ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วม KM เรื่องการทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้
วันที่เขียน 7/3/2559 18:22:55     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 16:48:54
เปิดอ่าน: 5954 ครั้ง

การทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นอีก 1 พันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีกระบวนการในการจัดทำในหลายระดับ ตั้งแต่ ระดับมหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตร และ รายวิชา โดยการทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้จะทำให้ทราบว่าการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามหลักสูตรที่สร้างขึ้นหรือไม่ และควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่แต่ละหลักสูตรได้กำหนดไว้

           จากการเข้าร่วมโครงการจัดการความรู้ (KM) เรื่อง การทวนสอบตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ เมื่อวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้อง 2504 อาคาร 60 ปี แม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ  บัวเจริญ เป็นวิทยากร ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการดิฉันได้ทราบว่าการทวนสอบมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการที่จะบอกว่า การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นหรือไม่ โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดของการทวนสอบตามลำดับ ดังนี้

  1. ความหมายของการทวนสอบ
  2. วิธีการในการทวนสอบ
  3. เอกสารประกอบการทวนสอบ
  4. หลักในการพัฒนา มคอ.3
  5. การนำแนวทางในการทวนสอบไปปฏิบัติจริง

 

 1. ความหมายของการทวนสอบ

  ตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ได้ให้ความหมายของการทวนสอบไว้ว่า “การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการหาหลักฐานเพื่อยืนยันหรือสนับสนุนว่านักศึกษาทุกคนมีผลสัมฤทธิ์การศึกษาตรงตามมาตรฐานผลการเรียนรู้เป็นอย่างน้อย ซึ่งอาจได้จากผลการประเมินข้อสอบ    ว่าครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ การให้คะแนนตรงตามความจริง การให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้สำเร็จการศึกษา การประสบความสำเร็จในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษา”

         ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า การทวนสอบ (Verifying) เป็นการดำเนินการหาหลักฐาน หรือตรวจสอบด้วยวิธีการใด ๆ ที่เหมาะสมกับวิธีการประเมินผลและลักษณะผลการเรียนรู้ เพื่อยืนยันว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดในรายวิชาและหลักสูตร

 

2. วิธีการในการทวนสอบ  เพื่อให้มีระบบจำเป็นที่จะต้องมีคู่มือการทวนสอบ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย คณะ หลักสูตร และ รายวิชา โดย

2.1   ผู้ทวนสอบ จะมีหลายกลุ่ม ดังนี้

        1) คณะกรรมการประจำหลักสูตร

        2) อาจารย์ผู้สอน

        3) ผู้เรียน

        4) ผู้ใช้บัณฑิต

        5) บัณฑิต

        6) ผู้ทรงคุณวุฒิ

 

2.2  สำหรับในส่วนของคณะกรรมการประจำหลักสูตร อาจจะมีการดำเนินการ ดังนี้

        1) แต่งตั้งอนุกรรมการทวนสอบรายวิชา ซึ่งกรรมการอาจจะประกอบด้วยอาจารย์ผู้สอน และตัวแทนจากหลักสูตร

        2) จัดทำคู่มือการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในระดับรายวิชา

        3) กำหนดรายวิชาที่จะทวนสอบ สำหรับรายวิชาที่ควรรับการทวนสอบ ได้แก่ รายวิชาเอก รายวิชาบังคับ รายวิชาแกน หรือ                    รายวิชาที่มีลักษณะการประเมินผลที่ผิดปกติ โดยอาจจะวางแผนการทวนสอบร้อยละ 25 ในแต่ละปีการศึกษา เช่น

 

ชั้นปีที่

จำนวนรายวิชาที่เปิดสอน

จำนวนรายวิชาที่ทวนสอบ

1

16

4

2

24

6

3

20

5

4

16

4

รวม

76

19

 

4) ดำเนินการทวนสอบ โดยวิธีในการทวนสอบสามารถทำได้หลายแบบ (จะมีวิธีการทวนสอบที่จะใช้ในหลักสูตร ที่ระบุไว้ใน                  มคอ.2 เรียบร้อยแล้ว) เช่น

                    - การสัมภาษณ์

                    - การสังเกตพฤติกรรม

                    - การตรวจสอบการให้คะแนน

                    - การทวนความสอดคล้องของข้อสอบกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้

                    - การทวนการตัดเกรด

                    - การสอบย่อย

                    -  การทวนวิธีการวัดและประเมินผลกับกลยุทธ์การสอนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้

         5)  สรุปผลและรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตร

         6)  คณะกรรมการประจำหลักสูตร รายงานผลการดำเนินงานใน มคอ.7 เพื่อการปรับปรุงในปีต่อไป

 

 ตัวอย่าง การทวนวิธีการวัดและประเมินผลกับกลยุทธ์การสอนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้

 

มาตรฐาน

ผลการเรียนรู้

วิธีการประเมินผล

สัดส่วนของการประเมิน

กลยุทธ์

การทวนสอบ

ผลการทวนสอบ

ด้านคุณธรรมและจริยธรรม

ข้อ 1.1

การสังเกตพฤติกรรมจากการทำงานกลุ่ม

5%

ตรวจสอบผลการประเมินพฤติกรรมกลุ่ม (จาก rubric score)

นศ.ร้อยละ 90         มีความร่วมมือ         ในการทำงานกลุ่ม   อยู่ในระดับดี

ด้านความรู้     

ข้อ 2.1 , 2.2

การสอบ

55%

- ทวนความสอดคล้องของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้

- ทวนผลคะแนนของ นักศึกษาจากกระดาษ  คำตอบ

- ข้อสอบร้อยละ 100 เป็นไปตาม มาตรฐานผลการเรียนรู้

- นศ.ร้อยละ 90      มีผลผ่านการสอบ  ด้านความรู้

ด้านทักษะทางปัญญา ข้อ 3.1

การสอบอัตนัย

20%

- ทวนการตอบคำถามของ นักศึกษาจากกระดาษคำตอบ

- นศ.ร้อยละ 80 สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้          ในระดับดี

ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ   

ข้อ 4.2

การสังเกตพฤติกรรมจากการทำงานกลุ่มและการส่งรายงาน

10%

- ตรวจสอบผลการประเมินพฤติกรรมกลุ่ม (จาก rubric score)

- ตรวจสอบรายงาน

- นศ.ร้อยละ 90        มีความร่วมมือ          ในการทำงานกลุ่ม  อยู่ในระดับดี

- นศ.ร้อยละ 100 ส่งรายงาน ภายในเวลาที่กำหนด

ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   

 ข้อ 5.1

การนำเสนอหน้าชั้นเรียน

10%

- ตรวจสอบผลการประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

นศ. ร้อยละ 80       มีทักษะในการนำเสนออยู่ในระดับดี

 

           สรุป ผู้เกี่ยวข้อง / ดำเนินการในการทวนสอบ ตามเครื่องมือต่าง ๆ 

เครื่องมือที่ใช้ในการทวนสอบ

ผู้ที่เกี่ยวข้อง / ดำเนินการ

แบบประเมินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้

นักศึกษา

แบบประเมินการทวนสอบ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ (มคอ. 3)

คณะกรรมการทวนสอบ / อาจารย์ประจำหลักสูตร

แบบประเมินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ (มคอ. 5)

คณะกรรมการทวนสอบ / อาจารย์ประจำหลักสูตร

แบบประเมินการทวนสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลตามมาตรฐานการเรียนรู้

คณะกรรมการทวนสอบ / อาจารย์ประจำหลักสูตร

แบบประเมินการทวนผลการวัดผล และประเมินผล รายวิชา

คณะกรรมการทวนสอบ / อาจารย์ประจำหลักสูตร

 

3.  เอกสารประกอบการทวนสอบ

          1) มคอ.2 ของหลักสูตรที่ดำเนินการทวนสอบ

          2) มคอ.3 หรือ มคอ.4 ของรายวิชาที่ทำการทวนสอบ

          3) มคอ.5 หรือ มคอ.6 ของรายวิชาที่ทำการทวนสอบ (เพื่อจะได้พิจารณาว่าผู้สอนได้มีการปรับเปลี่ยนผลการเรียนรู้ วิธีการ

               สอน หรือ การประเมินผลหรือไม่ รวมถึงเนื้อหาที่สอนเป็นอย่างไรมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ และ ผลการเรียนของผู้เรียน                    เป็นอย่างไร โดยอาจจะสอบถามจากผู้สอนเพิ่มเติมได้)

          4)  ข้อสอบ รายงาน ชิ้นงานต่าง ๆ หรือแฟ้มสะสมผลงาน ที่คณาจารย์ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละด้าน

 

4.    หลักในการพัฒนา มคอ.3

           การพัฒนา มคอ.3 สามารถพิจารณาได้จาก

          1) Main concept ของคำอธิบายรายวิชาใน มคอ. 2

          2) การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษาใน มคอ. 2

          3) ผลการเรียนรู้ curriculum mapping ใน มคอ. 2 เพื่อปรับปรุงเพื่อพัฒนานักศึกษาและบัณฑิต

          4) คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์  ซึ่งอาจจะกำหนดของสาขาวิชาขึ้นมา โดยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับคณะ หรือ  

               มหาวิทยาลัยทั้งหมดก็ได้

          5)  ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยพิจารณาว่าได้นำไปใช้ในการออกแบบระบบอย่างไร

 

เอกสารอ้างอิง :  ปาริชาติ  บัวเจริญ 2558. เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การทวนสอบตามกรอบ

                      มาตรฐานการเรียนรู้ เมื่อวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2558.

 

                        

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=466
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 11:50:36   เปิดอ่าน 11  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 12:52:57   เปิดอ่าน 126  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง