การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง ก่อสร้างและผู้ควบคุมงาน
วันที่เขียน 3/7/2568 21:49:37     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/7/2568 16:28:47
เปิดอ่าน: 12 ครั้ง

สรุปผลการเข้าร่วมอบรมหลักสูตร "การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจัดซื้อ-จัดจ้าง" และหลักสูตร "การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง ก่อสร้างและผู้ควบคุมงาน" วันที่ 19 - 20 มิถุนายน 2568 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาๆ หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานซื้อ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานซื้อ (คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑00 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (พระราชบัญญัติฯ) อันเป็นบทบัญญัติหลักให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวตามข้อกำหนดและบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติฯ กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ระเบียบฯ) รวมทั้งประกาศหรือหนังสือ ของคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการนโยบาย) หรือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (คณะกรรมการราคากลาง) คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน (คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์) หรือกรมบัญชีกลาง ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฯ กำหนดแนวทางปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง ยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงหรือระเบียบ ซ้อมความเข้าใจ แจ้งเวียนให้ถือปฏิบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารสัญญา ตามพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดการขยายเวลาทำการตามสัญญา การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา และการบอกเลิกสัญญา ไว้ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ และตามระเบียบฯ ได้กำหนดการแจ้งสิทธิในการเรียกค่าปรับ การบอกสงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับ การขยายเวลาทำการตามสัญญา การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา และการบอกเลิกสัญญา ไว้ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารสัญญาตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 100 วรรคหนึ่ง แต่การแก้ไขสัญญาได้กำหนดไว้ในหมวดการทำสัญญา ทั้งที่การแก้ไขสัญญาอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ก่อนลงมือปฏิบัติตามสัญญา โดยเมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องตรวจสอบข้อกำหนดในสัญญาและเอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอย่างละเอียด กรณีที่พบว่ารายละเอียดของสิ่งของที่ซื้อไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่เหมาะสมกับการใช้งาน คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือสั่งการให้มีการแก้ไขสัญญา และดำเนินการแก้ไขแล้วเสนอผู้มีอำนาจสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการแก้ไขสัญญา การแก้ไขสัญญาจึงมีลักษณะเป็นการบริหารสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่มีสัญญาเกิดขึ้นจนถึงสัญญาสิ้นสุดลง แต่เมื่อตามพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ ไม่มีการกำหนดไว้ในหมวดการบริหารสัญญา จึงควรกำหนดให้การพิจารณาแก้ไขสัญญาเป็นหน้าที่ในการบริหารสัญญาอีกอย่างหนึ่งของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานซื้อ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้โดยตรงในพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ ดังกล่าวแล้ว ยังมีแนวทางปฏิบัติในการบริหารสัญญา โดยการเร่งรัดให้ผู้ขายเข้าปฏิบัติงานตามสัญญา และแนวทางการประเมินผลการทำงาน รวมทั้งการบอกเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้ขายไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 124 ลงวันที่ ๑ มีนาคม 2566 (ว 124) ข้อ 2 ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ตามพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติการดำเนินการภายหลังหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาไว้ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ การดำเนินการภายหลังหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาจึงถือเป็นการบริหารสัญญาด้วย เช่น การพิจารณาความเสียหายกรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง หรือการบอกเลิกสัญญานั้นเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้เรียกค่าปรับแล้วแต่กรณี และคู่สัญญาเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งตามระเบียบฯ กำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการมาดำเนินการเป็นการเฉพาะแล้ว และตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 108 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการดำเนินการภายหลังหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (๒) หรือ (4) (ว 108) กำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการมาดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดเป็นการเฉพาะแล้ว ได้แก่ คณะกรรมการพิจารณาพัสดุที่ผู้ขายรายเดิมได้ส่งมอบแล้วแต่ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินซึ่งหากเห็นว่าสามารถรับไว้ใช้ประโยชน์ได้หน่วยงานของรัฐต้องจ่ายค่าพัสดุส่วนนั้นให้แก่ผู้ขาย กับคณะกรรมการประเมินค่าเสียหายของพัสดุที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เพื่อดำเนินการซื้อผู้ขายรายใหม่มาดำเนินการต่อในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงไม่จำเป็นต้องบริหารในส่วนนี้ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาซื้อขายพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ซึ่งได้กำหนดอัตราค่าปรับไว้ร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของค่าพัสดุตามสัญญาตามระเบียบฯ ข้อ 162 พัสดุที่ตรวจรับไว้แล้วในบางส่วนนั้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใดย่อมไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา ดังนั้นค่าพัสดุงวดที่ได้จ่ายไปแล้วจึงต้องเรียกคืนจากผู้ขาย ส่วนพัสดุงวดที่ยังไม่ได้ส่งมอบหรือส่งมอบแล้วแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุยังไม่ได้ตรวจรับก็จ่ายค่าพัสดุตาม ว 108 ไม่ได้เพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา ปัญหาที่ตามมาก็คือ กรณีที่พัสดุในส่วนที่ตรวจรับไว้แล้วและพัสดุที่ผู้ขายได้ส่งมอบแล้วแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุยังไม่ได้ตรวจรับนั้น ไม่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ขายรายใหม่ แต่สามารถดำเนินการต่อไปได้เลยจนแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของสัญญา หากมีการเรียกคืนหรือไม่จ่ายเงินค่าพัสดุส่วนนั้นให้แก่ผู้ขายย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ขายอย่างยิ่ง แต่คณะกรรมการทั้งสองคณะตาม ว 108 ก็มีขอบเขตอำนาจหน้าที่เฉพาะตามที่กำหนดไว้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหากรณีดังกล่าวได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีต้องมีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่มีการตรวจรับพัสดุไปแล้วในบางส่วน จึงควรกำหนดให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเป็นผู้พิจารณาและทำความเห็นไว้ ว่างานที่ตรวจรับไว้แล้วบางส่วนรวมทั้งที่ผู้ขายส่งมอบงานแล้วแต่ยังไม่ได้ตรวจรับไว้นั้น จำเป็นต้องให้ผู้ขายรายใหม่มารื้อแล้วทำใหม่ หรือสามารถดำเนินการต่อไปได้เลยจนแล้วเสร็จตามแบบรูปรายการหรือตามวัตถุประสงค์ของสัญญาได้ นอกจากนี้ ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุตามพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการเกี่ยวกับการประกันความชำรุดบกพร่องภายหลังหน่วยงานของรัฐได้รับพัสดุตามสัญญาไว้แล้ว ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ การดำเนินการเกี่ยวกับการประกันความชำรุดบกพร่องจึงถือเป็นการบริหารสัญญาด้วย แต่ระเบียบฯ ก็ได้กำหนดผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการดังกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว การบริหารสัญญาในส่วนนี้จึงไม่ใช้หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เมื่อมีการลงนามในสัญญาหรือมีการแก้ไขสัญญาแล้ว เป็นหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา ส่วนการบริหารสัญญาเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในการบริหารให้การปฏิบัติหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา รวมทั้งสิทธิในการขอขยายเวลาทำการตามสัญญา สิทธิในการของดหรือลดค่าปรับ หน้าที่ในการแจ้งสิทธิในการเรียกค่าปรับ หน้าที่ในการบอกสงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับ และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา แต่ในระหว่างการบริหารสัญญาหากมีกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงบางอย่างในสัญญาได้ หรือปฏิบัติตามแล้วอาจไม่เป็นผลดีต่อวัตถุประสงค์ของสัญญา หรือถ้าแก้ไขข้อตกลงบางอย่างในสัญญาแล้วจะเป็นผลดีต่อวัตถุประสงค์ของสัญญาหรือประโยชน์สาธารณะมากกว่าก็มีเหตุผลหรือความจำเป็นในการแก้ไขสัญญา แต่พระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ ที่กำหนดแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขสัญญาไว้ในหมวดการทำสัญญาและหลักประกัน การแก้ไขสัญญาจึงไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยตรง อย่างไรก็ดี เงื่อนไขในการแก้ไขสัญญานอกจากจะต้องมีความจำเป็นต้องแก้ไขโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้และการแก้ไขนั้นต้องไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียประโยชน์ หรือต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะแล้ว ยังต้องอยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญา อีกทั้งยังต้องพิจารณาเปรียบเทียบรายละเอียดของงานและค่าจ้างของงานตามสัญญากับงานที่จะทำการแก้ไขนั้นก่อนแก้ไขสัญญา รวมทั้ง กรณีที่เป็นงานเทคนิคเฉพาะอย่างจะต้องได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองงานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้นด้วย ซึ่งในหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุจะต้องรู้ขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์ของสัญญา รายละเอียด และเงื่อนไขดังกล่าวเป็นอย่างดีตั้งแต่แรกแล้ว จึงควรมอบหมายให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในการพิจารณาเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่ที่จะแก้ไขนั้น รวมทั้งการคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาด้วย ดังนั้น คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงควรมีหน้าที่และความรับผิดชอบในกระบวนการบริหารสัญญา ดังต่อไปนี้ ๑. พิจารณาการแก้ไขสัญญา (๑) พิจารณาว่าเป็นกรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขได้ ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 97 วรรคหนึ่ง อยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญาตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคหนึ่ง และมีความจำเป็นหรือสมควรต้องมีการแก้ไขสัญญาตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.3/ว 476 ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖2 (ว 476) หรือไม่ (๒) กรณีที่เห็นว่าอยู่ในดุลพินิจผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อ และมีความจำเป็นหรือสมควรต้องแก้ไขสัญญา ต้องเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือสั่งการให้แก้ไขสัญญา ตามระเบียบฯ ข้อ 161 วรรคหนึ่ง และ ว 476 (๓) เมื่อผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือสั่งการให้แก้ไขสัญญาแล้วให้จัดทำรายละเอียดของงานที่จะแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นไปตามหลักวิชาการ ตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคหนึ่ง (๔) จัดทำรายละเอียดการเปรียบเทียบคุณภาพ และรายละเอียดการเปรียบเทียบค่าพัสดุตามสัญญาเดิมกับที่จะทำการแก้ไขสัญญา ตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่เป็นการจ้างงานเทคนิคเฉพาะอย่างจะต้องได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองงานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้นด้วย ตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคหนึ่ง (๕) กรณีที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 97 วรรคสาม (๖) เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการแก้ไขสัญญา ตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคสาม ๒. บริหารสัญญาตามข้อกำหนดในสัญญา ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๑00 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่มิใช่สิ่งส่งมอบตามสัญญาโดยคณะกรรมการเองหรือมอบหมายให้กรรมการคนใดคนหนึ่งติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดในส่วนที่มิใช่สิ่งส่งมอบตามสัญญาและประสานงานกับตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจากคู่สัญญา แล้วรายงานคณะกรรมการและบันทึกในรายงานการประชุมของคณะกรรมการไว้เป็นหลักฐาน ๓. เร่งรัดให้เข้าปฏิบัติงานตามสัญญา ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 124 ลงวันที่ ๑ มีนาคม 2566 (ว 124) ข้อ 2.1 ดังนี้ ๓.๑.๑ ลงนามในสัญญาแล้วแต่ผู้ขายไม่เข้าดำเนินการตามสัญญา ให้เสนอผู้มีอำนาจสั่งการให้มีหนังสือแจ้งเร่งรัดให้ผู้ขายเข้าดำเนินการตามสัญญา โดยกำหนดระยะเวลาในการที่ผู้ขายต้องเข้ามาดำเนินการตามสัญญาด้วย ตาม ว 124 ข้อ 2.1.1 ๓.๑.๒ ผู้ขายเข้าดำเนินการตามสัญญา แต่ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนการทำงานหรือระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้เสนอผู้มีอำนาจสั่งการให้มีหนังสือแจ้งเร่งรัดให้ผู้ขายดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการทำงานหรือระยะเวลาดังกล่าว ตาม ว 124 ข้อ 2.1.2 ๔. กรณีสัญญาครบกำหนดส่งมอบและมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว ให้พิจารณาเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้ออกหนังสือแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาจากผู้ขายภายใน ๗ วันทำการ นับถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบ ตามระเบียบฯ ข้อ 181 ๕. กรณีสัญญาครบกำหนดส่งมอบแล้วและมีค่าปรับเกิดขึ้น และมีการให้ออกหนังสือแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาต่อผู้ขายแล้ว ให้จัดเตรียมและเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พิจารณาสั่งการให้ออกหนังสือบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับเตรียมไว้เพื่อมอบให้ผู้ขาย ในขณะที่รับมอบพัสดุ เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบพัสดุนั้น ตามระเบียบฯ ข้อ 181 ๖. กรณีผู้ขายขอขยายเวลาทำการตามสัญญาที่ยังไม่ครบกำหนดส่งมอบและยังไม่มีค่าปรับเกิดขึ้น ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 ระเบียบฯ ข้อ 182 และหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 52 ลงวันที่ 31 มกราคม 2562 (ว 52) (๑) พิจารณาว่าเป็นกรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้ขยายเวลาทำการตามสัญญาในกรณีใด ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 (๒) พิจารณาว่ามีจำนวนวันที่เป็นเหตุทำให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบงานตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้ ซึ่งเกิดขึ้นจริงโดยมีหลักฐานการเกิดเหตุหรือรายงานการประชุมของคณะ กรรมการเกี่ยวกับการเกิดเหตุดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 (๓) พิจารณาว่าผู้ขายแจ้งได้เหตุดังกล่าวให้ทราบภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง อันเป็นเงื่อนไขการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา หรือไม่ เว้นแต่เป็นเหตุที่เกิดจากความผิดหรือบกพร่องของผู้ซื้อหรือคณะกรรมการซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือคณะกรรมการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น (๔) เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการขยายเวลาทำการตามสัญญา (๕) เสนอผู้มีอำนาจมีหนังสือแจ้งการอนุมัติขยายเวลาทำการตามสัญญาต่อผู้ขาย ๗. พิจารณากรณีผู้ขายของดหรือลดค่าปรับตามสัญญาที่ครบกำหนดส่งมอบและมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 ระเบียบฯ ข้อ 182 และ ว 52 (๑) พิจารณาว่าเป็นกรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้งดหรือลดค่าปรับในกรณีใด (๒) พิจารณาจำนวนวันที่เป็นเหตุทำให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบงานตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้ ซึ่งเกิดขึ้นจริงโดยมีหลักฐานหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการเกี่ยวกับการเกิดเหตุดังกล่าว (๓) พิจารณาว่าผู้ขายได้แจ้งเหตุดังกล่าวให้ทราบภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง อันเป็นเงื่อนไขการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา หรือไม่ เว้นแต่เป็นเหตุที่เกิดจากความผิดหรือบกพร่องของผู้ซื้อหรือคณะกรรมการซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือคณะกรรมการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น (๔) เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการงดหรือลดค่าปรับให้แก่ผู้ขาย (๕) เสนอผู้มีอำนาจมีหนังสือแจ้งการอนุมัติงดหรือลดค่าปรับต่อผู้ขาย ๘. พิจารณาการบอกเลิกสัญญา ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (๒), ว 124 (๑) กรณีมีเหตุที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจซึ่งอาจพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการให้บอกเลิกสัญญาได้ ให้พิจารณาว่ามีเหตุที่ทำให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบงานตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญา อันเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของผู้ซื้อหรือคณะกรรมการ ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือคณะกรรมการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น หรือเกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย หรือเกิดจากเวลาที่คณะกรรมการใช้ไปในการตรวจรับพัสดุ อันมิใช่ความผิดของผู้ขาย และอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่อาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายเวลาทำการตามสัญญาหรืองดหรือลดค่าปรับให้แก่ผู้ขายได้ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 และระเบียบฯ ข้อ 182 เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีให้คณะกรรมการพิจารณาร่วมกับผู้ขายว่าเหตุดังกล่าวทำให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้เป็นจำนวนกี่วันเพื่อให้ผู้ขายใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขอขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือของดหรือลดค่าปรับ กรณีที่ผู้ขายไม่ใช้สิทธิหรือใช้สิทธิเรียกร้องขอขยายเวลาทำการตามสัญญาแล้วยังมีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบพัสดุภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (2) ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการบอกเลิกสัญญา (๒) กรณีมีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้ขายไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (๒) และ ว 124 ข้อ 2.1 อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๒.๑) เมื่อลงนามในสัญญาแล้ว ผู้ขายไม่เข้าดำเนินการตามสัญญาและได้มีหนังสือแจ้งเร่งรัดให้ผู้ขายเข้าดำเนินการตามสัญญา โดยกำหนดระยะเวลาที่ผู้ขายต้องเข้ามาดำเนินการด้วย แต่ผู้ขายไม่เข้าดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ตาม ว 124 ข้อ 2.1.1 (๒.๒) กรณีที่ผู้ขายเข้าดำเนินการตามสัญญา แต่มีความล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนการทำงานหรือระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้มีหนังสือแจ้งเร่งรัดให้ผู้ขายดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการทำงานหรือระยะเวลาดังกล่าวแล้ว แต่ผู้ขายยังมีความล่าช้า ตาม ว 124 ข้อ 2.1.2 (2.3) กรณีที่ผู้ขายเข้าดำเนินการตามสัญญา แต่มีความล่าช้า ดังต่อไปนี้ - เมื่อล่วงเลยระยะเวลาไปเกิน ๑ ใน ๒ ของระยะเวลาตามแผนการทำงานแล้วผู้ขายมีผลงานสะสมไม่ถึงร้อยละ ๒๕ ของวงเงินค่าจ้าง โดยความล่าช้าเป็นความผิดของผู้ขาย - เมื่อล่วงเลยระยะเวลาไปเกิน ๑ ใน ๒ ของระยะเวลาตามแผนการทำงานแล้ว ผู้ขายมีผลงานประจำเดือนที่ตั้งไว้ไม่ถึงร้อยละ ๕๐ ชองแผนการทำงานประจำเดือน และมีผลงานสะสมไม่ถึงร้อยละ ๕๐ ของวงเงินค่าจ้าง โดยความล่าช้าเป็นความผิดของผู้ขาย - เมื่อล่วงเลยระยะเวลาไปเกิน 3 ใน 4 ของระยะเวลาตามแผนการทำงานแล้ว ผู้ขายมีผลงานสะสมไม่ถึงร้อยละ 6๕ ของวงเงินค่าจ้าง โดยความล่าช้าเป็นความผิดของผู้ขาย - เมื่อครบกำหนดส่งมอบตามสัญญา ผลงานสะสมน้อยกว่าร้อยละ 8๕ ของวงเงินค่าจ้าง - เมื่อครบกำหนดส่งมอบตามสัญญา และมีจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าจ้างตามสัญญา ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการให้บอกเลิกสัญญา แล้วเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้รับจ้างเพื่อบอกเลิกสัญญา เรียกค่าปรับถึงวันที่บอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันสัญญา ๙. พิจารณาการบอกเลิกสัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (3) และสัญญาซื้อขาย ข้อ 6 กรณีมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ - ผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง - ครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว ผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายไว้ได้ - ครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว ผู้ขายส่งมอบสิ่งของไม่ถูกต้อง - ครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว ผู้ขายส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการให้บอกเลิกสัญญา แล้วเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้รับจ้างเพื่อบอกเลิกสัญญา เรียกค่าปรับถึงวันที่บอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันสัญญา ๑๐. พิจารณาการบอกเลิกสัญญากรณีครบกำหนดเวลาส่งมอบงานตามเงื่อนไขและกำหนด เวลาตามสัญญาแล้วแต่ผู้ขายไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ และจำนวนเงินค่าปรับที่เกิดขึ้นใกล้จะถึงร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 (๔) ระเบียบฯ ข้อ 183 และหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 83 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (ว 83) ดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุซึ่งทำให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้ ที่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของผู้ซื้อหรือคณะกรรมการซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือคณะกรรมการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น เกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายเกิดจากเวลาที่คณะกรรมการใช้ไปในการตรวจรับพัสดุ หรือไม่ กรณีที่มีเหตุดังกล่าว ให้คณะกรรมการพิจารณาร่วมกับผู้ขายว่าเหตุดังกล่าวทำให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้เป็นจำนวนกี่วันเพื่อให้ผู้ขายใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาของดหรือลดค่าปรับ (๒) กรณีสัญญาครบกำหนดส่งมอบแล้วและมีค่าปรับเกิดขึ้น หรือกรณีที่หลังจากได้รับอนุมัติให้งดหรือลดค่าปรับแล้ว (ถ้ามี) จำนวนเงินค่าปรับยังใกล้จะถึงร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญา ให้คณะกรรมการพิจารณาเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งบอกกล่าวแก่ผู้ขายว่าจำนวนเงินค่าปรับใกล้จะถึงร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาแล้วและจะดำเนินการบอกเลิกสัญญาต่อไป เว้นแต่ผู้ขายจะได้มีหนังสือแจ้ง ว่ายินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตาม ว 83 ข้อ 1 (๓) กรณีที่ผู้ขายได้มีหนังสือแจ้งว่ายินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ภายใน ระยะเวลาที่กำหนด ให้คณะกรรมการพิจารณาประเมินความคืบหน้าการดำเนินการตามสัญญาของผู้ขายว่าการผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาจะทำให้ผู้ขายสามารถส่งมอบพัสดุได้หรือไม่ กรณีที่เห็นว่าควรผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญา ให้เสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาและสั่งการให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขายทราบและให้จัดทำแผนการทำงานที่มีกำหนดระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จชัดเจนเสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าเมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา และต้องดำเนินการตามสัญญาและแผนการทำงานดังกล่าวโดยเร็ว ตาม ว 83 ข้อ 2 กรณีที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการให้บอกเลิกสัญญา แล้วเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้ขายเพื่อบอกเลิกสัญญา เรียกค่าปรับถึงวันที่บอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันสัญญา (๔) กรณีที่ผู้ขายได้มีหนังสือแจ้งว่ายินยอมเสียค่าปรับโดยมีเงื่อนไข หรือไม่มีหนังสือแจ้งความยินยอมเสียค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันควร ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการบอกเลิกสัญญา แล้วเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้า เจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้ขายเพื่อบอกเลิกสัญญา เรียกค่าปรับถึงวันที่บอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันสัญญา ตาม ว 83 ข้อ 3 หน้าที่ในการตรวจรับพัสดุ 1. ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุหรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา กรณีจำเป็นต้องตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ต้องเสนอขออนุมัติต่อผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ก่อน ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (๑) 2. กรณีที่จำเป็นต้องมีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ และเห็นควรเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา ให้เสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้า เจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาตามระเบียบฯ ข้อ 175 (2) วรรคหนึ่ง 3. กรณีที่จำเป็นต้องมีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ และเห็นควรส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ให้เสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นตามระเบียบฯ ข้อ 175 (2) วรรคหนึ่ง 4. ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติตามระเบียบฯ ข้อ 175 (2) วรรคสอง โดยต้องมีบันทึกวิธีการตรวจนับตามหลักวิชาการสถิติและผลการตรวจรับไว้เป็นหลักฐานด้วย 5. ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายนำงานมาส่งและดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดตามระเบียบฯ ข้อ 175 (3) หากไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดได้ ให้รายงานเหตุที่ทำให้การล่าช้าเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติขยายเวลาให้ตามความจำเป็นตามนัยระเบียบฯ ข้อ 25 วรรคสอง 6. กรณีตรวจสอบแล้วถูกต้องครบถ้วน ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายนำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมกับทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานจำนวน 3 ฉบับ มอบแก่ผู้ขาย ๑ ฉบับ เจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ และแนบท้ายรายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐานจำนวน 1 ฉบับ แล้วรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อทราบ ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (4) วรรคหนึ่ง 7. ในกรณีที่เห็นว่างานที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้ขายแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 175 (4) วรรคสอง 8. ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบงานถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และรีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (5) 9. ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบงานครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และรีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (5) ในกรณีที่การส่งมอบครั้งนั้นมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว ให้เสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้ออกหนังสือบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับมอบให้ผู้ขายในขณะที่ตรวจรับพัสดุนั้น ตามระเบียบฯ ข้อ 181 10. กรณีตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายยังมิได้ส่งมอบงานนั้น ให้รีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขายทราบภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (6) 11. ถ้ากรรมการบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้รีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้มีอำนาจสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ ให้ดำเนินการตามข้อ 14 – ข้อ 18 แล้วแต่กรณี ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (7) การประชุมคณะกรรมการ 1. ในการประชุมทุกครั้ง ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้งในการประชุม ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 27 วรรคหนึ่ง ในการประชุมที่มีวาระการพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของงาน ควรมีกรรมการผู้ชำนาญการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าร่วมประชุมพิจารณาด้วย ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 26 วรรคสี่ 2. ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 27 วรรคสอง กรณีมติของคณะกรรมการไม่เป็นเอกฉันท์ ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ในรายงานการประชุม และกรรมการที่ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ ให้ทำความเห็นแย้งในการประชุม แล้วบันทึกความเห็นแย้ง ไว้ในรายงานการประชุมด้วย ตามนัยมาตรา 83 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ 3. ประธานหรือกรรมการที่ทราบว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรืออาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอในการจ้างครั้งนี้ ให้ลาออกและรายงานผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งตามนัยระเบียบฯ ข้อ 27 วรรคห้า 4. จัดทำรายงานการประชุมทุกครั้ง ตามนัยมาตรา 83 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยประธานกรรมการกับกรรมการและเลขานุการเป็นผู้ลงนามรับรองในรายงานการประชุม ยกเว้นรายงานการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนรายงานผลการพิจารณา ให้ประธานกรรมการและกรรมการทุกคนที่เข้าประชุมลงนามในรายงานการประชุม 5. พิจารณาให้แล้วเสร็จและรายงานผลการพิจารณาเพื่อขอความเห็นชอบผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ภายใน.......วัน นับถัดจากวันที่ได้รับคำสั่ง ถ้ามีเหตุที่ทำให้ล่าช้า ให้รายงานเหตุที่ทำให้ล่าช้าเพื่อขออนุมัติขยายเวลาตามความจำเป็น ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 25 วรรคสอง 6. ประธานและกรรมการซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ตามพระราช บัญญัติฯ มาตรา 61 วรรคสาม หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง (คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (พระราชบัญญัติฯ) อันเป็นบทบัญญัติหลักให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวตามข้อกำหนดและบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติฯ กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ระเบียบฯ) รวมทั้งประกาศหรือหนังสือ ของคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการนโยบาย) หรือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (คณะกรรมการราคากลาง) คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน (คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์) หรือกรมบัญชีกลาง ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฯ กำหนดแนวทางปฏิบัติ แบบหรือตัวอย่าง ยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงหรือระเบียบ ซ้อมความเข้าใจ แจ้งเวียนให้ถือปฏิบัติ หน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารสัญญา ตามพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดการขยายเวลาทำการตามสัญญา การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา และการบอกเลิกสัญญา ไว้ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ และตามระเบียบฯ ได้กำหนดการแจ้งสิทธิในการเรียกค่าปรับ การบอกสงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับ การขยายเวลาทำการตามสัญญา การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา และการบอกเลิกสัญญา ไว้ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารสัญญาตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 100 วรรคหนึ่ง แต่การแก้ไขสัญญาได้กำหนดไว้ในหมวดการทำสัญญา ทั้งที่การแก้ไขสัญญาอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ก่อนลงมือปฏิบัติตามสัญญา โดยเมื่อมีการลงนามในสัญญาแล้ว คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องตรวจสอบข้อกำหนดในสัญญาและเอกสารอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอย่างละเอียด กรณีที่พบว่ารายละเอียดของงานที่จ้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่เหมาะสมกับการใช้งาน คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือสั่งการให้มีการแก้ไขสัญญา และดำเนินการแก้ไขแล้วเสนอผู้มีอำนาจสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการแก้ไขสัญญา การแก้ไขสัญญาจึงมีลักษณะเป็นการบริหารสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่มีสัญญาเกิดขึ้นจนถึงสัญญาสิ้นสุดลง แต่เมื่อตามพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ ไม่มีการกำหนดไว้ในหมวดการบริหารสัญญา จึงควรกำหนดให้การพิจารณาแก้ไขสัญญาเป็นหน้าที่ในการบริหารสัญญาอีกอย่างหนึ่งของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง นอกเหนือจากที่กำหนดไว้โดยตรงในพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ ดังกล่าวแล้ว ยังมีแนวทางปฏิบัติในการบริหารสัญญา โดยการเร่งรัดให้ผู้รับจ้างเข้าปฏิบัติงานตามสัญญา และแนวทางการประเมินผลการทำงาน รวมทั้งการบอกเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 124 ลงวันที่ ๑ มีนาคม 2566 (ว 124) ข้อ 2 ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ตามพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติการดำเนินการภายหลังหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาไว้ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ การดำเนินการภายหลังหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาจึงถือเป็นการบริหารสัญญาด้วย เช่น การพิจารณาความเสียหายกรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง หรือการบอกเลิกสัญญานั้นเป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐมิได้เรียกค่าปรับแล้วแต่กรณี และคู่สัญญาเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งตามระเบียบฯ กำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการมาดำเนินการเป็นการเฉพาะแล้ว และตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 108 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการดำเนินการภายหลังหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (๒) หรือ (4) (ว 108) กำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการมาดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดเป็นการเฉพาะแล้ว ได้แก่ คณะกรรมการพิจารณางานที่ผู้รับจ้างรายเดิมได้ส่งมอบแล้วแต่ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินซึ่งหากเห็นว่าสามารถรับไว้ใช้ประโยชน์ได้หน่วยงานของรัฐต้องจ่ายค่างานส่วนนั้นให้แก่ผู้รับจ้าง กับคณะกรรมการประเมินค่าเสียหายของพัสดุหรืองานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ เพื่อดำเนินการจ้างผู้รับจ้างรายใหม่มาดำเนินการต่อในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงไม่จำเป็นต้องบริหารในส่วนนี้ แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาจ้างหรือสัญญาจ้างก่อสร้างที่ต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ซึ่งกำหนดอัตราค่าปรับไว้ร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้นตามระเบียบฯ ข้อ 162 งานที่ตรวจรับไว้แล้วในบางส่วนนั้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใดย่อมไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา ดังนั้นค่าจ้างงานงวดที่ได้จ่ายเงินค่าจ้างไปแล้วจึงต้องเรียกคืนจากผู้รับจ้าง ส่วนงานงวดที่ยังไม่ได้ส่งมอบงานหรือส่งมอบงานแล้วแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุยังไม่ได้ตรวจรับก็จ่ายค่าจ้างตาม ว 108 ไม่ได้เพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา ปัญหาที่ตามมาก็คือ กรณีที่งานที่ตรวจรับไว้แล้ว รวมทั้งงานที่ผู้รับจ้างทำแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบงานหรือส่งมอบงานแล้วแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุยังไม่ได้ตรวจรับนั้น ไม่จำเป็นต้องจ้างผู้รับจ้างรายใหม่มารื้อแล้วทำใหม่แต่สามารถดำเนินการต่อไปได้เลยจนแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ของสัญญา หากมีการเรียกคืนหรือไม่จ่ายเงินค่าจ้างส่วนนั้นให้แก่ผู้รับจ้างย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้รับจ้างอย่างยิ่ง แต่คณะกรรมการทั้งสองคณะตาม ว 108 ก็มีขอบเขตอำนาจหน้าที่เฉพาะตามที่กำหนดไว้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหากรณีดังกล่าวได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีต้องมีการบอกเลิกสัญญาจ้างที่มีการตรวจรับงานไปแล้วในบางส่วน จึงควรกำหนดให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเป็นผู้พิจารณาและทำความเห็นไว้ ว่างานที่ตรวจรับไว้แล้วบางส่วนรวมทั้งที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานแล้วแต่ยังไม่ได้ตรวจรับไว้นั้น จำเป็นต้องให้ผู้รับจ้างรายใหม่มารื้อแล้วทำใหม่ หรือสามารถดำเนินการต่อไปได้เลยจนแล้วเสร็จตามแบบรูปรายการหรือตามวัตถุประสงค์ของสัญญาได้ นอกจากนี้ ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุตามพระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการเกี่ยวกับการประกันความชำรุดบกพร่องภายหลังหน่วยงานของรัฐได้รับงานตามสัญญาไว้แล้ว ในหมวดการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ การดำเนินการเกี่ยวกับการประกันความชำรุดบกพร่องจึงถือเป็นการบริหารสัญญาด้วย แต่ระเบียบฯ ก็ได้กำหนดผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการดังกล่าวไว้ชัดเจนแล้ว การบริหารสัญญาในส่วนนี้จึงไม่ใช้หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เมื่อมีการลงนามในสัญญาหรือมีการแก้ไขสัญญาแล้ว เป็นหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา ส่วนการบริหารสัญญาเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในการบริหารให้การปฏิบัติหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา รวมทั้งสิทธิในการขอขยายเวลาทำการตามสัญญา สิทธิในการของดหรือลดค่าปรับ หน้าที่ในการแจ้งสิทธิในการเรียกค่าปรับ หน้าที่ในการบอกสงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับ และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา แต่ในระหว่างการบริหารสัญญาหากมีกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงบางอย่างในสัญญาได้ หรือปฏิบัติตามแล้วอาจไม่เป็นผลดีต่อวัตถุประสงค์ของสัญญา หรือถ้าแก้ไขข้อตกลงบางอย่างในสัญญาแล้วจะเป็นผลดีต่อวัตถุประสงค์ของสัญญาหรือประโยชน์สาธารณะมากกว่าก็มีเหตุผลหรือความจำเป็นในการแก้ไขสัญญา แต่พระราชบัญญัติฯ และระเบียบฯ ที่กำหนดแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขสัญญาไว้ในหมวดการทำสัญญาและหลักประกัน การแก้ไขสัญญาจึงไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยตรง อย่างไรก็ดี เงื่อนไขในการแก้ไขสัญญานอกจากจะต้องมีความจำเป็นต้องแก้ไขโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้และการแก้ไขนั้นต้องไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียประโยชน์ หรือต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะแล้ว ยังต้องอยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญา อีกทั้งยังต้องพิจารณาเปรียบเทียบรายละเอียดของงานและค่าจ้างของงานตามสัญญากับงานที่จะทำการแก้ไขนั้นก่อนแก้ไขสัญญา รวมทั้ง กรณีที่เป็นงานเทคนิคเฉพาะอย่างจะต้องได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองงานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้นด้วย ซึ่งในหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุจะต้องรู้ขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์ของสัญญา รายละเอียด และเงื่อนไขดังกล่าวเป็นอย่างดีตั้งแต่แรกแล้ว จึงควรมอบหมายให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในการพิจารณาเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ เพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่ที่จะแก้ไขนั้น รวมทั้งการคำนึงถึงความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาด้วย ดังนั้น คณะกรรมการตรวจรับพัสดุจึงควรมีหน้าที่และความรับผิดชอบในกระบวนการบริหารสัญญา ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาการแก้ไขสัญญา (1) พิจารณาว่าเป็นกรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขได้ ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 97 วรรคหนึ่ง อยู่ภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์เดิมของสัญญาตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคหนึ่ง และมีความจำเป็นหรือสมควรต้องมีการแก้ไขสัญญาตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.3/ว 476 ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖2 (ว 476) หรือไม่ (2) กรณีที่เห็นว่าอยู่ในดุลพินิจผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้าง และมีความจำเป็นหรือสมควรต้องแก้ไขสัญญา ต้องเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือสั่งการให้แก้ไขสัญญา ตามระเบียบฯ ข้อ 161 วรรคหนึ่ง และ ว 476 (3) เมื่อผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือสั่งการให้แก้ไขสัญญาแล้วให้จัดทำรายละเอียดของงานที่จะแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นไปตามหลักวิชาการ ตามระเบียบฯ ข้อ 165 (4) จัดทำรายละเอียดการเปรียบเทียบคุณภาพ และรายละเอียดการเปรียบเทียบค่างานตามสัญญาเดิมกับที่จะทำการแก้ไขสัญญา ตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่เป็นการจ้างงานเทคนิคเฉพาะอย่างจะต้องได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองงานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้นด้วย ตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคหนึ่ง (5) กรณีที่มีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 97 วรรคสาม (6) เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการแก้ไขสัญญา ตามระเบียบฯ ข้อ 165 วรรคสาม 2. บริหารสัญญาตามข้อกำหนดในสัญญา ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๑00 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่มิใช่สิ่งส่งมอบตามสัญญาโดยคณะกรรมการเองหรือมอบหมายให้กรรมการคนใดคนหนึ่งติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดในส่วนที่มิใช่สิ่งส่งมอบตามสัญญาและประสานงานกับตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจากคู่สัญญา แล้วรายงานคณะกรรมการและบันทึกในรายงานการประชุมของคณะกรรมการไว้เป็นหลักฐาน 3. เร่งรัดให้เข้าปฏิบัติงานตามสัญญา ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 124 ลงวันที่ ๑ มีนาคม 2566 (ว 124) ข้อ 2.1 ดังนี้ 3.1.1 ลงนามในสัญญาแล้วแต่ผู้รับจ้างไม่เข้าดำเนินการตามสัญญา ให้เสนอผู้มีอำนาจสั่งการให้มีหนังสือแจ้งเร่งรัดให้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการตามสัญญา โดยกำหนดระยะเวลาในการที่ผู้รับจ้างต้องเข้ามาดำเนินการตามสัญญาด้วย ตาม ว 124 ข้อ 2.1.1 3.1.2 ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการตามสัญญา แต่ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนการทำงานหรือระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้เสนอผู้มีอำนาจสั่งการให้มีหนังสือแจ้งเร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการทำงานหรือระยะเวลาดังกล่าว ตาม ว 124 ข้อ 2.1.2 4. กรณีสัญญาครบกำหนดส่งมอบและมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว ให้พิจารณาเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้ออกหนังสือแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาจากผู้รับจ้างภายใน ๗ วันทำการ นับถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบ ตามระเบียบฯ ข้อ 181 5. กรณีสัญญาครบกำหนดส่งมอบแล้วและมีค่าปรับเกิดขึ้น และมีการให้ออกหนังสือแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาต่อผู้รับจ้างแล้ว ให้จัดเตรียมและเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พิจารณาสั่งการให้ออกหนังสือบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับเตรียมไว้เพื่อมอบให้ผู้รับจ้าง ในขณะที่รับมอบพัสดุ เมื่อผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุนั้น ตามระเบียบฯ ข้อ 181 6. กรณีผู้รับจ้างขอขยายเวลาทำการตามสัญญาที่ยังไม่ครบกำหนดส่งมอบและยังไม่มีค่าปรับเกิดขึ้น ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 ระเบียบฯ ข้อ 182 และหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 52 ลงวันที่ 31 มกราคม 2562 (ว 52) (1) พิจารณาว่าเป็นกรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้ขยายเวลาทำการตามสัญญาในกรณีใด (2) พิจารณาว่ามีจำนวนวันที่เป็นเหตุทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้ ซึ่งเกิดขึ้นจริงโดยมีหลักฐานการเกิดเหตุหรือรายงานการประชุมของคณะ กรรมการเกี่ยวกับการเกิดเหตุดังกล่าว (3) พิจารณาว่าผู้รับจ้างแจ้งได้เหตุดังกล่าวให้ทราบภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง อันเป็นเงื่อนไขการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา หรือไม่ เว้นแต่เป็นเหตุที่เกิดจากความผิดหรือบกพร่องของผู้ว่าจ้างหรือคณะกรรมการซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือคณะกรรมการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น (4) เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการขยายเวลาทำการตามสัญญา 7. พิจารณากรณีผู้รับจ้างของดหรือลดค่าปรับตามสัญญาที่ครบกำหนดส่งมอบและมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 ระเบียบฯ ข้อ 182 และ ว 52 (1) พิจารณาว่าเป็นกรณีที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้งดหรือลดค่าปรับในกรณีใด (2) พิจารณาจำนวนวันที่เป็นเหตุทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้ ซึ่งเกิดขึ้นจริงโดยมีหลักฐานหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการเกี่ยวกับการเกิดเหตุดังกล่าว (3) พิจารณาว่าผู้รับจ้างได้แจ้งเหตุดังกล่าวให้ทราบภายใน ๑๕ วัน นับถัดจากวันที่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง อันเป็นเงื่อนไขการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา หรือไม่ เว้นแต่เป็นเหตุที่เกิดจากความผิดหรือบกพร่องของผู้ว่าจ้างหรือคณะกรรมการซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือคณะกรรมการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น (4) เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการงดหรือลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้าง (5) พิจารณาการบอกเลิกสัญญา ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (๒), ว 124 (6) กรณีมีเหตุที่อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจซึ่งอาจพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการให้บอกเลิกสัญญาได้ ให้พิจารณาว่ามีเหตุที่ทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญา อันเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของผู้ว่าจ้างหรือคณะกรรมการ ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือคณะกรรมการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น หรือเกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย หรือเกิดจากเวลาที่คณะกรรมการใช้ไปในการตรวจรับงาน อันมิใช่ความผิดของผู้รับจ้าง และอยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่อาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายเวลาทำการตามสัญญาหรืองดหรือลดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้างได้ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 และระเบียบฯ ข้อ 182 เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีให้คณะกรรมการพิจารณาร่วมกับผู้รับจ้างว่าเหตุดังกล่าวทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบสิ่งของตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้เป็นจำนวนกี่วันเพื่อให้ผู้รับจ้างใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขอขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือของดหรือลดค่าปรับ กรณีที่ผู้รับจ้างไม่ใช้สิทธิหรือใช้สิทธิเรียกร้องขอขยายเวลาทำการตามสัญญาแล้วยังมีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบพัสดุภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (2) ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการบอกเลิกสัญญา (7) กรณีมีเหตุอันเชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (๒) และ ว 124 ข้อ 2.1 อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (7.1) เมื่อลงนามในสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างไม่เข้าดำเนินการตามสัญญาและได้มีหนังสือแจ้งเร่งรัดให้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการตามสัญญา โดยกำหนดระยะเวลาที่ผู้รับจ้างต้องเข้ามาดำเนินการด้วย แต่ผู้รับจ้างไม่เข้าดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ตาม ว 124 ข้อ 2.1.1 (7.2) กรณีที่ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการตามสัญญา แต่มีความล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนการทำงานหรือระยะเวลาที่กำหนดไว้ และได้มีหนังสือแจ้งเร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการทำงานหรือระยะเวลาดังกล่าวแล้ว แต่ผู้รับจ้างยังมีความล่าช้า ตาม ว 124 ข้อ 2.1.2 (7.3) กรณีที่ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการตามสัญญา แต่มีความล่าช้า ดังต่อไปนี้ - เมื่อล่วงเลยระยะเวลาไปเกิน ๑ ใน ๒ ของระยะเวลาตามแผนการทำงานแล้วผู้รับจ้างมีผลงานสะสมไม่ถึงร้อยละ ๒๕ ของวงเงินค่าจ้าง โดยความล่าช้าเป็นความผิดของผู้รับจ้าง - เมื่อล่วงเลยระยะเวลาไปเกิน ๑ ใน ๒ ของระยะเวลาตามแผนการทำงานแล้ว ผู้รับจ้างมีผลงานประจำเดือนที่ตั้งไว้ไม่ถึงร้อยละ ๕๐ ชองแผนการทำงานประจำเดือน และมีผลงานสะสมไม่ถึงร้อยละ ๕๐ ของวงเงินค่าจ้าง โดยความล่าช้าเป็นความผิดของผู้รับจ้าง - เมื่อล่วงเลยระยะเวลาไปเกิน 3 ใน 4 ของระยะเวลาตามแผนการทำงานแล้ว ผู้รับจ้างมีผลงานสะสมไม่ถึงร้อยละ 6๕ ของวงเงินค่าจ้าง โดยความล่าช้าเป็นความผิดของผู้รับจ้าง - เมื่อครบกำหนดส่งมอบตามสัญญา ผลงานสะสมน้อยกว่าร้อยละ 8๕ ของวงเงินค่าจ้าง - เมื่อครบกำหนดส่งมอบตามสัญญา และมีจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการให้บอกเลิกสัญญา แล้วเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้รับจ้างเพื่อบอกเลิกสัญญา เรียกค่าปรับถึงวันที่บอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันสัญญา (8) พิจารณาการบอกเลิกสัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 วรรคหนึ่ง (3) และสัญญาจ้างทำของ ข้อ 6 กรณีมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ - ผู้รับจ้างมิได้ลงมือทำงานภายในกำหนดเวลา - ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา - เหตุให้เชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา - เหตุให้เชื่อได้ว่าผู้รับจ้างจะทำงานแล้วเสร็จล่าช้าเกินกว่ากำหนดเวลา - ผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง - ผู้รับจ้างตกเป็นผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด - ผู้รับจ้างตกเป็นผู้ล้มละลาย - ผู้รับจ้างเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการให้บอกเลิกสัญญา แล้วเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้รับจ้างเพื่อบอกเลิกสัญญา เรียกค่าปรับถึงวันที่บอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันสัญญา (9) พิจารณาการบอกเลิกสัญญากรณีครบกำหนดเวลาส่งมอบงานตามเงื่อนไขและกำหนด เวลาตามสัญญาแล้วแต่ผู้รับจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ และจำนวนเงินค่าปรับที่เกิดขึ้นใกล้จะถึงร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 103 (๔) ระเบียบฯ ข้อ 183 และหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 83 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 (ว 83) ดังต่อไปนี้ (10) มีเหตุซึ่งทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบสิ่งของตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้ ที่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของผู้ซื้อหรือคณะกรรมการซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้ง หรือคณะกรรมการทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น เกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายเกิดจากเวลาที่คณะกรรมการใช้ไปในการตรวจรับงาน หรือไม่ กรณีที่มีเหตุดังกล่าว ให้คณะกรรมการพิจารณาร่วมกับผู้รับจ้างว่าเหตุดังกล่าวทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบสิ่งของตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาแห่งสัญญาได้เป็นจำนวนกี่วันเพื่อให้ผู้รับจ้างใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาของดหรือลดค่าปรับ (11) กรณีสัญญาครบกำหนดส่งมอบแล้วและมีค่าปรับเกิดขึ้น หรือกรณีที่หลังจากได้รับอนุมัติให้งดหรือลดค่าปรับแล้ว (ถ้ามี) จำนวนเงินค่าปรับยังใกล้จะถึงร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญา ให้คณะกรรมการพิจารณาเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งบอกกล่าวแก่ผู้รับจ้างว่าจำนวนเงินค่าปรับใกล้จะถึงร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาแล้วและจะดำเนินการบอกเลิกสัญญาต่อไป เว้นแต่ผู้รับจ้างจะได้มีหนังสือแจ้ง ว่ายินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตาม ว 83 ข้อ 1 (12) กรณีที่ผู้รับจ้างได้มีหนังสือแจ้งว่ายินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ภายใน ระยะเวลาที่กำหนด ให้คณะกรรมการพิจารณาประเมินความคืบหน้าการดำเนินการตามสัญญาของผู้รับจ้างว่าการผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาจะทำให้ผู้รับจ้างสามารถส่งมอบพัสดุได้หรือไม่ กรณีที่เห็นว่าควรผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญา ให้เสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาและสั่งการให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและให้จัดทำแผนการทำงานที่มีกำหนดระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จชัดเจนเสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าเมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา และต้องดำเนินการตามสัญญาและแผนการทำงานดังกล่าวโดยเร็ว ตาม ว 83 ข้อ 2 กรณีที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือสั่งการให้บอกเลิกสัญญา แล้วเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้รับจ้างเพื่อบอกเลิกสัญญา เรียกค่าปรับถึงวันที่บอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันสัญญา (13) กรณีที่ผู้รับจ้างได้มีหนังสือแจ้งว่ายินยอมเสียค่าปรับโดยมีเงื่อนไข หรือไม่มีหนังสือแจ้งความยินยอมเสียค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันควร ให้เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติการบอกเลิกสัญญา แล้วเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้า เจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้รับจ้างเพื่อบอกเลิกสัญญา เรียกค่าปรับถึงวันที่บอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันสัญญา ตาม ว 83 ข้อ 3 หน้าที่ในการตรวจรับพัสดุ 1. ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุหรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา กรณีจำเป็นต้องตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ต้องเสนอขออนุมัติต่อผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ก่อน ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (๑) 2. กรณีที่จำเป็นต้องมีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ และเห็นควรเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษา ให้เสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้า เจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาตามระเบียบฯ ข้อ 175 (2) วรรคหนึ่ง 3. กรณีที่จำเป็นต้องมีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ และเห็นควรส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ให้เสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นตามระเบียบฯ ข้อ 175 (2) วรรคหนึ่ง 4. ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติตามระเบียบฯ ข้อ 175 (2) วรรคสอง โดยต้องมีบันทึกวิธีการตรวจนับตามหลักวิชาการสถิติและผลการตรวจรับไว้เป็นหลักฐานด้วย 5. ตรวจรับงานในวันที่ผู้รับจ้างนำงานมาส่งและดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดตามระเบียบฯ ข้อ 175 (3) หากไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดได้ ให้รายงานเหตุที่ทำให้การล่าช้าเสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาอนุมัติขยายเวลาให้ตามความจำเป็นตามนัยระเบียบฯ ข้อ 25 วรรคสอง 6. กรณีตรวจสอบแล้วถูกต้องครบถ้วน ให้รับงานไว้และถือว่าผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมกับทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานจำนวน 3 ฉบับ มอบแก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ เจ้าหน้าที่ ๑ ฉบับ และแนบท้ายรายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐานจำนวน 1 ฉบับ แล้วรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อทราบ ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (4) วรรคหนึ่ง 7. ในกรณีที่เห็นว่างานที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งผู้รับจ้างแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 175 (4) วรรคสอง 8. ในกรณีที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และรีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (5) 9. ในกรณีที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และรีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (5) ในกรณีที่การส่งมอบครั้งนั้นมีค่าปรับเกิดขึ้นแล้ว ให้เสนอผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้ออกหนังสือบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับมอบให้ผู้รับจ้างในขณะที่ตรวจรับงานนั้น ตามระเบียบฯ ข้อ 181 10. กรณีตรวจรับงานที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบงานนั้น ให้รีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (6) 11. ถ้ากรรมการบางคนไม่ยอมรับงานโดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้รีบรายงานผู้มีอำนาจผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้มีอำนาจสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ ให้ดำเนินการตามข้อ 14 – ข้อ 18 แล้วแต่กรณี ตามระเบียบฯ ข้อ 175 (7) การประชุมคณะกรรมการ 1. ในการประชุมทุกครั้ง ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยประธานกรรมการต้องอยู่ด้วยทุกครั้งในการประชุม ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 27 วรรคหนึ่ง ในการประชุมที่มีวาระการพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของงาน ควรมีกรรมการผู้ชำนาญการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าร่วมประชุมพิจารณาด้วย ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 26 วรรคสี่ 2. ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 27 วรรคสอง กรณีมติของคณะกรรมการไม่เป็นเอกฉันท์ ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ในรายงานการประชุม และกรรมการที่ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ ให้ทำความเห็นแย้งในการประชุม แล้วบันทึกความเห็นแย้ง ไว้ในรายงานการประชุมด้วย ตามนัยมาตรา 83 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ 3. ประธานหรือกรรมการที่ทราบว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรืออาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอในการจ้างครั้งนี้ ให้ลาออกและรายงานผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งตามนัยระเบียบฯ ข้อ 27 วรรคห้า 4. จัดทำรายงานการประชุมทุกครั้ง ตามนัยมาตรา 83 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยประธานกรรมการกับกรรมการและเลขานุการเป็นผู้ลงนามรับรองในรายงานการประชุม ยกเว้นรายงานการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนรายงานผลการพิจารณา ให้ประธานกรรมการและกรรมการทุกคนที่เข้าประชุมลงนามในรายงานการประชุม 5. พิจารณาให้แล้วเสร็จและรายงานผลการพิจารณาเพื่อขอความเห็นชอบผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ภายใน.......วัน นับถัดจากวันที่ได้รับคำสั่ง ถ้ามีเหตุที่ทำให้ล่าช้า ให้รายงานเหตุที่ทำให้ล่าช้าเพื่อขออนุมัติขยายเวลาตามความจำเป็น ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 25 วรรคสอง 6. ประธานและกรรมการซึ่งไม่ใช่ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ตามพระราช บัญญัติฯ มาตรา 6๑ วรรคสาม หน้าที่และการรายงานของผู้ควบคุมงาน 1. ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาทุกวัน ให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญา สั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดแล้วแต่กรณีไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจ้างจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง และรายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้างทันที 2. สั่งพักงานและรายงานคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้างโดยเร็ว ในกรณีที่ (1) แบบรูปรายการละเอียดหรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกัน หรือ (2) เป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการและข้อกำหนดในสัญญาแต่เมื่อสำเร็จแล้วจะ - ไม่มั่นคงแข็งแรง หรือ - ไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือ - ไม่ปลอดภัย 3. จดบันทึก (1) สภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างโดยระบุ - รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และ - วัสดุที่ใช้ (2) เหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน ที่แสดงว่ามีผู้ควบคุมงานของผู้รับจ้างที่ได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้างและจำนวนแรงงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานที่ก่อสร้าง เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ที่จำเป็นในการก่อสร้าง รวมทั้งเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง (3) ผลการปฏิบัติงานที่แสดงรายการปริมาณงานที่ทำได้เป็นหน่วยตามใบแจ้งปริมาณงานและราคา (BOQ) เป็นร้อยละของปริมาณงานที่ทำได้เป็นหน่วยตาม BOQ (4) การหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานจำนวน 3 ฉบับ เพื่อมอบให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้างพร้อมรายงานทุกสัปดาห์ จำนวน 1 ฉบับ เก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด จำนวน 1 ฉบับ และเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่ จำนวน 1 ฉบับ 4. รายงานให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้างทราบทุกสัปดาห์ 5. ตรวจการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างในวันกำหนดเริ่มงานของผู้รับจ้างตามสัญญา และรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง ทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันกำหนดเริ่มงาน 6. ตรวจการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด และรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง ทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันถึงกำหนด

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1593
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
การประชุมวิชาการ » อบรมรู้จักระบบและเกณฑ์ AUN-QA ใน ๑ วัน
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.เชิดชัย มีเอียด พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติฯ เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม เรื่อง “รู้จักระบบและเกณฑ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน เชิดชัย มีเอียด  วันที่เขียน 30/9/2565 13:58:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/7/2568 3:54:23   เปิดอ่าน 2250  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเท...
บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/7/2568 11:04:12   เปิดอ่าน 2344  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง