การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 3:02:45
เปิดอ่าน: 14 ครั้ง

การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
  • ได้รับฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง "อาชีพในสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร" โดย ดร. ก้องเทวัญ โชติเทวัญ รองประธานกรรมการบริหารสายงานเศรษฐกิจ บริษัท สหฟาร์ม จำกัด ทำให้ทราบว่าบริษัท สหฟาร์ม ทำธุรกิจไก่เนื้อ ไก่สดแช่แข็ง ไก่ปรุงสุก อันดับ 1 ของไทย ตั้งอยู่ที่ลพบุรี เพชรบูรณ์ มีการปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงฟักไข่ มีการเลี้ยงไก่ แบบ smart farm (มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แรงลม) มีโรงงานอาหารสำเร็จรูป ใช้เทคโนโลยีในการผลิต ผลิตไก่ส่งออกทั่วโลก ในอนาคตประชากรเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โลกมีความต้องการอาหารอย่างมาก อาจมีภาวะสงคราม/ฤดูหนาว อาหารขาดแคลน ทุกประเทศควรมีอาหารเป็นของตัวเอง บริษัทมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความสำเร็จด้านการเลี้ยงไก่ การบริหาร และต้องการความเชื่อมั่นในคุณภาพ ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ช่วยได้ บริษัทมีตำแหน่งงานมากมาย มีความต้องการพนักงานที่มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น waste zero, Carbon footprint การบำบัดน้ำเสีย หรือเรื่อง Solar cell สัตวแพทย์ สัตวบาล การวิจัยพัฒนาสินค้า อาหารปลอดภัย QC เป็นต้น
  • ได้รับฟังบรรยายพิเศษเรื่อง "Game-based Learning for Sustainable Farming Practices" โดย รศ.ดร.ศักดิ์กษิต ระมิงค์วงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ทราบวิธีการจัดการเรียนการสอนผ่านเกมต่าง ๆ ทำให้นักศึกษาเรียนด้วยความสนุกสนาน เข้าใจบทเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจนำมาปรับใช้ในห้องเรียนต่อไปในอนาคต
  • ได้รับฟังบรรยายพิเศษเรื่อง "การประยุกต์ใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีด้านนาโนเซ็นเซอร์กับงานด้านสิ่งแวดล้อมและเกษตร" โดย ดร. วีรกัญญา มณีประกรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับนาโนเซ็นเซอร์ ซึ่งใช้วัดการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีขนาดเล็ก และทำให้ทราบผลอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก สามารถใช้งานร่วมกับ AI มีการใช้นาโนเซ็นเซอร์วัดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น สาร สี ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ เช่น ตรวจจับโรคต่าง ๆ DNA Anti-body ตรวจโควิด เป็นต้น มีการใช้นวัตกรรมการตรวจคุณภาพน้ำด้วยเทคโนโลยีนาโน เป็นการตรวจคุณภาพน้ำให้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ ตรวจสอบสารเคมีในน้ำ โลหะหนัก เช่น สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท นำไปตรวจน้ำดื่มในโรงเรียน ใช้ชุดตรวจแมงกานีสกับการประปาส่วนภูมิภาค ตรวจรับรองคุณภาพน้ำให้กับอบต. หรือเทศบาล ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาชุดตรวจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป
  • นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย นายเชาว์วรรธน เกินกลาง นางสาวสุพรรษา แม่นยำ และนางสาวอรรถยา สมศรี รหัส 65 ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการรูปแบบบรรยาย เรื่อง การวิเคราะห์กำไรสูงสุดของการผลิตเมล็ดกาแฟคั่ว กรณีศึกษากาแฟดอยลังกาเทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม กลุ่มคณิตศาสตร์ เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักศึกษา
  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่และหน่วยงาน
  • ทำให้ทราบแนวทางการทำวิจัยใหม่ ๆ ซึ่งจะเป็นแนวทางการทำวิจัยในรายวิชา 10305492 โครงงาน   10300497 สหกิจศึกษา และ 10300498 การเรียนรู้อิสระ

- ทำให้บุคลากรมีแนวคิดในการพัฒนางานวิจัยให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

- ได้รู้จักเพื่อนนักวิจัยจากสถาบันอื่น เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีอันจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อหน่วยงานในอนาคต

-ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันในหน่วยงาน เกิดความสามัคคีมากขึ้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1563
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย » ขอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์
ตามที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย” ภายใต้ โครงการการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในวันพุธที่...
AI  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พรพรรณ อุตมัง  วันที่เขียน 21/2/2568 9:49:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 22:47:11   เปิดอ่าน 235  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง