เทคโนโลยีคลาวด์
วันที่เขียน 15/3/2560 13:07:58     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 2:53:11
เปิดอ่าน: 2905 ครั้ง

ศาสตราจารย์อีริค ซุย ได้กล่าวถึงการจัดการความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเศรษฐกิจดิจิทัล ไว้ว่า การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัลที่มีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆและฮาร์ดแวร์มีความจำเป็นในการปฏิวัติวงการอุตสาหกรรม การผลิตและการบริการ ในการประชุมครั้งนี้ ท่านได้กล่าวถึงพลังของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆต่อการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์และการเชื่อมต่อของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ การทำงานขนาดใหญ่เพื่อการวางแผนและจัดส่งการให้บริการความรู้ได้อย่างยืดหยุ่นโดยอาศัยการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มคนบนโลกออนไลน์ให้ช่วยกันระดมสมอง ความคิด การกระจายงานให้เป็นหน่วยย่อย ๆ และการแก้ไขปัญหาโดยการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถนำศักยภาพของคลาวด์มาใช้ประโยชน์ การเรียนรู้ที่เป็นทฤษฎีและไม่ใช่ทฤษฎีจะได้จากการวิจัยทางด้านบิ๊กดาต้าเป็นสำคัญ ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากบิ๊กดาต้าที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ สถานประกอบการเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม โรงงามอุตสาหกรรมยานยนต์และสถานประกอบการค้าปลีก บิ๊กดาต้าไม่ได้ประสบความสำเร็จในการใช้วิเคราะห์เท่านั้น แต่ส่งผลให้สามารถประมาณการในอนาคตได้อย่างถูกต้องด้วย อัลกอริทึ่มใหม่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งในการพูดครั้งนี้จะรวมถึงข้อเสนอแนะของการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล

ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ศาสตราจารย์อีริค ซุย (Professor Eric Tsui) จากมหาวิทยาลัยฮ่องกงโพลีเทคนิค (Hong Kong Polytechnic University) ได้รับเกียรติเป็นคีย์โน้ต  ศาสตราจารย์ท่านนี้มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม  โรงงาน Computer Science Corporation ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 16 ปี  โดยเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญและนวัตกรรม ขณะที่ท่านทำงานในมหาวิทยาลัยฮ่องกงโพลีเทคนิคในตำแหน่ง President’s Distinguished Professionals Scheme  มีความเชี่ยวชาญพิเศษเกี่ยวกับการจัดการความรู้ทางเสิร์จเอ็นจิน (Search Engines), พอร์ทัล (Portals), การจัดการความรู้ส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล  และการให้บริการก้อนเมฆความรู้ (Knowledge Cloud services)

ศาสตราจารย์อีริค ซุย  ได้กล่าวถึงการจัดการความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเศรษฐกิจดิจิทัล  ไว้ว่า การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัลที่มีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต  การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆและฮาร์ดแวร์มีความจำเป็นในการปฏิวัติวงการอุตสาหกรรม การผลิตและการบริการ  ในการประชุมครั้งนี้ ท่านได้กล่าวถึงพลังของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆต่อการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์และการเชื่อมต่อของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ  การทำงานขนาดใหญ่เพื่อการวางแผนและจัดส่งการให้บริการความรู้ได้อย่างยืดหยุ่นโดยอาศัยการกระจายปัญหาไปยังกลุ่มคนบนโลกออนไลน์ให้ช่วยกันระดมสมอง ความคิด การกระจายงานให้เป็นหน่วยย่อย ๆ  และการแก้ไขปัญหาโดยการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร  อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถนำศักยภาพของคลาวด์มาใช้ประโยชน์  การเรียนรู้ที่เป็นทฤษฎีและไม่ใช่ทฤษฎีจะได้จากการวิจัยทางด้านบิ๊กดาต้าเป็นสำคัญ  ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากบิ๊กดาต้าที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์  สถานประกอบการเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม  โรงงามอุตสาหกรรมยานยนต์และสถานประกอบการค้าปลีก  บิ๊กดาต้าไม่ได้ประสบความสำเร็จในการใช้วิเคราะห์เท่านั้น  แต่ส่งผลให้สามารถประมาณการในอนาคตได้อย่างถูกต้องด้วย  อัลกอริทึ่มใหม่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้น  ซึ่งในการพูดครั้งนี้จะรวมถึงข้อเสนอแนะของการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล

สำหรับหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ ได้แก่ Frameworks of the Relations of the “Customer Value” for the “Start-Up” business through “E-Service” in  the North of Thailand และ Word Cloud of Online Hotel Reviews in Chiang Mai for Customer Satisfaction Analysis  ในเรื่องของ Frameworks of the Relations of the “Customer Value” for the “Start-Up” business through “E-Service” in  the North of Thailand  มีส่วนที่สำคัญคือ  ในปัจจุบันมีธุรกิจที่เรียกว่า สตาร์ทอัพ (Start-Up) ที่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องร้อยละ 90 ของธุรกิจทั้งหมด  ทำให้มีอัตราการจ้างงานถึงร้อยละ 60 ของแรงงานทั้งหมด  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบของปัจจัยที่สัมพันธ์กันในการสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า  โดยการสร้างโมเดลแสดงลำดับของคุณค่าแก่ลูกค้า  ที่ประกอบด้วยโครงสร้างองค์กร จิตวิทยาทางสังคม และภาพพจน์หรือยี่ห้อของสตาร์ทอัพ ผ่านทางการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของลูกค้าทางการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อพัฒนาธุรกิจทางภาคเหนือของประเทศไทยให้ยั่งยืน

ส่วนในการวิจัยเรื่อง Word Cloud of Online Hotel Reviews in Chiang Mai for Customer Satisfaction Analysis  มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่พักในโรงแรม  โดยการใช้โปรแกรมเวิร์ดที่ประมวลผลแบบคลาวด์ในการเก็บข้อมูล  จากข้อมูลผู้พักอาศัยในโรงแรม 1,752 คน ถูกเก็บข้อมูลโดย TripAdvisor.com เพื่อเลือกโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่ 5 โรงแรม  ผลจากงานวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจที่เป็นมาตรฐาน  ได้แก่ การให้บริการของพนักงาน  สภาพแวดล้อมของโรงแรม  และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งในห้องพักและห้องน้ำ  แต่สิ่งที่ลูกค้าไม่พึงพอใจ  ได้แก่ ระบบการจองห้องพักของโรงแรม  ดังนั้นการวิจัยนี้ให้ผลที่ชัดเจนขึ้นต่อการวัดระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่พักในโรงแรมโดยการใช้เทคนิคคลาวด์

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=649
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 18:44:10   เปิดอ่าน 12  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง