สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568
วันที่เขียน 7/4/2568 22:34:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 12:58:38
เปิดอ่าน: 6 ครั้ง

สรุปผลการเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต” 17-21 มีนาคม 2568 เป็นหลักสูตรฝึกอบรมโดยสำน้กพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาโปรแกรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต ให้สามารถเชื่อมต่อผู้ใช้กับผู้ให้บริการข้อมูลในระบบ Geospatial Data Clearinghouse ตามมาตราฐาน OGC (Open Geospatial consortium) และ ISO (International Standard Organization) โดยจะสามารถ - ค้นหา เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศตามมาตรฐาน OGC, ISO - สร้างและจัดการฐานข้อมูลเชิงแผนที่ (Geodatabase) ได้ - นำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ สู่ฐานข้อมูลได้ - สืบค้น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เบื้องต้น ผ่านฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ได้ - ใช้งานระบบบริการข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แสดงข้อมูลเชิงพื้นที่และปรับแต่งข้อมูล ด้วยซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และ Web Map Service ได้ - ทำงานกับข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบ geoJSON

แนวคิดโดยรวมของระบบนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการและให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ (GIS) ผ่านเว็บ โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ดังนี้:

  1. QGIS
    • ใช้ในการจัดการและเตรียมข้อมูล GIS
    • สามารถแปลงไฟล์เชิงพื้นที่ (Shapefile - .shp) เป็นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (PostGIS บน PostgreSQL)
    • สามารถส่งคำสั่ง Query ผ่านโปรแกรม pgAdmin ซึ่งมาพร้อม PostgreSQL เพื่อเรียกดูหรือวิเคราะห์ข้อมูลในฐานข้อมูล
  2. PostGIS + PostgreSQL (ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่)
    • PostgreSQL เป็นฐานข้อมูล และ PostGIS เป็นส่วนขยายที่รองรับข้อมูล GIS
    • รับข้อมูลจาก QGIS และจัดเก็บในรูปแบบที่สามารถใช้วิเคราะห์เชิงพื้นที่ได้
    • รองรับ RESTful API เพื่อให้บริการข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปแบบ JSON ผ่าน js
  3. GeoServer
    • ทำหน้าที่ให้บริการแผนที่ออนไลน์
    • สนับสนุนโปรโตคอล WMS (Web Map Service) และ WFS (Web Feature Service) เพื่อให้บริการข้อมูลแผนที่
    • ดึงข้อมูลจาก PostGIS และเผยแพร่เป็นแผนที่ที่เข้าถึงได้จากภายนอก
  4. MS4W (MapServer for Windows) + Apache Web Server
    • ใช้ในการให้บริการเว็บแอปพลิเคชัน
    • รองรับ HTML, PHP, CSS, และ JavaScript เพื่อแสดงข้อมูล GIS บนเว็บ
  5. Leaflet + Turf.js
    • Leaflet เป็นไลบรารี JavaScript สำหรับแสดงแผนที่บนเว็บ
    • js เป็นไลบรารีสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่บนเว็บ
    • ใช้ร่วมกันเพื่อสร้าง Web Map Interface ที่แสดงข้อมูลจาก GeoServer

สรุปกระบวนการทำงาน

  1. ข้อมูล GIS ถูกจัดการและเตรียมใน QGIS
  2. ข้อมูลถูกบันทึกลงในฐานข้อมูล PostGIS (PostgreSQL)  Run on pgAmin
  3. GeoServer ให้บริการข้อมูลแผนที่ผ่าน WMS/WFS  port: 8080

Start GeoServer Run on URL: http://localhost:8080/geoserver/web/

  1. js และ RESTful API เชื่อมต่อฐานข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลในรูปแบบ JSON  port: 3000

Start package nodemon index.js  d:\>nodeapp>nodemon index.js Run on URL: http://localhost:3000/api/pgconnect/...router process...

  1. เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Apache, MS4W) ใช้ HTML, PHP, CSS, JavaScript แสดงข้อมูล
  2. Leaflet และ js ใช้ในการสร้างแผนที่ออนไลน์ที่โต้ตอบได้  port: 8088 Run on URL: http://localhost:8088/mjuonemap/

 

 

อ่านต่อที่นี่

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1573
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนรู้ด้วย Microsoft Copilot ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot"
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "Enhance Teaching and Learning with Microsoft Copilot" ที่จัดโดย Microsoft Learn เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักการศึกษาในการเรียนรู้และนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการสอนและการเรีย...
AI ปัญญาประดิษฐ์  การเรียนการสอนดิจิทัล  การเรียนรู้ Microsoft  เทคโนโลยี Copilot  ประสิทธิภาพ     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน จักรกฤช เตโช  วันที่เขียน 4/4/2568 10:52:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/4/2568 21:21:28   เปิดอ่าน 399  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)” » เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)
เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50) และนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อวันที่ 25 - 27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
STT50  การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ  งานวิจัย     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ผู้เขียน ธวัลรัตน์ รัตนเดชานาคินทร์  วันที่เขียน 10/1/2568 14:11:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/4/2568 4:07:50   เปิดอ่าน 227  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง