โครงการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner ที่มีคุณลักษณะ Soft skill
วันที่เขียน 18/4/2562 11:57:26     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:32:21
เปิดอ่าน: 3484 ครั้ง

การจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคดิจิตัล ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างสนุกและมีความสุข มีความน่าสนใจตลอดเวลา การทำให้นักศึกษามีทักษะต่างๆ ที่ต้องการ การใช้เทคโนโลยีมาช่วยเป็นสิ่งจำเป็นและทำได้ไม่ยากเกินไป เช่น Google Classroom

      จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner ที่มีคุณลักษณะ Soft skill ในวันพุธ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยวิทยากร คือ ศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ ดังนี้ ได้รับฟังบรรยาย เรื่อง “การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner” ได้ทราบว่าการบรรยาย 1 ชั่วโมง นักศึกษาจะรับได้เพียง 20% ดังนั้นทำอย่างไรให้นักศึกษาได้ความรู้มากกว่านี้ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner คือ เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ มีลักษณะดังนี้ เป็นการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในระบบการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีเทคโนโลยีสารสนเทศ บูรณาการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศสู่ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความมีวินัยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรู้เกิดจากประสบการณ์และการสรุปของผู้เรียน ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้หรือเป็นโค้ชนั่นเอง โดยท่านวิทยากรได้ให้กฎอยู่ 3 ข้อ ดังนี้ กฎข้อที่ 1 อยากให้นักศึกษา Active ครูต้อง Active ก่อน โดยผู้สอนต้องมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เช่น วิธีการสอน เทคนิคการสอน บุคลิกภาพของการสอน กฎข้อที่ 2 ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยในการเรียนการสอน ดังนี้ มีการสื่อสารกับผู้เรียนผ่านทางห้องเรียนที่สร้างขึ้นบนแอพพลิเคชัน โพสต์เอกสารการสอน/เอกสารประกอบ/สั่งและส่งงาน/ข้อสอบ/คะแนน/คลิป ฯลฯ มีการแจ้งเตือนการโพสต์ผ่านโทรศัพท์มือถือ มีหน้าเพจสำหรับการอภิปราย/ถามคำถาม/แจ้งข่าว ใส่ตารางสอน เชื่อมกับแอพพลิเคชันอื่นๆ ที่มีประโยชน์ เช่น Google Drive, Google Form, YouTube ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ คือ Google Classroom ซึ่งจะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ กฎข้อที่ 3 ปรับปรุงเทคนิควิธีการเรียนการสอนและเนื้อหาทุกปี

       สำหรับ Soft Skills คือ ทักษะต่างๆ ที่ผู้สอนอยากให้ผู้เรียนเกิดทักษะนั้นๆ Soft Skills มีระบุไว้ 75 skills เช่น Accountability, Awareness, Creativity, Critical Thinking, Good Attitude, Honesty and Integrity, Interpersonal Relations, Leadership Skills, Problem Solving Skills and Team Work เป็นต้น โดยเราต้องมีการเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับ Soft skills ระบุ Soft skills ที่ต้องการและสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายทราบ สร้างความเข้าใจและการยอมรับ ลงมือพัฒนา Soft skills ตามที่วางไว้ และกำหนดข้อตกลงร่วมกันกับลูกทีม

       การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้มีการนำไปใช้ประโยชน์คือ ได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learner ที่มีคุณลักษณะ Soft skill  โดยท่านวิทยากรได้ให้แนวทางและให้ความรู้เกี่ยวกับ Google Classroom ที่ท่านวิทยากรได้ใช้ในการเรียนการสอนจริงและมีประโยชน์ต่อทั้งผู้สอนและผู้เรียนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์ ปรึกษาหารือ ให้ความรู้และส่งงาน แสดงความคิดเห็นต่างๆ นับเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งข้าพเจ้าตั้งใจว่าจะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตอันใกล้นี้

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=947
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:28:28   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง