|
|
|
|
|
|
|
|
|
สรุปรายงานจากการอบรม
»
การผลิตสื่อด้วยโปรแกรมขั้นพื้นฐานในยุคโควิด
|
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่โรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยนักเรียนและนักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนการสอนในชีวิตปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับบทบาทของครูอาจารย์ที่ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อต่างๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน
“สื่อการเรียนรู้” (instructional media) มีบทบาทสำคัญมากในการจัดการการเรียนรู้ คุณสมบัติสำคัญของสื่อเปรียบได้กับการสื่อสาร โดยผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียนโดยผ่านสื่อการเรียนรู้การผลิตสื่อในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้น การผลิตสื่อโดยใช้โปรแกรมที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ipad หรืออุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ต่างๆ น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับมือใหม่ที่เริ่มผลิตสื่อ เนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งใช้ง่าย และไม่ยุ่งยาก แต่หากต้องการผลิตสื่อแบบมืออาชีพ อาจต้องใช้โปรแกรมที่สูงขึ้นเพื่อผลิตสื่อให้ตรงกับความต้องการ เช่น power point, canva, imovie, Loom, OBS และ DaVinci Resolve สื่อที่มีให้เลือกใช้ มีหลายโปรแกรมด้วยกัน โดยในแต่โปรแกรม จะมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง
|
คำสำคัญ :
การผลิตสื่อ, สื่อการเรียนรู้,
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1308
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วริศรา สุวรรณ
วันที่เขียน
29/9/2564 23:14:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 14:12:25
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา
»
กิจกรรมนักศึกษา กับการใช้เทคโนโลยี สู่วิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21
|
โลกในศตวรรษที่ 21 กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมนักศึกษานั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นทำให้นักศึกษามีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ เป็นเครื่องมือฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เป็นหมู่คณะ และรู้จักคิด รู้จักวางแผนอย่างเป็นกระบวนการ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดการทำงานขององค์กรอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีระยะเวลาที่แน่นอน สามารถวางระบบการทำงานที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ และปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน ฯลฯ
|
คำสำคัญ :
กิจกรรมนักศึกษา วิชาชีวิต การเรียนรู้นอกห้องเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริการการศึกษา
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
9853
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ณัฐภัทร ดาวสุข
วันที่เขียน
9/9/2562 9:57:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 14:47:42
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รายงานวิจัยในชั้นเรียน
»
การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ
|
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างสมการจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ และเพื่อศึกษาตัวแปรที่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา สต 312 ในภาคเรียนที่ 1/2557 จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 41 ข้อ โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟามีค่าเท่ากับ .9599 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยวิธีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เรียนคณะผลิตกรรมการเกษตร ชั้นปีที่ 2 เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 2.64 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มพบว่า ระดับการปฏิบัติของทั้ง 2 กลุ่ม แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (p<.05) ในด้านความตั้งใจเรียน (X1) ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X3) ด้านความมีวินัยในตนเอง (X4) และด้านเจตคติของผู้เรียน (X5) ส่วนด้านการแสวงหาความรู้ (X2) ไม่แตกต่างกัน (P>.05) สมการจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ซึ่งสามารถจำแนกความถูกต้องได้ร้อยละ 73.6 โดยมีสมการดังนี้ D = -5.378 + 2.110X1 + -.833X2
|
คำสำคัญ :
การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
การศึกษา การเรียนการสอน
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3507
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
3
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์
วันที่เขียน
28/4/2558 9:30:16
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 17:36:59
|
|
|
|