Wi-Fi และ Wireless เหมือนหรือต่างกันอย่างไร??
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย เป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งบางคนเรียกการเชื่อมต่อนี้ว่า Wi-Fi แต่บางคนก็เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ในอีกชื่อว่า Wireless แล้วสรุปคือมันต่างกันหรือไม่? ที่เราเรียกกันอยู่มันถูกต้องหรือไม่? Wi-Fi และ Wireless คืออะไร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร??
Wi-Fi (wireless fidelity ) หมายถึง องค์กรที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Lan) ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสารมาตราฐาน IEEE 802.11
ว่าอุปกรณ์แต่ะละยี่ห้อกันนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา ซึ่งเมื่ออุปกรณ์เหล่านั้นผ่านการตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์ก็จะถูกประทับตราสัญลักษณ์ Wi-Fi Certified รับรองว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆที่มีตราสัญลักษณ์ Wi-Fi certified ได้ จึงทำให้หลายๆคนนำคำนี้มาใช้เรียกแทนอุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สายนั่นเอง คล้ายๆกับคำว่า มาม่า ที่คนส่วนใหญ่เรียกแทนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปซะทุกยี่ห้อ นั่นเอง
Wireless หมายถึง ลักษณะของการใช้งานอุปกรณ์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แปลตรงตัวว่าไร้สาย ฉะนั้นอุปกรณ์อะไรก็ตามที่ติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ใช้สายสัญญาณถือ ว่าอุปกรณ์นั้นเป็น Wireless เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะเรียกอะไรก็เหมือนๆ กันไม่ผิด Wireless ก็ถูก Wi-Fi ก็ถูก
Wi-Fi และ Wireless แตกต่างกันไหม
สรุปคือ Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN : WLAN ) ที่เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้อย่างเช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ให้สามารถสื่อสารกันได้ผ่าน Access point รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมต่อแบบ WLAN นี้จะปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระบบ LAN ที่จะต้องใช้สาย Lan เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายนั่นเอง
1. 802.11a มาตรฐานนี้จะมีความเร็ว และความเสถียรภาพของการเชื่อมต่อสูง แต่ไม่สามารถที่จะทำงานร่วมกับ 802.11b ได้ สำหรับ 802.11a นี้ สามารถที่จะส่งถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 54 Mbps และทำงานที่ความถี่ 5 GHz
2. 802.11b มาตรฐานนี้จะนิยมใช้ตามสนามบินใหญ่ๆ หรือบริการในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ซึ่งจะทำงานที่ความถี่ 2.4 GHz (เป็นความถี่เดียวกับมือถือ และไมโครเวฟ ซึ่งไม่มีอันตราย) และสามารถที่จะส่งถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็วถึง 11 Mbps
3. 802.11g มาตรฐานนี้ทำงานได้ที่ความถี่ 2.4 GHz และสามารถเข้ากับมาตราฐาน 802.11b แต่มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 54 Mbps มักนำมาใช้กับงานที่ต้องการความแน่นอน และความเร็วในการเชื่อมต่อรวมถึงการแชร์ไฟล์ขนาดใหญ่
ลำดับมาตรฐานของ Wireless หรือ Wifi
ปี 1997 มีการประกาศใช้มาตรฐานตัวแรกคือ IEEE 802.11
ปี 1999 มาตรฐาน IEEE 802.11a และ IEE 802.11bประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการ
ปี 2000 WECA ใช้ชื่อ WIFI แทนคำว่า Wireless Fidelity สำหรับเรียกอุปกรณ์ต่างๆที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g
ปี 2002 IEEE กำหนดขอบเขตมาตรฐาน IEEE 802.11 ให้มีตั้งแต่ 802.11a ถึง 802.11i
ปี 2003 มาตรฐาน IEEE 802.11g ประกาศใช้งานอย่างเป็นทางการ
ปี 2006 มีการเปิดตัวอุปกรณ์ ที่มีมาตรฐาน 802.11n (Pre-N)แต่ยังไม่ได้การรับรองจาก IEEE
ปี 2007 มีการเปิดตัวอุปกรณ์ wireless ที่ใช้มาตรฐาน 802.11n
ปี 2009 มีการประกาศมาตรฐาน IEEE 802.11n อย่างเป็นทางการ
ประโยชน์ของ WIFI
การเชื่อมต่อเครือข่ายไรสายหรือ Wireless LAN นั้นเป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆให้สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตและแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันมาก โดยประโยชน์ของ WIFI นั้นมีอยู่มากมายอาทิเช่น
1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินระบบเครือข่าย ซึ่งปกติแล้วการเชื่อมโยงเครือข่ายนั้นจำเป็นต้องใช้สายนำสัญญาณในการเชื่อมโยงเครือข่าย และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณแต่สำหรับระบบ WIFI ไม่จำเป็นเพราะระบบWIFI จะส่งคลื่นวิทยุผ่านอากาศไปยังเครื่องรับ
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งานเพราะการใช้งานไวไฟนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่กับที่ สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนก็ได้ภายในรัศมีของการกระจายสัญญาณ
3. ใช้มาตรฐาน IEEE 802 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไปพร้อมกันนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ WIFI ก็มีราคาถูกลงและมีให้เลือกซื้อหาหลายยี่ห้อ
4. ช่วยส่งเสริมธุรกิจและธุรกรรมทางการเงิน อาทิเช่นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งเป็นจุดเด่นของการดำเนินธุรกิจด้านบริการได้อีกด้วย
สายสัญญาณของระบบโทรคมนาคม
CAT-5E รองรับการรับส่งข้อมูล 100 MHz ความต้านทาน 100 Ω แกนทองแดง
CAT-6 รองรับการรับส่งข้อมูล 250 MHz ความต้านทาน 100 Ω แกนทองแดง
CAT-6A รองรับการรับส่งข้อมูล 500 MHz ความต้านทาน 100 Ω แกนทองแดง(นิยมมากในปัจจุบัน)
CAT-7 รองรับการรับส่งข้อมูล 600 MHz ความต้านทาน 100 Ω แกนทองแดง(ไม่นิยม)
CAT-7A รองรับการรับส่งข้อมูล 1000 MHz ความต้านทาน 100 Ω แกนทองแดง(ไม่นิยม)
CAT-8 รองรับการรับส่งข้อมูล 2000 MHz ความต้านทาน 100 Ω แกนทองแดง
ที่มา...ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม WIRELESS ACCESS POINT CABLING & NETWORKING SOLUTION (LAPS)