|
|
|
การสรุปเนื้อหาจากการอบรมทางวิชาการ วิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาล
»
สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล
|
สรุปการอบรมในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
หัวข้อเรื่อง “เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือ เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์” : การประยุกต์ใช้กับการเขียนตำราและหนังสือทางการพยาบาล
โดย อาจารย์ วารุณี ผ่องแผ้ว กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์
อบรมวันที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. Online ทาง Zoom cloud meeting
วิทยากร ศาสตราจารย์ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
ศาสตราจาร์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การวางแผนการเขียนตำรา/วิจัย
หนังสือที่เรียบเรียงได้ดีจะเป็นผลงานที่สามารถนำไปประกอบการศึกษา อ้างอิงในการจัดการเรียนการสอนไปหลายสิบปี แต่ในทางสาขาการพยาบาลหากจะใช้ประกอบการเรียนสอนในสถาบันการศึกษาพยาบาลจะใช้ตำราตีพิมพ์เผยแพร่ไม่เกิน 10 ปี ซึ่งจะทำให้มีการปรับปรุงเพื่อปรับเนื้อหาวิชาการทางการพยาบาลในตำราให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ การออกแบบชื่อหนังสือ ตำรา ในสายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ควรตั้งชื่อที่ประชาชนภายนอกสนใจเพราะเป็นเนื้อหาที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านได้ สำหรับหนังสือ ตำราทางการพยาบาลจะมีความเฉพาะเจาะจงกับความเป็นวิชาชีพ เชี่ยวชาญเฉพาะ ผู้ที่อ่านหนังสือ ตำราจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเช่นนักศึกษาพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล ผู้ดูแลผู้ป่วย อาจารย์พยาบาล และที่สำคัญในการเขียนหนังสือ ตำรา
ควรใช้ข้อมูล หลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุน รวมทั้งประสบการณ์ตรง เพิ่มเติมจากการศึกษาตำรา ทฤษฎี
การอยู่ในวิชาชีพใดๆจะต้องมีการติดตามข่าวสาร ความก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพที่ตนเองอยู่เพื่อนำมาประกอบในการเขียนตำรา รวมทั้งฐานข้อมูลต่างๆ เช่นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพข้อมูลใหญ่จะอยู่ในกระทรวงสาธารสุข องค์การอนามัยโลก สถาบันการศึกษาทางสุขภาพทั้งในและต่างประเทศ การออกแบบวิจัย แบบจำลองตัวแปร และข้อมูลเชิงประจักษ์ ต้องวางแผนวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ หากนำมาใช้ในทางสุขภาพ ข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ แยกตามพื้นที่ อาชีพ อายุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยเพื่อวางแผนในการให้การพยาบาลทั้งในเชิงของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การดูแล บำบัด รักษา การฟื้นฟูสุขภาพหลังการเจ็บป่วย
หนังสือ มีนิยามว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน หากเป็นงานที่มีหน่วยงานรับรองยิ่งจะทำให้หนังสือนั้นมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเผยแพร่ ควรส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งการเผยแพร่ด้วยวาจาผ่านคณะกรรมการ สภา องค์การปกครองส่วนทั้งถิ่นเพื่อจะได้รับข้อคิดเห็น การวิจารย์ได้จะยิ่งทำให้หนังสือนั้นได้รับการแก้ไข สะท้อนปัญหา
หนังสือรวบรวมบทความ (วิจัย) ข้อดีคือช่วยกันเขียนหลายคน ทำให้ง่ายและใช้เวลาไม่นาน เล่มหนึ่งใช้ประมาณ8-10เรื่อง รวมแล้วประมาณเล่มละ 200 หน้า เป็นขนาดเล่มที่เหมาะแก่การอ่าน ขอบเขตเนื้อหาเฉพาะเจาะจง ไม่กว้างหรือแคบเกินไป ควรสอดแทรก นโยบาย ควรมีหลักใหญ่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร
ในทางสุขภาพ การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ การวางแผนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และการสรุปผลงานที่มีการนำเสนอในการตรวจราชการเป็นประจำทุกปี สามารถนำมาประกอบในการเขียนหนังสือได้
ตำราทางวิชาการ
ตำราที่ดี พื้นฐานความรู้ หลักการ ขอบเขตของวิชา ทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎีตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบัน รวมทั้งวิวัฒนาการของศาสตร์ที่เรานำมาเขียน หลักฐานเชิงประจักษ์ งานวิจัย คำอธิบาย ซึ่งนักวิชาการที่ดีควรแสวงหาความรู้ใหม่ ติดตามความก้าวหน้า สถานการณ์ทางสุขภาพและสังคมอย่างสม่ำเสมอ
|
คำสำคัญ :
การพยาบาล ตำรา หนังสือ
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานสายวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
961
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วารุณี ผ่องแผ้ว
วันที่เขียน
15/9/2565 11:48:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 21:06:10
|
|
|