ความสามารถเชิงสมรรถนะหลัก (Core Competencies) ด้าน IT
วันที่เขียน 22/9/2558 17:36:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 16:58:04
เปิดอ่าน: 9953 ครั้ง

ความสามารถด้าน IT ที่ทุกคนจะต้องมี หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ IT และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงาน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

ความสามารถเชิงสมรรถนะหลัก (Core Competencies) ด้าน IT

                ในพจนานุกรมความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency Dictionary) ของสคร.5 ได้กล่าวถึงความสามารถด้าน IT ที่ทุกคนจะต้องมีความสามารถดังกล่าว (ไม่มีการจัดระดับชั้น) หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ  และมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ IT  และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงาน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน 

โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ ได้แก่
- สามารถใช้งานโปรแกรม Utilities เช่น Winzip, Acrobat Reader, Anti Virus ได้
- สามารถดูแล บํารุงรักษาอุปกรณ์ IT ในเบื้องต้นได้ เช่น การ scan disk, defragmentation เป็นต้น
- สามารถใช้งานระบบ Office Automation เช่น Fax, Printer, Scanner เป็นต้น
- สามารถใช้งานโปรแกรม MS.Office เช่น Word, Excel, Powerpoint เป็นต้น
- สามารถสืบค้น / Download ข้อมูลทาง Internet และใช้งาน e-Mail ได้
- มีความรู้พื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การ share ไฟล์  เป็นต้น

              ทางกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้ร่วมกันประชุมแสดงความคิดเห็นในเรื่องของ เกณฑ์สมรรถนะกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ  ในครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557  ณ.ห้องประชุมชั้น 5 อาคารแม่โจ้ 70 ปี  และ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558  ณ.ห้องประชุมชั้น 1 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยที่ประชุมมีมติยืนยันการปรับปรุงสมรรถนะตามแนวทางของคณะกรรมการดำเนินการกำหนดสมรรถนะมาตรฐานของตำแหน่ง   ตามภาพ ที่ 1

 


 

โดยมีรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ดังนี้

1. จิตบริการ (Service-mindedness)

  •  
    • ความตั้งใจและความพยามยามของผู้ปฏิบัติงานในการให้บริการต่อหน่วยงานภายใน บุคลากร นักศึกษา ประชาชน หรือหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise)

  •  
    • ความขวนขวาย สนใจใฝ่รู้เพื่อสั่งสมพัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติราชการ ด้วยการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งรู้จักพัฒนา ปรับปรุง ประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ากับการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์

3. การมีความคิดริเริ่มและนวัตกรรมหรืองานวิจัยทางด้าน ICT (ICT Invention and Researching) โดยใช้ความคิดเชิงระบบ

  •  
    • การมีความคิดริเริ่ม และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลงานวิจัย ใหม่ๆ โดยใช้ความคิดเชิงระบบ การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ

4. ทักษะในการเลือกใช้เครื่องมือ (Tool Usage Skills)

  •  
    • มีทักษะความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการผู้ใช้ พร้อมสามารถให้คำแนะนำเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับผู้อื่นได้

 

อ้างอิง 

  1. พจนานุกรมความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency Dictionary) สคร.5  สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2558, จาก http://www.dpck5.com/develop/competencydic.pdf  

   2. ติดตามการจัดทำสมรรถนะประจำกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ  ตามบันทึกข้อความที่ ศธ 0523.1.7.3/ว 485 ลงวันที่ 17
       มิถุนายน 2558

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ » UX/UI Design ต่างกันอย่างไร
การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล มีความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design: UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (...
UI Design  UX Design  UX UI  UX/UI  การออกแบบเว็บ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ช่อทิพย์ สิทธิ  วันที่เขียน 6/9/2567 14:14:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 8:40:34   เปิดอ่าน 102  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาโปรแกรม » การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร
การพัฒนาระบบเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สำหรับการจัดเก็บและทำลายเอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการนำระบบจัดเก็บและทำลายเอกสารมาช่วยปรับปรุงประสิทธิผล ในกระบวนการทำ...
Re-Design Process?  ระบบจัดเก็บและทำลายเอกสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/9/2567 11:45:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 13:52:26   เปิดอ่าน 257  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » ข้อมูลเปิด (Open Data) เบื้องต้น
ข้อมูลเปิด (Open Data) คือ ข้อมูลที่สามารถเข้าถึง ใช้งาน แก้ไข และแบ่งปันได้โดยไม่จำกัดข้อกำหนดหรือค่าใช้จ่าย ข้อมูลเปิดมักถูกเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถอ่านและวิเคราะห์ได้ง่าย เช่น ไฟล์ CSV, JSON, หร...
การเข้าถึง  การใช้งาน  การแบ่งปัน  การเปิดเผย  ข้อมูลเปิด     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 2/9/2567 9:45:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 14:42:02   เปิดอ่าน 101  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง