ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567" ในระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2567 ณ ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซนเตอร์ กรุงเทพมหานคร งานประชุมดังกล่าว เป็นการจัดงานโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) จึงทำให้งานดังกล่าวมีการนำเสนอผลงานวิจัยจากทั่วประเทศและมีเสวนาเกี่ยวกับผลงานวิจัยของนักวิจัยจากหลากหลายสถาบันทั่วประเทศ ซึ่งล้วนเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่ กระบวนการ เทคนิค และวิธีการ ในการผลิตนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ โดยความร่วมมือของนักวิจัย ชุมชน และส่งต่อไปยังผู้บริโภค การไปงานประชุมในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีประสบการณ์ใหม่เกี่ยวกับการวิจัย เปิดมุมมองที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและนวัตกรรมด้านต่าง ๆ เนื่องจากเป็นงานวิจัยจากส่วนงานจากทั่วประเทศ ทำให้เล็งเห็นถึงรวมถึงการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการ ออกแบบ ปรับปรุง และพัฒนางานวิจัยต่อไป ทั้งนี้ข้าพเจ้าสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประกอบการสอนวิชา 10303498 การเรียนรู้อิสระ อันจะทำให้นักศึกษาสาขาเคมีชั้นปีที่ 4 ได้เข้าใจถึงขั้นตอนการทำวิจัย รวมถึงแนวทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม
|
สถานการณ์ขาดแคลนอาหาร นับเป็นวิกฤติที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อเกิดโรคระบาด Covid-19 ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมทางด้านอาหารจึงเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงการบรโภคอาหาร แต่หมายรวมถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการแปรรูปเพื่อเป็นการรักษาคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงความใส่ใจของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องมีคุณภาพช่วยรักษาคุณค่าทางโภชนาการ และยังต้องให้รายละเอียดแก่ผู้บริโภคที่ครบถ้วนแม่นยำ เนื่องจากแนวการบริโภคในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่อาหารสำหรับสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้นการวิเคราะห์ตลาดในการวางแผนจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวของผลิตภํณฑ์ รวมถึงแนวทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค ก็มีความจำเป็นต้องมีทักษะ และกระบวนการ ทั้งนี้ทุกขั้นตอนต้องดำเนินไปควบคู่กันอย่างครบวงจร
|
ความน่าสนใจในเนื้อหาทางวิชาการหากแม้อยู่ในห้องเรียนก็มีความยากที่ผู้เรียนจะสนใน ยิ่งโดยเฉพราะในปัจจุบันการเรียนกสรสอนออนไลน์ มีความจะเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นผู้ที่ต้องทำให้ความสนใจในเนื้อหามีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ก็คือผู้สอน ดังนั้นผู้สอนควรเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้น ถึงรูปแบบความแตกต่างระหว่างการสอนออนไลน์และการสอนในห้องเรียน และเมื่อผู้สอนเปิดใจแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการทำอย่างไรให้การเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์นั้นมีความน่าเบื่อน้อยลง ซึ่งเมื่อผู้สอนเปิดใจแล้วจะพบว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลายหลายมากที่มีความน่าสนใจ น่าตื่นเต้นและได้ถูกพัฒนามาใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน ส่วนการใช้เทคโนโลยีของโปรแกรมนั้นเป็นสิ่งที่สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ภายหลังจากที่ผู้สอนเปิดใจ
|
ข้าพเจ้านางสาวอนรรฆอร ศรีไสยเพชร ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2019 (PACCON 2020) ระหว่างวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ. อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร ข้าพเจ้าจึงขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุม โดยได้เข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อต่างๆที่มีการนำเสนอในที่ประชุม ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ การนำเสนอผลงานเกี่ยวกับการใช้สารธรรมชาติในการป้องกันยุง ทั้งใช้โดยตรงที่ผิวหยังและการนำไปเคลืบบนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การสกลัดเอนไซม์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและเศษอาหารจากบ้านเรือน เพื่อนำไปใช้ในการเร่งสลายขยะครัวเรือน และยังได้ศึกษา สอบถามเพิ่มเติมจากการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ โดยภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ/อบรม ฯลฯ ข้างต้นแล้ว ข้าพเจ้าได้นำองค์ความรู้ที่ได้ มาปรับปรุงงานประจำให้เกิดประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้ ปรับปรุงและพัฒนาการสกัดสาระสำคัญจากพืชชนิดต่างๆ เช่น ฟักทอง เมล็ดเขีย ตลอดจนนำมาถ่ายทอดในการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมาถ่ายทอดในวิชาการเรียนรู้อิสระ เพื่อเป็นแนวทางและทำให้เกิดแนวความคิดด้านงานวิจัยได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังได้นำตัวอย่างเทคนิค วิธีการนำเสนอที่เป็นแบบอย่างที่ดี ุ่ายทอดให้กับ นศ. วิชา สัมมนา
|
ข้าพเจ้านางสาวอนรรฆอร ศรีไสยเพชร ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2019 (PACCON 2019) ระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ
ข้าพเจ้าจึงขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุม โดยได้เข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อต่างๆที่มีการนำเสนอในที่ประชุม ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ดังต่อไปนี้
1. เข้าร่วมประชุมวิชาการ PACCON 2019 และนำเสนอผลงานรูปแบบโปสเตอร์ในหัวข้อ The Study on Chemical Composition of Thai Chia Seed
2. ฟังบรรยายงานวิจัยที่ศึกษาถึงการนำวิศกรรมทางเอนไซม์มาใช้ในการปรับปรุงอนไซม์เพื่อกระตุ้นให้สามารถเร่งปฏิกิริยาในการสังคราะห์เชื้อเพลิงชีวภาพ
2. ฟังบรรยายงานวิจัยที่ศึกษาความเหมาะสมในการใช้ศาสตร์ทางด้านเคมีในการวิจัยเพื่อสังเคราะห์เชื้อเพลิง รวมถึงการใช้สารเคมีในการเร่งปฏิกิริยาและการนำมาใช้ใหม่
3. ฟังบรรยายงานวิจัยที่ศึกษาการนำวัตถุดิบในธรรมชาติมาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลังงานทดแทน
4. ฟังบรรยายงานวิจัยที่นำเสนอเกี่ยวกับการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อใช้ผลิตเซลลูโลส
โดยภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ/อบรม ฯลฯ ข้างต้นแล้ว ข้าพเจ้าได้นำองค์ความรู้ที่ได้ มาปรับปรุงงานประจำให้เกิดประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้
ปรับปรุงและพัฒนาการสกัดสาระสำคัญจากพืชชนิดต่างๆ เช่น ต้นอ่อนข้าว และนำมาถ่ายทอดในการเรียนการสอน ตลอดจนนำข้อเสนอแนะในการนำมาผลิตเพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมาถ่ายทอดในวิชาการเรียนรู้อิสระ รวมถึงนักศึกษาระดับโท เพื่อเป็นแนวทางและทำให้เกิดแนวความคิดด้านงานวิจัยได้อย่างเป็นรูปธรรม
|
ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2017 (PACCON 2018) ระหว่างวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ 2561 ณ The 60th Anniversary of His Majesty the King’s Accession to the Throne International Convention Center, Hatyai Campus of Prince of Songkla University, Hatyai, Songkla, Thailand
ซึ่งข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ในหัวข้อต่างๆ ที่มีการนำเสนอในที่ประชุม ซึ่งสามารถ สรุปได้ดังนี้
1. งานวิจัยที่ศึกษาถึงการปรับปรุงคุณภาพของแป้งมันสัมปะหลังโดยการกำจัดสิ่งเจอปนด้วนเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงสภาวะที่เหมาะสมของการทำงานของเอนไซม์เพื่อการเร่งปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์และรวดเร็วที่สุด ตลอดจนการนำเอนไซม์กลับมาใช้ใหม่
2. งานวิจัยที่ศึกษาสมบัติการเป็นสารอิมัลซิไฟเอร์ของน้ำมันที่สกัดได้จากอาริกาโน และศึกษผลการต้านแบคทีเรียนในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผงอาริกาโนเป็นองค์ประกอบ โดยพบว่าน้ำมันอาริกาโนสามารถทำหน้าที่เป็นอิมัลซิฟายเออร์ได้ดี อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการต้านการเสื่อมสลายของผลิตภัณฑ์พวกขนมอบที่มีการเติมผงอาริกาโน
3. งานวิจัยที่ศึกษาการนำสารซาโปนินในรูปของไทโครอิมัลชันมาทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อราเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์จำพวกข้าว
4. งานวิจัยที่นำเสนอเกี่ยวกับการนำจุลินทรีย์ EM มาใช้ในการผลิตน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษผักที่ได้จากชุมชนในสหภาพพม่า ซึ่งผลที่ได้ทำให้ปริมาณขยะเปียกที่เป็นเศษพืชผักมีจำนวนลดลง และยังสามารถผลิตน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพเพื่อนำไปใช้สำหรับการเกษตรได้อีกด้วย
|
การประชุมวิชาการ The International Conference on Fluids and Chemical Engineering (FluidsChE 2017) ระหว่างวันที่ 4-6 เมษายน 2560 เป็นเวทีการประชุมที่จัดขึ้นโดยมุ่งเน้นเพื่อการนำเสนอผลงานวิจัย และการพัฒนา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยที่น่าสนใจในอนาคต ซึ่งการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้นำเสนอผลงานแบบปากเปล่าในหัวข้อ Policosanol extraction from beeswax and improvement of the purity ซึ่งโพลิโคซานอล (Policosanol) คือกลุ่มของแอลกอฮอล์สายตรงยาว (Long chain aliphatic alcohols) ที่มีความยาวคาร์บอน 20-36 อะตอม มีการศึกษาประโยชน์ของโพลิโคซานอลพบว่า สามารถลดคลอเรสเตอรอลในเลือดได้ สามารถป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์คลอเรสเตอรอลและเพิ่มการย่อยสลาย LDL ลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation) ลดอันตรายของเยื่อบุหลอดเลือด (Endothelial damage) และลดการสร้าง โฟมเซลล์ ส่วนทางด้านความปลอดภัยนั้น พบว่าการให้โพลิโคซานอลไม่มีพิษต่อยีนทั้งในเซลล์ร่างกายและเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโต โดยส่วนใหญ่สกัดจากไขอ้อยและไขผึ้งสำหรับการทำให้โพลิโคซานอลบริสุทธิ์นั้นทำได้ยาก และเนื่องจากคุณสมบัติและองค์ประกอบของไขผึ้งมีความแตกต่างกันไปขึ้นกับแหล่งที่มา ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีเกษตรกรที่ทำฟาร์มเลี้ยงผึ้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งผลิตภัณฑ์จากผึ้งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะไขผึ้ง ซึ่งโดยมากเกษตรกรมักขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อโดยตรง โดยไขผึ้งที่ขายปลีกในท้องตลาดทั่วไปราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 - 250 บาท แต่การนำไขผึ้งมาผลิตเป็นสารชนิดอื่นๆเพื่อเพิ่มมูลค่ายังไม่มีมากเท่าที่ควร ดังนั้น หากสามารถสกัดโพลิโคซานอลที่บริสุทธิ์จากไขผึ้งได้ รวมทั้งหาจุดเด่นขององค์ประกอบที่มีอยู่ในไขผึ้งที่พบได้ จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าของไขผึ้ง โดยอาจมุ่งเน้นให้เกษตรกรปรับปรุงการเลี้ยงผึ้งเพื่อให้ได้ไขผึ้งที่มีมูลค่าสูง หรือทำการเก็บ คัดแยกและรักษาไขผึ้งที่ได้ให้ยังคงมีคุณภาพดี ทั้งนี้ภายใต้การให้คำแนะนำของหน่วยงานการเกษตรที่เกี่ยวข้อง หรือการรวมตัวกันของสมาคมผู้ผลิต ทั้งนี้เพื่อเป็นการต่อรองราคาซื้อขายไขผึ้งหากสามารถผลิตไขผึ้งที่มีคุณภาพดี
|
