|
ประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 20
»
งานวิจัยเรื่อง "Simultaneous Determination Of Folate And Derivatives in Grains Of Thai Rice by Liquid Chromatography"
|
Determination of folate (FA) or vitamin B9 and its derivatives such as 5-methyltetrahydrofolate (5-MTHF), Tetrahydrofolate (THF) and 10-formyl folic acid (10-CHOFA) in Thai rice with reverse-phase high-performance liquid chromatography. This technique was a simple and fast method for the simultaneous determination of folate and its derivatives. The seed of rice samples were collected from the Department of Genetics, Faculty of Science, Maejo University. Rice powder (0.5000 g) was soaked in 1 mL water and shaken at room temperature and centrifuged at 3500 rpm for 15 minutes. The supernatant was filtered through a 0.22 μm Nylon membrane filter and 20 μL was injected into the HPLC. Separation was performed using a C18 column with isocratic elution of 0.1% formic acid: acetonitrile (85:15 v/v). The flow rate was 0.70 mL min-1 and a photodiode array detector at the wavelength of 267 nm was employed. The calibration curve obtained (R2 > 0.9990) for folate, 5-MTHF, THF and 10-CHOFA were in the range of 0.50-50.0, 0.50-200.0, 0.50-50.0 and 5.0-100.0 mg L-1, respectively. The limit of detection (LOD) and limit of quantification (LOQ) were found to be 0.09- 0.15 mg L-1 and 0.30 to 0.50 mg L-1. Percent recovery at the concentrations of 15 and 35 mg L-1 were found in the range of 95-113. In the ten studied samples, folate and its derivatives were found in the range of 0.19-27.10 mg (in 100 g dry weight). This technique was applied to simultaneous determination of folate and derivatives in rice.
|
คำสำคัญ :
Folate, Thai Rice, High-Performance Liquid Chromatography
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
88
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิริรัตน์ ไพศาลสุทธิชล
วันที่เขียน
29/8/2567 13:08:05
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 4:06:11
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
»
โครงการเทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ
|
ดัชนีชี้วัดคุณภาพวารสารเพื่อการตีพิมพ์ โดยการจัดแบ่งตัวชี้วัดคุณภาพของวารสาร สามารถแบ่งออกตามลักษณะแบบวิธีประเมิน ได้แก่ ๑) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญกับวารสารประเภท Peer Review ๒) วารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ จะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพวารสารได้เป็นอย่างดี ๓) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญในเรื่องการนำวารสารหรือบทความของวารสารไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดงานวิจัย หรือพัฒนาจนนำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ใหม่อย่างแพร่หลาย หรือมีอิทธิพลในสาขานั้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการอ้างอิงของวารสารนั้น และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมาช่วย และสร้างเป็นเครื่องมือที่แตกต่างกันออกมา โดยเครื่องมือหรือตัวชี้วัดคุณภาพวารสารที่นิยม ได้แก่ Journal Impact Factor (JIF), JIF Quartile, SCImago Journal Rank (SJR), SJR Quartile, Eigenfactor, Source Normalized Impact per paper (SNIP), Impact Per Publication (IPP), Citation Index เป็นต้น ๔) ชี้วัดคุณภาพของวารสารโดยให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างจำนวนบทความที่ตีพิมพ์กับจำนวนการอ้างอิงบทความของวารสารได้ถูกนำไปใช้ในวงวิชาการหรือไม่ และถูกนำไปใช้อย่างไร ปริมาณบทความที่วารสารตีพิมพ์ออกมามาก ๆ ต่อปี ไม่ได้หมายความว่าวารสารนั้นมรคุณภาพดีกว่าวารสารที่ตีพิมพ์น้อยกว่าครึ่ง โดยตัวชี้วัดที่นิยม ได้แก่ h-index
- เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสาร (Impact/Ranking) สามารถจำแนกได้ดังนี้ ๑) Journal Citation Reports โดยพิจารณาจากวารสารนั้นมีการอ้างอิงเฉลี่ยต่อบทความของวารสารนั้น ๆ
๒) Eigen Factor ใช้เพื่อประเมินการนำวารสารนั้น ว่าถูกนำไปใช้ในทางวิชาการ หรือนักวิจัยจำนวนเท่าใดที่อ่าน และนำวารสารนี้ไปใช้อ้างอิงต่อ โดยรวบรวมสถิติจำนวนครั้งการอ้างอิงในรอบห้าปีไปคำนวณหาค่า โดย EF จะเป็นการวัดคุณภาพของวารสาร จากจำนวนการอ้างอิงที่ได้จากบทความทั้งหมดของวารสารที่ตีพิมพ์ในรอบปี
๓) SCImango ใช้เพื่อประเมินการนำคุณภาพความสำคัญของวารสารนั้นไปใช้ทางวิชา บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ไม่ใช่บทความวิชาการทุกรายการที่ได้รับการอ้างอิงจะมีความสำคัญมีชื่อเสียง หรือทรงคุณค่าทางวิชาการเท่ากันหมด โดยให้น้ำหนักทั้งชื่อเสียงของวารสาร คุณภาพ และสาขาวิชา โดยสารารถนำไปใช้เปรียบเทียบวารสารข้ามสาขากันได้ โดยค่าที่ใช้ได้แก่ Scimago Journal Rank (SJR) การอิงต่อหนึ่งบทความ ลักษณะคล้ายกับ Impact Factor และใช้ SJR Quartile เพื่อเปรียบเทียบ ได้แก่ Q1, Q2, Q3 และ Q4
๔) CWTS Journal indicators และ Journalmetrics โดยค่าที่ใช้ในการประเมินได้แก่ Source Normalized Impact Per Paper (SNIP) เพื่อใช้เปรียบเทียบคุณภาพของบทความในวารสารคนละฉบับ และสามารถเปรียบเทียบระหว่างสาขาได้ และอีกตัวชี้วัดหนึ่งได้แก่ h-index ซึ่งเป็นค่าที่แสดงความนิยมของบทความที่ได้รับการอ้างอิงในวารสาร
|
คำสำคัญ :
Impact Factor Journal SJR
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1272
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์
วันที่เขียน
13/9/2564 12:39:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 15:35:15
|
|
|
|
Cannabis testing the series EP2 หัวข้อ Success Story of Cannabinoid Application in Medicines, Foods, Beverages, and Cosmetics
»
Cannabis testing the series EP2 หัวข้อ Success Story of Cannabinoid Application in Medicines, Foods, Beverages, and Cosmetics
|
Cannabis testing the series EP2 หัวข้อ Success Story of Cannabinoid Application in Medicines, Foods, Beverages, and Cosmetics
|
คำสำคัญ :
Success Story of Cannabinoid Application in Medicines, Foods, Beverages, and Cosmetics
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1300
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐิติพรรณ ฉิมสุข
วันที่เขียน
14/8/2564 12:20:44
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 2:55:12
|
|
|
|
|
|
เบ็ดเตล็ด
»
การทดลองใช้งานโปรแกรม Microsoft Word ฟรีอย่างถูกลิขสิทธิ์ ผ่านโปรแกรม Hotmail.com
|
------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [1] เกริ่นนำ
สืบเนื่องจากคอมพิวเตอร์ใช้งาน Work from home ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office ชุดลิขสิทธิ์ไว้ และไม่ต้องการติดตั้งใช้งานโปรแกรมแบบละเมิดลิขสิทธิ์ จึงทำให้ไม่อาจใช้งานโปรแกรม Microsoft Word เพื่อบันทึกแฟ้มข้อมูลผลงานปฏิบัติงานประจำวันที่สำนักหอสมุดกำหนดสำหรับรายงานผลการปฏิบัติงานแบบ Work from home ได้ รวมทั้งไม่ได้นำคอมพิวเตอร์ไปติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office ชุดลิขสิทธิ์สถาบันของมหาวิทยาลัยไว้ และไม่ต้องการใช้งานผ่านโปรแกรม Microsoft Office 365 ระบบ Cloud computing ที่สถาบันมีลิขสิทธิ์เนื่องจากข้อจำกัดและความประสงค์ส่วนตัวบางประการ
ต่อมาได้พบคลิปวีดิทัศน์หนึ่งที่แนะนำการใช้โปรแกรม Microsoft Office ชุดลิขสิทธิ์ฟรี ซึ่งเป็นการใช้งานผ่านบัญชีผู้ใช้ในระบบโปรแกรมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ของเว็บไซต์ Hotmail.com ซึ่งสามารถสมัครเป็นสมาชิกใช้งานฟรี จากคลิป “รับฟรี Microsoft Office Word Excel Powerpoint Online ลิขสิทธิ์ถูกต้อง” โดย KennyAdventure ( https://www.youtube.com/watch?v=8Dsiz6aTbwo )
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [2] การทดลองใช้งาน
ในการนี้ได้ทดลองใช้งานพื้นฐานบางประการของโปรแกรม Microsoft Word ที่ตนเองมักใช้งานประจำ พบว่า โดยทั่วไปสามารถใช้งานได้ แม้ว่าจะมีคุณสมบัติบางประการแตกต่างจากปกติ
โดยการทดลองใช้งานมีรายละเอียดที่ทดสอบ เช่น การสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ แถบเมนูการใช้งาน (แม้จะไม่มีเมนูหลากหลาย แต่ก็รองรับการใช้งานพื้นฐาน เมนูแบบ Classic robbon และ Simplified ribbon ที่ดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน) การแสดงขนาดจอภาพ (View, Zoom in, Zoom out) การกำหนดขอบกระดาษ การแสดงสัญลักษณ์การจัดรูปแบบย่อหน้าหรือ Paragraph (จากไอคอนเมนูรูปพาย) การขึ้นบรรทัดใหม่ด้วย Shift+Enter ดังตัวอย่าง ณ จุดนี้
… (ต่อ) การกั้นหน้า (Page break) การใช้ Font รูปแบบอักษร (มีให้เลือกใช้ไม่มากนัก) การกำหนดรูปแบบตัวเข้ม ขยายหรือลดขนาด การกำหนดสีของตัวอักษร การใช้งานปุ่มยกเลิกการทำงานที่ผ่านมา (Undo) ด้วย Control-Z การใช้งาน Clipboard (ที่ต้องใช้ปุ่มจากคีบอร์ดแทนเม้าส์) การจัดวางข้อความ (เช่น การชิดขอบ การวางศูนย์กลาง) การค้นหาและแทนที่ข้อความ (Find และ Replace) การบันทึก (Save) แฟ้มข้อมูล (แม้ไม่มีเมนู save ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโดยตรง แต่สามารถ save ลักษณะ Save a copy online ในระบบ One Drive ได้ แม้จะใช้เวลามากกว่าปกติ และสามารถ Download แฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ ณ คอมพิวเตอร์ส่วนตัวในภายหลังได้) การบันทึกผลลัพธ์เป็นช่วงๆ (การทดลองใช้งานไม่พบปุ่มไอคอนดิสเก็ตต์ให้บันทึกทันทีอย่างสะดวก) การแทรกสัญลักษณ์พิเศษ การแทรกตาราง การแทรกรูปภาพ การบันทึกแฟ้มข้อมูลเป็น PDF file
ทั้งนี้ไม่ได้ทดสอบการใช้บางคุณสมบัติหรือบางเมนู เช่น (1) Textbox ซึ่งโดยส่วนตัวใช้กับการแทรกภาพประกอบ เนื่องจากหาเมนูหรือไอคอนนี้ไม่พบ เมนู Draw, Texbox ที่พบก็ใช้งานไม่สะดวกดังแบบปกติ (2) การพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) (3) การนำแฟ้มข้อมูลไปเปิดใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นว่าจะมีรูปแบบตัวอักษร Font, การจัดหน้า คลาดเคลื่อนหรือไม่ การใช้งานแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่
อนึ่ง ในขณะใช้งาน พบว่าการพิมพ์ข้อมูลและการตอบสนองของโปรแกรมจะหน่วงหรือล่าช้ากว่าปกติพอสมควร การใช้เม้าส์กำหนดข้อความและจัดการข้อความอาจคลาดเคลื่อนหรือไม่ตอบสนองดังการใช้งานแบบปกติ แต่โดยภาพรวมในแง่ระบบ User interface และคุณสมบัติการทำงานพื้นฐานเป็นไปด้วยดี
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [3] สรุป
สามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft Word อย่างถูกลิขสิทธิ์ ผ่าน Hotmail.com ในลักษณะการใช้งานพื้นฐานตามปกติของตนเอง (ข้าพเจ้า) กับงานพิมพ์เบ็ดเตล็ดหรือเล็กๆ น้อยๆ ได้ แม้จะมีความหน่วงของเวลาตอบสนอง และระบบ User interface ที่แตกต่างจากแบบปกติบ้างเล็กน้อย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------- [4] อื่นๆ
[หมายเหตุ การทดลองทำตาราง และภาพประกอบ แนบท้าย แต่ไม่ได้แนบใน blog KM นี้เนื่องจากแนบในระบบจัดการ KM นี้ไม่สะดวก]
---[end]---
|
คำสำคัญ :
โปรแกรม Hotmail โปรแกรม Microsoft Word โปรแกรมลิขสิทธิ์ถูกต้อง
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1742
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
4/8/2564 10:42:33
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 14:04:10
|
|
|
|
|
|
|
บทความวารสาร
»
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
|
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน
พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็
ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ
รายการบทความวารสารไว้แล้ว
ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ
ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ
"ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น
ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา
พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา
(descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ
เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ
ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง
(subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่
ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้
2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก
หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล
การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า
ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต
ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน
ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ
สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง
มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด
ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ,
tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล
tag 246, tag 6xx
3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี
ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB
หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่
พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ
มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้
รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link
เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด
4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย
การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ
ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ
การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ
5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ
ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก
ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร
มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม
ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้
ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย
สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย
นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต.
---end
|
คำสำคัญ :
MARC format การบริหารองค์ความรู้ การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร ดรรชนี บทความวารสาร รูปแบบการลงรายการแบบมาร์ค ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2100
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/4/2563 15:51:13
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 10:10:13
|
|
|
|
|
|
|