ที่มา (1) กระบวนการทำงาน “งานพัฒนาทรัพยากร” (Collection development) ร่วมกับ “งานวิเคราะห์เอกสาร” (Cataloging) มีการสำรวจ ศึกษา ถึงสื่อภาพยนตร์ที่มีคุณค่า ควรจัดหาเข้าห้องสมุด มีการประเมินสื่อที่มี-สื่อที่พึงมี และขนาดคอลเลคชันของห้องสมุดได้ชัดเจน เพื่อกำหนดทิศทางการจัดซื้อจัดหาสื่อเข้าห้องสมุด (2) ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นมีหลายประการ เช่น (1) สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดเลือกจัดซื้อ CD ที่มีคุณค่าในอนาคต (2) สามารถใช้งบประมาณจัดซื้อสื่อได้คุ้มค่า (3) วิเคราะห์และทำรายการ CD จัดซื้อได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีข้อมูล pre-catalog บางส่วนแล้ว (4) ผู้ใช้สามารถค้นหาสื่อที่ต้องการได้จากการทำรายการที่ละเอียดและมีดรรชนีเชิงลึก และผู้ใช้ทราบข้อมูลเพื่อแนะนำให้ห้องสมุดจัดซื้อได้ วิธีการ (3) ดำเนินการตามแนวทางบรรณารักษศาสตร์ ประเด็นการวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ (1) กลุ่มที่มีคุณค่า ได้แก่ ได้รับรางวัล มีรายได้สูง และกรณีที่เป็นภาพยนตร์ไทย จะบันทึกรายการบรรณานุกรมค่อนข้างมากและสมบูรณ์ (2) กลุ่มที่เหลือ ได้แก่ ที่พบข้อมูลการฉายในไทย และที่มีการจำหน่าย CD ในร้านค้าของไทย โดยอาจรวมถึงที่มีการจัดหาในห้องสมุดไทยบางแห่งด้วย กลุ่มที่สองนี้จะบันทึกรายการบรรณานุกรมเพียงบางส่วน (4) สร้างข้อมูลในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) หากในอนาคตมีการจัดหา CD ใดที่มีข้อมูลจัดทำไว้แล้ว สามารถถ่ายโอนเข้าฐานข้อมูลระบบ ALIST ของห้องสมุดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการสำรวจและรวบรวมรายชื่อ CD ที่มีคุณค่าและมีจำหน่ายในไทย เพื่อดำเนินการจัดหาเข้าห้องสมุดต่อไป ผลลัพธ์ (5) ห้องสมุดมีกระบวนการทำงานสื่อภาพยนตร์ที่นำการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ (Collection development) มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์และทำรายการ (Cataloging) มีการวางแผน เป้าหมาย ประเมินงานชัดเจน และบริการในเชิงรุก (เช่น จากรอรายชื่อ CD จัดซื้อจากร้าน คัดเลือกโดยไม่มีข้อมูลประเมินค่า CD ที่ชัดเจน มาเป็นการคัดสรร) และขยายขอบเขตบริการจากสื่อ CD ที่มีเพียงในห้องสมุด ไปสู่บริการสารสนเทศภาพยนตร์ในภาพรวมได้ (6) รายชื่อภาพยนตร์น่าสนใจดังกล่าว สามารถค้นได้จาก ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) เมนูค้น “ภาพยนตร์แยกตามปี” ได้ทำรหัสดรรชนีไว้ว่า “Year=แนะนำ/รายได้ 2020/2563 B.E.” “Year=แนะนำ/รางวัล 2020/2563 B.E” และ “Year=แนะนำ/ไทย 2020/2563 B.E.” ได้จำนวนประมาณ 160 ชื่อเรื่อง (หมายเหตุ TOR กำหนดเป้าหมายไว้ 150 ชื่อเรื่อง) เมื่อเลือกเมนูแล้ว จะแสดงข้อมูลภาพยนตร์ที่ละเอียด (7) ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์จากฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น (Film_OPAC) ได้ โดยให้ข้อมูลที่ละเอียด และสามารถสืบค้นได้จากดรรชนีที่หลากหลาย อนึ่งฐานข้อมูลนี้มีข้อมูลละเอียดกว่าแหล่งสารสนเทศภาพยนตร์อื่นๆ ในไทย เมื่อค้นหาจาก Google ว่าฐานข้อมุลภาพยนตร์ ก็จะเป็นแหล่งข้อมูลแนะนำลำดับต้นๆ และยังเป็นการเพิ่มบริการของห้องสมุดที่ขยายขอบเขตบริการผู้ใช้จากข้อมูลที่มีภายในห้องสมุด ไปยังข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจและอยู่ภายนอกห้องสมุดด้วย -- หมายเหตุ ภาพประกอบจำนวนหนึ่ง