การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 9:16:09
เปิดอ่าน: 309 ครั้ง

การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
  • ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” โดย รองศาสตราจารย์วงกต วงศ์อภัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ และอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ทราบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คือการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ให้ได้มากที่สุด การดูดกลับและการชดเชยคาร์บอนไดออกไซต์ การดักจับคาร์บอนไดออกไซต์ แล้วนำมาใช้งาน เช่น น้ำมัน หิน เป็นต้นนอกจากนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ มีกระบวนการลดไฮโดรเจน ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก มีการศึกษาด้านประสิทธิภาพพลังงาน ด้านพลังงานหมุนเวียน ซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้โดยมีนโยบายที่ชัดเจน มีแผนระยะยาว และทำอย่างเป็นระบบ
  • ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เอกรัฐ บุญเชียง รองคณบดีวิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ทราบถึงการใช้ AI ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ChatGPT ซึ่งจะเก็บข้อมูลต่าง ๆ มาไว้ในฐานข้อมูลจากการตัดคำ แต่มีข้อจำกัด คือ ข้อมูลอาจไม่ update มีการใช้ ChatGPT ช่วยในการหาข้อมูลสำหรับเรื่องที่เราต้องการทราบ ต้องการศึกษา ให้เขียนบทความ วิธีการต่าง ๆ การช่วยทำสไลด์สำหรับนำเสนองาน การออกข้อสอบแบบ multiple choice การสร้างคำถามแบบเติมคำในช่องว่าง ทั้งนี้จะต้องเขียนความประสงค์หรือคำสั่งให้ถูกต้อง และหากนำ ChatGPT ไปช่วยเขียนงานวิชาการ ควรเขียนไว้ในเอกสารอ้างอิงด้วย
  • ได้รับฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการกลุ่มคณิตศาสตร์ ภาคโปสเตอร์ และภาคบรรยาย ทำให้ทราบแนวทางการวิจัยของนักศึกษา โดยงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจะเป็นงานวิจัยที่เห็นการนำไปใช้ประโยชน์ได้ชัด มีการทำวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย มีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง และความรู้ความเข้าใจของผู้นำเสนอ
  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
  • ทำให้ทราบแนวทางการทำวิจัยของนักศึกษา ซึ่งจะเป็นแนวทางการทำวิจัยในรายวิชา คศ 492 โครงงาน วท 497 สหกิจศึกษา และวท 498 การเรียนรู้อิสระ
  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  • ทำให้บุคลากรมีแนวคิดในการพัฒนางานวิจัยให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  • ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันในหน่วยงาน เกิดความสามัคคีมากขึ้น

  

อ. ดร.พิกุล ศรีดารัตน์

ตำแหน่ง อาจารย์

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 8:43:18   เปิดอ่าน 10  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 4:35:56   เปิดอ่าน 125  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง