เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต “วิถีการทำงานเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี”
วันที่เขียน 5/8/2564 11:51:36     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:33:56
เปิดอ่าน: 2993 ครั้ง

สืบเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโรวิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้น ส่งผลให้การดำเนินชีวิต การทำงานจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ทั้งนี้เนื่องจากลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั่นเอง ดังนั้นการปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต การทำงาน จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนไปเพื่อให้สอดคล้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนั่นเอง

ทิศทางการทำงานภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (NEW NORMAL)

จากการเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย สามารถสรุปเป็นประเด็น. ทิศทางการทำงานภายใต้วิถีชีวิตใหม่ ดังนี้

  1. ไม่จำเป็นต้องมีออฟฟิศ อีกต่อไป กล่าวคือ เราสามารถดำเนินการทำงาน ณ สถานที่ใด ๆ ก็ได้ โดยทำผ่านระบบเครือข่าย ออนไลน์ เพิ่มมากขึ้น โดยทุก ๆ ที่สามารถเป็นออฟฟิศในการทำงานได้นั่นเอง
  2. มีความยืดหยุ่นในการทำงานค่อนข้างมาก โดยไม่จำเป็นต้องลงชื่อในการทำงาน แต่จะเน้นการทำผลงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของงานเพิ่มมากขึ้น
  3. มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะทำให้เกิดความท้าทายที่จะลองเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือโปรแกรม แอพพลิเคชั่นในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองการทำงานภายใต้การเรียนการสอนแบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
  4. ต้องมีการคำนึงถึงสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะยึดหลักการสวมใส่หน้ากากอนามัยเสมอ มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล หมั่นล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงที่ชุมนุมแออัด และหลีกเลี่ยงการพบปะพูดคุยกับกลุ่มเสี่ยง หรือผู้มีอาการป่วย เป็นต้น
  5. ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการทำงาน โดยการปรับเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน (Work from home) แทน รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การประชุมออนไลน์ โดยงดการเข้าร่วมชุมนุม พบปะระหว่างบุคคล เพื่อลดการแพร่เชื้อ โดยเฉพาะสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการระบาดค่อนข้างมาก
  6. ระบบ Social Media และ Internet จะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็น platform รูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นไปได้ง่ายขึ้น

 

10 ทักษะที่ควรมีในยุค NEW NORMAL

1. ความสามารถแก้ปัญหาซับซ้อน (Complex Problem Solving) แก้ปัญหาด้วยมุมมองและวิธีที่หลากหลายเพื่อจัดการปัญหาที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม

2. คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ใช้เหตุผลวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดี-ข้อด้อยวิธีแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ

3. ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) สร้างสรรค์ไอเดียแปลกใหม่ในการแก้ปัญหา เพิ่มทางเลือกมีทางออกในชีวิตมากขึ้น

4. บริหารจัดการคน (People Management) บริหารคนให้ตรงกับงาน และเติมแรงจูงใจให้สร้างผลงานได้ดีที่สุด

5. ความสามารถร่วมมือกับผู้อื่น (Coordinating with others) การจัดการพฤติกรรมของตัวเองให้ทำงานกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น

6. ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) รับรู้ถึงพฤติกรรมของอีกฝ่ายได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจว่าทำไมเขาถึงทำอย่างนั้น

7. ทักษะการประเมินและตัดสินใจ (Judgment and Decision Making) ประเมินและตัดสินใจในการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยใช้วิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม

8. ทักษะมีใจรักการบริการ (Service Orientation) มีจิตอาสาและเสียสละ สามารถหาหาวิธีช่วยเหลือผู้อื่นอย่างกระตือรือร้น

9. ทักษะการเจรจาต่อรอง (Negotiation) ช่วยลดช่องว่างทางความคิด และประสานผลประโยชน์ให้ Win-Win ได้ทั้งสองฝ่าย

10. ทักษะความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility) ใช้หลักการหลากหลายเพื่อจัดลำดับและปรับวิธีการทำงานต่าง ๆ ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์

แหล่งอ้างอิง : 10 ทักษะ ในยุค new normal ที่ควรมี! (coreandpeak.co.th)

 

เรียบเรียงโดย อาจารย์ ดร.ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์

สาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1184
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง