การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2562 (AMM 2019)
วันที่เขียน 19/6/2562 16:02:04     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:40:09
เปิดอ่าน: 2985 ครั้ง

การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2562 “The 24th Annual Meeting in Mathematics” (AMM 2019) ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างวันที่ 15-17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ตามใบขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงาน ที่ ศธ 0523.4.5/153 ลงวันที่ 23 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 และใบขออนุมัติขยายระยะเวลาการเดินทางเข้าร่วมประชุมวิชาการฯ ที่ ศธ 0523.4.5/182 ลงวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2562

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมการประชุมวิชาการดังกล่าว ดังต่อไปนี้

          1. ได้รับฟังบรรยายพิเศษจากศาสตราจารย์ ดร.ปรเมษฐ์ มนูญพงศ์ สถาบันวิทยสิริเมธี เรื่อง “Mathematics and Robotics : From Numbers to Robot Behaviors & Learning” ทำให้ได้ทราบถึงงานวิจัยที่ใช้ศาสตร์หลายด้านทั้งทางคณิตศาสตร์ วิศวกรรม และชีววิทยา โดยเป็นการศึกษาพฤติกรรมของแมลงบางชนิดที่มีการเคลื่อนที่ที่น่าสนใจ เช่น แมลงสาบ มีความสามารถในการเดินบนพื้นผิวขรุขระ มีความสามารถในการเดินขึ้นพื้นเอียงทำมุม 45 องศาได้ นำมาศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาท การส่งสัญญาณที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ แล้วนำความรู้ทางชีววิทยา คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์มาพัฒนาเป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กและเคลื่อนที่ได้ใกล้เคียงกับแมลงสาบ ซึ่งจะได้นำหุ่นยนต์ดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ นับเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมาก

          2. ได้รับฟังบรรยายจาก ดร.เดชชาติ สามารถ มหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง “A Modern Approach to Classical Problems in Number Theory” ทำให้ทราบว่า Fermat’s last Theorem ที่เป็น open problem มาหลายสิบปี ได้มีนักคณิตศาสตร์หาคำตอบได้แล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้  และความรู้ทางทฤษฎีจำนวนเป็นเรื่องน่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมาก

          3. ได้รับฟังบรรยายพิเศษจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง “New School Mathematics as knowledge in Teaching Mathematics for 21st Century” ทำให้ทราบเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยวิทยากรได้ยกตัวอย่างการเรียนการสอน เรื่อง จำนวนนับในระดับชั้นประถมศึกษา ในประเทศญี่ปุ่น ว่าทำอย่างไรให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจจำนวนนับจากของจริง ไม่ใช่ท่องจำ และมีตัวอย่างการตั้งคำถามที่ดีให้นักเรียนตอบคำถามโดยเป็นคำตอบตามความคิดของตัวเอง มีคำตอบที่ถูกได้หลายคำตอบ ทำให้นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก นับเป็นตัวอย่างที่ดี น่าคิดในการนำมาประยุกต์ใช้กับห้องเรียนของตนเอง

          4. ได้รับฟังการบรรยายจากคณาจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ในหลาย ๆ แขนง เช่น ทฤษฎีจำนวน ความน่าจะเป็น ทฤษฎีจุดตรึง และงานวิจัยที่ประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์กับพันธะเคมี หรือศาสตร์แขนงอื่น ๆ

          5. ได้ปฏิบัติหน้าที่ session chair ประจำห้อง BS-4203 อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562  เวลา 15:30-16:50 น. ในงานวิจัยเกี่ยวกับ Fixed Point Theory (ทฤษฎีจุดตรึง) นับเป็นโอกาสที่ดี

          6. ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยและการเรียนการสอนกับคณาจารย์ นักวิจัยทางคณิตศาสตร์ หลาย ๆ ท่าน จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดี อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการทำวิจัยในอนาคต และการพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

          การเข้าร่วมการประชุมวิชาการครั้งนี้มีการนำไปใช้ประโยชน์คือ มีแนวทางในการทำวิจัยทางทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ มีความสัมพันธ์อันดีกับคณาจารย์ นักวิจัยทางคณิตศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการทำวิจัย การพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นหรือการบริการทางวิชาการในอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ อีกทั้งนำมาพัฒนาตนเองและนักศึกษาต่อไป

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง