รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : ยา
การพัฒนาระบบสารสนเทศ » การเขียนบทความลงวารสารวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในแง่มุมต่าง ๆ มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้จัดทำ “วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม” ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความ วิชาการโดยมีกำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 4 เดือน หรือ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม พฤษภาคม และเดือนกันยายน ของทุกปี • ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์ - บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article) - บทความวิชาการ (Academic Article) ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป - บทความวิจัย (Research Article) ด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ • ขอบเขตของบทความวิชาการ - งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ - งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ Ref: https://mitij.mju.ac.th/JOURNAL/1.Promote_MITIJ.pdf
คำสำคัญ : เทคโนโลยีสารสนเทศ  บทความวิจัย  วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม  วิทยาการคอมพิวเตอร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 214  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สมนึก สินธุปวน  วันที่เขียน 28/9/2566 13:16:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:38
สรุปความรู้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมเป็น Session Chair ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ECTI DAMT and NCON 2023
งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 8th International Conference on Digital Arts, Media and Technology (DAMT) and 6th ECTI Northern Section Conference on Electrical, Electronics, Computer and Telecommunications Engineering (NCON) หรือ ECTI DAMT and NCON 2023 เป็นงานประชุมที่จัดขึ้นเพื่อให้นักวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ ได้นำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับกับงานวิจัยด้านสื่อ ศิลปะดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยดิจิทัล สารสนเทศ และคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ ซึ่งในงานมีการนำเสนอบทความรวมมากกว่า 70 บทความ ซึ่งในบทความนี้จะเป็นการสรุปในส่วนที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่เป็น Session chair ใน Track Information Technology
คำสำคัญ : วิทยาการข้อมูล การเรียนรู้เครื่องจักร ระบบผู้เชี่ยวชาญ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พาสน์ ปราโมกข์ชน  วันที่เขียน 19/9/2566 23:12:18  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 4:22:04
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 4
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา นักวิชาการ ผู้ที่สนใจได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผลงานการวิจัยในแต่ละสาขาฯที่เกี่ยวข้องกับทางด้านวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ : ประชุมวิชาการ  ระดับชาติ  วิจัย  วิชาการ  วิทยาศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3444  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/5/2566 11:32:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 15:00:54
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 ในวันที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
คำสำคัญ : การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  นวัตกรรมเชิงพาณิชย์  วิทยาศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1043  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 22/4/2566 22:36:53  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 15:33:18
เผยแพร่ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการ » จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งวิชาการ
ในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์ กพอ. พ.ศ. 2564 ผลงานทางวิชาการที่มีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งวิชาการจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่มีการดำเนินการ ผลงาน วิชาการที่ยื่นขอกำหนดตำแหน่งวิชาการจะต้องเป็นต้นฉบับที่ถูกต้อง ทำโดยผู้วิจัย/คณะผู้วิจัยเอง มีความคิดริเริ่มในการทำงาน การออกแบบ งานวิจัย ออกแบบงานทดลอง ผลงานวิจัยที่ใหม่ ได้ข้อค้นพบแปลกใหม่
คำสำคัญ : จรรยาบรรณ  จริยธรรม  วิจัย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 253  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ลัคนา วัฒนะชีวะกุล  วันที่เขียน 28/3/2566 16:22:33  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2567 19:53:28
การสรุปเนื้อหาจากการอบรมทางวิชาการ วิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาล » จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์
สรุปเนื้อหาการอบรมเรื่องจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์จัดโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาข้อกฎหมาย สภาการพยาบาล ณ โรงแรมเซนทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 สรุปโดย อาจารย์วารุณี ผ่องแผ้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คำสำคัญ : จริยธรรม พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 599  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วารุณี ผ่องแผ้ว  วันที่เขียน 20/3/2566 16:03:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:01:09
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเป็นสิ่งที่สำคัญ และพึงให้ความสำคัญ อีกทั้งในวงการวิชาการในการพิจารณาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการนั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ ดังนั้นการที่จะผลิตผลงานวิชาการให้ได้ดี และมีคุณภาพอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ ยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณในทางวิชาการอีกด้วย
คำสำคัญ : กำหนดตำแหน่งทางวิชาการ  จรรยาบรรณ  จริยธรรม  วิชาการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 512  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 10/2/2566 9:17:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 4:06:05
การสรุปเนื้อหาจากการอบรมทางวิชาการ วิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาล » สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล
สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล โดย อาจารย์ วารุณี ผ่องแผ้ว กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ อบรมวันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. Online ทาง Zoom cloud meeting วิทยากร ศาสตราจารย์ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ศาสตราจาร์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ การวางแผนการเขียนตำรา/วิจัย หนังสือที่เรียบเรียงได้ดีจะเป็นผลงานที่สามารถนำไปประกอบการศึกษา อ้างอิงในการจัดการเรียนการสอนไปหลายสิบปี แต่ในทางสาขาการพยาบาลหากจะใช้ประกอบการเรียนสอนในสถาบันการศึกษาพยาบาลจะใช้ตำราตีพิมพ์เผยแพร่ไม่เกิน 10 ปี ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุงเพื่อปรับเนื้อหาวิชาการทางการพยาบาลในตำราให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ การออกแบบชื่อหนังสือ ตำรา ในสายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ควรตั้งชื่อที่ประชาชนภายนอกสนใจเพราะเป็นเนื้อหาที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านได้ สำหรับหนังสือ ตำราทางการพยาบาลจะมีความเฉพาะเจาะจงกับความเป็นวิชาชีพ เชี่ยวชาญเฉพาะ ผู้ที่อ่านหนังสือ ตำราจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเช่นนักศึกษาพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วย อาจารย์พยาบาล และที่สำคัญในการเขียนหนังสือ ตำรา ควรใช้ข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุน รวมทั้งประสบการณ์ตรง เพิ่มเติมจากการศึกษาตำรา ทฤษฎี การอยู่ในวิชาชีพใดๆจะต้องมีการติดตามข่าวสาร ความก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพที่ตนเองอยู่เพื่อนำมาประกอบในการเขียนตำรา รวมทั้งฐานข้อมูลต่างๆ เช่นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพข้อมูลใหญ่จะอยู่ในกระทรวงสาธารสุข องค์การอนามัยโลก สถาบันการศึกษาทางสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ การออกแบบวิจัย แบบจำลองตัวแปร และข้อมูลเชิงประจักษ์ ต้องวางแผนวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ หากนำมาใช้ในทางสุขภาพ ข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ แยกตามพื้นที่ อาชีพ อายุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยเพื่อวางแผนในการให้การพยาบาลทั้งในเชิงของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การดูแล บำบัด รักษา การฟื้นฟูสุขภาพหลังการเจ็บป่วย หนังสือ มีนิยามว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน หากเป็นงานที่มีหน่วยงานรับรองยิ่งจะทำให้หนังสือนั้นมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเผยแพร่ ควรส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งการเผยแพร่ด้วยวาจาผ่านคณะกรรมการ สภา องค์การปกครองส่วนทั้งถิ่นเพื่อจะได้รับข้อคิดเห็น การวิจารย์ได้จะยิ่งทำให้หนังสือนั้นได้รับการแก้ไข สะท้อนปัญหา หนังสือรวบรวมบทความ (วิจัย) ข้อดีคือช่วยกันเขียนหลายคน ทำให้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน เล่มหนึ่งใช้ประมาณ8-10เรื่อง รวมแล้วประมาณเล่มละ 200 หน้า เป็นขนาดเล่มที่เหมาะแก่การอ่าน ขอบเขตเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ไม่กว้างหรือแคบเกินไป ควรสอดแทรก นโยบาย ควรมีหลักใหญ่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ในทางสุขภาพ การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ การวางแผนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และการสรุปผลงานที่มีการนำเสนอในการตรวจราชการเป็นประจำทุกปี สามารถนำมาประกอบในการเขียนหนังสือได้ ตำราทางวิชาการ ตำราที่ดี พื้นฐานความรู้ หลักการ ขอบเขตของวิชา ทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎีตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งวิวัฒนาการของศาสตร์ที่เรานำมาเขียน หลักฐานเชิงประจักษ์ งานวิจัย คำอธิบาย ซึ่งนักวิชาการที่ดีควรแสวงหาความรู้ใหม่ ติดตามความก้าวหน้า สถานการณ์ทางสุขภาพและสังคมอย่างสม่ำเสมอ
คำสำคัญ : การพยาบาล  ตำรา  หนังสือ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 803  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วารุณี ผ่องแผ้ว  วันที่เขียน 15/9/2565 11:48:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 17:16:21
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีดรรชนีบทความวารสารและการสร้างคอลเลกชันพิเศษ [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 5of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน การทำดรรชนีวารสาร (อนาคต Staffs คอลเลกชันตามหัวข้อโดยรวบรวมบทความจาก ThaiJo) ได้เสนอเป็นแนวความคิดไว้ สำหรับการพัฒนาคอลเลกชันและบริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้ในระยะต่อไป โดยบุคลากรห้องสมุดอื่นอาจจัดทำคอลเลกชันตามหัวข้อ (สมัยอดีตนิยมเรียกว่า แฟ้มสารสนเทศเฉพาะทาง) บริการผู้ใช้ เช่น เก็บรวบรวมข้อมูลปลาบึก ข้อมูลการพยาบาลผู้สูงอายุ ห้องสมุดสีเขียว ฯลฯ จากบทความออนไลน์ ThaiJo ได้ ในที่นี้งานจะมีลักษณะทำนองเดียวกับงานตาม blogข้อ 2 คือ “ เอกสารเนื้อหา Green“ ที่เคยกล่าวถึง สามารถดูรายละเอียดใน blog นั้นได้. [end]
คำสำคัญ : การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ฐานข้อมูลเฉพาะทาง  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 710  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:56:28  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 4:42:31
Piyatida Teaching KM » สัมมนา ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง Engagement ของผู้เรียน
การเรียนการสอนที่น่าเบื่อ และขาดการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนขาดความสนใจ และทำให้ผลการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ งานสัมมนานี้ถ่ายทอดเทคนิคและเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สนุกและผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น ผ่านกิจกรรมและโปรแกรมช่วย รวมถึงการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและใฝ่รู้ด้วยตนเอง
คำสำคัญ : การเรียนที่สนุก เทคนิคและเครื่องมือการสอน จิตวิทยาการเรียนรู้  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2868  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปิยธิดา กล่ำภู่  วันที่เขียน 30/9/2564 12:03:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 14:55:58
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก » การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
หากจะถามว่า ทำไมต้องมีการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อเป็นการจัดมาตรฐานการศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน แต่ละมหาวิทยาลัยจะได้มีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้รู้ข้อบกพร่องของตัวเอง และนำไปปรับปรุงแก้ไข ดังนั้น การจัดอันดับมหาวิทยาลัย จึงมีข้อดี คือ ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีความกระตือรือร้น ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร พัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้น ให้มีมาตรฐานการศึกษาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
คำสำคัญ : SCD Ranking  SDGs  U-Multirank  University Performance Metrics: UPM  Webometrics  การจัดอันดับมหาวิทยาลัย  คุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)  มาตรฐานการศึกษา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานนโยบายและแผน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5389  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 15/9/2564 13:41:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 7:24:43
การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก » การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก : มหาวิทยาลัยแม่โจ้
หากจะถามว่า ทำไมต้องมีการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คำตอบก็คือ เพื่อเป็นการจัดมาตรฐานการศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน แต่ละมหาวิทยาลัยจะได้มีการพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อให้รู้ข้อบกพร่องของตัวเอง และนำไปปรับปรุงแก้ไข ดังนั้น การจัดอันดับมหาวิทยาลัย จึงมีข้อดี คือ ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง มีความกระตือรือร้น ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร พัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้น ให้มีมาตรฐานการศึกษาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด
คำสำคัญ : SCD Ranking  SDGs  U-Multirank  University Performance Metrics: UPM  Webometrics  การจัดอันดับมหาวิทยาลัย  คุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)  มาตรฐานการศึกษา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานนโยบายและแผน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5389  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 15/9/2564 13:41:55  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 7:24:43
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเทศ รับรองสถานะและเงินค่าตอบแทนรายเดือน ฯลฯ โดยจัดทำในรูปแบบภาษาอังกฤษ
คำสำคัญ : บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1868  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 17:13:47
จรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ » จรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์
ในการเข้าร่วมการโครงการฝึกอบรม “จรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์” ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จาก การฝึกอบรม ดังนี้ - ทราบจรรยาบรรณนักวิจัย และจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง ที่ถูกต้องตามระเบียบ รวมถึงการกำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 - ทราบถึง จรรยาบรรณนักวิจัยสภาวิจัยแห่งชาติ และรูปแบบการกระทำผิดจรรยาบรรณ รวมถึงข้อกำหนด สถานที่ดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ - ทราบแนวการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบแผนการทดลองที่มีการใช้สัตว์ ทั้งแบบการวิเคราะห์ และแนะนำ G power program - ทราบ วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติที่พบได้บ่อยในการทดลองที่มีการใช้สัตว์ - ทราบถึง แนวทางการปฏิบัติต่อสัตว์ทดลอง การกำหนดพื้นที่ โรงเรือน การดำเนินการหลังการทดลอง
คำสำคัญ : จรรยาบรรณสัตว์ทดลอง  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1297  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 19/8/2564 14:03:03  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 22:25:04
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน » เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน
นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ฮาวทูทิ้ง...ความน่าเบื่อในชั้นเรียน เคล็ดลับการสร้าง engagement ของผู้เรียน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น. ในงานสัมมนาออนไลน์นี้ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากหัวข้อสัมมนา ดังนี้ - การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อยกระดับการเรียนการสอน การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของอาจารย์ - การทำความเข้าใจเรื่อง จิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสิทธิผลการเรียนรู้ - กาทำความเข้าใจ เรื่อง เคมีในสมองกับการเรียนรู้ ที่สัมพันธ์กับผู้เรียน และผู้จัดกิจกรรม เพื่อสร้าง ความรู้สึกยินดี เช่น เมื่อได้รับรางวัล การสร้างความสุข ความรู้สึกไว้วางใจ ความรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อให้เข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน - ฟังคำแนะนำการใช้สื่อมือถือ และเครื่องมือโปรแกรมที่ช่วยทิ้งความน่าเบื่อในชั้นเรียน เช่น Mentimeter, Bingo, Canva, Socrative, Flinga เป็นต้น - ได้เรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ Mentimeter เป็นเครื่องมือในการทำ Poll สำรวจความคิดเห็นหรือตอบคำถามร่วมกันในชั้นเรียน สามารถแสดงผลคำตอบได้แบบ Real time เหมาะกับการใช้ในการสำรวจความเข้าใจ หรือระดมความคิดเห็น (Brainstorming) ในชั้นเรียนได้ดี Bingo เป็นเครื่องมือการสอนในรูปแบบเกมส์ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น และช่วยกระตุ้นความสนใจและการจดจ่อในการเรียน นอกจากนี้สามารถสอดแทรกเนื้อหาในชั้นเรียนผ่านคำที่เลือกใช้ในเกมส์ ซึ่งเป็นคำสำคัญของบทเรียนนั้น ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำกลับไปทบทวนต่อได้ การใช้เกมส์ตอบคำถามในชั้นเรียน ได้แก่ Kahoot และ Quizizz เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบของการแข่งขันกันในห้องเรียน ที่ให้ทั้งความสนุกและการเรียนรู้ เหมาะสำหรับการทำแบบทดสอบย่อย เพื่อทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาหลังจากบทเรียนได้ดี - เรียนรู้จิตวิทยาที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ การสร้าง Mindset ให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของการเรียน และการสร้าง Growth mindset เพื่อให้ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเอง และไม่ท้อถอยเมื่อเจออุปสรรค โดยสามารถใช้จิตวิทยาการชักจูงและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน โดยการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุก ไม่น่าเบื่อ และมีการกระตุ้นการเรียนรู้ตลอดเวลา จะทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด โดยการใช้หลักการออกแบบการเรียนรู้แบบ Plearn (Play+Learn) ที่ใช้เครื่องมือกระตุ้นความสนใจและมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน รวมถึงสร้าง Engagement ในระหว่างเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่ก่อให้เกิดความสุขซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
คำสำคัญ : นวัตกรรมการศึกษา Edsociate วิทยาการศึกษาตลอดชีวิต  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1604  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 14/8/2564 10:42:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 18:08:51
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ กรณีรายการภาพยนตร์น่าสนใจในรอบปี [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 3of5 / 2564]
ที่มา (1) กระบวนการทำงาน “งานพัฒนาทรัพยากร” (Collection development) ร่วมกับ “งานวิเคราะห์เอกสาร” (Cataloging) มีการสำรวจ ศึกษา ถึงสื่อภาพยนตร์ที่มีคุณค่า ควรจัดหาเข้าห้องสมุด มีการประเมินสื่อที่มี-สื่อที่พึงมี และขนาดคอลเลคชันของห้องสมุดได้ชัดเจน เพื่อกำหนดทิศทางการจัดซื้อจัดหาสื่อเข้าห้องสมุด (2) ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น (1) สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดเลือกจัดซื้อ CD ที่มีคุณค่าในอนาคต (2) สามารถใช้งบประมาณจัดซื้อสื่อได้คุ้มค่า (3) วิเคราะห์และทำรายการ CD จัดซื้อได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีข้อมูล pre-catalog บางส่วนแล้ว (4) ผู้ใช้สามารถค้นหาสื่อที่ต้องการได้จากการทำรายการที่ละเอียดและมีดรรชนีเชิงลึก และผู้ใช้ทราบข้อมูลเพื่อแนะนำให้ห้องสมุดจัดซื้อได้ วิธีการ (3) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มที่มีคุณค่า ได้แก่ ได้รับรางวัล มีรายได้สูง และกรณีที่เป็นภาพยนตร์ไทย จะบันทึกรายการบรรณานุกรมค่อนข้างมากและสมบูรณ์ (2) กลุ่มที่เหลือ ได้แก่ ที่พบข้อมูลการฉายในไทย และที่มีการจำหน่าย CD ในร้านค้าของไทย โดยอาจรวมถึงที่มีการจัดหาในห้องสมุดไทยบางแห่งด้วย กลุ่มที่สองนี้จะบันทึกรายการบรรณานุกรมเพียงบางส่วน (4) สร้างข้อมูลในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) หากในอนาคตมีการจัดหา CD ใดที่มีข้อมูลจัดทำไว้แล้ว สามารถถ่ายโอนเข้าฐานข้อมูลระบบ ALIST ของห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการสำรวจและรวบรวมรายชื่อ CD ที่มีคุณค่าและมีจำหน่ายในไทย เพื่อดำเนินการจัดหาเข้าห้องสมุดต่อไป ผลลัพธ์ (5) ห้องสมุดมีกระบวนการทำงานสื่อภาพยนตร์ที่นำการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Collection development) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และทำรายการ (Cataloging) มีการวางแผน เป้าหมาย ประเมินงานชัดเจน และบริการในเชิงรุก (เช่น จากรอรายชื่อ CD จัดซื้อจากร้าน คัดเลือกโดยไม่มีข้อมูลประเมินค่า CD ที่ชัดเจน มาเป็นการคัดสรร) และขยายขอบเขตบริการจากสื่อ CD ที่มีเพียงในห้องสมุด ไปสู่บริการสารสนเทศภาพยนตร์ในภาพรวมได้ (6) รายชื่อภาพยนตร์น่าสนใจดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) เมนูค้น “ภาพยนตร์แยกตามปี” ได้ทำรหัสดรรชนีไว้ว่า “Year=แนะนำ/รายได้ 2020/2563 B.E.” “Year=แนะนำ/รางวัล 2020/2563 B.E” และ “Year=แนะนำ/ไทย 2020/2563 B.E.” ได้จำนวนประมาณ 160 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 150 ชื่อเรื่อง) เมื่อเลือกเมนูแล้ว จะแสดงข้อมูลภาพยนตร์ที่ละเอียด (7) ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์จากฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) ได้ โดยให้ข้อมูลที่ละเอียด และสามารถสืบค้นได้จากดรรชนีที่หลากหลาย อนึ่งฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลละเอียดกว่าแหล่งสารสนเทศภาพยนตร์อื่นๆ ในไทย เมื่อค้นหาจาก Google ว่าฐานข้อมุลภาพยนตร์ ก็จะเป็นแหล่งข้อมูลแนะนำลำดับต้นๆ และยังเป็นการเพิ่มบริการของห้องสมุดที่ขยายขอบเขตบริการผู้ใช้จากข้อมูลที่มีภายในห้องสมุด ไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจและอยู่ภายนอกห้องสมุดด้วย -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  ภาพยนตร์  โสตทัศนวัสดุ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1318  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:06:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 14:18:09
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 2
คำสำคัญ : ประชุมวิชาการ  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1148  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 24/6/2564 15:01:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/3/2567 14:27:45
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 2
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผ่านระบบออนไลน์ (Microsoft Teams) ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมประชุมวิชาการ ที่ อว 69.5.5/56 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2564
คำสำคัญ : การประชุมวิชาการ  การประชุมวิชาการแบบออนไลน์  การประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1615  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/6/2564 11:48:59  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/3/2567 21:34:17
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การตรวจสอบปริมาณโลหะหนักในยาสมุนไพรและอาหารได้อย่างมั่นใจ
ค่ามาตรฐานการปนเปื้อนของโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง มีค่าที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น จะใช้วิธีการหรือเครื่องมือชนิดไหนในการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักเหล่านี้ อาจจะต้องพิจารณามาตรฐานเหล่านี้ก่อน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม วิธีการหรือเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์หาปริมาณธาตุและโลหะหนัก เรียกว่า เทคนิค Atomic Spectroscopy หลักการโดยทั่วไปจะอาศัยความร้อนทำให้สารประกอบในตัวอย่างเกิดการแตกสลายให้เป็นอะตอม โดยเทคนิคใน Atomic Spectroscopy จะมี 4 เทคนิคหลัก 1) Flame AA 2) Graphite AA (Furnace) 3) ICP-OES 4) ICP-MS
คำสำคัญ : การตรวจสอบ  ยา  โลหะหนัก  สมุนไพร  อาหาร  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2308  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 11:42:34  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 14:01:12
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การตรวจยาฆ่าแมลงในเครื่องเทศด้วยเทคนิค GC-MS/MS
การตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง หรือสารกำจัดศัตรูพืชหรือกำจัดแมลงต่าง ๆ หรือ pesticide ก็ต้องมีการสกัดที่เหมาะสม หลังจากที่เราสกัดออกมาแล้วด้วยความที่เป็นความ specific ของตัวเครื่องเทศ ในตัว matrix เค้าเองก็มีสารหลายอย่างมากมายเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น วันที่เราสกัดออกมาแล้ว จะเห็นว่าแต่ละชนิดจะมีความ Complex มาก เพราะฉะนั้นจะต้องเลือกวิธีการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมที่สุด ก็จะเป็นประการแรกเลยที่เราจะต้องทำ
คำสำคัญ : การตรวจยาฆ่าแมลง  เครื่องเทศ  เทคนิค GC-MS/MS  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3944  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 7/5/2564 10:48:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 11:33:33
สำนักงานสภามหาวิทยาลัย » หน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย และองค์ประกอบ : อำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ : หน้าที่สภามหาวิทยาลัย องค์ประกอบสภามหาวิทยาลัย  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1563  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เพ็ญนภา กันทะตา  วันที่เขียน 4/11/2563 10:25:18  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 8:28:58
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ออนไลน์: กรณีศึกษา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาขนาดและคุณค่าของคอลเลคชันภาพยนตร์ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (2) เพื่อศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (3) เพื่อศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ ที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ มีสมมติฐาน 2 ประการคือ (1) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวนมากกว่ารายชื่อในห้องสมุด (2) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการ ภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ที่มีคุณค่าจัดเป็นภาพยนตร์ดีเด่น มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น และมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่มีให้บริการในห้องสมุด ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ทั้งหมดใน Monomax และห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฐาน ข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่นหรือ Film_OPAC ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST โปรแกรม CDS/ISIS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า - 1. ขนาดคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวน 1,261 รายชื่อ (28.06% ของจำนวนภาพยนตร์ Monomax และห้องสมุดรวมกัน 4,494 รายชื่อ) ภาพยนตร์ของห้องสมุดในระบบ ALIST มีจำนวน 3,233 รายชื่อ (71.94%) จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1 และขนาดคอลเลคชันเฉพาะกลุ่มภาพยนตร์ดีเด่น ของ Monomax มีจำนวน 136 รายชื่อ เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น 4,761 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.85 (น้อยกว่าร้อยละ 50) และเมื่อเปรียบเทียบกับห้องสมุดที่มี 1,416 รายชื่อ พบว่ามีน้อยกว่า จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 2 - 2. การศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ในประเด็นระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ การบันทึกข้อมูล การสืบค้น การจัดการเซทผลลัพธ์ และการจัดการผลลัพธ์ ไม่ละเอียดหรือสมบูรณ์เท่าห้องสมุด และสืบค้นได้น้อยกว่า ในภาพรวมระบบของภาพยนตร์ Monomax แตกต่างจากระบบ OPAC ของห้องสมุด - 3. การศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ พบว่าสามารถกระทำได้สะดวก 2 วิธีคือ (1) การใช้ฐานข้อมูลเฉพาะทาง โดยอาศัยโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่มาปรับใช้งาน คือโปรแกรมฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC (2) การสร้างระเบียนภาพยนตร์หลายระบบในระบบ ALIST แบบแยกระเบียน (ชื่อเรื่องเดียวกัน บันทึกแยกระเบียนกัน) คำสำคัญ : บริการบรรณานุกรม ; การค้นคืนสารสนเทศ ; ภาพยนตร์ออนไลน์ ; ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [end]
คำสำคัญ : การค้นคืนสารสนเทศ  บริการบรรณานุกรม  ภาพยนตร์ออนไลน์  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3099  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 27/8/2563 8:36:34  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/3/2567 19:53:16
งานวิจัยสถาบัน » งานหนักไม่เคยฆ่าคน vs Life-long Learnings
วาทะโอวาทที่รู้จักกันดี "งานหนักไม่เคยฆ่าคน" ถอดเป็นปรัชญาการศึกษาของมหาวทิยาลัยแม่โจ้ได้อย่างไร แล้ว Life-long Learnings เข้าไปผูกกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างไร Stay Tuned
คำสำคัญ : งานหนักไม่เคยฆ่าคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต Life-long learning  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2643  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุเนตร สืบค้า  วันที่เขียน 15/6/2563 10:08:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 16:03:43
บทความวารสาร » KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ รายการบทความวารสารไว้แล้ว ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ "ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา (descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง (subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้ 2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ, tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล tag 246, tag 6xx 3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่ พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้ รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด 4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ 5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้ ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : MARC format  การบริหารองค์ความรู้  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  บทความวารสาร  รูปแบบการลงรายการแบบมาร์ค  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2010  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:51:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 6:05:29
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง » KM ฐานข้อมูลภาพยนตร์ ครั้งที่ 1 : สรุปประเด็นการนำเสนอ
จากสรุปผล KM ครั้งก่อนที่นำเสนอข้อมูลแบบทดสอบ Pre-test Post-test ซึ่ง เป็นข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม สรุปประเด็นที่ได้นำเสนอในกิจกรรม KM ครั้งที่ 1 มีดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย : การจัดกิจกรรมครั้งแรก มุ่งถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรห้องสมุด ที่ทำหน้าที่ให้บริการยืมคืน CD ภาพยนตร์ และ บรรณารักษ์ที่อาจทำหน้าที่บริการและช่วยการค้นคว้าสื่อ CD ภาพยนตร์ หรือ การประยุกต์แนวคิดการวิเคราะห์และทำรายการสื่อ ดรรชนีสื่อภาพยนตร์ ไปใช้ประโยชน์ 2. การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร : โดยที่การสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ในการนี้กล่าวถึงเพึยง 2 ประการ คือ (1) โปรแกรมระบบงานห้องสมุด เช่น ALIST, Film_OPAC, Innopac (ตัวอย่าง จากห้องสมุดอื่น) และ (2) ข้อมูลการวิเคราะห์และทำรายการของบรรณารักษ์ ว่ามีความละเอียด ลึกซึ้งเพียงใด มีการออกแบบระบบข้อมูลบรรณานุกรมและดรรชนีที่เอื้อต่อการสืบค้นด้วยช่องทาง ต่างๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ฯ ไม่ว่าจะดูแลสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุดประเภทใด สามารถศึกษาและนำไปพัฒนางานตนเองได้ โดยที่โปรแกรมห้องสมุดอาจ เป็นเงื่อนไขที่บรรณารักษ์ปรับเปลี่ยนได้ยาก แต่งานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของ บรรณารักษ์เองอยู่ในเงื่อนไขที่บรรณารักษ์สามารถปรับเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับ โปรแกรม Film_OPAC ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาขึ้นนี้ เป็นเครื่องมือช่วยการ บริการผู้ใช้ได้สอดคล้องกับสารสนเทศสื่อภาพยนตร์มากกว่าระบบโปรแกรม ALIST ที่ห้องสมุด ใช้งานอยู่ หรือโปรแกรมระบบงานห้องสมุดต่างๆ ที่ออกแบบมาโดยเน้นหนังสือเป็นหลัก (เช่น Innopac) 3. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด : กรณีสื่อ CD ภาพยนตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย แม่โจ้ สามารถพัฒนาขนาดคอลเลคชัน (size or scope) จำนวนประมาณ 3,200 ชื่อเรื่อง จัดอยู่ในลำดับ 6 (โดยประมาณ) ของประเทศ ส่วนการพัฒนาสารสนเทศภาพยนตร์ หรือข้อมูล บรรณานุกรมสื่อ มีความละเอียดมากกว่าห้องสมุดแห่งอื่น จัดอยู่ในลำดับ 1 ของประเทศ โดยใน ส่วนฐานข้อมูล Film_OPAC เอง เมื่อสืบค้นจาก Search engine คือ Google ด้วยคำค้น เกี่ยวกับ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ พบว่าฐานข้อมูลของห้องสมุดคือ Film_OPAC นำเสนอในลำดับ ต้นๆ ในผลลัพธ์การค้นของ Google 4. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC เป็นผลลัพธ์จากงานพัฒนาคอลเลคชัน และ งานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ ซึ่งประสิทธิภาพการสืบค้นและนำเสนอสารสนเทศภาพยนตร์ ด้วยช่องทางสืบค้นและดรรชนีต่างๆ นั้น ได้มีการนำเสนอความรู้ระดับพื้นฐาน และได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กันในระดับเบื้องต้น เช่น ดรรชนีแบบจัดเตรียมรายการไว้ให้ (directory search) ดรรชนี ระบุคำค้น (word search) ของสารสนเทศภาพยนตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อนักแสดง ชื่อผู้กำกับ ประเทศ ประเภทภาพยนตร์ (genre) รางวัลภาพยนตร์ รายได้ภาพยนตร์ เนื้อหาภาพยนตร์ ที่ค้นได้จากคำ keywords และหัวเรื่อง โดยเทียบเคียงระบบ Film_OPAC กับ ALIST ด้วย 5. ตามหลักการ KM 4 ระดับคือ (1) Know what (2) Know how (3) Know why (4) Care why นั้น กิจกรรม KM ครั้งนี้มุ่งเพียง Know what ว่าข้อมูลภาพยนตร์ในระบบ โปรแกรม ALIST และ Film_OPAC คืออะไร ให้ข้อมูลอะไร และ Know how ในส่วนวิธี การสืบค้นด้วยดรรชนีต่างๆ ระดับเบื้องต้น (basic) อย่างสังเขปเท่านั้น ส่วนความรู้ ที่เป็น Know how ที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น วิธีการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ วิธีการจัดซื้อจัดหาสื่อ วิธีการวิเคราะห์และทำรายการ หรือการจัดทำดรรชนีเป็นอย่างไร และความรู้ ระดับ Know why ว่าสาเหตุใดจึงทำดรรชนีเช่นนั้น ตลอดจนความรู้ระดับ Care why ว่า ระบบดรรชนีและโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างไร และจะพัฒนาระบบดรรชนีต่อไปเช่นไรนั้น จะมี การนำเสนอในกิจกรรม KM ในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : การบริหารองค์ความรู้  ฐานข้อมูล  บริการสื่อโสตทัศน์  ภาพยนตร์  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1833  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:39:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 17:40:44
บริการสื่อโสตทัศน์ » KM บริการสารสนเทศภาพยนตร์
สืบเนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีงบประมาณ 2563 การเติมเต็มความรู้ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 มีการกำหนดให้ประเมินโดยการวัดผลความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม (pre-test, post-test) ด้วย ในการเติมเต็มความรู้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับบริการสารสนเทศภาพยนตร์ นำเสนอในมุมมองผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ไม่ใช่มุมมองผู้ใช้บริการ) ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ และจัดทำฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST และระบบ Elib เสริมด้วยโปรแกรมสืบค้น Film_OPAC จนทำให้คอลเลคชันภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในอันดับ Top 6 ของประเทศ และการลงรายการบรรณานุกรมหรือการจัดทำข้อมูลภาพยนตร์จัดอยู่ในอันดับ Top 1 ของประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถสืบค้นและใช้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้จากระบบ ALIST OPAC (http://opac.library.mju.ac.th) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น Elib + Film_OPAC (https://lib.mju.ac.th/film/) ในกระทู้ KM นี้นำเสนอเอกสาร pre-test, post-test ที่ใช้ทดสอบ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลัง กิจกรรม KM (Pre-test, Post-test) หัวข้อ บริการสารสนเทศภาพยนตร์ 18 พฤศจิกายน 2562 ---------------------------------- ชื่อผู้ทดสอบ …………………………………………………… 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ […] ออนไลน์ […] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ ……………… 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ……………….. เรื่อง (titles) 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส […] MARC 21 […] RDA […] MetaData […] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) […] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (ตอบได้>1) …………………… ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง ……………………. คำค้น ……………………………………………. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. ------------------------ แนวคำตอบ 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) [./.] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ [./.] ออนไลน์ [./.] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ…CDT… [วิชาการ CDA, CDE, CDS] 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ …3,200.. เรื่อง (titles) [+/- 10% ok] 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส [./.] MARC 21 […] RDA […] MetaData [./.] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) [./.] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) …OPAC ALIST……………………. … OPAC Film ฐานภาพยนตร์ดีเด่น …………. …แฟ้มประเภท (genre) ภาพยนตร์ …. … บอร์ดแนะนำ ….……………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (basic) ชื่อเรื่อง (+เพิ่ม) ชื่อบุคคล (ผู้กำกับ นักแสดง ฯลฯ) หัวเรื่อง เลขรหัส/หมู่ (add.) ภาพปก เรื่องย่อ ภาพยนตร์ใหม่ ประเภท ประเทศ รางวัล รายได้ Top 10 การเข้าฉาย ปี ถาม บร. 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) คะแนน Rating กลุ่มผู้ชม บริษัทผู้สร้าง Keyword (Assigned) รางวัล (+) ชื่อตัวละคร Plot คำคม Reference การโยง Thesaurus ภาพยนตร์ใกล้เคียง ภาพ Boolean App. 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง …หัวเรื่อง ………………. คำค้น …บิดา วิกฤติเศรษฐกิจ ถ้ำ …. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) 1. user interface, design ALIST ค้นสื่อรวมทุกประเภท ; OPAC Film ฐานเฉพาะทาง ค้นง่าย 2. คอลเลคชัน (scope, size) ALIST เฉพาะที่มีในห้องสมุด ; OPAC Film มีนอกเหนือ 3. สถานภาพ Item ALIST เชื่อมกับระบบยืมคืน ; OPAC Film ไม่เชื่อม (พัฒนาได้) 4. อื่นๆ (ระบุ) ………………………………………………………………………………….. ------------------------
คำสำคัญ : KM  การจัดการความรู้  ฐานข้อมูล  ดรรชนี  บริการของห้องสมุด  ภาพยนตร์  สื่อโสตทัศน์  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2289  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/11/2562 9:34:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 0:11:45
อ. มธุรส ชัยหาญ » การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีงานวิจัย และ นวัตกรรมระหว่างผู้มีเทคโนโลยี (Technology Provider) และ ผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี (Technology Seeker) เพื่อเป็นโอกาสและช่องทางในการส่งต่อผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และ ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มุ่งตอบสนองการนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งเชิงวิชาการ เชิงชุมชนสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยการจัดบู้ธและนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมสาขาเกษตรและอาหารแปรรูป“กรรมวิธีการสกัดและการเพิ่มความบริสุทธิ์สารเอล-ควาบราซิทอล (L-quebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา” ณ. ห้อง Mayfair Ballroom โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพ ในวันที่ 3 กันยายน 2562 กระบวนการสกัด L-Quebrachitol จากซีรั่มน้ำยางพาราสดและน้ำทิ้งจากกระบวนการรีดยางแผ่นมาผลิตสารบริสุทธิ์ L-quebrachitol ซึ่งเป็นน้ำตาลกลุ่ม oligosaccharide ที่สามารถละลายน้ำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ สารดังกล่าว มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง (Antioxidant) และ สารต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial) ยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุการเกิดสิว Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Propionibacterium acnes จึงสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเวชสำอางชนิดต่างๆโดยเฉพาะเวชสำอางสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายสามารถใช้เป็น ส่วนประกอบของสารต้านมะเร็ง (Anti-cancer agents) และ สามารถนำมาผลิตเป็นสารเคลือบแผ่นยาง สำหรับลดเชื้อราปนเปื้อนบนแผ่นยางผึ่งแห้ง (Air dry sheets) และ ยางก้อนถ้วย สารบริสุทธิ์ L-quebrachitol สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราหลักที่ปนเปื้อนบนยางแผ่น Aspergillus และ Penicillium ได้ดี สามารถลดการเจริญของเชื้อราดังกล่าว ได้นาน 4 เดือน ภายหลังจากการเคลือบยางแผ่นผึ่งแห้งและยางก้อนถ้วยด้วยสารบริสุทธิ์ L-quebrachitol จากงานวิจัย เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิต พบว่า มีราคาถูกกว่า สารบริสุทธิ์ L-quebrachitol ที่ผลิตและจำหน่ายทางการค้า ถึง 44 เท่า ด้วยกรรมวิธีการสกัดและแยกสาร L-quebrachitol ด้วยเทคนิคที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และ มีราคาถูก
คำสำคัญ : L-quebrachitol  กระบวนการสกัด  ซีรัมยางพารา  ผลิตภัณฑ์สปา  ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้า  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2536  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน มธุรส ชัยหาญ  วันที่เขียน 1/10/2562 10:36:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 19:21:03
อ. มธุรส ชัยหาญ » การเข้าร่วมกิจกรรม “การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
การเข้าร่วมกิจกรรม “การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีงานวิจัย และ นวัตกรรมระหว่างผู้มีเทคโนโลยี (Technology Provider) และ ผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี (Technology Seeker) เพื่อเป็นโอกาสและช่องทางในการส่งต่อผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และ ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มุ่งตอบสนองการนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งเชิงวิชาการ เชิงชุมชนสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยการจัดบู้ธและนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมสาขาเกษตรและอาหารแปรรูป“กรรมวิธีการสกัดและการเพิ่มความบริสุทธิ์สารเอล-ควาบราซิทอล (L-quebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา” ณ. ห้อง Mayfair Ballroom โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพ ในวันที่ 3 กันยายน 2562
คำสำคัญ : L-quebrachitol  กระบวนการสกัด  การเพิ่มมูลค่า  ซีรัมนำ้ยางพารา  นำ้ทิ้งจากกระบวนการรีดแผ่นยาง  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2683  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน มธุรส ชัยหาญ  วันที่เขียน 25/9/2562 14:32:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:48:05
อ. มธุรส ชัยหาญ » การเข้าร่วมกิจกรรม “การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
การเข้าร่วมกิจกรรม “การเชื่อมโยงงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Research Connect)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีงานวิจัย และ นวัตกรรมระหว่างผู้มีเทคโนโลยี (Technology Provider) และ ผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี (Technology Seeker) เพื่อเป็นโอกาสและช่องทางในการส่งต่อผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และ ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่มุ่งตอบสนองการนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ทั้งเชิงวิชาการ เชิงชุมชนสังคมและเชิงพาณิชย์ โดยการจัดบู้ธและนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมสาขาเกษตรและอาหารแปรรูป“กรรมวิธีการสกัดและการเพิ่มความบริสุทธิ์สารเอล-ควาบราซิทอล (L-quebrachitol) จากซีรั่มน้ำยางพารา” ณ. ห้อง Mayfair Ballroom โรงแรม เดอะเบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพ ในวันที่ 3 กันยายน 2562
คำสำคัญ : L-quebrachitol  กระบวนการสกัด  การเพิ่มมูลค่า  ซีรัมนำ้ยางพารา  นำ้ทิ้งจากกระบวนการรีดแผ่นยาง  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2683  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน มธุรส ชัยหาญ  วันที่เขียน 25/9/2562 14:32:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:48:05
บริการสื่อโสตทัศน์ » PMEST facet กับการทำดรรชนี
งานสำคัญประการหนึ่งของการจัดระบบเอกสารหรือสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดคือ การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร (cataloging) ซึ่งบางกรณีเรียกว่างานเทคนิคห้องสมุด เป็นงานที่อาศัยความรู้ ทักษะ ทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ PMEST เป็นหลักการหรือมุมมองในการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารที่จะให้บริการของห้องสมุด โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาหรือการใช้มุมมองสิ่งใดๆ เป็นแง่มุม (facet) เฉพาะด้านหลายๆ ด้าน (มุมมอง) เพื่อให้เข้าใจสิ่งนั้นๆ รอบด้านและถี่ถ้วนขึ้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับการทำงานวิเคราะห์เอกสาร ก็จะทำให้สามารถกำหนดคำดรรชนีได้ละเอียดขึ้น เพื่อช่วยการเข้าถึงเนื้อหาเอกสารต่างๆ ได้ครอบคลุมประเด็นเนื้อหาให้ครบถ้วน (รอบด้าน) มากขึ้น ผู้ใช้ห้องสมุดก็สามารถสืบค้นเรื่องที่ต้องการจากคำดรรชนีได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น PMEST เป็นอักษรย่อจากคำว่า Pesronality Material Energy Space Time P = Pesronality = บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร เช่น ภูมิพลอดุลยเดชฯ กษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ M = Material วัตถุ สิ่งของ เช่น วัง บ้าน รถยนต์ เสื้อผ้า อาหาร E = Energy พลังงาน สิ่งไร้รูป สิ่งนามธรรม กิจกรรมและการกระทำ เช่น ดนตรี แสงสว่าง ความดี การเล่นกีฬา วิทยาศาสตร์ S = Space สถานที่ ชื่อภูมิศาสตร์ เช่น ไทย เชียงใหม่ สันทราย มหาวิทยาลัย ฟาร์ม T = Time เวลา เหตุการณ์ เช่น กลางคืน ศตวรรษที่ 21 แผ่นดินไหว น้ำท่วม เมื่อนำ PMEST มาใช้กับการวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ของห้องสมุด จะทำให้บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศมีมุมมองกำหนดคำดรรชนีได้มากขึ้น และตรวจสอบได้ว่าวิเคราะห์เนื้อหาสื่อได้ครบถ้วนทุกมุมมองหรือไม่ ตัวอย่างเช่น สื่อโสตทัศน์ CD ภาพยนตร์เรื่อง Bohemian Rhapsody (2018) ซึ่งเป็นเรื่องชีวประวัติของ Freddie Mercury นักร้องนำวงดนตรี Queen สามารถใช้หลักการ PMEST กำหนดดรรชนีได้ดังนี้ P = Pesronality = Mercury, Freddie ; นักร้อง ; นักดนตรี ; Queen (วงดนตรี) ; วงดนตรี M = Material เช่น [ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหาสำคัญที่เน้นมุมมอง facet นี้] E = Energy เช่น ดนตรีร็อค ความใฝ่ฝัน การร้องเพลง S = Space สถานที่ ชื่อภูมิศาสตร์ เช่น [ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหาสำคัญที่เน้นมุมมอง facet นี้] T = Time เวลา เหตุการณ์ เช่น คอนเสิร์ต การแสดงดนตรี การนำไปใช้กับสื่อหรือเอกสารเรื่องอื่น เช่น Titanic หรือสื่อลักษณะอื่น เช่น เอกสารวิชาการ ตำรา นวนิยาย ก็จะมีลักษณะแตกต่างกันไป อนึ่ง การนำเสนอแนวคิด PMEST ในครั้งนี้ให้ข้อมูลเพียงสังเขป พร้อมกับได้ทำสไลด์ Powerpoint 17 ภาพ และตัวอย่างแบบทดสอบประกอบ ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Titanic มีเนื้อหาสามารถกำหนดดรรชนีตาม PMEST ได้ครบทุกมุมมอง (facet) โดยสไลด์ดังกล่าวใช้ในกิจกรรม KM ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ข้อมูลโดยละเอียดและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผู้สนใจสามารถติดต่อผู้เขียน blog ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
คำสำคัญ : PMEST  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  ทรัพยากรสารสนเทศ  สื่อโสตทัศน์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2147  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 16:25:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 4:15:51