การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ (CSTI-ครั้งที่ 6)
วันที่เขียน 4/4/2568 14:31:39     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 5/4/2568 8:42:26
เปิดอ่าน: 17 ครั้ง

ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ โดยในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อเกษตรสุขภาวะที่ยั่งยืน" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีบรรยายพิเศษ จากหลากหลายสาขาวิชา และสถานประกอบการ

ในการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ ๖ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

โดยสรุปเนื้อหาที่ได้จากการอบรม มีรายละเอียดดังนี้

           ได้รับฟังการบรรยายพิเศษหัวข้อ “อาชีพในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร” โดย ดร.ก้องเทวัญ โชติเทวัญ รองประธานกรรมการบริหารสายงานเศรษฐกิจ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด โดยประเด็นการบรรยาย มีรายละเอียด ดังนี้ ประวัติความเป็นมาของบริษัทสหฟาร์ม จำกัด และความร่วมมือกันระหว่างบริษัทและทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยอาชีพในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร โดยมีความเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนในมหาวิทยาลัย และการปฏิบัติงานในสายงานที่บริษัท ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

          การบรรยายพิเศษหัวข้อ “Game-based Learning for Sustainable Farming Practices” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์กษิต ระมิงค์วงศ์ อาจารย์สังกัดภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเป็นการบรรยายในส่วนการใช้การเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม ในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับ Sustainable Farming Practices และหัวข้อบรรยายพิเศษหัวข้อสุดท้าย หัวข้อ “การประยุกต์ใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีด้านนาโนเซ็นเซอร์กับงานด้านสิ่งแวดล้อมและเกษตร” โดย ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยเป็นการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านนาโนเซ็นเซอร์กับงานทางด้านสิ่งแวดล้อมและการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ และของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

           และหลังจากรับฟังการบรรยายพิเศษแล้วเสร็จ ได้นำเสนอผลการวิจัย ประเภทบรรยาย ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้การสร้างคอปปูลาสองตัวแปรในแผนภูมิควบคุม” โดยเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการศึกษาในแผนภูมิควบคุมโดยการนำการสร้างคอปปูลาสองตัวแปรนำมาประยุกต์ใช้ในแผนภูมิควบคุม โดยแผนภูมิควบคุมที่นำเสนอ ได้แก่ แผนภูมิควบคุม แบบ Modified MEWMA (MMEWMA) โดยทำการเปรียบเทียบกับแผนภูมิควบคุม MEWMA โดยแผนภูมิ MMEWMA สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าแผนภูมิ MEWMA ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (delta <= 0.5)

      ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

      ๑ ได้รับความรู้เกี่ยวกับผลงานวิจัยใหม่ ๆ ในด้านสถิติ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      ๒ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำการศึกษา ค้นคว้า ในหัวข้อทางด้านสถิติ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      ๓ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการฯ ไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในงานวิจัย เพื่อพัฒนาผลงานวิจัย และนำไปสู่การตีพิมพ์ผลงานทางวิชการในวารสารระดับชาติ/ระดับนานาชาติต่อไป

 

      ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

      ๑ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำบทความวิชาการ/วิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในหัวข้อใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารระดับชาติ/ระดับนานาชาติต่อไป

      ๒ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้/ประยุกต์ใช้ในการด้านการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรฯ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 22:24:55   เปิดอ่าน 20  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง