การนำโปรแกรม Kahoot มาใช้เพื่อการตอบสนองต่อการเรียนการสอน
วันที่เขียน 4/10/2562 15:26:52     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:10:50
เปิดอ่าน: 3679 ครั้ง

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการสื่อสารไร้สายโดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ตได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งนี้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ อาทิเช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และแท็บเล็ต เป็นต้น จึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีเหล่านี้ ดังนั้นบุคลากรทางด้านการศึกษายุคใหม่จะต้องมีความสนใจในเทคโนโลยี มีความสามารถในการปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งโปรแกรมหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ จะสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจและน่าเรียนรู้มากยิ่งขึ้นเหมาะสมสำหรับนักเรียน นักศึกษา ในยุคปัจจุบันที่มีความสนใจในเทคโนโลยีมากกว่าการบรรยายธรรมดาดังเช่นเดิมและยังเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมในกิจกกรมที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนอีกด้วย

          ในการบรรยายได้มีการยกตัวอย่างเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมและสร้างกิจกรรมในการเรียนการสอน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษาในชั้นเรียนผ่านเทคโนโลยีและสมาร์ทโฟน  (Smart phone) เสมือนเป็นการการเรียนรู้ที่ผ่านการเล่นเกมส์ตอบคำถามซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่ในบทเรียนจากการบรรยายในชั้นเรียนในหัวข้อที่ได้เรียนผ่านมาหรือกำลังเรียนอยู่ ตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีที่มีชื่อเรียกว่า Kahoot” มาใช้เพื่อสร้างชุดคำถามจากอาจารย์ผู้สอนผ่านเว็บไซต์ getkahoot.com โดยผู้สอนสามารถเข้าไปสมัครและสร้างชุดคำถามที่เป็นของตัวเองหรือจากผู้อื่นที่มีการแชร์ในระบบ ทั้งภาษาไทยและภาษอังกฤษ ทั้งนี้วิทยากรได้อธิบายและถ่ายทอดขั้นตอนและวิธีการในการดำเนินการสร้างชุดคำถาม การกำหนดค่าต่าง ๆ การนำรูปภาพหรือวีดีโอ ทั้งจากข้อมูลของตนเองที่มีอยู่หรือจากเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ต เช่น จากเว็บไซต์ www.youtube.com ซึ่งสามารถระบุช่วงเวลาที่ต้องการได้  โดยชุดคำถามแต่ละชุดจะมีการกำหนดรหัสชุดคำถามหรือเรียกว่า PIN ให้ผู้ตอบคำถามหรือนักศึกษาได้นำไปใช้เพื่อเข้าไปตอบคำถาม

 นักศึกษาสามารถเข้าไปตอบคำถามแข่งขันกันในชั้นเรียนซึ่งเป็นชุดคำถามที่สร้างโดยอาจารย์ผู้สอน ผ่านการเข้าเว็บไซต์ kahoot.it จากสมาร์ทโฟน (Smart phone) ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต โดยผู้ตอบคำถามจะเข้าไปกรอกรหัสชุดคำถามหรือเรียกว่า PIN จากอาจารย์ผู้สอนเพื่อตอบคำถามร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นคนอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ในการตอบคำถามนั้นจะมีการกำหนดระยะเวลาในการตอบคำถามซึ่งจะถูกกำหนดโดยผู้สร้างชุดคำถาม ผู้ตอบคำถามจะได้รับคะแนนภายหลังจากหมดเวลาในการตอบคำถามทั้งนี้จะมีการให้คะแนนที่แตกต่างกันโดยวัดจากการตอบคำถามในข้อที่ถูกต้องและความเร็วในการตอบคำถาม โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ที่ตอบคำถามได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด เมื่อสิ้นสุดการตอบคำถามอาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบผลสรุปการตอบคำถามของนักศึกษาในขั้นเรียนได้โดยระบบ getkahoot.com จะมีการรายงานผลสรุปของการตอบคำถามออกมาเป็นค่าต่าง ๆ ทั้งนี้อาจารย์หรือผู้สอนสามารถนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในประเด็นหรือหัวข้อต่าง ๆ ของนักศึกษาได้ เช่นหากประเด็นใดมีร้อยละของนักศึกษาที่ตอบคำถามถูกน้อยกว่าประเด็นอื่น ๆ จะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าหัวข้อดังกล่าวนักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจมากนักซึ่งผู้สอนอาจพิจารณาในการปรับปรุงในการเรียนการสอนหรืออาจหาแนวทางในการเพิ่มข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นต่อไป นอกเหนือจากการประเมินด้วยวิธีการสอบ

นอกจาก kahoot แล้ววิทยากรได้นำเสนอเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนได้ เช่น Plickers (www. Plickers.com) โดยเทคโนโลยีนี้ผู้ถามจะเป็นผู้ที่มีสมาร์ทโฟนและระบบอินเตอร์เน็ต แต่ผู้ตอบไม่ต้องมีสมาร์ทโฟนและระบบอินเตอร์เน็ต การสร้าง QR code เพื่อใช้ใน scan เพื่อตอบคำถามที่สร้างจากระบบ google form และ การใช้ระบบ 3 มิติเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพต่าง ๆ ที่มิติมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1059
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง