Blog : การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
รหัสอ้างอิง : 215
ชื่อสมาชิก : ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์
เพศ : ชาย
อีเมล์ : sanpet@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 9/2/2554 17:32:17
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 9/2/2554 17:32:17

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
เป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ความรู้ที่ได้รับ จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน ตั้งแต่ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564
คำสำคัญ : ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 133  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 14:16:35
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
คำสำคัญ : AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 365  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:08:29
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 4th International Conference on Science Technology & Innovation-Maejo University (4th ICSTI-MJU) Hybrid conference (Online & Onsite)
การเข้าร่วมประชมวิชาการระดับนานาชาติ The 4th International Conference on Science Technology & Innovation-Maejo University (4th ICSTI-MJU) Hybrid conference (Online & Onsite) ในวันที่ 29 มีนาคม 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ทางด้านวิชาการ ในหัวข้อที่สนใจ ได้แก่ คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์และนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับใช้ในด้านการวิจัย การเรียนการสอน ในรายวิชาในหลักสูตรฯ ต่อไป
คำสำคัญ : Conference  Statistics  ประชุมวิชาการ  ระดับนานาชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1845  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 1/4/2567 9:38:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 5:02:12
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อมาก็คือ การเผยแพร่ผลงานวิชาการนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแวดวงวิชาการในสาขานั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อใหม่ ทางด้านวิชาการในศาสตร์นั้น ๆ ซึ่งหนึ่งช่องทางในการนำเสนอข้อมูลนั้น ได้แก่ การตีพิมพ์บทความทางวิชาการในระดับชาติหรือระดับนานาชาตินั่นเอง ดังนั้นเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นต่อวงการวิชาการ
คำสำคัญ : Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 204  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:19:59
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 4
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา นักวิชาการ ผู้ที่สนใจได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลงานการวิจัยในแต่ละสาขาฯที่เกี่ยวข้องกับทางด้านวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ : ประชุมวิชาการ  ระดับชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3685  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/5/2566 11:32:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:17:50
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าประสงค์ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้ มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกลยุทธ์การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรให้มี เข้มแข็งและมีความทันสมัยเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าใจในบริบทของสังคมและความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาได้กำหนดให้หลักสูตรเน้นการพัฒนานักศึกษา ให้เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาหลัก (core subjects) (2) กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (life and career skills) ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและข้ามวัฒนธรรม ความรับผิดชอบและความ สามารถผลิตผลงาน ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม (3) กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ได้แก่ การคิดเชิงวิพากษ์และ การแก้ปัญหา นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ การสื่อสารและความร่วมมือกัน และ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาของแต่ละหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะที่ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (information, media and technology skills คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดทำ “โครงการอบรมเทคนิคการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ” เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ ความรู้ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 - 4 ได้ฝึกการนำเสนอผลงานทางวิชาการ มีความกระตือรือร้นและแสดงออก และเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในการนำเทคนิคการสอนไปใช้ในสถานณ์การต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ  ระดับชาติ  ระดับนานาชาติ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 308  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/5/2566 11:00:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 13:45:58
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » สถิติสำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบ
สถิติเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล และเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในห้องปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์จำเป็นต้องมีความถูกต้อง และเหมาะสมกับข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คำสำคัญ : สถิติ  สถิติทดสอบ  สถิติประยุกต์  ห้องปฏิบัติการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2683  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 9/5/2566 10:46:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:56:22
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเป็นสิ่งที่สำคัญ และพึงให้ความสำคัญ อีกทั้งในวงการวิชาการในการพิจารณาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการนั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ ดังนั้นการที่จะผลิตผลงานวิชาการให้ได้ดี และมีคุณภาพอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ ยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณในทางวิชาการอีกด้วย
คำสำคัญ : กำหนดตำแหน่งทางวิชาการ  จรรยาบรรณ  จริยธรรม  วิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 621  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 10/2/2566 9:17:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 1:09:14
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การนำความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICAS2022 มาพัฒนาในงานที่เกี่ยวข้อง
การประชุมวิชาการสถิติ/สถิติประยุกต์ ระดับนานาชาติ (ICAS2022) เป็นการประชุมวิชาการในสาขาวิชาสถิติ/สถิตประยุกต์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสถิติ และการประยุกต์ใช้ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ และมีการเสวนาหัวข้อ "เส้นทางสู่ความสำเร็จในวิชาชีพอาจารย์สาขาสถิติ"
คำสำคัญ : ICAS2022  ประชุมวิชาการ  สถิติ  สถิติประยุกต์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1386  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 21/11/2565 12:47:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:18:11
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “Skill Mapping รุ่นที่ 3”
ในการพัฒนาทักษะ (skill) ของนักศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สถานประกอบการ หรือผู้ใช้บัณฑิต จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่สถานประกอบการ/ตลาดแรงงาน มีความต้องการ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาพัฒนารายวิชาเรียน ในหลักสูตร เพื่อให้ตอบโจทย์การผลิตบัณฑิต ให้มีทักษะ (Skill) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
คำสำคัญ : Mapping  Skill  หลักสูตร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1057  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 22/9/2565 12:15:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 1:41:32
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ในการจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์ หลักสูตรต่าง ๆ ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ได้มีแนวคิดที่จะนำระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ในเวอร์ชั่น 4.0 (AUN-QA) มาใช้เพื่อผลักดันการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับแนวคิดการจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Outcome-Based Education) ดังนั้นคณาจารย์ทุกหลักสูตรจึงต้องมีองค์ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาดังกล่าว
คำสำคัญ : AUNQA  Version 4.0  ประกันคุณภาพการศึกษา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3788  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2565 10:33:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 11:06:30
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “การพัฒนาคณาจารย์ให้มีการสอนที่สร้างทักษะ ๔C สอดแทรกในรายวิชา (รุ่นที่ ๑)”
กระบวนการเรียนรู้ Learning Model คิดเป็นสัดส่วนในการเรียนรู้ ดังนี้ ลงมือปฏิบัติ : กระบวนการพี่เลี้ยง/โค้ช : เพิ่มเติมความรู้ในหลักสูตร คิดเป็นสัดส่วน ๗๐ : ๒๐ : ๑๐ และมีการทบทวนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ อันได้แก่ ๔C ประกอบไปด้วย Creativity Critical thinking Communication and Collaboration โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่บนพื้นฐาน Mindset ของ Coach and Facilitator mindset ซึ่งมี Key Elements and Skill ที่ใช้ได้แก่ Deep Listening อันประกอบไปด้วย Be there ดำรงตนเพื่อคนอยู่ข้างหน้า Paraphrase การทวนสิ่งที่ได้ยินไม่เท่ากับเล่าเรื่องซ้ำสอง Empathic listening การสะท้อนความรู้สึก และการฟังแบบผู้อำนวยการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย Verbal (เนื้อหา) ๗% Vocal (น้ำเสียง) ๓๘% และ Visual (ภาษากาย) ๕๕% และการตั้งคำถามโดยโค้ช โดยที่ Mindset for Coaching and Facilitator ประกอบไปด้วย ๑. The map is not the territory. มนุษย์ทุกคนเป็นได้มากกว่าที่เห็น ๒. People is doing the best they can with the resources they have available. ทุกคนทำดีที่สุดแล้วเท่าที่ทรัพยากรที่มี ๓. Be behavioral flexibility. ทุกคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ๔. There is no failure. It’s only feedback. จะไม่มีความล้มเหลว มีเพียงแต่การเสนอแนะหรือการสะท้อนกลับ อีกทั้งได้เรียนรู้กระบวนการ Coaching and Facilitator ซึ่งกรอบแนวคิดของผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) ประกอบไปด้วย ๖C Model (Connect, Contract, Content, Conversation, Commit and Conclude)
คำสำคัญ : 4C  Coaching  Facilitator  การเรียนรู้ในศตวรรษที่21  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1211  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 10/2/2565 10:13:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 14:12:34
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร AUN-QA กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำระบบการประเมินคุณภาพภายใน ASEAN University Network Quality Assurance (AUN_QA) มาใช้ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตร/คณะ และระดับสถาบัน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดความเข้าใจในระบบการประเมินภายใต้ AUN_QA นั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนา โดยให้ความรู้ในด้านการประกันคุณภาพภายใน AUN-QA เพื่อนำไปสู่การเขียนรายงานการประเมินตนเองของหลักสูตรไปในทิศทางเดียวกัน
คำสำคัญ : AUNQA  ประกันคุณภาพ  หลักสูตร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3444  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 15/9/2564 15:42:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:08:26
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » โครงการเทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ
ดัชนีชี้วัดคุณภาพวารสารเพื่อการตีพิมพ์ โดยการจัดแบ่งตัวชี้วัดคุณภาพของวารสาร สามารถแบ่งออกตามลักษณะแบบวิธีประเมิน ได้แก่ ๑) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญกับวารสารประเภท Peer Review ๒) วารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ จะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพวารสารได้เป็นอย่างดี ๓) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญในเรื่องการนำวารสารหรือบทความของวารสารไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดงานวิจัย หรือพัฒนาจนนำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ใหม่อย่างแพร่หลาย หรือมีอิทธิพลในสาขานั้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการอ้างอิงของวารสารนั้น และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมาช่วย และสร้างเป็นเครื่องมือที่แตกต่างกันออกมา โดยเครื่องมือหรือตัวชี้วัดคุณภาพวารสารที่นิยม ได้แก่ Journal Impact Factor (JIF), JIF Quartile, SCImago Journal Rank (SJR), SJR Quartile, Eigenfactor, Source Normalized Impact per paper (SNIP), Impact Per Publication (IPP), Citation Index เป็นต้น ๔) ชี้วัดคุณภาพของวารสารโดยให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างจำนวนบทความที่ตีพิมพ์กับจำนวนการอ้างอิงบทความของวารสารได้ถูกนำไปใช้ในวงวิชาการหรือไม่ และถูกนำไปใช้อย่างไร ปริมาณบทความที่วารสารตีพิมพ์ออกมามาก ๆ ต่อปี ไม่ได้หมายความว่าวารสารนั้นมรคุณภาพดีกว่าวารสารที่ตีพิมพ์น้อยกว่าครึ่ง โดยตัวชี้วัดที่นิยม ได้แก่ h-index - เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสาร (Impact/Ranking) สามารถจำแนกได้ดังนี้ ๑) Journal Citation Reports โดยพิจารณาจากวารสารนั้นมีการอ้างอิงเฉลี่ยต่อบทความของวารสารนั้น ๆ ๒) Eigen Factor ใช้เพื่อประเมินการนำวารสารนั้น ว่าถูกนำไปใช้ในทางวิชาการ หรือนักวิจัยจำนวนเท่าใดที่อ่าน และนำวารสารนี้ไปใช้อ้างอิงต่อ โดยรวบรวมสถิติจำนวนครั้งการอ้างอิงในรอบห้าปีไปคำนวณหาค่า โดย EF จะเป็นการวัดคุณภาพของวารสาร จากจำนวนการอ้างอิงที่ได้จากบทความทั้งหมดของวารสารที่ตีพิมพ์ในรอบปี ๓) SCImango ใช้เพื่อประเมินการนำคุณภาพความสำคัญของวารสารนั้นไปใช้ทางวิชา บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ไม่ใช่บทความวิชาการทุกรายการที่ได้รับการอ้างอิงจะมีความสำคัญมีชื่อเสียง หรือทรงคุณค่าทางวิชาการเท่ากันหมด โดยให้น้ำหนักทั้งชื่อเสียงของวารสาร คุณภาพ และสาขาวิชา โดยสารารถนำไปใช้เปรียบเทียบวารสารข้ามสาขากันได้ โดยค่าที่ใช้ได้แก่ Scimago Journal Rank (SJR) การอิงต่อหนึ่งบทความ ลักษณะคล้ายกับ Impact Factor และใช้ SJR Quartile เพื่อเปรียบเทียบ ได้แก่ Q1, Q2, Q3 และ Q4 ๔) CWTS Journal indicators และ Journalmetrics โดยค่าที่ใช้ในการประเมินได้แก่ Source Normalized Impact Per Paper (SNIP) เพื่อใช้เปรียบเทียบคุณภาพของบทความในวารสารคนละฉบับ และสามารถเปรียบเทียบระหว่างสาขาได้ และอีกตัวชี้วัดหนึ่งได้แก่ h-index ซึ่งเป็นค่าที่แสดงความนิยมของบทความที่ได้รับการอ้างอิงในวารสาร
คำสำคัญ : Impact Factor  Journal  SJR  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1272  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 13/9/2564 12:39:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:35:15
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต “วิถีการทำงานเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี”
สืบเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโรวิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้การดำเนินชีวิต การทำงานจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ทั้งนี้เนื่องจากลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั่นเอง ดังนั้นการปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต การทำงาน จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนไปเพื่อให้สอดคล้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนั่นเอง
คำสำคัญ : NEW_NORMAL  วิถีชีวิตใหม่  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2992  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 5/8/2564 11:51:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 19:37:40
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 3”
โครงการอบรม จริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นขั้นตอน กระบวนการที่จะต้องดำเนินการภายใต้การทำวิจัยในคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถาม สัมภาษณ์ เป็นต้น ดังนั้น การที่จะต้องมีการรับรองในด้านจริยธรรมการวิจัยในคนถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ใยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัคร
คำสำคัญ : การวิจัยในคน  จริยธรรม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1619  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 5/8/2564 11:27:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 17:11:59
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 19 (AMM2014)
การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 19 (AMM2014) ระหว่างวันที่ 20 – 22 มีนาคม 2557 ณ ห้อง โรงแรม A – One The Royal Cruise Hotel, Pattaya จังหวัดชลบุรี ด้านเนื้อหา เนื้อหาที่เข้าร่วมประชุมวิชาการฯ นั้น จำแนกรายละเอียดดังนี้ 1. การเสวนา วิชาการ หัวข้อ “คณิตศาสตร์กับการพัฒนาประเทศ” โดย อาจารย์อานนท์ โอภาสพิมลธรรม (อุปนายกสมาคมประกันวินาศภัย และรองกรรมการผู้จัดการ บมจ.วิริยะประกันภัย) อาจารย์สมศักดิ์ อรรถเสรีพงศ์ (ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายที่ปรึกษาการเงิน บ.เอไอเอ ประเทศไทย) ดร.ชญานิน เกิดผลงาม (ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยง สำนักงาน คปภ.) ดำเนินรายการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนา เลิศสุวรรณศรี โดยเนื้อหาใจความการเสวนาในครั้งนี้ กล่าวถึง การนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการประกันภัย โดยพื้นฐานองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยนั้นใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติมาใช้เป็นอย่างมาก โดยในปัจจุบันมีผู้ที่เชี่ยวชาญ ชำนาญทางด้านการประกันภัยค่อนข้างน้อย และมีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันระดับอุดมศึกษาที่จะมุ่งผลิตนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจประกันภัยในอนาคตอันใกล้นี้ 2. การเสวนาวิชาการ หัวข้อ “การสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานทางวิชาการ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ธรรมพงษา (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร เลาหโกศล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ เนียมมณี (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ดำเนินการรายการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ สร้อยแสง โดยเนื้อหาใจความของการเสวนาในครั้งนี้ เป็นการเสวนาเกี่ยวกับการผลิตผลงานทางด้านวิชาการ โดยเน้นเกี่ยวกับการผลิตผลงานวิชาการทางด้านคณิตศาสตร์ และทางด้านสถิติ ซึ่งจะต้องมีการเผยแพร่ผลงาน และคุณภาพของผลงานวิชาการ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตตำรา เอกสารประกอบคำสอน หนังสือ ที่เกี่ยวข้อง 3. เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย การนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่า จำนวน เรื่อง ได้แก่ 3.1 เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 1 เรื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชันโดยใช้กิจกรรมเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย อ.รัตนากาล คำสอน ม.ราชมงคลล้านนา 3.2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อเสริมรายวิชา Calculus 1 for Engineers เรื่อง การประยุกต์อินทิกรัลจำกัดเขต โดย อ.สุวิมล สิทธิชาติ ม.ราชมงคลล้านนา 3.3 เรื่อง ประสิทธิภาพการเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์โดยใช้เกมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดย คุณพิริยา เลิกชัยภูมิ 3.4 เรื่อง การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ โดย อ.นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล ม.ราชมงคลล้านนา 3.5 เรื่อง แบบจำลองการจัดการกระบวนการรับสินค้าอุปโภคบริโภคของศูนย์กระจายสินค้า โดย คุณเสาวภา มหาคีตะ 3.6 เรื่อง แบบจำลองสโทแคสติกสำหรับทำนายแนวโน้มปริมาณการใช้ไฟฟ้าในโรงเรียนมัธยม โดย คุณจิราพร บุญมาก 3.7 เรื่อง Optimal Sliding Mode Controllers for a Class of Nonlinear Systems โดย คุณสุรีย์พร ลพล้ำเลิศ 4. การเสวนาวิชาการ หัวข้อ “Statistics Education and Cognitive Skills: An Application of Probability and Statistical Inference in Thai Government Lottery Example” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราฤทธิ์ พานิชกิจโกศล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.ยงยุทธ ไชยพงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเนื้อหาใจความของการเสวนาในครั้งนี้ เป็นการเสวนาเกี่ยวกับการนำสถิติในเชิงทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การออกผลรางวัลลลากกินแบ่งรัฐบาล โดยอาศัยอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability Theory) 5. การเสวนาวิชาการ หัวข้อ “คณิตศาสตร์การจัดการ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา บุญประเสริฐ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.มรกต ระวีวรรณ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อารยา แจ่มจันทร์ โดยเนื้อหาใจความของการเสวนาในครั้งนี้ เป็นการเสวนาเกี่ยวกับการใช้คณิตศาสตร์ในการจัดการด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านทรัพยากรด้านน้ำ การจัดการด้านธุรกิจการการประกันภัย และความเสี่ยง ต่าง ๆ โดยการจัดการต่าง ๆ เป็นการอาศัยการจัดการเกี่ยวกับตัวเลขและข้อมูลต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานการตัดสินใจภายใต้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เป็นต้น ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วม “การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 19 (AMM2014”) ครั้งนี้ สามารถสรุปสิ่งที่ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วม จำแนกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ ส่วนที่ 1 การเรียนการสอน สามารถนำผลการนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ หรือสถิติประยุกต์ มาใช้เป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาทางด้านสถิติ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนที่ 2 การวิจัย สามารถศึกษาหัวข้อวิจัยจากผู้ที่เข้าร่วมนำเสนอในการประชุมวิชาการครั้งนี้ มาต่อยอดในการวิจัย หรือสามารถพัฒนาหัวข้อในส่วนที่เกี่ยวช้องที่จะกลับมาจัดทำวิจัยต่อไปในอนาคตได้
คำสำคัญ : คณิตศาสตร์  ประชุมวิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5245  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 15/8/2557 16:45:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 21:48:07

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้