศึกษายุคใหม่ จากแนวคิดแบบแบ่งปันที่ทำให้เกิด Big Data และให้ความสำคัญกับการใชบน Cloud ก่อให้เกิดความคิดแบบเปิด เกิดเป็น Open Education Resouce เมื่อเทคโนโลยีช่วยในการเข้าถึงสื่อและสื่อเป็นแบบเปิด ที่มีผู้สร้างสรรค์แบ่งปันเพื่อประโยชน์ร่วมกันแบบฟรี สิ่งท้าทายสู่การดำรงอยู่ในยุคนี้คือ ต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ 

        ณ วันนี้ เทคโนโลยีอุบัติใหม่ทำให้เกิดกระบวนการโมเดลแบบกลับด้าน นั่นคือ จากเดิมเก็บข้อมูลไว้ที่ตัวเอง แต่เทคโนโลยีทำให้การจัดเก็บข้อมูลกลับทิศอยู่บน Cloud การตีพิมพ์บทความวิชาการ งานวิจัย เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีสื่อบน Cloud แบบ Open Access การศึกษาก็มีพื้นฐานมาจากการใช้สื่อ จึงมีรูปแบบกลับด้านด้วย ก่อให้เกิดแนวคิดในเรื่อง Open education จนในขณะนี้หลายมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ได้ก้าวนำแนวคิดการศึกษาแบบเปิดไปแล้ว เช่นหลายมหาวิทยาลัยมีการสร้าง Open courseware ให้ผู้อยู่นอกมหาวิทยาลัยได้ร่วมเรียนด้วย

        แนวคิดแบบเปิดจึงก่อให้เกิดการศึกษาเพื่อมวลมหาประชาชน Massive Open Online Course หรือ MOOC ที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก มวลมหาประชาชนมาใช้ประโยชน์เป็นล้านคน และมีแนวโน้มที่จะกดดันการศึกษาแบบปิดมากขึ้น ขณะนี้ กูเกิ้ล กำลังนำเอ็นจิ้น EdX สร้าง MOOC บนคลาวด์ เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของคนทั้งโลก จึงเชื่อแน่ว่ารูปแบบการศึกษากำลังเปลี่ยนไปสู่การศึกษาระบบเปิดในอนาคตมากขึ้นแน่นอน รูปแบบการศึกษาทางไกล สำหรับมวลมหาประชาชน ได้แก่ Coursera U / UDACITY learn. Think.Do / edX / CANVAS NETWORK / NovoED / inversity / OPEN 2 STUDY / Future Learn

       ความท้าทายสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู็ ในปัจจุบันคือ

การทำให้ผู้เรียนอยากเรียนและสนุกอย่างเกม Gamification for Education

คือต้องมีคำจำกัดความสั้น ๆ 3 คำ ที่เอามารวมกัน ได้แก่ เยาวชน การเรียนรู้ และ สนุก...มาก ให้เชื่อมโยงเป็นมิติทั้ง 3 ของลูกบาศก์แห่งความสร้างสรรค์ Cubic Creative

 

      จากความรู้ที่ได้ข้างต้น จึงนำไปสู่การต่อยอดแผนทางด้าน ICT ของมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องมีอย่างน้อย  3 ด้านใหญ่ คือ

      1) การพัฒนาคนและโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ต้องพัฒนาให้ทันและรองรับเทคโนโลยีอุบัติใหม่

      2) การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนหรือบูรณาการรูปแบบการสอน ให้รองรับการศึกษาในรูปแบบ Open Education Resouce และ Massive Open Online Course

      3) การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดกระบวนการเรียน แบบ cubic creative

 

 

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานนโยบายและแผน
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก » การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
หากจะถามว่า ทำไมต้องมีการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อเป็นการจัดมาตรฐานการศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน แต่ละมหาวิทยาลัยจะได้มีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้รู้ข้อบกพร่...
SCD Ranking  SDGs  U-Multirank  University Performance Metrics: UPM  Webometrics  การจัดอันดับมหาวิทยาลัย  คุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)  มาตรฐานการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานนโยบายและแผน
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 15/9/2564 13:41:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:09:02   เปิดอ่าน 6033  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ » ขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการกิจกรรมของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ
งานนโยบาย แผนและประกันคุณภาพ ร่วมกับ งานคลังและพัสดุ ได้จัดทำขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการกิจกรรมของคณะขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินงานเกี่ยวกับการขออนุมัติดำเนินโค...
ขั้นตอนการขออนุมัติดำเนินโครงการ/กิจกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานนโยบายและแผน
ผู้เขียน รุ้งทอง เขื่อนขัน  วันที่เขียน 12/9/2562 16:08:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:50:37   เปิดอ่าน 2538  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ » สรุปผลเข้าร่วมอบรมเรื่อง “การพัฒนาและการดำเนินการหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE)”
สรุปผลเข้าร่วมอบรมเรื่อง “การพัฒนาและการดำเนินการหลักสูตรตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (OBE)” 1. หลักสูตรสอดคล้องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และควรระบุให้นักศึกษา “เรียนรู้...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานนโยบายและแผน
ผู้เขียน ธิดารักษ์ รัตนมณี  วันที่เขียน 24/8/2561 10:38:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:20:15   เปิดอ่าน 3753  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง