|
|
|
|
|
คู่มือ
»
คู่มือปฏิบัติงานการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (item)
|
ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ในส่วนของการลงทะเบียนที่เป็นการลงรับวารสารในส่วนของโมดู Serical Check in คือรายละเอียดของวารสารตั้งแต่ปี 2540-2558 สามารถถ่ายจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Horizon มายังระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้คือ ALIST ได้ ส่วนรายละเอียดของวารสารที่ได้รับก่อนปี 2540 ไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ ซึ่งเป็นปัญหาของงานด้านวารสารคือมีข้อมูลในส่วนของรายการบรรณานุกรมทะเบียนวารสาร แต่ไม่สามารถแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของวารสารที่มีให้บริการได้ ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดทำการสร้าง Item ของวารสารทั้งหมดที่รับเข้ามาในระบบและเพื่อเป็นการเตรียมการเพื่อในอนาคตจะมีการให้บริการยืมวารสารออกนอกห้องสมุดได้
วัตถุประสงค์ของการจัดทำคู่มือ
1. เพื่อสร้างรายการทรัพยากรวารสาร (Item) สำหรับการ ยืม- คืน วารสาร
2. เพื่อเป็นคู่มือการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ขอบเขตของคู่มือ
คู่มือการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (Item) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นสำหรับการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร ตามนโยบายของผู้บริการที่ต้องการให้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวารสารที่มีให้บริการในสำนักหอสมุดทั้งวารสารเย็บเล่มและวารสารเล่มปลีกสามารถ ยืม- คืน ผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. บุคลากรสำนักหอสมุด สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้
2. ผู้ใช้บริการสามารถยืม คืน วารสารผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติได้
3. สามารถรายงานผลการายืม – คืน วารสารได้
|
คำสำคัญ :
item รายการทรัพยากรวารสาร
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
224
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
จิณาภา ใคร้มา
วันที่เขียน
18/6/2567 9:47:27
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 19:25:24
|
|
|
|
|
|
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
»
การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
|
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า
วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ
วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี
• ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์
- บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article)
- บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป
- บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
• ขอบเขตของบทความวิชาการ
- งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้
- งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ
Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
|
คำสำคัญ :
เทคโนโลยีสารสนเทศ บทความวิจัย วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม วิทยาการคอมพิวเตอร์
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
406
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมนึก สินธุปวน
วันที่เขียน
28/9/2566 13:16:08
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 19:09:59
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การสรุปเนื้อหาจากการอบรมทางวิชาการ วิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาล
»
สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล
|
สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล
โดย อาจารย์ วารุณี ผ่องแผ้ว กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์
อบรมวันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. Online ทาง Zoom cloud meeting
วิทยากร ศาสตราจารย์ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
ศาสตราจาร์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การวางแผนการเขียนตำรา/วิจัย
หนังสือที่เรียบเรียงได้ดีจะเป็นผลงานที่สามารถนำไปประกอบการศึกษา อ้างอิงในการจัดการเรียนการสอนไปหลายสิบปี แต่ในทางสาขาการพยาบาลหากจะใช้ประกอบการเรียนสอนในสถาบันการศึกษาพยาบาลจะใช้ตำราตีพิมพ์เผยแพร่ไม่เกิน 10 ปี ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุงเพื่อปรับเนื้อหาวิชาการทางการพยาบาลในตำราให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ การออกแบบชื่อหนังสือ ตำรา ในสายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ควรตั้งชื่อที่ประชาชนภายนอกสนใจเพราะเป็นเนื้อหาที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านได้ สำหรับหนังสือ ตำราทางการพยาบาลจะมีความเฉพาะเจาะจงกับความเป็นวิชาชีพ เชี่ยวชาญเฉพาะ ผู้ที่อ่านหนังสือ ตำราจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเช่นนักศึกษาพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วย อาจารย์พยาบาล และที่สำคัญในการเขียนหนังสือ ตำรา
ควรใช้ข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุน รวมทั้งประสบการณ์ตรง เพิ่มเติมจากการศึกษาตำรา ทฤษฎี
การอยู่ในวิชาชีพใดๆจะต้องมีการติดตามข่าวสาร ความก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพที่ตนเองอยู่เพื่อนำมาประกอบในการเขียนตำรา รวมทั้งฐานข้อมูลต่างๆ เช่นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพข้อมูลใหญ่จะอยู่ในกระทรวงสาธารสุข องค์การอนามัยโลก สถาบันการศึกษาทางสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ การออกแบบวิจัย แบบจำลองตัวแปร และข้อมูลเชิงประจักษ์ ต้องวางแผนวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ หากนำมาใช้ในทางสุขภาพ ข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ แยกตามพื้นที่ อาชีพ อายุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยเพื่อวางแผนในการให้การพยาบาลทั้งในเชิงของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การดูแล บำบัด รักษา การฟื้นฟูสุขภาพหลังการเจ็บป่วย
หนังสือ มีนิยามว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน หากเป็นงานที่มีหน่วยงานรับรองยิ่งจะทำให้หนังสือนั้นมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเผยแพร่ ควรส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งการเผยแพร่ด้วยวาจาผ่านคณะกรรมการ สภา องค์การปกครองส่วนทั้งถิ่นเพื่อจะได้รับข้อคิดเห็น การวิจารย์ได้จะยิ่งทำให้หนังสือนั้นได้รับการแก้ไข สะท้อนปัญหา
หนังสือรวบรวมบทความ (วิจัย) ข้อดีคือช่วยกันเขียนหลายคน ทำให้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน เล่มหนึ่งใช้ประมาณ8-10เรื่อง รวมแล้วประมาณเล่มละ 200 หน้า เป็นขนาดเล่มที่เหมาะแก่การอ่าน ขอบเขตเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ไม่กว้างหรือแคบเกินไป ควรสอดแทรก นโยบาย ควรมีหลักใหญ่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร
ในทางสุขภาพ การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ การวางแผนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และการสรุปผลงานที่มีการนำเสนอในการตรวจราชการเป็นประจำทุกปี สามารถนำมาประกอบในการเขียนหนังสือได้
ตำราทางวิชาการ
ตำราที่ดี พื้นฐานความรู้ หลักการ ขอบเขตของวิชา ทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎีตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งวิวัฒนาการของศาสตร์ที่เรานำมาเขียน หลักฐานเชิงประจักษ์ งานวิจัย คำอธิบาย ซึ่งนักวิชาการที่ดีควรแสวงหาความรู้ใหม่ ติดตามความก้าวหน้า สถานการณ์ทางสุขภาพและสังคมอย่างสม่ำเสมอ
|
คำสำคัญ :
การพยาบาล ตำรา หนังสือ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
961
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วารุณี ผ่องแผ้ว
วันที่เขียน
15/9/2565 11:48:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:06:10
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีดรรชนีบทความวารสารและการสร้างคอลเลกชันพิเศษ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 5of5 / 2565]
|
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน
1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้)
2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST
3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC
4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน
5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน
การทำดรรชนีวารสาร (อนาคต Staffs คอลเลกชันตามหัวข้อโดยรวบรวมบทความจาก ThaiJo) ได้เสนอเป็นแนวความคิดไว้ สำหรับการพัฒนาคอลเลกชันและบริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ในระยะต่อไป โดยบุคลากรห้องสมุดอื่นอาจจัดทำคอลเลกชันตามหัวข้อ (สมัยอดีตนิยมเรียกว่า แฟ้มสารสนเทศเฉพาะทาง) บริการผู้ใช้ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลปลาบึก ข้อมูลการพยาบาลผู้สูงอายุ ห้องสมุดสีเขียว ฯลฯ จากบทความออนไลน์ ThaiJo ได้ ในที่นี้งานจะมีลักษณะทำนองเดียวกับงานตาม blogข้อ 2 คือ “ เอกสารเนื้อหา Green“ ที่เคยกล่าวถึง สามารถดูรายละเอียดใน blog นั้นได้. [end]
|
คำสำคัญ :
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานเทคนิค (ห้องสมุด) ฐานข้อมูลเฉพาะทาง บทความอิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
845
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
13/8/2565 3:56:28
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 19:15:31
|
|
|
|
|
|
|
|
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน
»
เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน
|
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ในงานสัมมนาออนไลน์นี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อสัมมนา ดังนี้
- การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อยกระดับการเรียนการสอน การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของอาจารย์
- การทำความเข้าใจเรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสิทธิผลการเรียนรู้
- กาทำความเข้าใจ เรื่อง เคมีในสมองกับการเรียนรู้ ที่สัมพันธ์กับผู้เรียน และผู้จัดกิจกรรม เพื่อสร้าง ความรู้สึกยินดี เช่น เมื่อได้รับรางวัล การสร้างความสุข ความรู้สึกไว้วางใจ ความรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ฟังคำแนะนำการใช้สื่อมือถือ และเครื่องมือโปรแกรมที่ช่วยทิ้งความน่าเบื่อในชั้นเรียน เช่น Mentimeter, Bingo, Canva, Socrative, Flinga เป็นต้น
- ได้เรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ Mentimeter เป็นเครื่องมือในการทำ Poll สำรวจความคิดเห็นหรือตอบคำถามร่วมกันในชั้นเรียน สามารถแสดงผลคำตอบได้แบบ Real time เหมาะกับการใช้ในการสำรวจความเข้าใจ หรือระดมความคิดเห็น (Brainstorming) ในชั้นเรียนได้ดี Bingo เป็นเครื่องมือการสอนในรูปแบบเกมส์ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น และช่วยกระตุ้นความสนใจและการจดจ่อในการเรียน นอกจากนี้สามารถสอดแทรกเนื้อหาในชั้นเรียนผ่านคำที่เลือกใช้ในเกมส์ ซึ่งเป็นคำสำคัญของบทเรียนนั้น ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำกลับไปทบทวนต่อได้ การใช้เกมส์ตอบคำถามในชั้นเรียน ได้แก่ Kahoot และ Quizizz เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบของการแข่งขันกันในห้องเรียน ที่ให้ทั้งความสนุกและการเรียนรู้ เหมาะสำหรับการทำแบบทดสอบย่อย เพื่อทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาหลังจากบทเรียนได้ดี
- เรียนรู้จิตวิทยาที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ การสร้าง Mindset ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของการเรียน และการสร้าง Growth mindset เพื่อให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง และไม่ท้อถอยเมื่อเจออุปสรรค โดยสามารถใช้จิตวิทยาการชักจูงและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน โดยการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุก ไม่น่าเบื่อ และมีการกระตุ้นการเรียนรู้ตลอดเวลา จะทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด โดยการใช้หลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Plearn (Play+Learn) ที่ใช้เครื่องมือกระตุ้นความสนใจและมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน รวมถึงสร้าง Engagement ในระหว่างเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่ก่อให้เกิดความสุขซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
|
คำสำคัญ :
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต
|
กลุ่มบทความ :
บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
|
หมวดหมู่ :
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1783
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ฐิติพรรณ ฉิมสุข
วันที่เขียน
14/8/2564 10:42:56
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:18:25
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ กรณีรายการภาพยนตร์น่าสนใจในรอบปี [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 3of5 / 2564]
|
ที่มา
(1) กระบวนการทำงาน “งานพัฒนาทรัพยากร” (Collection development) ร่วมกับ “งานวิเคราะห์เอกสาร” (Cataloging) มีการสำรวจ ศึกษา ถึงสื่อภาพยนตร์ที่มีคุณค่า ควรจัดหาเข้าห้องสมุด มีการประเมินสื่อที่มี-สื่อที่พึงมี และขนาดคอลเลคชันของห้องสมุดได้ชัดเจน เพื่อกำหนดทิศทางการจัดซื้อจัดหาสื่อเข้าห้องสมุด
(2) ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น (1) สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดเลือกจัดซื้อ CD ที่มีคุณค่าในอนาคต (2) สามารถใช้งบประมาณจัดซื้อสื่อได้คุ้มค่า (3) วิเคราะห์และทำรายการ CD จัดซื้อได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีข้อมูล pre-catalog บางส่วนแล้ว (4) ผู้ใช้สามารถค้นหาสื่อที่ต้องการได้จากการทำรายการที่ละเอียดและมีดรรชนีเชิงลึก และผู้ใช้ทราบข้อมูลเพื่อแนะนำให้ห้องสมุดจัดซื้อได้
วิธีการ
(3) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มที่มีคุณค่า ได้แก่ ได้รับรางวัล มีรายได้สูง และกรณีที่เป็นภาพยนตร์ไทย จะบันทึกรายการบรรณานุกรมค่อนข้างมากและสมบูรณ์ (2) กลุ่มที่เหลือ ได้แก่ ที่พบข้อมูลการฉายในไทย และที่มีการจำหน่าย CD ในร้านค้าของไทย โดยอาจรวมถึงที่มีการจัดหาในห้องสมุดไทยบางแห่งด้วย กลุ่มที่สองนี้จะบันทึกรายการบรรณานุกรมเพียงบางส่วน
(4) สร้างข้อมูลในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) หากในอนาคตมีการจัดหา CD ใดที่มีข้อมูลจัดทำไว้แล้ว สามารถถ่ายโอนเข้าฐานข้อมูลระบบ ALIST ของห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการสำรวจและรวบรวมรายชื่อ CD ที่มีคุณค่าและมีจำหน่ายในไทย เพื่อดำเนินการจัดหาเข้าห้องสมุดต่อไป
ผลลัพธ์
(5) ห้องสมุดมีกระบวนการทำงานสื่อภาพยนตร์ที่นำการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Collection development) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และทำรายการ (Cataloging) มีการวางแผน เป้าหมาย ประเมินงานชัดเจน และบริการในเชิงรุก (เช่น จากรอรายชื่อ CD จัดซื้อจากร้าน คัดเลือกโดยไม่มีข้อมูลประเมินค่า CD ที่ชัดเจน มาเป็นการคัดสรร) และขยายขอบเขตบริการจากสื่อ CD ที่มีเพียงในห้องสมุด ไปสู่บริการสารสนเทศภาพยนตร์ในภาพรวมได้
(6) รายชื่อภาพยนตร์น่าสนใจดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) เมนูค้น “ภาพยนตร์แยกตามปี” ได้ทำรหัสดรรชนีไว้ว่า “Year=แนะนำ/รายได้ 2020/2563 B.E.” “Year=แนะนำ/รางวัล 2020/2563 B.E” และ “Year=แนะนำ/ไทย 2020/2563 B.E.” ได้จำนวนประมาณ 160 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 150 ชื่อเรื่อง) เมื่อเลือกเมนูแล้ว จะแสดงข้อมูลภาพยนตร์ที่ละเอียด
(7) ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์จากฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) ได้ โดยให้ข้อมูลที่ละเอียด และสามารถสืบค้นได้จากดรรชนีที่หลากหลาย อนึ่งฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลละเอียดกว่าแหล่งสารสนเทศภาพยนตร์อื่นๆ ในไทย เมื่อค้นหาจาก Google ว่าฐานข้อมุลภาพยนตร์ ก็จะเป็นแหล่งข้อมูลแนะนำลำดับต้นๆ และยังเป็นการเพิ่มบริการของห้องสมุดที่ขยายขอบเขตบริการผู้ใช้จากข้อมูลที่มีภายในห้องสมุด ไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจและอยู่ภายนอกห้องสมุดด้วย
-- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
|
คำสำคัญ :
การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด งานเทคนิค (ห้องสมุด) ภาพยนตร์ โสตทัศนวัสดุ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1411
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
14/7/2564 10:06:42
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 18:52:48
|
|
|
|
|
|
|
|
บริการสื่อโสตทัศน์
»
การพัฒนาบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ออนไลน์: กรณีศึกษา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
- การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาขนาดและคุณค่าของคอลเลคชันภาพยนตร์ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (2) เพื่อศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (3) เพื่อศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ ที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ มีสมมติฐาน 2 ประการคือ (1) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวนมากกว่ารายชื่อในห้องสมุด (2) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการ
ภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ที่มีคุณค่าจัดเป็นภาพยนตร์ดีเด่น มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น และมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่มีให้บริการในห้องสมุด ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ทั้งหมดใน Monomax และห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฐาน ข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่นหรือ Film_OPAC ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST โปรแกรม CDS/ISIS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ขนาดคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวน 1,261 รายชื่อ (28.06% ของจำนวนภาพยนตร์ Monomax และห้องสมุดรวมกัน 4,494 รายชื่อ) ภาพยนตร์ของห้องสมุดในระบบ ALIST มีจำนวน 3,233 รายชื่อ (71.94%) จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1 และขนาดคอลเลคชันเฉพาะกลุ่มภาพยนตร์ดีเด่น ของ Monomax มีจำนวน 136 รายชื่อ เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น 4,761 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.85 (น้อยกว่าร้อยละ 50) และเมื่อเปรียบเทียบกับห้องสมุดที่มี 1,416 รายชื่อ พบว่ามีน้อยกว่า จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 2
- 2. การศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ในประเด็นระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ การบันทึกข้อมูล การสืบค้น การจัดการเซทผลลัพธ์ และการจัดการผลลัพธ์ ไม่ละเอียดหรือสมบูรณ์เท่าห้องสมุด และสืบค้นได้น้อยกว่า ในภาพรวมระบบของภาพยนตร์ Monomax แตกต่างจากระบบ OPAC ของห้องสมุด
- 3. การศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ พบว่าสามารถกระทำได้สะดวก 2 วิธีคือ (1) การใช้ฐานข้อมูลเฉพาะทาง โดยอาศัยโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่มาปรับใช้งาน คือโปรแกรมฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC (2) การสร้างระเบียนภาพยนตร์หลายระบบในระบบ ALIST แบบแยกระเบียน (ชื่อเรื่องเดียวกัน บันทึกแยกระเบียนกัน)
คำสำคัญ : บริการบรรณานุกรม ; การค้นคืนสารสนเทศ ; ภาพยนตร์ออนไลน์ ; ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [end]
|
คำสำคัญ :
การค้นคืนสารสนเทศ บริการบรรณานุกรม ภาพยนตร์ออนไลน์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานห้องสมุด
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3219
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สุธรรม อุมาแสงทองกุล
วันที่เขียน
27/8/2563 8:36:34
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:09:01
|
|
|