|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
งานสารบรรณ
»
เข้าร่วมโครงการสัมมนาระบบศูนย์ข้อมูลกลางและระบบการตัดสินใจ
|
โครงการสัมมนาระบบศูนย์กลางข้อมูลมหาวิทยาลัยแม่โจ้และระบบการตัดสินใจ (Data Center of MJU & Dashboard Decision System : DC) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ในเรื่องการบริหารจัดการสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) และพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบ Data Center รองรับ Big Data ที่นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของผู้บริหาร ให้มหาวิทยาลัยมีฐานข้อมูลกลาง (Data center) และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจที่เป็นเลิศ (AI Dashboard) โดยนำข้อมูลสำคัญมาจัดรูปแบบให้เป็น “ข้อมูลดิจิทัลแบบเรียลไทม์” ในวันพุธที่ 2 กันยายน 2563 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การพัฒนาระบบ Data Center & Dashboard จำนวน 3 ระบบ ดังนี้
1. MJU Dashboard
ใช้แสดงข้อมูลเชิงสถิติ กราฟข้อมูล ตารางข้อมูล การแสดงสถิติในรูปแบบภาพรวมหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย แสดงสถิติข้อมูลแยกตามประเภทข้อมูล ข้อมูลด้านบุคลากร ข้อมูลด้านนักศึกษา ข้อมูลด้านการเงิน ข้อมูลด้านผลงานทางวิชาการและด้านงานวิจัย และด้านอื่น ๆ โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาแสดงในระบบจะเป็นการแสดงผลข้อมูลแบบ Real time และเป็นการประมวลผลแบบกระจาย (Distribution)
2. MJU API
ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อข้อมูลต่าง ๆ ในระบบฐานข้อมูลภายในมหาวิทยาลัย เพื่อทำให้มีมาตรฐานการใช้ข้อมูล และเพื่อให้เกิดมาตรฐานการทำงานร่วมกันระหว่างนักพัฒนาซอฟต์แวร์
3. MJU Passport
ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อปรับปรุงระบบตรวจสอบสิทธิการเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้ดีขึ้น สามารถจัดเก็บสถิติการเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และอื่น ๆ
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1557
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
มาลัย เบญจวรรณ์
วันที่เขียน
5/10/2563 16:00:41
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:15:51
|
|
|
|
การเขียนหนังสือราชการ
»
การเขียนหนังสือราชการ
|
การเขียนหนังสือ คือ การเรียบเรียงข้อความตามเรื่องที่จะแจ้งความประสงค์ไปยังผู้รับหรือผู้ที่ต้องทราบหนังสือนั้น หลักการเขียนหนังสือ ผู้เขียนจะต้องรู้และเข้าใจ แยกประเด็นที่เป็นเหตุผลและความมุ่งหมายที่จะทำหนังสือนั้น ๆ โดยตั้งหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนว่าอะไร เมื่อไร ที่ไหน ใคร ทำไม อย่างไร แยกเป็นข้อ ๆ ไว้ การเขียนให้ “ขึ้นต้นเริ่มใจความที่เป็นเหตุก่อน ต่อไปจึงเป็นข้อความประสงค์และข้อตกลง” ถ้ามีหลายข้อ ให้แยกเป็นข้อ ๆ เพื่อให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากอ้างถึงกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือเรื่องที่เป็นตัวอย่าง ต้องพยายามระบุให้ชัดเจน การเขียนหนังสือควรใช้ถ้อยคำที่กระชับเข้าใจง่าย ใช้คำธรรมดาที่ให้ความหมายชัดเจน ไม่ควรใช้สำนวนที่ไม่เหมาะสม ระมัดระวังในเรื่องอักขรวิธี ตัวสะกด ตัวการันต์ และวรรคตอนให้ถูกต้อง และที่สำคัญจะต้องระลึกเสมอว่าผู้รับหนังสือจะเข้าใจถูกต้องตามความประสงค์ที่มีหนังสือไป การเขียนหนังสือราชการต้องมีเป้าหมายในการเขียนที่ชัดเจน ถูกต้องตามรูปแบบ เนื้อหากระชับ รัดกุม และมีมาตรฐานในการใช้ภาษา รวมทั้งมีความเป็นระเบียบสวยงาม ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย
|
คำสำคัญ :
การเขียนหนังสือราชการ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
11066
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สรัญญา อาษาไชย
วันที่เขียน
10/10/2561 16:52:17
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 20:49:25
|
|
|
|
|
|
|
การจัดทำสำนักงานสีเขียว
»
แนวทางการพัฒนาสำนักงานสู่สำนักงานสีเขียว (Green Office)
|
จากยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย GO Eco U. หลายหน่วยงานได้ขับเคลื่อนโดยดำเนินโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) และได้รับรางวัลระดับประเทศ เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ สำนักหอสมุด และสำนักงานอธิการบดี ได้รับรางวัล Green Office ระดับ ดีเยี่ยม (G ทอง) เป็นต้น และปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเริ่มหรืออยู่ระหว่างจัดทำโครงการสำนักงานสีเขียว เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งมีหลักการคือ
โครงการสำนักงานสีเขียว Green Office เป็นการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน ดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย รวมทั้งการจัดซื้อ จัดจ้าง สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หลักการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในสำนักงานอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยเกณฑ์ทั้งหมด 7 หมวด คือ
หมวด 1 การบริหารจัดการองค์การ (Organization Management)
หมวด 2 การดำเนินงาน Green Office (Operation of Green Office)
หมวด 3 การใช้พลังงานและทรัพยากร (Energy and Resource)
หมวด 4 การจัดการของเสีย (Waste and Waste water Management)
หมวด 5 สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสำนักงาน (Indoor & Outdoor Environmental)
หมวด 6 การจัดซื้อและจัดจ้าง (Green Procurement)
หมวด 7 การประเมินประสิทธิภาพและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
|
คำสำคัญ :
Green Office แนวทางพัฒนา สำนักงานสีเขียว
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
7002
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
จงรักษ์ บัวลอย
วันที่เขียน
6/6/2561 16:44:58
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 10:36:50
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การจัดการความรู้คณะกรรมการกลุ่มเลขานุการคณะฯ
»
พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ
|
จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “สวัสดี พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ” จัดโดยสมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2559 ซึ่ง ณ ขณะนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ฯ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และปัจจุบันพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศ พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์ให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามหลักการ "คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้" โดยจะใช้แทนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุ ในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใดๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่เดิม ซึ่งรวมถึง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายเงิน มีการวางแผนการดำเนินงานและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งจะทําให้การจัดซื้อจัดจ้างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล มีการส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประกอบกับมาตรการอื่น ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อันจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนและก่อให้เกิดผลดีกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
|
คำสำคัญ :
พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานพัสดุภาครัฐฯ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
6347
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
จงรักษ์ บัวลอย
วันที่เขียน
16/3/2560 11:13:53
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 5:18:34
|
|
|
|