สรุปเนื้อหาและความรู้จากการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ ICDAMT2017
วันที่เขียน 9/3/2560 20:28:08     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:50:27
เปิดอ่าน: 2729 ครั้ง

งานประชุมวิชาการ The 2nd International Conference on Digital Arts Media and Technology (ICDAMT2017) โดยความร่วมมือของคณะด้านดิจิทัล จาก 5 สถาบันการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วิทยาลัยเชียงราย และมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ สมาคมวิชาการไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (ECTI) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการประกอบไปด้วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากภายนอก อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยในความร่วมมือ และผู้ที่มีความสนใจทั่วไปในหัวข้อที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม Digital Arts, Digital Media และ Digital Technology โดยในครั้งนี้ มีผู้ส่งบทความทางวิชาการเข้าร่วมกว่า 120 บทความ จาก 10 ประเทศ

งานประชุมวิชาการมีหัวข้อของผลงานวิชาการที่นำเสนอหลายๆ ด้าน ได้แก่

          1. Media Systems and Implementations

          2. Multi-signal Processing and Applications

          3.Digital Arts and Media

          4.Media and Medium Engineering

          5.Digital Economy for sustainable growth

          6.Geoinformatics

          7.Knowledge Management and Learning Organization


          ส่วนในงานประชุมวิชาการได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมงานประชุม ดังนี้

          1. Professor Eryk Dutkiewicz (ชาวออสเตรเลีย) : วิทยากรเชี่ยวชาญทางด้าน เครือข่ายเซ็นเซอร์แบบไร้สาย, เครือข่ายการสื่อสารบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบ 4G และ 5G, เครือข่ายพื้นที่ร่างกายทางการแพทย์แบบไร้สาย และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง      

          2. Professor Eric Tsui (ชาวฮ่องกง) : วิทยากรเชี่ยวชาญทางด้าน ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system), การจัดการความรู้ (Knowledge management) 

          3. DR. Minoru Okada (ชาวญี่ปุ่น): วิทยากรเชี่ยวชาญทางด้าน การสื่อสารแบบไร้สาย รวมถึง WLAN, digital broadcasting, and satellite communications

          4. Professor Keshav Dahal (ชาวอังกฤษ): วิทยากรเชี่ยวชาญทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence), Visual Communication and Networks (AVCN),การเรียนรู้เครื่องจักร (Machine learning), ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data), เหมืองข้อมูล (Data Mining), Scheduling/Optimisation, Trust/security modelling in cloud and distributed systems และ  diagnosis/remote healthcare systems


          อีกทั้งข้าพเจ้าได้ร่วมการนำเสนอผลงานวิจัยทางด้าน Rise of Intelligent Application ในเรื่อง Stock Recording and Cost Analyzing for Chicken Farm โดยมีผู้วิจัย ได้แก่ อาจารย์ภานุวัฒน์  เมฆะอาจารย์อรรถวิท  ชังคมานนท์ และอาจารย์ก่องกาญจน์  ดุลยไชย ซึ่งเป็นโครงการระบบบันทึกข้อมูลคลังสินค้าและวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตสำหรับฟาร์มไก่ไข่ จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลไก่ไข่รายวัน นับตั้งแต่เริ่มเลี้ยงจนสิ้นสุดการเลี้ยงในแต่ละล็อต ข้อมูลที่เก็บบันทึก ได้แก่ จำนวนไข่ที่เก็บ จำนวนไข่ดี ไข่เสีย ปริมาณอาหาร จำนวนไก่ ปริมาณน้ำที่ใช้ เป็นต้น ข้อมูลที่บันทึกในระบบทั้งหมด จะถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์หรือวางแผนการผลิตของฟาร์ม โดยช่วยในการตัดสินใจในการลงทุนเลี้ยงไก่ไข่ในแต่ละล็อต อีกทั้งสามารถวางแผนการผลิตได้  

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การอบรมเรื่องการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง » การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง
การเข้าร่วมการอบรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง ณ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพ ได้ทำการอบรมศึกษาที้ง ทฤษฎี และ ปฎิบัติ เพื่อนำเอาทักษะ หรือความก้าวหน้าทางด้านเครื่องมือใหม่ๆไปใ...
การใช้เครื่องมือวิเคระห์ขั้นสูง     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน อุทุมพร กันแก้ว  วันที่เขียน 8/9/2567 23:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:23:19   เปิดอ่าน 200  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง