โครงการเทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ
วันที่เขียน 13/9/2564 12:39:10     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/7/2568 14:49:33
เปิดอ่าน: 1382 ครั้ง

ดัชนีชี้วัดคุณภาพวารสารเพื่อการตีพิมพ์ โดยการจัดแบ่งตัวชี้วัดคุณภาพของวารสาร สามารถแบ่งออกตามลักษณะแบบวิธีประเมิน ได้แก่ ๑) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญกับวารสารประเภท Peer Review ๒) วารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ จะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพวารสารได้เป็นอย่างดี ๓) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญในเรื่องการนำวารสารหรือบทความของวารสารไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดงานวิจัย หรือพัฒนาจนนำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ใหม่อย่างแพร่หลาย หรือมีอิทธิพลในสาขานั้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการอ้างอิงของวารสารนั้น และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมาช่วย และสร้างเป็นเครื่องมือที่แตกต่างกันออกมา โดยเครื่องมือหรือตัวชี้วัดคุณภาพวารสารที่นิยม ได้แก่ Journal Impact Factor (JIF), JIF Quartile, SCImago Journal Rank (SJR), SJR Quartile, Eigenfactor, Source Normalized Impact per paper (SNIP), Impact Per Publication (IPP), Citation Index เป็นต้น ๔) ชี้วัดคุณภาพของวารสารโดยให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างจำนวนบทความที่ตีพิมพ์กับจำนวนการอ้างอิงบทความของวารสารได้ถูกนำไปใช้ในวงวิชาการหรือไม่ และถูกนำไปใช้อย่างไร ปริมาณบทความที่วารสารตีพิมพ์ออกมามาก ๆ ต่อปี ไม่ได้หมายความว่าวารสารนั้นมรคุณภาพดีกว่าวารสารที่ตีพิมพ์น้อยกว่าครึ่ง โดยตัวชี้วัดที่นิยม ได้แก่ h-index - เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสาร (Impact/Ranking) สามารถจำแนกได้ดังนี้ ๑) Journal Citation Reports โดยพิจารณาจากวารสารนั้นมีการอ้างอิงเฉลี่ยต่อบทความของวารสารนั้น ๆ ๒) Eigen Factor ใช้เพื่อประเมินการนำวารสารนั้น ว่าถูกนำไปใช้ในทางวิชาการ หรือนักวิจัยจำนวนเท่าใดที่อ่าน และนำวารสารนี้ไปใช้อ้างอิงต่อ โดยรวบรวมสถิติจำนวนครั้งการอ้างอิงในรอบห้าปีไปคำนวณหาค่า โดย EF จะเป็นการวัดคุณภาพของวารสาร จากจำนวนการอ้างอิงที่ได้จากบทความทั้งหมดของวารสารที่ตีพิมพ์ในรอบปี ๓) SCImango ใช้เพื่อประเมินการนำคุณภาพความสำคัญของวารสารนั้นไปใช้ทางวิชา บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ไม่ใช่บทความวิชาการทุกรายการที่ได้รับการอ้างอิงจะมีความสำคัญมีชื่อเสียง หรือทรงคุณค่าทางวิชาการเท่ากันหมด โดยให้น้ำหนักทั้งชื่อเสียงของวารสาร คุณภาพ และสาขาวิชา โดยสารารถนำไปใช้เปรียบเทียบวารสารข้ามสาขากันได้ โดยค่าที่ใช้ได้แก่ Scimago Journal Rank (SJR) การอิงต่อหนึ่งบทความ ลักษณะคล้ายกับ Impact Factor และใช้ SJR Quartile เพื่อเปรียบเทียบ ได้แก่ Q1, Q2, Q3 และ Q4 ๔) CWTS Journal indicators และ Journalmetrics โดยค่าที่ใช้ในการประเมินได้แก่ Source Normalized Impact Per Paper (SNIP) เพื่อใช้เปรียบเทียบคุณภาพของบทความในวารสารคนละฉบับ และสามารถเปรียบเทียบระหว่างสาขาได้ และอีกตัวชี้วัดหนึ่งได้แก่ h-index ซึ่งเป็นค่าที่แสดงความนิยมของบทความที่ได้รับการอ้างอิงในวารสาร

 

เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรมโครงการเทคนิคการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ (Online) ในวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ผ่าน MS-Team

อาจารย์ ดร.ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

  • สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ ดังนี้

จากการเข้าร่วมอบรม สามารถสรุปประเด็นในส่วนของการตรวจสอบและคัดเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ โดยพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้

                   - ดัชนีชี้วัดคุณภาพวารสารเพื่อการตีพิมพ์ โดยการจัดแบ่งตัวชี้วัดคุณภาพของวารสาร สามารถแบ่งออกตามลักษณะแบบวิธีประเมิน ได้แก่ ๑) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญกับวารสารประเภท Peer Review ๒) วารสารที่มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ จะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพวารสารได้เป็นอย่างดี ๓) ชี้วัดคุณภาพของวารสาร โดยให้ความสำคัญในเรื่องการนำวารสารหรือบทความของวารสารไปใช้ประโยชน์ในการต่อยอดงานวิจัย หรือพัฒนาจนนำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ใหม่อย่างแพร่หลาย หรือมีอิทธิพลในสาขานั้น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการอ้างอิงของวารสารนั้น และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมาช่วย และสร้างเป็นเครื่องมือที่แตกต่างกันออกมา โดยเครื่องมือหรือตัวชี้วัดคุณภาพวารสารที่นิยม ได้แก่ Journal Impact Factor (JIF), JIF Quartile, SCImago Journal Rank (SJR), SJR Quartile, Eigenfactor, Source Normalized Impact per paper (SNIP), Impact Per Publication (IPP), Citation Index เป็นต้น ๔) ชี้วัดคุณภาพของวารสารโดยให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างจำนวนบทความที่ตีพิมพ์กับจำนวนการอ้างอิงบทความของวารสารได้ถูกนำไปใช้ในวงวิชาการหรือไม่ และถูกนำไปใช้อย่างไร ปริมาณบทความที่วารสารตีพิมพ์ออกมามาก ๆ ต่อปี ไม่ได้หมายความว่าวารสารนั้นมรคุณภาพดีกว่าวารสารที่ตีพิมพ์น้อยกว่าครึ่ง โดยตัวชี้วัดที่นิยม ได้แก่ h-index   

  • เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสาร (Impact/Ranking) สามารถจำแนกได้ดังนี้ ๑) Journal Citation Reports โดยพิจารณาจากวารสารนั้นมีการอ้างอิงเฉลี่ยต่อบทความของวารสารนั้น ๆ

๒) Eigen Factor ใช้เพื่อประเมินการนำวารสารนั้น ว่าถูกนำไปใช้ในทางวิชาการ หรือนักวิจัยจำนวนเท่าใดที่อ่าน และนำวารสารนี้ไปใช้อ้างอิงต่อ โดยรวบรวมสถิติจำนวนครั้งการอ้างอิงในรอบห้าปีไปคำนวณหาค่า โดย EF จะเป็นการวัดคุณภาพของวารสาร จากจำนวนการอ้างอิงที่ได้จากบทความทั้งหมดของวารสารที่ตีพิมพ์ในรอบปี

๓) SCImango ใช้เพื่อประเมินการนำคุณภาพความสำคัญของวารสารนั้นไปใช้ทางวิชา บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ไม่ใช่บทความวิชาการทุกรายการที่ได้รับการอ้างอิงจะมีความสำคัญมีชื่อเสียง หรือทรงคุณค่าทางวิชาการเท่ากันหมด โดยให้น้ำหนักทั้งชื่อเสียงของวารสาร คุณภาพ และสาขาวิชา โดยสารารถนำไปใช้เปรียบเทียบวารสารข้ามสาขากันได้ โดยค่าที่ใช้ได้แก่ Scimago Journal Rank (SJR) การอิงต่อหนึ่งบทความ ลักษณะคล้ายกับ Impact Factor และใช้ SJR Quartile เพื่อเปรียบเทียบ ได้แก่ Q1, Q2, Q3 และ Q4  

๔) CWTS Journal indicators และ Journalmetrics โดยค่าที่ใช้ในการประเมินได้แก่ Source Normalized Impact Per Paper (SNIP) เพื่อใช้เปรียบเทียบคุณภาพของบทความในวารสารคนละฉบับ และสามารถเปรียบเทียบระหว่างสาขาได้ และอีกตัวชี้วัดหนึ่งได้แก่ h-index ซึ่งเป็นค่าที่แสดงความนิยมของบทความที่ได้รับการอ้างอิงในวารสาร

 

  • ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
  • สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน แนะนำนักศึกษาให้สามารถพิจารณาวารสารที่มีคุณภาพ มาตรฐานในวงการวิชาการได้
  • สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการพิจารณาเลือกวารสารที่มีคุณภาพที่จะทำการตีพิมพ์ในอนาคตได้

 

  • ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
  • สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอนอันเกี่ยวข้องกับนักศึกษา หรือหัวข้อที่ทำการเรียน การสอนในด้านการวิจัย โดยเฉพาะการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารต่าง ๆ เป็นต้น
  • พัฒนาองค์ความรู้ของผู้วิจัยให้มีความรู้ในการตัดสินใจเลือกวารสารที่มีมาตรฐาน และคุณภาพ
  • เสริมสร้างองค์ความรู้ในประเด็นด้านการวิจัย อันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานในระดับหลักสูตร

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1210
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “โครงการอบรมหลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งวิชาการ”
การเข้าร่วมอบรมโครงการ "หลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งทางวิชาการ" ได้มุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดทำตำราและหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพในระดับอุดมศึกษา...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/6/2568 11:16:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/7/2568 13:57:18   เปิดอ่าน 36  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
CISA » CISA สำหรับหลักสูตรปรับปรุง 2570
กิจกรรม : การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accredit...
CISA  หลักสูตรปรัปปรุง 2570     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 19/6/2568 10:43:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/7/2568 11:16:03   เปิดอ่าน 41  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accreditation: CISA) และแผนผังการเสนอหลักสูตร
ได้เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เพชรลดา กันทาดี  วันที่เขียน 23/5/2568 17:27:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/7/2568 13:57:59   เปิดอ่าน 195  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง