รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2558
วันที่เขียน 1/3/2559 10:03:12     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:45:39
เปิดอ่าน: 3065 ครั้ง

ในการเข้าร่วมประชุมวิชาการทำให้มีการใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการพัฒนาการวิจัยและด้านการเรียนการสอน ในการเสวนาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิเน้นทางด้านสภาพภูมิอากาศของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตร ทำให้เกษตรกรต้องปรับวิธีการผลิตและการจัดการให้เหมาะสม ในส่วนนี้สามารถตั้งโจทย์วิจัยให้สอดคล้อง และในการเสนอผลงานวิชาการต่าง ๆ ทำให้ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปประกอบการเรียนการสอนได้

จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการได้มีการนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ 2 ด้าน คือ

1. การพัฒนาด้านการวิจัย

จากการเข้าฟังเสวนาวิชาการ เรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: วิกฤตหรือโอกาสเกษตรไทย” ทำให้ทราบสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อภาคเกษตรกรรม ในปัจจุบันประเทศไทยเกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจน เช่น ฝนตกชุก น้ำท่วม แล้งจัด ฤดูร้อนที่ยาวนาน ฤดูหนาวที่สั้นลง ดังนั้นการผลิตทางการเกษตรจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตทางการเกษตรทั้งพืช ปศุสัตว์และประมง รวมทั้งการจัดการให้เหมาะสม เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้  

ความรู้ที่ได้รับในส่วนนี้สามารถนำมาตั้งโจทย์วิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการผลิตพืชให้สอดคล้องในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน โดยควรเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2. การพัฒนาด้านการเรียนการสอน

ได้เข้าฟังและชมการนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยายและโปสเตอร์ตามความสนใจ ดังนี้

- งานวิจัยเรื่อง “วงจรการเจริญเติบโตของว่านอึ่งและว่านหัวครูในสภาพปลูกเลี้ยง” ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับวงจรการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินทั้งสองชนิดนี้ มีการเจริญเติบโตของต้นและดอกสลับกับการพักตัว ลักษณะทางเนื้อเยื่อวิทยาและการพัฒนาของตาดอก ซึ่งสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาเป็นไม้เศรษฐกิจต่อไป

- งานวิจัยเรื่อง “เครื่องหมายอาร์เอพีดีสำหรับการตรวจสอบลำไยลูกผสมระหว่างพันธุ์แห้วกับพันธุ์ดอก้านแข็ง” ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลในการจำแนกสายพันธุ์ลำไยลูกผสม ที่มีความถูกต้องแม่นยำและใช้เวลาสั้นลง

- งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอของเมล็ดข้าวโดยใช้คลื่นความถี่สูงร่วมกับแรงดันสุญญากาศช่วยใน Agrobacterium-mediated transformation” ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายทอดยีนสู่เอ็มบริโอโดยไม่ต้องผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

- งานวิจัยเรื่อง “ผลของการกระตุ้นการงอกเมล็ดด้วยน้ำและโปแตสเซียมไนเตรทต่อการงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองฝรั่งเศส” ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการกระตุ้นให้เมล็ดงอกก่อนปลูก ซึ่งช่วยให้เมล็ดงอกสม่ำเสมอ มีการงอกสูงและเร็ว ต้นแข็งแรงและมีผลผลิตที่สูงขึ้น

ความรู้ที่ได้รับข้างต้นสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาต่างที่เกี่ยวข้อง ๆ เช่น ชว 310 สรีรวิทยาของพืชประยุกต์  ชว 350 เทคโนโลยีชีวภาพ 1 และ ชว 412 หลักการด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช เป็นต้น 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=457
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง