สัมมนา ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง Engagement ของผู้เรียน
วันที่เขียน 30/9/2564 12:03:37     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/6/2566 21:56:08
เปิดอ่าน: 2464 ครั้ง

การเรียนการสอนที่น่าเบื่อ และขาดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนขาดความสนใจ และทำให้ผลการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ งานสัมมนานี้ถ่ายทอดเทคนิคและเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สนุกและผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น ผ่านกิจกรรมและโปรแกรมช่วย รวมถึงการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและใฝ่รู้ด้วยตนเอง

กิจกรรมอบรมสัมมนา Webinar ในหัวข้อ "ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง Engagement ของผู้เรียน" จัดโดยโครงการนวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 ได้รับความรู้และเทคนิคมากมายในการนำมาปรับใช้ในการจัดการการสอนให้ไม่น่าเบื่อ และสนุกสนาน โดยสรุปเป็นหัวข้อ ดังนี้

  1. เทคนิคและเครื่องมือการสอนที่หลากหลาย การเลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการสอน ให้เหมาะสมกับบริบทของเนื้อหาของแต่ละรายวิชา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้ดีมากขึ้น ได้แก่ การใช้ Mentimeter ในการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษา การใช้เกมส์ตอบคำถามในชั้นเรียนด้วย Kahoot และ Quizizz เพื่อกระตุ้นความสนใจผ่านการแข่งขันกันในห้องเรียน ซึ่งได้ทั้งความสนุกและได้สรุปเนื้อหาการเรียนรู้ ร่มทั้งวัดผลการเรียนรู้ไปด้วย การทำกิจกรรมออนไลน์ร่วมกันผ่าน Flinga และ Canva เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการระดมความคิดเห็น และสร้างสรรค์ผลงานกลุ่มร่วมกัน 
  2. การกระตุ้นแรงบันดาลใจด้วยศาสตร์การสอนและจิตวิทยาการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศการเรียนให้สนุก น่าสนใจ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น และอยากจะค้นหาความรู้ต่อยอดด้วยตนเอง การสร้าง Growth Mindset นี้เป็นสิ่งสำคัญ และต้องใช้เวลาในการจะเกิดผลในผู้เรียน อาจจะใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ในการชักจูง และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน ผ่านการเรียนที่สนุก และมีความสุข 

การนำความรู้ที่ได้จากการอบรมนี้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เท่าที่จะสามารถปรับได้ตามบริบทของแต่ละรายวิชา น่าจะสามารถทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีความสนุก และมีความสุขในการเรียนมากขึ้นได้ 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » จริยธรรมในการวิจัย
หลักจริยธรรมการวิจัย โดยให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นหน่วยวิเคราะห์ เช่น คน มนุษย์ สัตว์ ซึ่งการวิจัยในมนุษย์นั้น จะเน้นที่ The Belmont Report ส่วนนิยาม จรรยาบรรณ สำนักการวิจัยแห่งชาติ ไ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 20/2/2566 14:13:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 9/6/2566 5:32:20   เปิดอ่าน 229  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม
การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างสรรค์”สิ่งใหม่” อาทิ ผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่า การขยายขอบเขตความคิดออกไปจาก กรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหา...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 20/2/2566 14:05:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/6/2566 0:12:43   เปิดอ่าน 135  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง