จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
วันที่เขียน 10/2/2566 9:17:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:28:57
เปิดอ่าน: 566 ครั้ง

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเป็นสิ่งที่สำคัญ และพึงให้ความสำคัญ อีกทั้งในวงการวิชาการในการพิจารณาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการนั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ ดังนั้นการที่จะผลิตผลงานวิชาการให้ได้ดี และมีคุณภาพอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ ยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณในทางวิชาการอีกด้วย

ได้รับฟังการบรรยายหัวข้อ “จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน แสวงดี กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยประเด็นการบรรยายได้อธิบายถึงหลักจริยธรรมการวิจัย โดยให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นหน่วยวิเคราะห์ ซึ่งการวิจัยในมนุษย์นั้น จะเน้นที่ The Belmont Report ส่วนนิยาม จรรยาบรรณ สำนักการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรม และจริยธรรมในการประกอบอาชีพที่กลุ่มบุคคล และแต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลักเพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน โดยจะเน้นและให้ความสำคัญกับตัวนักวิจัย ผู้เป็นนักวิชาการ

The Belmont Report สามารถสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1. หลักการด้านพิทักษ์สิทธิและเคารพต่อบุคคล (Respect for person)
  2. หลักการที่เน้นคุณประโยชน์ เน้นความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และเสียหายต่อบุคคล (Beneficence)
  3. หลักการที่เน้นความยุติธรรม (Justice)

อีกทั้ง วิทยากรบรรยาย ยังได้กล่าวถึงภูมิหลังของความสำคัญสำหรับการวิจัยในมนุษย์ โดย กฎนูเรมเบิร์ก (Nuremberg Code 1947) ซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เพราะในระหว่างสงคราม ได้มีการทดลองของชาวนาซีในมนุษย์มากมาย คล้ายกับการรังแกมนุษยชาติอย่างไร้มนุษยธรรม ซึ่งผู้เขียนกฎนูเรมเบิร์ก ได้แก่ นักกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการทำวิจัยที่ถูกต้อง ถูกหลักการในทางจริยธรรม เน้นการยินยอม และตระหนักถึงสิทธิของบุคคลที่เป็นผู้ร่วมวิจัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้หมดสติ ผู้มีสติฟั่นเฟือน ผู้สูงอายุ เป็นต้น

    และในปี ค.ศ.164 ได้เกิดปฏิญญาเฮลซิงกิเกิดขึ้น โดยมีการปรับแก้จากเดิม มาเน้นที่นักวิจัย และผู้ร่วมวิจัย และในปี ค.ศ.2008 ได้มีการระบุขยายความครอบคลุมถึงผู้ให้ทุน กรรมการวิจัย ทีมงานวิจัย สถาบันวิจัย โดยผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งที่เป็นอาสาสมัครโครงการวิจัย เจ้าหน้าที่ ต้องรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในเรื่อง การละเมิดสิทธิ และความถูกต้องของหลักการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย

และสิ่งที่วงการวิชาการต้องตระหนัก และคำนึงถึงกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จะให้ความสำคัญอย่างมากคือ วารสารทุกฉบับ ต้นฉบับต้องถูกต้อง ทำเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Originality) ผลงานวิจัยที่ใหม่ ค้นพบสิ่งใหม่ (Novelty) สามารถทำซ้ำในผลวิจัย (Reproducibility) ที่เน้นการวัด ทวนสอบหลายครั้ง และสิ่งที่ไม่พึงทำ ได้แก่ การสร้างข้อมูลโดยมิได้เกิดจากการทดลอง หรือเก็บข้อมูลจริง (Fabrication) การดัดแปลง ตัดต่อ ปกปิด เสริมต่อ บิดเบือนข้อมูลเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด (Falsification) การคัดลอก หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่นโดยมิชอบ (Plagiarism) หรือการเป็นหรือไม่เป็นผู้นิพนธ์โดยไม่เหมาะสม (Misconduct in Authorship) ทั้งนี้วิทยากรได้บรรยายถึง จรรยาบรรณของนักวิจัย ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้วางหลักไว้ 9 ประการ ได้แก่

  1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์ และมีคุณธรรมในทางวิชาการ และการจัดการ
  2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย
  3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำ
  4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย
  5. นักวิจัยต้องเคารพในศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
  6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความติดปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการวิจัย
  7. นักวิจัยต้องนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ
  8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
  9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

 หลังจากนั้น เป็นการตอบข้อซักถาม โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้มีคำถามเกี่ยวกับการทำวิจัย ตลอดจนผลงานที่นำมาใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

  • ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

        2.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

        2.2 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับผลงานวิจัยที่สามารถนำไปขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้อย่างมีจรรยาบรรณและจริยธรรม

        2.3 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการฯ ไปพัฒนาในด้านการทำวิจัยทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาผลงานวิจัย และนำไปสู่การกำหนดขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไป โดยยึดถือจริยธรรม และจรรยาบรรณในการผลิตผลงานทางวิชการ

  

  • ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

       3.1 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการฯ มาประยุกต์ใช้ในการจัดทำบทความวิชาการ/วิจัย และต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านสถิติได้ โดยยึดถือจริยธรรม และจรรยาบรรณในการผลิตผลงานทางวิชการ

       3.2 สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ นำมาปรับใช้/ประยุกต์ใช้ในการด้านการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:28:28   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง