#การตรวจสอบปริมาณโลหะหนักในยาสมุนไพรและอาหารได้อย่างมั่นใจ
วันที่เขียน 7/5/2564 11:42:34     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 22:43:27
เปิดอ่าน: 2576 ครั้ง

ค่ามาตรฐานการปนเปื้อนของโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง มีค่าที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น จะใช้วิธีการหรือเครื่องมือชนิดไหนในการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักเหล่านี้ อาจจะต้องพิจารณามาตรฐานเหล่านี้ก่อน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม วิธีการหรือเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์หาปริมาณธาตุและโลหะหนัก เรียกว่า เทคนิค Atomic Spectroscopy หลักการโดยทั่วไปจะอาศัยความร้อนทำให้สารประกอบในตัวอย่างเกิดการแตกสลายให้เป็นอะตอม โดยเทคนิคใน Atomic Spectroscopy จะมี 4 เทคนิคหลัก 1) Flame AA 2) Graphite AA (Furnace) 3) ICP-OES 4) ICP-MS

การตรวจสอบปริมาณโลหะหนักในยาสมุนไพรและอาหารได้อย่างมั่นใจ

 

นางสาวรุ่งทิพย์ กาวารี

นักวิทยาศาสตร์

 

สมุนไพรไทยเรานำมาใช้ในเครื่องสำอาง 77% ใช้ในอาหารเสริม 7% ใช้ในยารักษาโรค 4% สมุนไพรที่เป็นแนวหน้าของสมุนไพรไทย ประกอบด้วย ไพร ใบบัวบก กระชายดำ และขมิ้นชัน นำไปใช้ในเครื่องสำอางอย่างกว้างขวางในผลิตภัณฑ์ที่เราพบเจอในท้องตลาด พืชสมุนไพรสามารถที่จะดูดซึมแร่ธาตุจากดิน น้ำ หรือว่าอาหารที่เราให้แก่พืชเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต นอกจากแร่ธาตุที่มีประโยชน์แล้ว ในดิน น้ำ หรือว่าอาหารก็ยังมีการปนเปื้อนโลหะหนัก เพราะฉะนั้นเราสามารถตรวจพบโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ในสมุนไพรได้ โดยที่ข้อกำหนดการปนเปื้อนของโลหะหนักในสมุนไพรกำหนดโดย Thai Herbal Pharmacopoeia เป็นมาตรฐานสมุนไพรมาใช้ในยารักษาโรค ฉบับปี 2020 โดยกำหนดให้มีปริมาณของสารหนู Arsenic ไม่เกิน 4 ppm, Cadmium ไม่เกิน 0.3 ppm, ตะกั่ว Lead ไม่เกิน 10 ppm, ปรอท Mercury ไม่เกิน 0.5 ppm สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นที่นำเอาสมุนไพรมาใช้ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือใช้เป็นอาหาร อาหารเสริม มีข้อกำหนดการปนเปื้อนของโลหะหนักเช่นเดียวกัน ในอาหารจะกำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข ปี 2529 เป็นมาตรฐานของสารที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร

ค่ามาตรฐานการปนเปื้อนของโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง มีค่าที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น จะใช้วิธีการหรือเครื่องมือชนิดไหนในการวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักเหล่านี้ อาจจะต้องพิจารณามาตรฐานเหล่านี้ก่อน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม

วิธีการหรือเทคนิคที่ใช้วิเคราะห์หาปริมาณธาตุและโลหะหนัก เรียกว่า เทคนิค Atomic Spectroscopy หลักการโดยทั่วไปจะอาศัยความร้อนทำให้สารประกอบในตัวอย่างเกิดการแตกสลายให้เป็นอะตอม โดยเทคนิคใน Atomic Spectroscopy จะมี 4 เทคนิคหลัก 1) Flame AA 2) Graphite AA (Furnace) 3) ICP-OES 4) ICP-MS

ICP ย่อมาจาก Inductive couple plasma เพราะฉะนั้นการให้ความร้อนแก่สารตัวอย่างเรา คือ เราจะให้ความร้อนพลังงานจากพลาสมา พลาสมาเกิดจากการที่เราใช้แก๊สอาร์กอนทำให้เกิดการแตกตัวเป็นอิเล็กตรอนที่ให้พลังงานสูง พลังงานของตัวพลาสมาหรืออุณหภูมิของพลาสมาอยู่ที่ช่วง 8000-10000 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเห็นว่ามีอุณหภูมิที่สูง เพราะฉะนั้นแล้ว detection limit หรือความสามารถในการวิเคราะห์ตัวอย่างความเข้มข้นต่ำ ๆ เทคนิค ICP จะทำได้ดีกว่าเทคนิค Flame AA หรือ Graphite AA เทคนิค ICP-OES เราจะวัดแสงที่คายออกมาจากอะตอมอิสระ ส่วนถ้าเป็น ICP-MS เราวัดมวลของอะตอมเหล่านั้นโดยตรงเลย เพราะฉะนั้นเทคนิค ICP-MS จะเป็นเทคนิคที่ให้ค่าความแม่นยำ หรือความถูกต้อง ที่ดีกว่า ICP-OES เพราะว่าเราวัดมวลของธาตุนั้นโดยตรง จะไม่เหมือนเทคนิค ICP-OES เป็นแบบ indirect method คือวัดแสงที่คายออกมาจากธาตุ 

          เทคนิค Microwave Plasma Atomic Absorption Spectroscopy (MP-AES) ใช้ nitrogen gas ในการทำให้เกิดเป็น plasma เพราะ nitrogen gas มีราคาถูกกว่า Argon gas ที่ใช้ใน ICP ทำให้ MP มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเทคนิค ICP แต่ในเทคนิค MP ใช้ nitrogen gas อุณหภูมิในการทำให้เกิดเป็น plasma จะอยู่ที่ 5000 องศาเซลเซียสเท่านั้น การแตกตัวเป็นอะตอมของธาตุในเทคนิค MP จะน้อยกว่า ICP ดังนั้นแล้ว detection limit เทคนิค MP จะมีค่าที่สูงกว่า ICP-OES

การพิจารณาเลือกใช้เทคนิคในการหาปริมาณธาตุหรือโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในตัวอย่างสมุนไพร ดูจาก 1) ช่วงความเข้มข้นของธาตุที่เราสนใจที่จะวิเคราะห์ว่าอยู่ในช่วงระดับ %, ppm, ppt หรือต่ำกว่า ถ้าต้องการวิเคราะห์ความเข้มข้นต่ำมากๆ ในระดับ ppt แนะนำให้ใช้เทคนิค ICP-MS 2) จำนวนตัวอย่าง 3) จำนวนธาตุที่ต้องการวิเคราะห์ เทคนิค AA เป็นเทคนิคที่เราวิเคราะห์ได้ทีละ 1 ธาตุเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้ว มีจำนวนธาตุเยอะๆ จำนวนตัวอย่างเยอะ เทคนิค AA ก็จะไม่เหมาะสม เพราะใช้เวลาในการวิเคราะห์ที่ยาวนาน เทคนิคที่เหมาะสมคือเทคนิค ICP-OES และ ICP-MS 4) องค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในตัวอย่าง ซึ่งเรียกว่า sample matrix ในเทคนิค spectroscopy จะพิจารณาค่าการละลายของของแข็งที่ละลายอยู่ในตัวอย่าง (Total dissolve solid หรือ TDS) ทั้ง organic และ inorganic แต่ละเทคนิคจะทนต่อ sample matrix ค่า TDS ได้แตกต่างกัน เช่น เทคนิค ICP-OES และ ICP-MS จะทนต่อ sample matrix ค่า TDS ได้สูงที่สุดประมาณ 10%

 

 

 

ที่มา: สรุปจากการเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “แนวทางการเตรียมตัวอย่างสำหรับการวิจัยสมุนไพร” โดยใช้เทคนิค โครมาโทกราฟีเพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อน รวมถึงการใช้เทคนิคสเปกโทรสโคปีเพื่อตรวจสอบสารโลหะหนัก เมื่อวันที่ 14, 21, 28 มกราคม 2564 ออนไลน์ผ่านระบบ WEBCAST โดย ดร.นพรัตน์ วรพลาวุฒิ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1160
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 18:13:34   เปิดอ่าน 218  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 15:52:45   เปิดอ่าน 290  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 6/11/2567 4:16:32   เปิดอ่าน 163  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง