รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : หนังสือ
การสรุปเนื้อหาจากการอบรมทางวิชาการ วิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาล » สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล
สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล โดย อาจารย์ วารุณี ผ่องแผ้ว กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ อบรมวันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. Online ทาง Zoom cloud meeting วิทยากร ศาสตราจารย์ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ศาสตราจาร์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ การวางแผนการเขียนตำรา/วิจัย หนังสือที่เรียบเรียงได้ดีจะเป็นผลงานที่สามารถนำไปประกอบการศึกษา อ้างอิงในการจัดการเรียนการสอนไปหลายสิบปี แต่ในทางสาขาการพยาบาลหากจะใช้ประกอบการเรียนสอนในสถาบันการศึกษาพยาบาลจะใช้ตำราตีพิมพ์เผยแพร่ไม่เกิน 10 ปี ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุงเพื่อปรับเนื้อหาวิชาการทางการพยาบาลในตำราให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ การออกแบบชื่อหนังสือ ตำรา ในสายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ควรตั้งชื่อที่ประชาชนภายนอกสนใจเพราะเป็นเนื้อหาที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านได้ สำหรับหนังสือ ตำราทางการพยาบาลจะมีความเฉพาะเจาะจงกับความเป็นวิชาชีพ เชี่ยวชาญเฉพาะ ผู้ที่อ่านหนังสือ ตำราจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเช่นนักศึกษาพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วย อาจารย์พยาบาล และที่สำคัญในการเขียนหนังสือ ตำรา ควรใช้ข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุน รวมทั้งประสบการณ์ตรง เพิ่มเติมจากการศึกษาตำรา ทฤษฎี การอยู่ในวิชาชีพใดๆจะต้องมีการติดตามข่าวสาร ความก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพที่ตนเองอยู่เพื่อนำมาประกอบในการเขียนตำรา รวมทั้งฐานข้อมูลต่างๆ เช่นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพข้อมูลใหญ่จะอยู่ในกระทรวงสาธารสุข องค์การอนามัยโลก สถาบันการศึกษาทางสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ การออกแบบวิจัย แบบจำลองตัวแปร และข้อมูลเชิงประจักษ์ ต้องวางแผนวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ หากนำมาใช้ในทางสุขภาพ ข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ แยกตามพื้นที่ อาชีพ อายุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยเพื่อวางแผนในการให้การพยาบาลทั้งในเชิงของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การดูแล บำบัด รักษา การฟื้นฟูสุขภาพหลังการเจ็บป่วย หนังสือ มีนิยามว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน หากเป็นงานที่มีหน่วยงานรับรองยิ่งจะทำให้หนังสือนั้นมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเผยแพร่ ควรส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งการเผยแพร่ด้วยวาจาผ่านคณะกรรมการ สภา องค์การปกครองส่วนทั้งถิ่นเพื่อจะได้รับข้อคิดเห็น การวิจารย์ได้จะยิ่งทำให้หนังสือนั้นได้รับการแก้ไข สะท้อนปัญหา หนังสือรวบรวมบทความ (วิจัย) ข้อดีคือช่วยกันเขียนหลายคน ทำให้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน เล่มหนึ่งใช้ประมาณ8-10เรื่อง รวมแล้วประมาณเล่มละ 200 หน้า เป็นขนาดเล่มที่เหมาะแก่การอ่าน ขอบเขตเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ไม่กว้างหรือแคบเกินไป ควรสอดแทรก นโยบาย ควรมีหลักใหญ่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ในทางสุขภาพ การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ การวางแผนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และการสรุปผลงานที่มีการนำเสนอในการตรวจราชการเป็นประจำทุกปี สามารถนำมาประกอบในการเขียนหนังสือได้ ตำราทางวิชาการ ตำราที่ดี พื้นฐานความรู้ หลักการ ขอบเขตของวิชา ทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎีตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งวิวัฒนาการของศาสตร์ที่เรานำมาเขียน หลักฐานเชิงประจักษ์ งานวิจัย คำอธิบาย ซึ่งนักวิชาการที่ดีควรแสวงหาความรู้ใหม่ ติดตามความก้าวหน้า สถานการณ์ทางสุขภาพและสังคมอย่างสม่ำเสมอ
คำสำคัญ : การพยาบาล  ตำรา  หนังสือ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 820  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วารุณี ผ่องแผ้ว  วันที่เขียน 15/9/2565 11:48:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 16:04:04
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีคลังปัญญา ม.แม่โจ้ [เพิ่มเติม] [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 4of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน การรวบรวมเอกสารคลังปัญญาแม่โจ้ [เพิ่มเติม] ในระบบ ALIST (เอกสารออนไลน์แหล่งอื่น) ในที่นี้เฉพาะเอกสารออนไลน์ที่ชี้ไปยังแหล่งข้อมูลอื่นภายนอกห้องสมุด ม.แม่โจ้ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ OPAC ห้องสมุดต่างๆ ที่น่าสนใจคือ มช. (อนาคตอาจสืบค้นจาก มก. มข. มศป.) (2) Tag สำคัญที่ใช้คือ 100, 245, 246, 260, 300, 520, 700, 710, 650, 6xx, 856, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x, ทั้งนี้ 6xx โดยเฉพาะ 650 หัวเรื่องทั่วไปจะได้คำเบื้องต้นมาจากห้องสมุดแหล่งข้อมูลด้วย, โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xคลิป, และ 710 อาจกำหนดดรรชนีควบคุมว่า ^aมหาวิทยาลัยแม่โจ้^x[...รอหัวเรื่องย่อย...], โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-pdf], ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF, อนึ่ง ข้อมูลที่นำเข้าระบบตามโครงการ/กิจกรรมรวบรวมเอกสารฯ เป็นการทำรายการเบื้องต้น (pre-catalog). [end]
คำสำคัญ : คลังปัญญาสถาบัน  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดดิจิทัล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 918  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:54:04  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 16:14:57
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์และทำรายการสื่อโสตทัศน์ห้องสมุดด้วยเทคนิคแปลงผันข้อมูล กรณีเอกสารเนื้อหา Green [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน, 2of5 / 2565]
0. ข้อมูลใน KM blog ของผู้เขียนเนื้อหานี้มี 5 ชิ้น เนื้อหาตอนต้นเหมือนกัน แต่ตอนท้ายให้รายละเอียดแตกต่างกันตามสื่อโสตทัศน์แต่ละชนิด ในการนี้แยกเป็นบทความ blog 5 ชิ้นเพื่อให้เนื้อหาตามงานแต่ละงานเป็นเอกเทศ ศึกษาเรียนรู้ได้สะดวกไม่ปะปนกัน 1. สรุปเนื้อหาจากกิจกรรม KM ภายในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานของบุคลากรแต่ละคน ตามภาระงานในข้อตกลงการทำงาน (TOR) ปีงบประมาณ 2565 (หมายเหตุ เอกสารนำเสนอในวง KM มีรายละเอียดและภาพประกอบมากกว่าที่สุดใน blog นี้ รวมทั้งใน blog ไม่อาจนำข้อมูลภาพประกอบมาลงได้) 2. ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการพัฒนาระบบงาน โดยใช้เทคนิคการแปลงผันข้อมูล (data conversion) ของรายการบรรณานุกรมเอกสารในฐานข้อมูลห้องสมุด จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารที่พบในแหล่งข้อมูลภายนอก มานำเข้าห้องสมุด โดยผ่านโปรแกรมช่วยงานต่างๆ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (text editor) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (database management system, DBMS) ที่เอื้อต่อการทำงาน ก่อนถ่ายข้อมูลรายการบรรณานุกรมตามมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูล ISO-2709 data exchange format เข้าสู่ฐานข้อมูลห้องสมุดที่เป็นระบบหลักในปัจจุบันคือ ALIST 3. วิธีการแปลงผันข้อมูลโดยย่อ (ตามโปรแกรมช่วยงาน ลักษณะงานปัจจุบัน) คือ (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล (2) ใช้โปรแกรม Notepad.exe จัดเก็บข้อมูล (3) ใช้โปรแกรม Microsoft Word 97 ปรับปรุงข้อมูล (4) ใช้โปรแกรม Qedit.exeบรรณาธิกรข้อมูล (5) ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล CDS/ISIS ปรับปรุงข้อมูล (6) ถ่ายโอนข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล ISO-2709 data exchange format (อาจจัดในขั้นตอน 5) (7) ใช้โปรแกรม ISO2MARC.exe ปรับปรุงข้อมูล (8) ใช้โปรแกรม Editplus ปรับปรุงข้อมูล (9) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module - Import นำ เข้าข้อมูล ISO (10) ใช้โปรแกรม ALIST โปรแกรมย่อย Cataloging Module – Edit ปรับปรุงข้อมูล MARC 4. สรุปประโยชน์ (1) สามารถสร้างระเบียน/คอลเลกชัน ได้จำนวนมาก และอย่างรวดเร็ว เพราะทำงานแบบ batch processing หรือเป็นกลุ่มใหญ่ (ทำนองโรงงาน) (แม้ขั้นตอนมากขึ้น) (2) ข้อมูลรายการบรรณานุกรมมีคุณภาพ ทั้งรายละเอียดของข้อมูลที่เก็บได้ (ไม่ต้อง key in เอง ที่จะทำได้น้อย) และการตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลทั้งในข้อมูลแต่ละเชิงระเบียน (record) และในภาพรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งชุดที่ทำหรือทั้งคอลเลกชัน (3) สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้ หรือการพิจารณาใช้เครื่องมือ (เช่น โปรแกรมใดๆ) ที่แต่ละคนถนัด มาปฏิบัติงาน 5. ลักษณะเฉพาะของงาน TOR หรือสื่อ/เอกสารแต่ละประเภท กรณี blog นี้คืองาน งานเอกสารเนื้อหา Green ในระบบ ALIST (บทความจาก ThaiJo, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี) (1) สืบค้นแหล่งสารสนเทศที่ให้ข้อมูล ที่สำคัญคือ ฐานข้อมูลวารสาร ThaiJo, ส่วนหนังสือเป็นแหล่งต่างๆ จากการค้น Google search (หรืออนาคตมุ่งไปแหล่งรวบรวมบางแห่งที่มีเอกสารบริการ) (2) Tag สำคัญที่ใช้ กรณีบทความที่เก็บข้อมูลคือ 100, 245, 246, 260, 300, 500 (ใช้แทน 773), 700, 710, 856, นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูล ภาพปก, URL link ไปยังบทความ, ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง เช่น 090, 590, 040, 6xx, 650, 69x (ถ้ามี), โดย 650 กำหนดดรรชนีควบคุม ^aห้องสมุด^xคอลเลคชันพิเศษ^xบทความอิเล็กทรอนิกส์, โดย 245^h กำหนดว่า ^h[electronic resource-article] กรณีบทความ PDF หรือ ^h[electronic resource-pdf] กรณีหนังสือ PDF, ส่วน 008 ชนิด CF บางตำแหน่งลงรหัส o, leader=nmm, เข้า ALIST materialtype=CF. [end]
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  นโยบายสีเขียว  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  โสตทัศนวัสดุ  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 958  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/8/2565 3:48:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 18:25:38
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเทศ รับรองสถานะและเงินค่าตอบแทนรายเดือน ฯลฯ โดยจัดทำในรูปแบบภาษาอังกฤษ
คำสำคัญ : บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1881  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 13:45:08
บริการสื่อโสตทัศน์ » การวิเคราะห์สื่อดิจิทัล คือหนังสือออนไลน์ บทความออนไลน์ และคลิป หัวข้อ Green/สิ่งแวดล้อม [บันทึกสรุปจาก KM ห้องสมุด สายงานพัฒนาทรัพยากร ของผู้เขียน 4of5 / 2564]
ที่มา (1) จากสภาพการณ์ปัจจุบันที่ห้องสมุดบอกรับวารสารฉบับตัวเล่มลดลง บทความออนไลน์มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น แต่ห้องสมุดยังไม่ได้ขยายขอบเขตการจัดหาทรัพยากรสื่อเหล่านี้มาบริการผู้ใช้ (ส่วนคลิปออนไลน์ มีลักษณะทำนองเดียวกับข้อ 1 ใหญ่ ที่นำเสนอในตอนต้น) (2) เว็บไซต์ TCI-Thaijo.org เป็นที่นิยมมากขึ้น มีวารสารและบทความที่มีคุณค่าและจำนวนวารสารมากขึ้น แต่ระบบดรรชนีค้นหายังไม่ละเอียด อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามารถได้รับบทความฉบับเต็ม (full text) มาอ่านได้สะดวก จึงเป็นโอกาสที่ห้องสมุดสามารถคัดเลือกบทความที่มีคุณค่าภายใต้หัวข้อเนื้อหาสาระที่ห้องสมุดยังขาดแคลนมาบริการผู้ใช้ได้ (3) มหาวิทยาลัยและห้องสมุดมีนโยบายพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว ซึ่งห้องสมุดควรเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญขององค์กรที่มีสารสนเทศเนื้อหา “Green/สิ่งแวดล้อม” บริการผู้ใช้ (4) นโยบายห้องสมุดที่ต้องการนำเสนอสื่อดิจิทัลมากขึ้น วิธีการ (5) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ (ก) ประเด็นการพัฒนาคอลเลคชันของสื่อประเภททรัพยากรแบบใหม่ในห้องสมุด โดยในเบื้องต้นเน้นหัวข้อด้าน “Green/สิ่งแวดล้อม” โดยตรวจสอบสื่อที่มีในห้องสมุดและค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือ คลังทรัพยากรสารสนเทศแบบเปิด https://oer.learn.in.th และฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย https://www.tci-thaijo.org (ข) ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการ เป็นไปทำนองเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์หนังสือและสื่อบทความวารสาร แต่มีพิเศษคือ tag 245^h, 09x, 500 ที่ระบุแหล่งวารสารของบทความ, 856, 650 ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ-xxx และเน้นทำดรรชนีหัวเรื่องให้ละเอียด ส่วนประเด็นบริการเป็นการบริการออนไลน์ที่เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็ม (full text ของสิ่งพิมพ์ ที่มักจัดทำเป็นเอกสาร pdf file) ได้ทันที ไม่ต้องยืมผ่านสื่อบันทึก ผลลัพธ์ (6) คอลเลคชันสื่อที่บริการผู้ใช้ ข้อมูลหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ปี 2564 นี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถได้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม (full text) หรือเนื้อหาจริงฉบับเต็ม (clips on Youtube) จำนวนประมาณ 460 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 200 ชื่อเรื่อง, และเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว กำหนดเป้าหมายไว้ 300 ชื่อเรื่อง) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564 (6.1) กรณีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่าไม่มีแหล่งรวบรวมที่ชัดเจน ในการนี้ได้สำรวจจากแหล่งหนึ่ง และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 20 รายชื่อ (หมายเหตุ ไม่ได้ทำดรรชนีให้ตรวจสอบคอลเลคชันนี้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ [ลงรายได้เป็น “ตัวอย่าง” ไว้เท่านั้น] เพราะห้องสมุดมีสื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้กำหนดคำดรรชนีนี้) (6.2) กรณีบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ได้สำรวจเอกสารจำนวนหนึ่ง พบว่ามีแหล่งที่น่าสนใจคือ https://www.tci-thaijo.org ในการนี้ได้สำรวจจากหัวข้อ “Green” หรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของการพัฒนามหาวิทยาลัย และได้คัดเลือกเอกสารมาบริการผู้ใช้เป็นการทดลองเบื้องต้น 80 รายชื่อ สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--บทความอิเล็กทรอนิกส์ (6.3) กรณีคลิป เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลหัวข้อ “Green” จากหนังสือรูปเล่มปกติที่จัดหาเข้าห้องสมุด และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทความวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ฟรี ที่รวบรวมได้มีจำนวนไม่ถึง 300 รายชื่อตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว จึงได้สำรวจเอกสารจาก Clips เพิ่มเติมจนครบเกณฑ์ (อนึ่งการดำเนินการเรื่อง Clips จัดอยู่ในงาน KM ที่นำเสนออีกประเด็นหนึ่งด้วย) สามารถตรวจสอบคอลเลคชันนี้ได้จากคำค้นหัวเรื่อง ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--คลิป (7) รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศหัวข้อ “Green/สิ่งแวดล้อม” ดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลห้องสมุด (ALIST OPAC) เมนูค้น “ห้องสมุด--คอลเลคชันพิเศษ--นโยบายสีเขียว 2564” และ “Green policy—[ประเด็นหัวข้อย่อย]” นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสืบค้นได้จากช่องทางปกติต่างๆ เช่น หัวเรื่องใดๆ ตามที่ต้องการ เช่น มหาวิทยาลัยสีเขียว, การจัดการสิ่งแวดล้อม, การกำจัดขยะ, มลพิษ ฯลฯ (8) ขยายขอบเขต (Scope) ทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการผู้ใช้ โดยเฉพาะวารสารที่ไม่ได้บอกรับหรือมีตัวเล่มในห้องสมุด และเป็นสื่อออนไลน์ที่เป็นสื่อสมัยใหม่ (New media) เพิ่มความรวดเร็ว (Speed) ในการเข้าถึง (Access) และใช้เอกสารของผู้ใช้ฉบับเต็มอย่างสะดวก (Ease of use) ด้วยดรรชนีหัวเรื่องที่มีคุณภาพ (Indexes and retrievability) ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นเกณฑ์หรือตัวชี้วัดการบริการห้องสมุดที่ดี -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง
คำสำคัญ : คลิป  งานเทคนิค (ห้องสมุด)  นโยบายสีเขียว  บทความอิเล็กทรอนิกส์  สิ่งแวดล้อม  สื่ออิเล็กทรอนิกส์  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1627  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 14/7/2564 10:08:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 23:39:39
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องประชุมข้าวสาลีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ : ก.พ.อ.  ทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1782  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 5/2/2563 18:11:58  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 6:00:00
แนวทางการเขียนคู่มือ เอกสาร ตำราทางวิชาการ » หนังสือกับตำรา : ความเหมือนและความต่าง
ตำรา นิยามไว้ว่า ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชา หรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรือของหลักสูตรก็ได้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หนังสือ นิยามไว้ว่า ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์ ความแตกต่างของตำราและหนังสือ คือ ตำราต้องครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือหลักสูตร มีบทและสารบัญเนื้อหาที่ชัดเจนสอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา แต่หนังสือไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับวิชาหรือหลักสูตร แต่หนังสือถูกกลั่นกรองมาจากความสนใจ เชี่ยวชาญของผู้เขียน
คำสำคัญ : คู่มือ  ตำรา  ตำแหน่งวิชาการ  ผลงานวิชาการ  หนังสือ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 23990  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ก่องกาญจน์ ดุลยไชย  วันที่เขียน 2/9/2562 13:12:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 8:31:59
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » กิจกรรมการประชุมเชิงวิชาการทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาแนวคิดด้านการวิจัย
กิจกรรมการประชุมเชิงวิชาการทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาแนวคิดด้านการวิจัย และเทคนิคการเขียนหนังสือและตำรา ณ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม พ.ศ. 2561
คำสำคัญ : การวิจัยทางด้านพีชคณิต  การวิจัยทางทฤษฎีจุดตรึง (Fixed Point Theory)  เทคนิคการเขียนหนังสือและตำรา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2989  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 18/4/2562 11:39:50  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/4/2567 10:01:57
การเขียนหนังสือราชการ » การเขียนหนังสือราชการ
การเขียนหนังสือ คือ การเรียบเรียงข้อความตามเรื่องที่จะแจ้งความประสงค์ไปยังผู้รับหรือผู้ที่ต้องทราบหนังสือนั้น หลักการเขียนหนังสือ ผู้เขียนจะต้องรู้และเข้าใจ แยกประเด็นที่เป็นเหตุผลและความมุ่งหมายที่จะทำหนังสือนั้น ๆ โดยตั้งหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนว่าอะไร เมื่อไร ที่ไหน ใคร ทำไม อย่างไร แยกเป็นข้อ ๆ ไว้ การเขียนให้ “ขึ้นต้นเริ่มใจความที่เป็นเหตุก่อน ต่อไปจึงเป็นข้อความประสงค์และข้อตกลง” ถ้ามีหลายข้อ ให้แยกเป็นข้อ ๆ เพื่อให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากอ้างถึงกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือเรื่องที่เป็นตัวอย่าง ต้องพยายามระบุให้ชัดเจน การเขียนหนังสือควรใช้ถ้อยคำที่กระชับเข้าใจง่าย ใช้คำธรรมดาที่ให้ความหมายชัดเจน ไม่ควรใช้สำนวนที่ไม่เหมาะสม ระมัดระวังในเรื่องอักขรวิธี ตัวสะกด ตัวการันต์ และวรรคตอนให้ถูกต้อง และที่สำคัญจะต้องระลึกเสมอว่าผู้รับหนังสือจะเข้าใจถูกต้องตามความประสงค์ที่มีหนังสือไป การเขียนหนังสือราชการต้องมีเป้าหมายในการเขียนที่ชัดเจน ถูกต้องตามรูปแบบ เนื้อหากระชับ รัดกุม และมีมาตรฐานในการใช้ภาษา รวมทั้งมีความเป็นระเบียบสวยงาม ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย
คำสำคัญ : การเขียนหนังสือราชการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 10545  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สรัญญา อาษาไชย  วันที่เขียน 10/10/2561 16:52:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 4:12:09
ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ » ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (Letter to Certify)
ขั้นตอนการขอหนังสือรับรอง(ฉบับภาษาอังกฤษ)หรือ Letter to Certify เป็นการจัดทำหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปใช้ในการรับรองสถานะการทำงาน การยื่นขอตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (VISA) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ หรือเพื่อขอความอนุเคราะห์ต่างๆ จากหน่วยงานต่างประเทศ
คำสำคัญ : Letter to Certify  ขอตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (VISA)  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5854  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 2/4/2560 0:09:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 9:04:39
ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ » ขั้นตอนการขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (Letter to Certify)
ขั้นตอนการขอหนังสือรับรอง(ฉบับภาษาอังกฤษ)หรือ Letter to Certify เป็นการจัดทำหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปใช้ในการรับรองสถานะการทำงาน การยื่นขอตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (VISA) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ หรือเพื่อขอความอนุเคราะห์ต่างๆ จากหน่วยงานต่างประเทศ
คำสำคัญ : Letter to Certify  ขอตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (VISA)  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5854  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 2/4/2560 0:09:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 9:04:39
“การเขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดผู้อื่น” และ “การเตรียมต้นฉบับหนังสือ/ตำราวิชาการระดับอุดมศึกษาเพื่อส่งตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์” » “การเขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดผู้อื่น” และ “การเตรียมต้นฉบับหนังสือ/ตำราวิชาการระดับอุดมศึกษาเพื่อส่งตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์”
การเขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดผู้อื่น และ การเตรียมต้นฉบับหนังสือ/ตำราวิชาการระดับอุดมศึกษาเพื่อส่งตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์
คำสำคัญ : การเตรียมต้นฉบับตำราวิชาการ  การเตรียมต้นฉบับหนังสือ  ผลงานวิชาการ  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5543  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ลลิดา ภู่ทอง  วันที่เขียน 30/6/2559 11:18:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 1:10:34