การผลิตสื่อด้วยโปรแกรมขั้นพื้นฐานในยุคโควิด
วันที่เขียน 29/9/2564 23:14:10     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 21:51:47
เปิดอ่าน: 1230 ครั้ง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่โรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยนักเรียนและนักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนการสอนในชีวิตปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับบทบาทของครูอาจารย์ที่ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อต่างๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน “สื่อการเรียนรู้” (instructional media) มีบทบาทสำคัญมากในการจัดการการเรียนรู้ คุณสมบัติสำคัญของสื่อเปรียบได้กับการสื่อสาร โดยผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียนโดยผ่านสื่อการเรียนรู้การผลิตสื่อในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้น การผลิตสื่อโดยใช้โปรแกรมที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ipad หรืออุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ต่างๆ น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับมือใหม่ที่เริ่มผลิตสื่อ เนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งใช้ง่าย และไม่ยุ่งยาก แต่หากต้องการผลิตสื่อแบบมืออาชีพ อาจต้องใช้โปรแกรมที่สูงขึ้นเพื่อผลิตสื่อให้ตรงกับความต้องการ เช่น power point, canva, imovie, Loom, OBS และ DaVinci Resolve สื่อที่มีให้เลือกใช้ มีหลายโปรแกรมด้วยกัน โดยในแต่โปรแกรม จะมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกันไป ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่โรงเรียนจนถึงระดับมหาวิทยาลัย โดยนักเรียนและนักศึกษาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเรียนการสอนในชีวิตปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับบทบาทของครูอาจารย์ที่ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อต่างๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน

 “สื่อการเรียนรู้” (instructional media) มีบทบาทสำคัญมากในการจัดการการเรียนรู้ คุณสมบัติสำคัญของสื่อเปรียบได้กับการสื่อสาร โดยผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียนโดยผ่านสื่อการเรียนรู้การผลิตสื่อในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้น การผลิตสื่อโดยใช้โปรแกรมที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ipad หรืออุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์ต่างๆ         น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับมือใหม่ที่เริ่มผลิตสื่อ เนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งใช้ง่าย และไม่ยุ่งยาก แต่หากต้องการผลิตสื่อแบบมืออาชีพ อาจต้องใช้โปรแกรมที่สูงขึ้นเพื่อผลิตสื่อให้ตรงกับความต้องการ เช่น

  • โปรแกรม power point เป็นโปรแกรมที่ใช้ผลิตสื่อการสอนที่ทุกคนคุ้นเคย ใช้งานง่าย เพียงจัดทำสไลด์ ข้อมูล ให้เรียบร้อย จากนั้นจึงลงมืออัดวีดีโอการนำเสนอ โดยพูด อธิบายข้อมูลต่างๆในแต่ละสไลด์ หากเกิดข้อผิดพลาดก็สามารถลบและแก้ไขในสไลด์แต่ละแผ่นได้โดยไม่ต้องแก้ไข file ทั้งหมด เมื่อทำการบันทึกการนำเสนอสไลด์ทุกแผ่นแล้ว จึงทำการสร้าง file วิดีโอ โดยเลือกบันทึกเป็น MP4
  • โปรแกรม canva เป็นโปรแกรมที่ใช้งานคล้ายกับ power point ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น canva.com การนำเสนอไม่ยุ่งยาก และมีรูปแบบที่น่ารักน่าใช้กว่า power point สามารถตัดต่อ แทรกเนื้อหา ข้อมูล แทรกเสียงเพลงในคลิปและวิดีโอการนำเสนอได้ วิดีโอที่ได้จะถูกบันทึกเก็บไว้ใน canva สามารถเปิดใช้งานได้ทุกที่ และยังสามารถส่ง link วิดีโอให้กับผู้เรียนได้เลย หรืออาจโหลดวิดีโอเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
  • โปรแกรม imovie สามารถสร้างวิดีโอ ให้เห็นผู้สอนพร้อมเนื้อหาการนำเสนอ สามารถตัดต่อคลิปได้ง่ายและสะดวก โดยเป็นโปรแกรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถโหลดได้จาก App store
  • โปรแกรม Loom ใช้ง่าย เห็นหน้าผู้สอนเป็นวงกลม สามารถย้ายตำแหน่งได้ ลด ขยาย ขนาดได้ ไม่ต้องลงโปรแกรม ใช้ผ่าน Chrome วิดีโอที่สร้างขึ้นมีความยาวไม่เกิน 5 นาที ให้ทดลองใช้ 14 วัน หลังจากนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายรายปี ประมาณ 3500 บาท
  • โปรแกรม OBS studio ใช้ฟรี 100% สามารถใช้ได้ทั้งแบบถ่ายทอดสด และแบบบันทึกวิดีโอ จัดฉากซับซ้อนได้ ตัดสลับกล้องได้แบบมืออาชีพ แต่มีข้อจำกัด ด้าน RAM และ CPU และเปลี่ยนมุมกล้องภายหลังไม่ได้
  • โปรแกรม DaVinci Resolve ใช้ฟรีและดีมาก แต่ต้องใช้ email แลก link สำหรับการดาวน์โหลด เป็นโปรแกรมที่ใช้ตัดต่อวิดีโอแบบมืออาชีพ อาจใช้งานยากสำหรับมือใหม่

 

สื่อที่มีให้เลือกใช้ มีหลายโปรแกรมด้วยกัน โดยในแต่โปรแกรม จะมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกันไป  ดังนั้นควรเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการของตนเอง การผลิตสื่อขั้นพื้นฐานผู้สอนต้องมัดใจผู้ฟังหรือผู้เรียนให้ได้ โดยต้องมีอารมณ์ขัน เป็นตัวของตัวเอง ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ให้ฟีดแบค และมีแจกรางวัล หรือ life coach ส่วนเทคนิคการทำสื่อให้น่าสนใจ นั้นทำได้ไม่ยาก ดังนี้

  • แบ่งวิดีโอออกเป็นส่วนๆ
  • วางพลอตเรื่องให้เชื่อมโยง และต่อเนื่องกัน สร้างรูปแบบของแต่ละวีดีโอ ออกแบบ Storyline สร้างความสอดคล้อง เชื่อมโยงของแต่ละวีดีโอ แต่ละครั้งของการเรียนการสอน Online วางแผนการใส่ Gimmicks, Applications วางแผนการปฏิสัมพันธ์ วางแผนการประเมินย่อย และ Quiz
  • อินเนอร์ของผู้สอน ต้องจัดเต็ม
  • มีการเร้า เหตุการณ์ สถานการณ์ หรือปรากฎการณ์/ภาพยนตร์
  • มีกิจกรรมจากกล้องมุมบน (Top view)

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1223
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 18:45:44   เปิดอ่าน 15  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 20:48:26   เปิดอ่าน 697  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 20:59:16   เปิดอ่าน 128  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง