ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา ราชกิจ พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติและการจัดการสารสนเทศ เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 5th International Conference on Science Technology & Innovation (5th ICSTI) - Maejo University ในวันที่ 28 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ ๑. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ จากการเข้าร่วมร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 5th International Conference on Science Technology & Innovation (5th ICSTI) - Maejo University ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นำเสนอผลงานโดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ ดังนี้ 1.1 งานวิจัยเรื่อง “Overexpression of hsa_circ_0006060 in human papillomavirus 16-positive cervical cancer and its role in cervical carcinogenesis” 1.2 งานวิจัยเรื่อง “Regression Imputation Method with Composite Regression Coefficients” 1.3 งานวิจัยเรื่อง “Constructing a Knowledge Graph of Programming Language Evolution from Wikipedia Infoboxes” 1.4 งานวิจัยเรื่อง “Optimizing Wi-Fi Access Point Allocation: A Case Study for Classroom Buildings at Thammasat University” 1.5 งานวิจัยเรื่อง “AI-Driven Behavioral Detection System for Exam Integrity” 1.6 งานวิจัยเรื่อง “Nonparametric Bootstrap Confidence Interval for Population Size in Capture-Recapture under a Linear Regression Models” 1.7 งานวิจัยเรื่อง “Factor Identification for Longan Price Prediction: A Case Study of Northern Thailand” 1.8 งานวิจัยเรื่อง “An AI-Powered Assistive System for Safe Navigation of the Visually Impaired” 1.9 งานวิจัยเรื่อง “Enhancing Blood Cell Classification and Fundamental Screening with Advanced 2D Imaging, Explainable Statistical Methods with Deep Learning Techniques” 1.10 งานวิจัยเรื่อง “An IoT-Enabled Smart Trash Can with Real-Time Monitoring and Automated Alerts” 1.11 งานวิจัยเรื่อง “Deep Learning-Based Detection of Drowsy and Unsafe Driving for Accident Prevention” 2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ 2.1 ได้รับองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสถิติ และคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการสอนและวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2.2 ฝึกทักษะการสื่อสารทางวิชาการ การถาม-ตอบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัยในอนาคต 3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) 3.1 งานวิจัยบางส่วนสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาให้กับนักศึกษาในรายวิชา 10304211 การวิเคราะห์ข้อมูล 2 ได้ 3.2 เป็นแนวทางในการทำงานวิจัยทางด้านโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อนำเสนอผลงานหรือตีพิมพ์เผยแพร่ในอนาคต