|
|
การประชุมวิชาการ
»
อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
|
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.ผ่านทางระบบออนไลน์ด้วย Zoom Cloud meeting นั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหา และประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ในการฝึกอบรม และเรียนรู้ เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” โดยวิทยากรบรรยาย ๒ ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง กัญคดา อนุวงศ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจรี ศุภสุธีกุล จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม ดังนี้
ตัวแบบ AUN-QA เป็นตัวแบบเพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพ โดยเป็นการประเมินจากภายนอก (External Quality Assurance: EQA) โดยระบบ AUN-QA (รายละเอียดโครงสร้างดังภาพที่ ๑) ที่จะบรรยายถึงเกณฑ์และระบบนั้น จะใช้ Version ๔.๐ โดยมีเกณฑ์ที่แตกต่างจาก Version ๓.๐ โดยมีการปรับยุบรวมบางเกณฑ์ให้อยู่ภายใต้เกณฑ์เดียวกัน ซึ่ง Version ๔.๐ ระดับหลักสูตรจะมีทั้งหมด ๕๓ ข้อเกณฑ์ ภายใต้ ๘ Criteria
ภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพ External Quality Assurance, EQA
จากภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA นั้นถูกนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพต่าง ๆ และทางด้านการศึกษาได้นำมาปรับใช้ในการประกันคุณภาพทางการศึกษา โดยระบบประกันคุณภาพนั้น สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่
Principle-based QA Model
Role-based QA Model
โดย Principle-based QA Model เป็นระบบประกันคุณภาพที่ไม่บอกวิธีการทำงาน แต่บอกเฉพาะแนวทางในการทำงาน ซึ่ง AUN-QA ก็อยู่ในประเภทนี้ และโดยส่วนใหญ่ระบบประกันคุณภาพมักเป็นแบบ Principle-based QA Model ประมาณ ๙๐% ซึ่งแตกต่างจาก Role-based QA Model กล่าวคือ จะบอกวิธีการ/บอกเอกสารที่ใช้ในการประกอบ และมีการบอกถึงเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยระบบประกันประเภทนี้ อาทิเช่น ระบบ ISO เป็นต้น
ซึ่งในระบบ AUN-QA ก่อนที่เราจะทำการประกันคุณภาพเราจำเป็นจะต้องกำหนดเป้าหมายเสียก่อน โดยที่เราจะต้องทำ การจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Design based Outcome-based Education framework) ก่อน โดยที่เราจะทำการกำหนดเป้าประสงค์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ให้ชัดเจนก่อน แล้วเราจึงทำการออกแบบ กำหนดกิจกรรมวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้ (รายละเอียดดังภาพที่ ๒)
ภาพที่ ๒ Outcome-Based Education : OBE
จากภาพที่ ๒ โดยในการที่เราจะทำการออกแบบกิจกรรม/การดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของเรานั้น ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่
Curriculum design
Teaching-Leaning activities
Student Assessment
Co-curricular activities
Lecturer’s competency
Student service
Facilities
โดยการบรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้นั้น เราจะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้แล้ว สามารถทำอะไรได้บ้างหรือเรียนรู้อะไรได้เพิ่มเติมบ้าง
ในระบบ AUN-QA Version ๔.๐ มีเกณฑ์ (Criteria) ทั้งหมด ๘ เกณฑ์ รายละเอียดดังภาพที่ ๓
ภาพที่ 3 ตัวแบบ AUN-QA Version 4.0
จากภาพที่ 3 เราจะเริ่มต้นกำหนดจาก Stakeholder Needs เป็นหลัก กล่าวคือ เราทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนที่จะดำเนินการสร้างเครื่องมือมาเพื่อประกันคุณภาพ และสร้างกระบวนการเพื่อควบคุมหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ และสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก
โดยเกณฑ์การประเมินระบบ AUN-QA ระดับหลักสูตรมีเกณฑ์ทั้งหมด 8 Criteria (53 requirements) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Criteria 1 – Expected Learning Outcomes
Requirements:
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่เหมาะสมภายใต้กรอบของการเรียนรู้ อาทิเช่น Bloom Taxonomy (รายละเอียดดังภาพที่ 4)
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes สำหรับทุกรายวิชาในหลักสูตร
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Learning Outcomes ภายใต้การเรียนรู้ทั้งแบบ generic outcomes และ specific Outcomes
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก โดยสะท้อนจาก Expected Leaning Outcomes
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ
ภาพที่ 4 Bloom’s Taxonomy (Revised) : Cognition
Criteria 2 – Programme Structure and Content
Requirements:
2.1 คุณลักษณะเฉพาะของหลักสูตรฯ และทุกรายวิชาในหลักสูตรฯ จะต้องมีการปรับให้ทันสมัย และมีช่องทางในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
2.2 การออกแบบ Curriculum จะต้องสอดคล้อง และสามารถสะท้อนถึง Expected Leaning Outcomes ได้
2.3 การออกแบบ Curriculum ต้องนำเอาข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะจากภายนอก มาเพื่อใช้ในการพิจารณาในการออกแบบ
2.4 การสร้างในแต่ละรายวิชาจะต้องสร้างเพื่อให้บรรลุ Expected Leaning Outcomes
2.5 Curriculum ต้องแสดงให้เห็นทุกรายวิชา เป็นไปตามลำดับ การเรียนรู้เป็นไปตามชั้นปี รายวิชาชั้นปีที่ 1 เรียนรู้ระดับเบื้องต้น แล้วไต่ระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้นตามลำดับ
2.6 Curriculum ไล่ตามลำดับรายวิชาเมเจอร์ และไมเนอร์ตามลำดับ
2.7 หลักสูตรฯ แสดงให้เห็นถึงความทันสมัย และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานประกอบการได้
Criteria 3 – Teaching and Leaning Approach
Requirements:
3.1 ปรัชญการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสะท้อนผ่าน teaching and learning activities
3.2 Teaching and learning activities ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
3.3 Active Learning and Teaching นำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนกับผู้เรียน
3.4 Teaching and learning activities ถูกนำมาปรับใช้กับผู้เรียน รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.5 การใช้ Active learning มาใช้กับผู้เรียนในด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และอื่น ๆ
3.6 กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ
Criteria 4 – Student Assessment
ในเกณฑ์นี้สามารถสรุปได้ คือ การประเมินผู้เรียน โดยมีกระบวนการ วิธีการในการประเมินผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และท้ายที่สุดสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการได้
Criteria 5 – Academic Staff
ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการอธิบายถึงคุณภาพ ศักยภาพของบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนที่มีผลต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา หลักสูตร และตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ
Criteria 6 – Student Support Service
ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอน ในหลักสูตรฯ ว่ามีการจัดกระบวนการเรียนให้สอดคล้อง เหมาะสมกับผู้เรียน และมีการติดตามผู้เรียนให้คำปรึกษาด้านการเรียน ตลอดหลักสูตรฯ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และติดตามเพื่อประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์ และเวลาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Criteria 7 – Facilities and Infrastructure
ภายใต้เกณฑ์นี้กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หรือสิ่งสนับสนุนผู้เรียน ผู้สอน อาทิเช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่สนับสนุนภายในสถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสอน
Criteria 8 – Output and Outcomes
ภายใต้เกณฑ์นี้ กล่าวถึง เกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา เป็นไปตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ ที่กำหนดไว้ การได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ตลอดจนความพึงพอใขของผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น
ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่ากระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4 รายละเอียดดังภาพที่ 5 ดังนี้
ภาพที่ 5 กระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
2.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ระบบ AUN-QA Version 4.0
2.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ภายใต้เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
3.1 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรได้
3.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการจัดการในระดับหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.ผ่านทางระบบออนไลน์ด้วย Zoom Cloud meeting นั้น
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหา และประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
ในการฝึกอบรม และเรียนรู้ เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน” โดยวิทยากรบรรยาย ๒ ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง กัญคดา อนุวงศ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาจรี ศุภสุธีกุล จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม ดังนี้
ตัวแบบ AUN-QA เป็นตัวแบบเพื่อใช้ในการรับรองคุณภาพ โดยเป็นการประเมินจากภายนอก (External Quality Assurance: EQA) โดยระบบ AUN-QA (รายละเอียดโครงสร้างดังภาพที่ ๑) ที่จะบรรยายถึงเกณฑ์และระบบนั้น จะใช้ Version ๔.๐ โดยมีเกณฑ์ที่แตกต่างจาก Version ๓.๐ โดยมีการปรับยุบรวมบางเกณฑ์ให้อยู่ภายใต้เกณฑ์เดียวกัน ซึ่ง Version ๔.๐ ระดับหลักสูตรจะมีทั้งหมด ๕๓ ข้อเกณฑ์ ภายใต้ ๘ Criteria
ภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA เพื่อใช้ในการประกันคุณภาพ External Quality Assurance, EQA
จากภาพที่ ๑ ตัวแบบ AUN-QA นั้นถูกนำไปใช้ในด้านการประกันคุณภาพต่าง ๆ และทางด้านการศึกษาได้นำมาปรับใช้ในการประกันคุณภาพทางการศึกษา โดยระบบประกันคุณภาพนั้น สามารถจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่
Principle-based QA Model
Role-based QA Model
โดย Principle-based QA Model เป็นระบบประกันคุณภาพที่ไม่บอกวิธีการทำงาน แต่บอกเฉพาะแนวทางในการทำงาน ซึ่ง AUN-QA ก็อยู่ในประเภทนี้ และโดยส่วนใหญ่ระบบประกันคุณภาพมักเป็นแบบ Principle-based QA Model ประมาณ ๙๐% ซึ่งแตกต่างจาก Role-based QA Model กล่าวคือ จะบอกวิธีการ/บอกเอกสารที่ใช้ในการประกอบ และมีการบอกถึงเป้าหมายอย่างชัดเจน โดยระบบประกันประเภทนี้ อาทิเช่น ระบบ ISO เป็นต้น
ซึ่งในระบบ AUN-QA ก่อนที่เราจะทำการประกันคุณภาพเราจำเป็นจะต้องกำหนดเป้าหมายเสียก่อน โดยที่เราจะต้องทำ การจัดการศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Design based Outcome-based Education framework) ก่อน โดยที่เราจะทำการกำหนดเป้าประสงค์การเรียนรู้ (Learning Outcome) ให้ชัดเจนก่อน แล้วเราจึงทำการออกแบบ กำหนดกิจกรรมวิธีการ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้ (รายละเอียดดังภาพที่ ๒)
ภาพที่ ๒ Outcome-Based Education : OBE
จากภาพที่ ๒ โดยในการที่เราจะทำการออกแบบกิจกรรม/การดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ของเรานั้น ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่
Curriculum design
Teaching-Leaning activities
Student Assessment
Co-curricular activities
Lecturer’s competency
Student service
Facilities
โดยการบรรลุเป้าประสงค์การเรียนรู้นั้น เราจะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่า เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้แล้ว สามารถทำอะไรได้บ้างหรือเรียนรู้อะไรได้เพิ่มเติมบ้าง
ในระบบ AUN-QA Version ๔.๐ มีเกณฑ์ (Criteria) ทั้งหมด ๘ เกณฑ์ รายละเอียดดังภาพที่ ๓
ภาพที่ 3 ตัวแบบ AUN-QA Version 4.0
จากภาพที่ 3 เราจะเริ่มต้นกำหนดจาก Stakeholder Needs เป็นหลัก กล่าวคือ เราทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนที่จะดำเนินการสร้างเครื่องมือมาเพื่อประกันคุณภาพ และสร้างกระบวนการเพื่อควบคุมหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ และสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก
โดยเกณฑ์การประเมินระบบ AUN-QA ระดับหลักสูตรมีเกณฑ์ทั้งหมด 8 Criteria (53 requirements) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Criteria 1 – Expected Learning Outcomes
Requirements:
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่เหมาะสมภายใต้กรอบของการเรียนรู้ อาทิเช่น Bloom Taxonomy (รายละเอียดดังภาพที่ 4)
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes สำหรับทุกรายวิชาในหลักสูตร
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Learning Outcomes ภายใต้การเรียนรู้ทั้งแบบ generic outcomes และ specific Outcomes
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก โดยสะท้อนจาก Expected Leaning Outcomes
หลักสูตรฯ ต้องแสดงให้เห็นถึง Expected Leaning Outcomes ที่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ
ภาพที่ 4 Bloom’s Taxonomy (Revised) : Cognition
Criteria 2 – Programme Structure and Content
Requirements:
2.1 คุณลักษณะเฉพาะของหลักสูตรฯ และทุกรายวิชาในหลักสูตรฯ จะต้องมีการปรับให้ทันสมัย และมีช่องทางในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
2.2 การออกแบบ Curriculum จะต้องสอดคล้อง และสามารถสะท้อนถึง Expected Leaning Outcomes ได้
2.3 การออกแบบ Curriculum ต้องนำเอาข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะจากภายนอก มาเพื่อใช้ในการพิจารณาในการออกแบบ
2.4 การสร้างในแต่ละรายวิชาจะต้องสร้างเพื่อให้บรรลุ Expected Leaning Outcomes
2.5 Curriculum ต้องแสดงให้เห็นทุกรายวิชา เป็นไปตามลำดับ การเรียนรู้เป็นไปตามชั้นปี รายวิชาชั้นปีที่ 1 เรียนรู้ระดับเบื้องต้น แล้วไต่ระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้นตามลำดับ
2.6 Curriculum ไล่ตามลำดับรายวิชาเมเจอร์ และไมเนอร์ตามลำดับ
2.7 หลักสูตรฯ แสดงให้เห็นถึงความทันสมัย และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในสถานประกอบการได้
Criteria 3 – Teaching and Leaning Approach
Requirements:
3.1 ปรัชญการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสะท้อนผ่าน teaching and learning activities
3.2 Teaching and learning activities ถูกนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
3.3 Active Learning and Teaching นำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนกับผู้เรียน
3.4 Teaching and learning activities ถูกนำมาปรับใช้กับผู้เรียน รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.5 การใช้ Active learning มาใช้กับผู้เรียนในด้านความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และอื่น ๆ
3.6 กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ
Criteria 4 – Student Assessment
ในเกณฑ์นี้สามารถสรุปได้ คือ การประเมินผู้เรียน โดยมีกระบวนการ วิธีการในการประเมินผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ และท้ายที่สุดสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการได้
Criteria 5 – Academic Staff
ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการอธิบายถึงคุณภาพ ศักยภาพของบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนที่มีผลต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา หลักสูตร และตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ
Criteria 6 – Student Support Service
ในส่วนของเกณฑ์นี้ เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอน ในหลักสูตรฯ ว่ามีการจัดกระบวนการเรียนให้สอดคล้อง เหมาะสมกับผู้เรียน และมีการติดตามผู้เรียนให้คำปรึกษาด้านการเรียน ตลอดหลักสูตรฯ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และติดตามเพื่อประเมินให้เป็นไปตามเกณฑ์ และเวลาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Criteria 7 – Facilities and Infrastructure
ภายใต้เกณฑ์นี้กล่าวถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ หรือสิ่งสนับสนุนผู้เรียน ผู้สอน อาทิเช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ ที่สนับสนุนภายในสถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการเรียนรู้ การสอน
Criteria 8 – Output and Outcomes
ภายใต้เกณฑ์นี้ กล่าวถึง เกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา เป็นไปตามระยะเวลาของหลักสูตรฯ ที่กำหนดไว้ การได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ตลอดจนความพึงพอใขของผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น
ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่ากระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA Version 4 รายละเอียดดังภาพที่ 5 ดังนี้
ภาพที่ 5 กระบวนการประเมินด้วยเกณฑ์ AUN-QA
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
2.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ ระบบ AUN-QA Version 4.0
2.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ภายใต้เกณฑ์ AUN-QA Version 4.0
ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
3.1 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตรได้
3.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการจัดการในระดับหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
1875
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เชิดชัย มีเอียด
วันที่เขียน
30/9/2565 13:58:10
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 17:16:05
|
|
|
|
งานวิจัยสถาบัน
»
ผลงานวิจัยเรื่อง "ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่"
|
การวิจัยเรื่อง ความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการผลิตผลงานวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีคุณสมบัติในการขอตำแหน่งที่สูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามวัดความคิดเห็น วัดความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงบรรยายและเชิงปริมาณด้วยการใช้ สถิติร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏดังต่อไปนี้ 1) พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีความพร้อมที่จะขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น ในระดับปานกลาง โดยมีการวางแผน การพัฒนาตนเองด้านตำแหน่งทางวิชาการ มีความคิดที่จะทำคู่มือปฏิบัติงานเป็นอันดับแรก คิดจะทำงานวิจัย และทำผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์งานในหน้าที่ เป็นอันดับรองลงมา แต่ยังคิดว่าการจัดทำผลงานประกอบการขอตำแหน่งยังมีความยุ่งยาก และคิดว่าหลักเกณฑ์การผลิตผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ยังมีความชัดเจนในระดับปานกลาง ความเข้าใจเกณฑ์ผ่านการประเมิน/ คุณภาพ และความสามารถผลิตผลงานวิชาการได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนดยังอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ให้ข้อมูลที่อยู่ระหว่างการผลิตผลงานวิชาการยังมีไม่มาก ผู้ที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้นและมีความคิดจะยื่นเสนอขอตำแหน่งที่สูงขึ้นยังมีน้อย 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความพร้อมในการผลิตผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ด้าน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านจิตวิทยา และปัจจัยด้านสิ่งสนับสนุน 3) พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีข้อ เสนอแนะโดยสรุปได้ คือ มหาวิทยาลัยควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการขอตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ผลงานวิชาการ ควรจัดอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตผลงานวิชาการให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีข้อมูลรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ การจัดเตรียมเอกสารหรือข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำผลงานวิชาการ ควรจัดศูนย์หรือสำนักงานในการให้บริการ หรือคลินิกให้คำปรึกษาในเรื่องการผลิตผลงานวิชาการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีตำแหน่งทางวิชาการในแต่ละด้านเป็นพี่เลี้ยงในการจัดทำผลงานทางวิชาการ รวมถึงคณะกรรมการประเมินผลงานวิชาการ ควรมีความเชี่ยวชาญและมาจากสายงานในการขอตำแหน่งวิชาการในแต่ละด้าน การตรวจผลงานวิชาการ ควรกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนไม่ควรนานเกินไป จะทำให้ผู้ขอผลงานเสียโอกาสหลายด้าน
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3954
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ภัคสุณีย์ ดวงงา
วันที่เขียน
5/11/2562 16:11:52
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 15:31:25
|
|
|
การประชุมวิชาการ
»
การเข้าร่วมประชุมวิชาการ ICAS2018
|
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์
จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ
ข้าพเจ้า นายเชิดชัย มีเอียด ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดสาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ระดับนานาชาติประจําปี 2561 (International Conference on Applied Statistic (ICAS) 2018) ระหว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2561 ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทรารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ระดับนานาชาติประจําปี 2561 เลขที่ ศธ.0523.4.7/349 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ซึ่งเข้าร่วมอบรมโครงการดังกล่าว ข้าพเจ้าได้เลือกใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรกรณีที่ 2 และข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมอบรมดังกล่าว ดังต่อไปนี้
ข้าพเจ้าเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ระดับนานาชาติประจําปี 2561 โดยTheme การประชุมวิชาการทางสถิติและสถิติประยุกต์ระดับนานาชาติครั้งนี้คือ Data Science โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย 1 การจัด Workshop 2 การบรรยายพิเศษ (keynote speaker) 3 การบรรยายบทความรับเชิญ (invited speaker) 4 การนําเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (oral presentation) 5 การนําเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ (poster presentation)
ในการเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับความรู้ จากการเผยแพร่ผลงานการวิจัยทางสถิติสถิติประยุกต์ คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์และคณิตศาสตร์ศึกษา ของนิสิต/นักศึกษา/คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ โดยมีการตีพิมพ์ใน Proceeding ของการประชุม และได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทําวิจัย กับผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นๆ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษา เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานของงานวิจัย จากความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้พัฒนาความรู้ทักษะด้านการวิจัยและทักษะด้านเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนและการวิจัยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
2341
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
เชิดชัย มีเอียด
วันที่เขียน
7/10/2562 15:53:27
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 12:55:18
|
|
|
สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์
»
ระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Academic Position Database System of MJU : APDS:MJU) และโปรแกรมรายงานความก้าวหน้าในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
|
ระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Academic Position Database System of MJU : APDS:MJU) เป็นระบบงานที่ทาง
กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีโครงการที่จะดำเนินการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ โดยมีแนวคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาระงานดังกล่าว เพื่อลดระยะเวลาการให้บริการในการสืบค้น ติดตาม ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ประกอบกับได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2558 มีมติให้จัดทำระบบฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งทางกองการเจ้าหน้าที่ฯ ได้จัดตั้งทีมงานในการพัฒนาระบบประกอบไปด้วยนายสมวงค์ ทิพย์ประจักษ์ นางสาวอารัทรา พิเชษฐ์พันธ์ นายรัตติกาล ณวิชัย
และนางสาวละออศิริ พรหมศร ในฐานะที่ทำหน้าที่ดูแลระบบฐานข้อมูลบุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพื่อให้ระบบฐานข้อมูลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ โดยได้มีส่วนร่วมในส่วนของการออกแบบ field ข้อมูล การแสดงผล การคำนวณ และการออกรายงาน และได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันคือกองเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งมอบหมายให้
นายสมชาย อารยพิทยา เป็นผู้ร่วมในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลดังกล่าวมาแล้วหลาย Versions และได้มีทีมงานเข้ามาสนับสนุนซึ่งประกอบด้วยนายสมวงค์ ทิพย์ประจักษ์ นายสมชาย อารยพิทยา นายสุชาติ จันทร์แก้วนางสาวอารัทรา พิเชษฐพันธ์ นางสาวมยุรี แก้วประภา นางสาวพรรนุท พูลสวัสดิ์ นายรัตติกาล ณวิชัย นางสาวละออศิริ พรหมศรและนางสาวพจมาน สุวรรณโกสุม ได้ร่วมกันจัดประชุมและปรึกษาหารือหาแนวทางในการพัฒนาระบบร่วมกันเนื่องจาก ก.พ.อ. ได้ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3087
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์
วันที่เขียน
30/9/2562 20:48:17
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 1:47:02
|
|
|
|
|
|
|
สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์
»
ระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Academic Position Database System of MJU : APDS:MJU) : กรณีของโปรแกรมรายงานความก้าวหน้าในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
|
ระบบฐานข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Academic Position Database System of MJU : APDS:MJU) เป็นระบบงานที่ทางกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีโครงการที่จะดำเนินการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ โดยมีแนวคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาระงานดังกล่าว เพื่อลดระยะเวลาการให้บริการในการสืบค้น ติดตาม ตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ประกอบกับได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2558 มีมติให้จัดทำระบบฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งทางกองการเจ้าหน้าที่ฯ ได้จัดตั้งทีมงานในการพัฒนาระบบประกอบไปด้วยนายสมวงค์ ทิพย์ประจักษ์ บุคลากรชำนาญการพิเศษ นางสาวอารัทรา พิเชษฐ์พันธ์ บุคลากรปฏิบัติการ นายรัตติกาล ณวิชัย บุคลากรปฏิบัติการ และนางสาวละออศิริ พรหมศร ในฐานะนักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ดูแลระบบฐานข้อมูลบุคลากรของกองการเจ้าหน้าที่เพื่อให้ระบบฐานข้อมูลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ โดยได้มีส่วนร่วมในส่วนของการออกแบบ field ข้อมูล การแสดงผล การคำนวณ และการออกรายงาน และได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งมอบหมายให้นายสมชาย อารยพิทยา ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ เป็นผู้ร่วมในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งทางทีมงานได้มีการจัดประชุมและปรึกษาหารือหาแนวทางในการพัฒนาระบบร่วมกัน และทางทีมงานได้ดำเนินการพัฒนาระบบแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้ทำการติดตั้ง banner ไว้ที่หน้า homepage ของกองการเจ้าหน้าที่ ตามเว็บไซต์ https://apds.mju.ac.th ในระบบฐานข้อมูลดังกล่าว ผู้เขียนขอนำเสนอแต่ละหัวข้อ
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3590
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
สมวงค์ ทิพย์ประจักษ์
วันที่เขียน
30/9/2561 23:39:09
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 2:09:04
|
|
|
เผยแพร่การใช้ประโยชน์
»
เผยแพร่การนำไปใช้ประโยชน์
|
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าประชุมวิชาการ
พืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 16
ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ข้าพเจ้า นายอดิศักดิ์ จูมวงษ์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหา และการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ ห้องประชุมเอกาทศรถ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ข้าพเจ้าขอรายงานดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาคุณภาพของบุคลากร
1.1 ได้รับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง อุตสาหกรรมเกษตรไทย 4.0 โดย ผศ.ดร. ยุทธนา พิมลศิริผล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ การอภิปรายเรื่อง ไทยแลนด์ 4.0 กับอนาคตพืชสวนไทย โดย ผศ.ดร. พีรศักดิ์ ฉายประสาท ศาสตราจารย์ ดร. อรรถชัย จินตเวช ดร.ปราโมทย์ ร่วมสุข และ คุณเปรม ณ สงขลา
1.2 ได้นำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ เรื่อง คุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของผลมะกอกน้ำ
2. การพัฒนาคุณภาพด้านการเรียนการสอน
ได้รับฟังการนำเสนองานวิจัยภาคบรรยาย และชมผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ในด้านความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ในการเพิ่มปริมาณผลผลิต การประเมินคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ร่วมกับการประเมินคุณภาพแบบไม่ทำลายผลผลิตที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา และ การวิจัยเพื่อพัฒนาการใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพผลผลิตได้
นายอดิศักดิ์ จูมวงษ์
12 ธันวาคม 2560
|
คำสำคัญ :
พืชสวนแห่งชาติ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3651
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
อดิศักดิ์ จูมวงษ์
วันที่เขียน
18/12/2560 12:07:09
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 16:16:11
|
|
|
งานวิจัย
»
ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก
|
จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติเรื่อง ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ 3 วันที่ 9-11 ธันวาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยกลุ่มวิทยาการและวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยจากประเทศไทย เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งได้นำทรัพยากรชีวภาพ มาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอาหาร สุขภาพ และยารักษาโรค งานวิจัยมีทั้งที่เป็นงานวิจัยพื้นฐานจนถึงเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้เปิดโอกาสให้บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ ได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องความสำคัญ การทำวิจัยและนำไปใช้ของทรัพยากรชีวภาพในโลก ในประเด็นที่ข้าพเจ้าได้ให้ความสนใจคือ เรื่อง สารสกัดธรรมชาติแอนโทไซยานิน (anthocyanin) และเมลาโทนิน (melatonin) เพื่อพัฒนาเป็นยารักษาแผลในปาก
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
8253
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
ยุวลี อันพาพรม
วันที่เขียน
17/3/2560 1:23:58
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
20/11/2567 14:06:09
|
|
|
|
POLWASIT LHAKARD
»
The Four C’s of Becoming a True HR Influencer
|
งานทรัพยากรบุคคล ในปัจจุบันนั้น มีความเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น เพราะจากที่ทำงานประจำวัน ( Routine ) เช่น รับคนเข้า ออก ตรวจ ขาด ลา มาสาย แต่ในปัจจุบันนั้น การที่จะทำให้ “คน” ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กรนั้น ได้เห็นถึงคุณค่าของงานทรัพยากรบุคคล และทำให้นำทรัพยากรคนในองค์กรบรรลุวิสัยทัศน์นั่นได้ จึงจำเป็นที่ทำให้ งานทรัพยากรบุคคล ปรับบทบาทไปสู่ คู่คิดกลยุทธ์ ( Strategic Partner ) และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในเรื่องคน ( Facilitator )
ซึ่งทำให้สิ่งที่ งานทรัพยากรต้องมีในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้คนในองค์กรเห็นถึงบทบาทและความสำคัญของงานทรัพยากรมากขึ้น จากบทความด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัท Adecco บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลก ได้วางบทบาทของงานทรัพยากรบุคลไว้ 4 บทบาท บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ “Key Person of Influence” ของ Daniel Priestley จัดทำ โดย Entrevo Training ในสิงคโปร์ “Key Person of Influence” เน้นเรื่ององค์ประกอบสำคัญ 5 อย่างที่ทำให้คนที่มีชื่อเสียงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากกว่าคนอื่นภายในสายธุรกิจของพวกเขา
|
คำสำคัญ :
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3504
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
พลวศิษฐ หล้ากาศ
วันที่เขียน
1/7/2559 11:13:25
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 14:47:00
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|