ข้าพเจ้านางสาวอนรรฆอร ศรีไสยเพชร ตำแหน่ง พนักงานมหาวิทยาลัย (อาจารย์) สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2017 (PACCON 2017) ระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2560 ณ Convention Centre Building, The Government Complex, Chaeng Watthana Road, Thung Song Hong, Laksi, Bangkok และได้นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ในหัวข้อ Improvement of purity of policosanol extracted from beeswax ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาการนำไขผึ้งซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าต่ำและหาได้ง่ายในจังหวัดเชียงใหม่มาสกัดสารโพลิโคซานอล ซึ่งเป็นสารสกัดที่มีมูลค่า มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยได้มุ่งเน้นถึงกระบวนการในการทำให้โพลิโคซานอลมีความบริสุทธิ์มากขึ้น โดยพบว่า การเลือกใช้ชนิดของตัวทำลายอินทรีย์ในขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์มีผลต่อความบริสุทธิ์ของโพลิโคซานอลที่ได้ และยิ่งไปกว่านั้นเทคนิคการตกผลึกนับว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สำคัญซึงส่งผลต่อความบริสุทธิ์ของสาร
นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานในหัวข้อต่าง ซึ่งล้วนเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น
1. งานวิจัยที่ศึกษาถึงการตรึงเอนไซม์บนพาหะตรึง อันได้แก่ไคโตซาน เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงจากภายนอกในกระบวนการหมักในสภาวะไร้อากาศ ทั้งนี้เพื่อให้เอนไซม์มีสเถียรภาพ และทำให้เกิดการเร่งปฏิกิริยาได้อย่างสูงสุด โดยใช้ไคโตซานซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่มีหมู่ฟังชันก์ที่เหมาะสมต่อการเป็นพาหะตรึง
2. งานวิจัยที่ศึกษาการเร่งปฏิกิริยาด้วยไมโครเวฟ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการสังเคราะห์สารชนิดต่างๆ จากหลายสิบชั่วโมง หรือหลายวัน ให้เหลือเพียงไม่กี่นาที เนื่องจากการให้พลังงานด้วยคลื่นไมโครเวฟ โดยเป็นการทำให้โมเลกุลของน้ำเกิดการปั่นป่วนจนเกิดพลังงานความร้อนในการเร่งปฏิกิริยาขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความร้อนอย่างทั่วถึงจากด้านในออกมายังด้านนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถเร่งปฏิกิริยาโดยมีตัวเร่งวิวิธภัณฑ์ได้อีกด้วย
3. งานวิจัยที่นำเสนอเกี่ยวกับ โดยการสังเคราะห์พอลิเมอร์ในระดับนาโน โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ คือ แป้งจากต้นพุทธรักษาในการผลิตวัสดุพอลิเมอร์ขนาดนาโน ทั้งนี้แป้งที่นำมาใช้จะต้องผ่านกระบวนการดัดแปร โดยจากการศึกษาพบว่า การดัดแปรแป้งไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างส่วนผลึก ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบเมื่อนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพอลิเมอร์ระดับนาโน
4. งานวิจัยที่นำเสนอเกี่ยวกับการสกัดกลุ่มเอนไซม์จากจุลินทรีย์ Aspergillus sp. ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในการผลิตด้ายจากเส้นใยสับปะรด พบว่ากลุ่มเอนไซม์ที่สกัดได้สามารถทนทานต่อ NaOH ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญมี่ใช้ในการผลิตเส้นด้ายจากเส้นใยสับปะรด
ซึ่งทำให้ได้มองเห็นแนวทางการวิจัยที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่ในอนาคตต่อไป
|
การประชุมวิชาการ 2016 Advances in Chemical Engineering and Chemistry Research International Conference (ACECRIC2016) เป็นเวทีการประชุมที่จัดขึ้นโดยมุ่งเน้นเพื่อการเพิ่มโอกาสเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย และการพัฒนา ในด้านวิศวกรรมเคมี และวิทยาศาสตร์สาขาเคมี เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีร่วมกันในสองศาสตร์ดังกล่าว โดยการประชุมครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักวิจัย วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันกัน
ซึ่งผลงานวิจัยที่นำเสนอเป็นผลงานวิจับเที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาการสกัดโพลิโคซานอลจากไขผึ้งในประเทศไทย
|