การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และแนวคิดที่คลาดเคลื่อน
วันที่เขียน 1/9/2559 17:06:04     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/5/2568 4:25:28
เปิดอ่าน: 2866 ครั้ง

บทความนี้เป็นประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสำคัญของการแก้ไขแนวคิดที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียน ซึ่งถ้าไม่ได้แก้ไขแนวคิดของผู้เรียนที่มีแนวคิดที่คลาดเคลื่อน ให้มีแนวคิดที่ถูกต้องแล้ว อาจส่งผลเสียหายต่อผู้อื่นหรือสาธารณชนได้

จากการได้ศึกษาเรียนรู้ผลงานวิจัยของนักวิชาการหลายท่านและผลงานของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนได้สนใจงานวิจัยทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ จึงได้สรุปประเด็นหลักในแง่มุมของการเรียนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ และความจำเป็นของการแก้ไขแนวคิดที่คลาดเคลื่อน มีดังนี้ 

การเรียนรู้เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นนามธรรม สิ่งที่มีขนาดเล็กหรือโตเกินไป เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมองไม่เห็น เช่น ปรากฏการณ์เกี่ยวกับคลื่น เป็นต้น เป็นเหตุให้ผู้เรียนมีแนวคิดที่คลาดเคลื่อน ถึงแม้ว่า ผู้เรียนจะได้ทำโจทย์ตัวอย่างและทำแบบฝึกหัดโดยใช้แนวจากการทำโจทย์ตัวอย่างคำนวณได้ถูกต้องก็ตาม แต่เมื่อใช้ข้อสอบตรวจวินิจฉัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สัมภาษณ์ประกอบในการตรวจสอบมักจะพบว่า ผู้เรียนยังมีแนวคิดที่คลาดเคลื่อนอยู่และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนนี้มักจะมีกับผู้เรียนทั่วไปในโลก แนวคิดที่คลาดเคลื่อนดังกล่าวมักจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยากและติดตัวผู้เรียนไป เมื่อจบการศึกษาและไปประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นหรือสาธารณชน ถ้าสิ่งนั้นเกี่ยวกับความรู้ที่เป็นแนวคิดที่คลาดเคลื่อนของเขาอยู่ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นผู้สอนในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนส่วนมากในโลกนี้มีแนวคิดที่คลาดเคลื่อน ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้เรียนไม่มีแนวคิดที่คลาดเคลื่อน หรือได้รับการแก้ไขแล้ว เช่นวิศวกรที่ทำการออกแบบและสร้างยวดยานพาหนะที่ใช้กับสาธารณะชน แต่เขาเข้าใจแนวคิดที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับกฎข้อที่หนึ่งของนิวตันอยู่ หรือนายแพทย์ที่สั่งให้ใช้เครื่องมือเกี่ยวกับฟิสิกส์กับผู้ป่วย แต่เขามีแนวคิดที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องมือนั้น ย่อมทำให้เกิดความเสียกับผู้ป่วยหรือสาธารณชนได้ เป็นต้น 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
งานวิจัย » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมครั้งที่ 6 ประจำปี 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมครั้งที่ 6 ประจำปี 2568ครั้งนี้ เปิดมุมมองใหม่ด้านอาชีพ เทคโนโลยีเกษตร เกมที่ช่วยในการการเรียนรู้ และนาโนเซ็นเซอร์ เสริมทักษะนักศึกษาและอา...
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 13/5/2568 20:04:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/5/2568 22:13:30   เปิดอ่าน 29  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
งานวิจัย » การวิเคราะห์สารสกัดจากธรรมชาติ
จากการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและเห็ดในประเทศไทยเชิงสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 7/5/2568 12:07:25  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/5/2568 22:38:31   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง