ข้าพเจ้าได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “Nonparametric Bootstrap Confidence Interval Population Size in Capture-Recapture under a Linear Regression Models” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ดำเนินการร่วมกับ อาจารย์ ดร.รัชนีวรรณ วงศ์พระจันทร์ และผู้ข่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณะ ลาน้ำเที่ยง โดยเป็นการนำเสนอวิธีการทางสถิติแบบไม่อิงพารามิเตอร์ (Nonparametric Method) สำหรับประมาณขนาดประชากร (Population size) โดยใช้เทคนิค Capture-Recapture ภายในแบบจำลองถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression Model) ในการนำเสนอ ได้กล่าวถึงหลักการ แนวคิดทฤษฎีที่สำคัญ การพัฒนาวิธีการ การประเมินประสิทธิภาพของวิธีการที่เสนอ รวมถึงการประยุกต์ใช้กับข้อมูลจริง นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยท่านอื่น ๆ ซึ่งช่วยเสริมสร้างมุมมองและแนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนางานวิจัยต่อไป
ข้าพเจ้าได้ร่วมเข้ารับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยในสาขาคณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์ข้อมูล เช่น เรื่อง “Regression Imputation Method with Composite Regression Coefficient” ที่นำเสนอโดย Phruettichai Nueasri โดยผลงานดังกล่าวเป็นการนำเสนอวิธีการทางสถิติสำหรับประมาณค่าข้อมูลที่ขาดหาย (Missing values) ในการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ผู้วิจัยได้นำเสนอเทคนิคทางสถิติหลากหลายวิธีที่ใช้ในการประมาณค่าดังกล่าว พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแต่ละวิธีอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจริง และเรื่อง “Enhancing Blood Cell Classification and Fundamental Screening with Advanced 2D Imaging, Explainable Statistical Methods with Deep Learning Techniques ที่นำเสนอโดย Chalermrat Nonatapa ซึ่งเป็นผลงานงานที่นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคนิค Deep Learning ร่วมกับวิธีการทางสถิติที่สามารถอธิบายได้ ในการจำแนกเซลส์เม็ดเลือดและการคัดกรอกเบื้องต้นจากภาพถ่ายแบบสองมิติ ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการจำแนกข้อมูลโดยใช้โมเดล Deep Learning หลากหลาย พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแต่ละวิธีอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
- ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
ข้าพเจ้าได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยท่านอื่นๆ เกี่ยวกับการนำวิธีการทางสถิติ ได้แก่ Bootstrap ไปประยุกต์ใช้ในสถิติแบบ Capture-Recapture รวมทั้งสามารถนำเนื้อหาเกี่ยวกับ Bootstrap และ Capture-Recapture และงานวิจัยด้านสถิติต่าง ๆ ที่นักวิจัยท่านอื่นนำเสนอ ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้ โดยเฉพาะใช้เสริมความเข้าใจให้นักศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสมมติฐานแบบดั้งเดิม อีกทั้งได้พบปะพูดคุยกับนักวิจัยต่างสถาบัน ซึ่งมีความสนใจในสถิติเชิงประยุกต์ ทำให้เกิดแนวโน้มความร่วมมือในอนาคต
- ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
ในระดับหลักสูตร ข้าพเจ้าสามารถนำข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร เช่น การปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับแนวโน้มทางวิชาการและเทคโนโลยีในปัจจุบัน ร่วมทั้งสามารถพัฒนารูปแบบการสอนหรือกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้เทคนิคทางสถิติขั้นสูงให้กับนักศึกษา นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้รับจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สามารถนำไปปรับใช้ในการทบทวนหลักสูตร หรือจัดทำรายวิชาใหม่ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและตลาดแรงงาน