รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : แม่โจ้
ระบบบริการของหน่วยงาน : การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) » การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)
การขอหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์) เป็นการให้บริการของงานอำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อนำเอกสารดังกล่าว ไปใช้ประกอบการยื่นขอวีซ่าไปต่างประเทศ รับรองสถานะและเงินค่าตอบแทนรายเดือน ฯลฯ โดยจัดทำในรูปแบบภาษาอังกฤษ
คำสำคัญ : บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ระบบ ERP  ระบบบริการของหน่วยงาน  ลดขั้นตอนการดำเนินการ  หนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษ (ออนไลน์)  อำนวยความสะดวก  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2095  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ธัฒฌา ธนัญชัย  วันที่เขียน 14/9/2564 15:40:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:03:46
บริการสื่อโสตทัศน์ » การพัฒนาบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ออนไลน์: กรณีศึกษา ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้
- การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาขนาดและคุณค่าของคอลเลคชันภาพยนตร์ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (2) เพื่อศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax (3) เพื่อศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมภาพยนตร์ ที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ มีสมมติฐาน 2 ประการคือ (1) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวนมากกว่ารายชื่อในห้องสมุด (2) รายชื่อภาพยนตร์ในบริการ ภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ที่มีคุณค่าจัดเป็นภาพยนตร์ดีเด่น มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายชื่อภาพยนตร์ดีเด่นในฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น และมีจำนวนมากกว่าจำนวนที่มีให้บริการในห้องสมุด ประชากรคือรายชื่อภาพยนตร์ทั้งหมดใน Monomax และห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฐาน ข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่นหรือ Film_OPAC ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST โปรแกรม CDS/ISIS สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า - 1. ขนาดคอลเลคชันภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax มีจำนวน 1,261 รายชื่อ (28.06% ของจำนวนภาพยนตร์ Monomax และห้องสมุดรวมกัน 4,494 รายชื่อ) ภาพยนตร์ของห้องสมุดในระบบ ALIST มีจำนวน 3,233 รายชื่อ (71.94%) จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1 และขนาดคอลเลคชันเฉพาะกลุ่มภาพยนตร์ดีเด่น ของ Monomax มีจำนวน 136 รายชื่อ เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น 4,761 รายชื่อ คิดเป็นร้อยละ 2.85 (น้อยกว่าร้อยละ 50) และเมื่อเปรียบเทียบกับห้องสมุดที่มี 1,416 รายชื่อ พบว่ามีน้อยกว่า จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 2 - 2. การศึกษาระบบเครื่องมือช่วยค้นหรือเข้าถึงภาพยนตร์ (OPAC และดรรชนี) ของบริการภาพยนตร์ออนไลน์ Monomax ในประเด็นระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ การบันทึกข้อมูล การสืบค้น การจัดการเซทผลลัพธ์ และการจัดการผลลัพธ์ ไม่ละเอียดหรือสมบูรณ์เท่าห้องสมุด และสืบค้นได้น้อยกว่า ในภาพรวมระบบของภาพยนตร์ Monomax แตกต่างจากระบบ OPAC ของห้องสมุด - 3. การศึกษาและทดลองพัฒนาแนวทางบริการบรรณานุกรมที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้ในการบริการสืบค้นภาพยนตร์จากระบบ OPAC ที่มีบริการหลายระบบ พบว่าสามารถกระทำได้สะดวก 2 วิธีคือ (1) การใช้ฐานข้อมูลเฉพาะทาง โดยอาศัยโปรแกรมหรือระบบฐานข้อมูลที่มีอยู่มาปรับใช้งาน คือโปรแกรมฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC (2) การสร้างระเบียนภาพยนตร์หลายระบบในระบบ ALIST แบบแยกระเบียน (ชื่อเรื่องเดียวกัน บันทึกแยกระเบียนกัน) คำสำคัญ : บริการบรรณานุกรม ; การค้นคืนสารสนเทศ ; ภาพยนตร์ออนไลน์ ; ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [end]
คำสำคัญ : การค้นคืนสารสนเทศ  บริการบรรณานุกรม  ภาพยนตร์ออนไลน์  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3218  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 27/8/2563 8:36:34  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:04:34
คอลเล็กชั่นพิเศษ » ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
คำสำคัญ : จากคำบอกเล่า  แม่โจ้  แม่โจ้ในอดีต  เรื่องเล่า  ศิษย์เก่า  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2128  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เยาวภา เขื่อนคำ  วันที่เขียน 18/8/2563 11:10:11  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:31:24
คอลเล็กชั่นพิเศษ » ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
คำสำคัญ : จากคำบอกเล่า  แม่โจ้  แม่โจ้ในอดีต  เรื่องเล่า  ศิษย์เก่า  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2128  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน เยาวภา เขื่อนคำ  วันที่เขียน 18/8/2563 11:10:11  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:31:24
งานวิจัยสถาบัน » งานหนักไม่เคยฆ่าคน vs Life-long Learnings
วาทะโอวาทที่รู้จักกันดี "งานหนักไม่เคยฆ่าคน" ถอดเป็นปรัชญาการศึกษาของมหาวทิยาลัยแม่โจ้ได้อย่างไร แล้ว Life-long Learnings เข้าไปผูกกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างไร Stay Tuned
คำสำคัญ : งานหนักไม่เคยฆ่าคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต Life-long learning  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2862  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุเนตร สืบค้า  วันที่เขียน 15/6/2563 10:08:35  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:39:42
บทความวารสาร » KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร
KM การทำรายการดรรชนีบทความวารสาร จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรม KM นี้ของบุคลากรในสายงาน พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด และได้นำเสนอ/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การวิเคราะห์และทำรายการในฐานะบรรณารักษ์ชำนาญการ ก็ ได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความรู้ที่ตนเองพอจะมีบ้างไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กัน เช่น MARC tag ต่างๆ, หัวเรื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งจะบันทึกเป็นคู่มือการทำ รายการบทความวารสารไว้แล้ว ในบันทึกกิจกรรม KM บทความ (blog) ครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่นำเสนอ ถึง "รายละเอียดเนื้อหา" ที่ได้เรียนรู้กันไป แต่ในที่นี้จะบันทึกเกี่ยวกับ "ประเด็นแง่คิด" ที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม KM ซึ่งมีบางประเด็น ที่ผู้เขียนสนใจและมีมุมมองที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสารของห้องสมุดเท่าที่ผ่านๆ มา พบว่าบรรณารักษ์และผู้จัดทำ ให้ความสำคัญกับการทำรายการเชิงพรรณนา (descriptive catalog) เช่น MARC tag ต่างๆ มากกว่าการทำรายการ เชิงเนื้อหา (subject catalog) ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่อง อันเป็นเครื่องมือ ช่วยการค้นคว้าของผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาเรื่องเกี่ยวกับ (know about) เนื้อเรื่อง (subject/content) โดยขณะนั้นผู้ใช้ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาอยู่ ซึ่งการค้นหาลักษณะ subject search นี้เป็นลักษณะการใช้สำคัญของการศึกษาเรียนรู้ 2. บรรณารักษ์และบุคลากรไม่เข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อมูลที่กรอก หรือบันทึก ข้อมูลดรรชนีในระบบจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ ข้อมูลการสืบค้นของผู้สืบค้น ข้อมูล การประมวลผลของโปรแกรมระบบงานห้องสมุด ทำให้การบันทึกข้อมูลบางอย่าง ว่า ควรบันทึกหรือไม่ บันทึกในรูปแบบ/แบบแผน (pattern) การพิมพ์เช่นไร บันทึกในเขต ข้อมูล (tag) ใด บันทึกในรูปแบบคำที่ใช้ทั่วไปหรือรหัสพิเศษ บันทึกในรูปแบบมาตรฐาน ใด (เช่น มาตรฐานหัวเรื่อง) บันทึกแล้วระบบจะประมวลผลอย่างไร บันทึกไว้แล้วจะ สามารถค้นคืนได้เช่นไร ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ทำให้การกำหนดแนวปฏิบัติงานบางอย่าง มีภาระในการทำงานโดยไม่จำเป็นหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เช่น เดิมมีการกำหนด ให้ลงข้อมูล tag 8 บางตำแหน่ง, tag 5xx, tag 041, tag 245 บางลักษณะ, tag 653 เป็นต้น ขณะเดียวกันก็อาจไม่ได้บันทึกข้อมูลที่ควรเน้นเพื่อการสืบค้น เช่น ข้อมูล tag 246, tag 6xx 3. มุมมองของบรรณารักษ์และผู้ทำการวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร มี ลักษณะแบบ ถูก/ผิด ต้องทำ/ไม่ต้องทำ แบบA/ไม่ใช่แบบA ใช้วิธีการAเท่านั้น/ไม่ใช้วิธีการB หรือวิธีอื่น ฯลฯ ในลักษณะว่ามีเพียง 2 อย่างให้เลือก หรือ ขาว/ดำ พวกเรา/ไม่ใช่ พวกเรา มิตร/ศัตรู อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จึงขาดความยืดหยุ่นในการพิจารณาปัญหา มักนำ มาซึ่งข้อถกเถียงที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอ ขาดการนำเสนอแนวทางต่างๆ ที่หลากหลายได้ รวมทั้งขาดการพูดคุยถึงการพัฒนาใหม่ๆ เช่น full-text ของบทความดิจิทัล การ Link เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลอื่น การร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำรายการระหว่างห้องสมุด 4. แนวทางปฏิบัติงาน ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน มีการมอบหมายให้บุคลากรต่างๆ ช่วย การปฏิบัติ โดยไม่ได้พิจารณาหรือให้ความสำคัญกับประเด็นพื้นฐานบางอย่าง เช่น คุณสมบัติ ของผู้ปฏิบัติงาน การพัฒนา/ฝึกอบรม/สอนงานแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ การตรวจสอบประเมินผลงานที่เป็นระบบ ทั่วถึง และสม่ำเสมอ 5. การวิเคราะห์และทำรายการบทความวารสาร ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางสารสนเทศ ศาสตร์ เช่น MARC tag ต่างๆ และดรรชนีหัวเรื่อง มีรายละเอียดที่ควรศึกษาเรียนรู้มาก ซึ่งกิจกรรม KM ไม่ควรจัดทำเพียงครั้งคราวเพื่อรายงานผลสถิติว่าจัดแล้วเท่านั้น แต่ควร มีการวางนโยบายและจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ (outline) ต่างๆ อย่างครอบคลุม ละเอียด มีการวางแผนการสอน/การเรียนรู้ การสร้างและเก็บสะสมสื่อการเรียนรู้ โดยอาจใช้ ตัวอย่างผลงานที่เป็นปัญหาหรือข้อถกเถียงมาเป็นสื่อเรียนรู้ด้วย สรุป แนวคิดนอกเหนือจากห้องประชุมครั้งนี้ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งอาจเกิดกิจกรรม KM ต่อๆ ไปที่จะช่วย นำความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลต่างๆ ออกมาเผยแพร่ต่อไปในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : MARC format  การบริหารองค์ความรู้  การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร  ดรรชนี  บทความวารสาร  รูปแบบการลงรายการแบบมาร์ค  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2100  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:51:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 10:10:13
บริการฐานข้อมูลเฉพาะทาง » KM ฐานข้อมูลภาพยนตร์ ครั้งที่ 1 : สรุปประเด็นการนำเสนอ
จากสรุปผล KM ครั้งก่อนที่นำเสนอข้อมูลแบบทดสอบ Pre-test Post-test ซึ่ง เป็นข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม สรุปประเด็นที่ได้นำเสนอในกิจกรรม KM ครั้งที่ 1 มีดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย : การจัดกิจกรรมครั้งแรก มุ่งถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรห้องสมุด ที่ทำหน้าที่ให้บริการยืมคืน CD ภาพยนตร์ และ บรรณารักษ์ที่อาจทำหน้าที่บริการและช่วยการค้นคว้าสื่อ CD ภาพยนตร์ หรือ การประยุกต์แนวคิดการวิเคราะห์และทำรายการสื่อ ดรรชนีสื่อภาพยนตร์ ไปใช้ประโยชน์ 2. การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร : โดยที่การสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ในการนี้กล่าวถึงเพึยง 2 ประการ คือ (1) โปรแกรมระบบงานห้องสมุด เช่น ALIST, Film_OPAC, Innopac (ตัวอย่าง จากห้องสมุดอื่น) และ (2) ข้อมูลการวิเคราะห์และทำรายการของบรรณารักษ์ ว่ามีความละเอียด ลึกซึ้งเพียงใด มีการออกแบบระบบข้อมูลบรรณานุกรมและดรรชนีที่เอื้อต่อการสืบค้นด้วยช่องทาง ต่างๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ฯ ไม่ว่าจะดูแลสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุดประเภทใด สามารถศึกษาและนำไปพัฒนางานตนเองได้ โดยที่โปรแกรมห้องสมุดอาจ เป็นเงื่อนไขที่บรรณารักษ์ปรับเปลี่ยนได้ยาก แต่งานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของ บรรณารักษ์เองอยู่ในเงื่อนไขที่บรรณารักษ์สามารถปรับเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับ โปรแกรม Film_OPAC ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาขึ้นนี้ เป็นเครื่องมือช่วยการ บริการผู้ใช้ได้สอดคล้องกับสารสนเทศสื่อภาพยนตร์มากกว่าระบบโปรแกรม ALIST ที่ห้องสมุด ใช้งานอยู่ หรือโปรแกรมระบบงานห้องสมุดต่างๆ ที่ออกแบบมาโดยเน้นหนังสือเป็นหลัก (เช่น Innopac) 3. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด : กรณีสื่อ CD ภาพยนตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย แม่โจ้ สามารถพัฒนาขนาดคอลเลคชัน (size or scope) จำนวนประมาณ 3,200 ชื่อเรื่อง จัดอยู่ในลำดับ 6 (โดยประมาณ) ของประเทศ ส่วนการพัฒนาสารสนเทศภาพยนตร์ หรือข้อมูล บรรณานุกรมสื่อ มีความละเอียดมากกว่าห้องสมุดแห่งอื่น จัดอยู่ในลำดับ 1 ของประเทศ โดยใน ส่วนฐานข้อมูล Film_OPAC เอง เมื่อสืบค้นจาก Search engine คือ Google ด้วยคำค้น เกี่ยวกับ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ พบว่าฐานข้อมูลของห้องสมุดคือ Film_OPAC นำเสนอในลำดับ ต้นๆ ในผลลัพธ์การค้นของ Google 4. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC เป็นผลลัพธ์จากงานพัฒนาคอลเลคชัน และ งานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ ซึ่งประสิทธิภาพการสืบค้นและนำเสนอสารสนเทศภาพยนตร์ ด้วยช่องทางสืบค้นและดรรชนีต่างๆ นั้น ได้มีการนำเสนอความรู้ระดับพื้นฐาน และได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กันในระดับเบื้องต้น เช่น ดรรชนีแบบจัดเตรียมรายการไว้ให้ (directory search) ดรรชนี ระบุคำค้น (word search) ของสารสนเทศภาพยนตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อนักแสดง ชื่อผู้กำกับ ประเทศ ประเภทภาพยนตร์ (genre) รางวัลภาพยนตร์ รายได้ภาพยนตร์ เนื้อหาภาพยนตร์ ที่ค้นได้จากคำ keywords และหัวเรื่อง โดยเทียบเคียงระบบ Film_OPAC กับ ALIST ด้วย 5. ตามหลักการ KM 4 ระดับคือ (1) Know what (2) Know how (3) Know why (4) Care why นั้น กิจกรรม KM ครั้งนี้มุ่งเพียง Know what ว่าข้อมูลภาพยนตร์ในระบบ โปรแกรม ALIST และ Film_OPAC คืออะไร ให้ข้อมูลอะไร และ Know how ในส่วนวิธี การสืบค้นด้วยดรรชนีต่างๆ ระดับเบื้องต้น (basic) อย่างสังเขปเท่านั้น ส่วนความรู้ ที่เป็น Know how ที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น วิธีการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ วิธีการจัดซื้อจัดหาสื่อ วิธีการวิเคราะห์และทำรายการ หรือการจัดทำดรรชนีเป็นอย่างไร และความรู้ ระดับ Know why ว่าสาเหตุใดจึงทำดรรชนีเช่นนั้น ตลอดจนความรู้ระดับ Care why ว่า ระบบดรรชนีและโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างไร และจะพัฒนาระบบดรรชนีต่อไปเช่นไรนั้น จะมี การนำเสนอในกิจกรรม KM ในอนาคต. ---end
คำสำคัญ : การบริหารองค์ความรู้  ฐานข้อมูล  บริการสื่อโสตทัศน์  ภาพยนตร์  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1995  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 13/4/2563 15:39:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:32:37
บริการสื่อโสตทัศน์ » KM บริการสารสนเทศภาพยนตร์
สืบเนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีงบประมาณ 2563 การเติมเต็มความรู้ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 มีการกำหนดให้ประเมินโดยการวัดผลความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม (pre-test, post-test) ด้วย ในการเติมเต็มความรู้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับบริการสารสนเทศภาพยนตร์ นำเสนอในมุมมองผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ไม่ใช่มุมมองผู้ใช้บริการ) ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ และจัดทำฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST และระบบ Elib เสริมด้วยโปรแกรมสืบค้น Film_OPAC จนทำให้คอลเลคชันภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในอันดับ Top 6 ของประเทศ และการลงรายการบรรณานุกรมหรือการจัดทำข้อมูลภาพยนตร์จัดอยู่ในอันดับ Top 1 ของประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถสืบค้นและใช้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้จากระบบ ALIST OPAC (http://opac.library.mju.ac.th) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น Elib + Film_OPAC (https://lib.mju.ac.th/film/) ในกระทู้ KM นี้นำเสนอเอกสาร pre-test, post-test ที่ใช้ทดสอบ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลัง กิจกรรม KM (Pre-test, Post-test) หัวข้อ บริการสารสนเทศภาพยนตร์ 18 พฤศจิกายน 2562 ---------------------------------- ชื่อผู้ทดสอบ …………………………………………………… 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ […] ออนไลน์ […] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ ……………… 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ……………….. เรื่อง (titles) 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส […] MARC 21 […] RDA […] MetaData […] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) […] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (ตอบได้>1) …………………… ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง ……………………. คำค้น ……………………………………………. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. ------------------------ แนวคำตอบ 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) [./.] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ [./.] ออนไลน์ [./.] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ…CDT… [วิชาการ CDA, CDE, CDS] 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ …3,200.. เรื่อง (titles) [+/- 10% ok] 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส [./.] MARC 21 […] RDA […] MetaData [./.] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) [./.] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) …OPAC ALIST……………………. … OPAC Film ฐานภาพยนตร์ดีเด่น …………. …แฟ้มประเภท (genre) ภาพยนตร์ …. … บอร์ดแนะนำ ….……………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (basic) ชื่อเรื่อง (+เพิ่ม) ชื่อบุคคล (ผู้กำกับ นักแสดง ฯลฯ) หัวเรื่อง เลขรหัส/หมู่ (add.) ภาพปก เรื่องย่อ ภาพยนตร์ใหม่ ประเภท ประเทศ รางวัล รายได้ Top 10 การเข้าฉาย ปี ถาม บร. 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) คะแนน Rating กลุ่มผู้ชม บริษัทผู้สร้าง Keyword (Assigned) รางวัล (+) ชื่อตัวละคร Plot คำคม Reference การโยง Thesaurus ภาพยนตร์ใกล้เคียง ภาพ Boolean App. 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง …หัวเรื่อง ………………. คำค้น …บิดา วิกฤติเศรษฐกิจ ถ้ำ …. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) 1. user interface, design ALIST ค้นสื่อรวมทุกประเภท ; OPAC Film ฐานเฉพาะทาง ค้นง่าย 2. คอลเลคชัน (scope, size) ALIST เฉพาะที่มีในห้องสมุด ; OPAC Film มีนอกเหนือ 3. สถานภาพ Item ALIST เชื่อมกับระบบยืมคืน ; OPAC Film ไม่เชื่อม (พัฒนาได้) 4. อื่นๆ (ระบุ) ………………………………………………………………………………….. ------------------------
คำสำคัญ : KM  การจัดการความรู้  ฐานข้อมูล  ดรรชนี  บริการของห้องสมุด  ภาพยนตร์  สื่อโสตทัศน์  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2418  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/11/2562 9:34:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:37:10
สรุปเนื้อหาการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 "ราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมสูประเทศไทย 4.0" ณ จ. ตรัง-2 » สรุปเนื้่อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561
ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ได้รับความรู้จากการร่วมรับฟังการเสวนา เรื่อง ดิจิทอลพลิกโลกเกษตร ยังได้รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ เรื่อง สมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้ เรื่อง การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด เรื่อง องค์ประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบดาหลาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอาง เรื่อง ผลิตภัณฑ์วุ้นมะพร้าวในน้ำกระเจี๊ยบแดงและการเก็บรักษา นอกจากนี้ ยังได้รับฟังการบรรยายในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เรื่อง ทักษะศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารการแสดงในสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการวิจัยขั้นสูง และยังได้ความรู้จากผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ได้แก่ เรื่อง ผลกระทบของการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในดินปลูกข้าวต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสมบัติบางประการของดินเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการน้ำแบบขังน้ำ เรื่อง การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสจากดินป่า และเรื่อง การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa ซึ่งทำให้ได้รับความรู้ที่จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัยและงานสอนได้ต่อไป
คำสำคัญ : ประชุมวิชาการแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3110  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สมคิด ดีจริง  วันที่เขียน 14/1/2562 15:18:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 7:11:32
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ในการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ข้าพเจ้าได้นำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK และได้รับฟังการบบรรยายพิเศษ เรื่อง ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร โดย พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ซึ่งทำให้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายหลายเรื่อง ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่นครพนม 1 โดย ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา ซึ่งได้กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตของลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 รวมถึงการปรับตัวของเกษตรกรในการแก้ปัญหาดังกล่าว การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง ความสามารถในการแก้หมันของละอองเรณูในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดย ยุวรัตน์ จันทสุข ซึ่งนำเสนอการตรวจสอบการแก้หมันของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 จึงจัดอยู่ในกลุ่ม B-line ของระบบ WA-CMS การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง การโคลนยีนและผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนจากยีน Mr-RPCH ของกุ้งก้ามกราม โดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล ซึ่งเป็นวิธีการผลิตโกรทฮอร์โมนของกุ้งในแบคทีเรีย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโตของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายเรื่องที่อยู่นอกศาสตร์ของสาขาวิชาอีก 6 เรื่อง การเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้กว้างขึ้นทั้งในศาสตร์ของสาขาวิชาพันธุศาสตร์และนอกสาขาวิชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต
คำสำคัญ : การแก้หมันของละอองเรณู  ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร  ประชุมวิชาการแม่โจ้  ยีน Mr-RPCH  ลิ้นจี่นครพนม 1  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 9/1/2562 10:41:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:39:47
ถอดบทเรียน KM/การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง » ถอดบทเรียน ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ www.erp.mju.ac.th
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการใหม่ รองรับการพัฒนาในรูปแบบ Responsive Web Design ที่สามารถปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ให้สัมพันธ์กับขนาดจอภาพ ในหลากหลายอุปกรณ์ ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย 34 ระบบงาน วัตถุประสงค์การพัฒนาระบบงาน เพื่อใช้เป็นระบบสารสนเทศกลางของมหาวิทยาลัย ให้เป็นข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน ตรวจสอบที่มาของข้อมูลได้ ลดการใช้ทรัพยากร ลดขั้นตอนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และการประกันคุณภาพ
คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ www.erp.mju.ac.th  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4661  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 14/8/2561 15:09:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:21:38
แชร์ประสบการณ์ต่างประเทศ » ตามหาหม่าล่าผ่านโครงการฝึกอบรมระยะสั้นที่ไต้หวัน
นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ 20 คน ตามหาหม่าล่าจากการเข้าร่วมโครงการรฝึกอบรมระยะสั้นระหว่าง 17 มีนาคม - 24 มิถุนายน 2561 จัดโดย Mechatronics Engineering, College of Engineering, National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
คำสำคัญ : หม่าล่า ไต้หวัน การฝึกอบรมระยะสั้น วิศวกรรมแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4663  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุเนตร สืบค้า  วันที่เขียน 3/4/2561 12:17:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:33:18
เรื่องนี้ต้องแบ่งปัน » ดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนดูตัว...เรียนรู้ดูงาน แล้วสร้างเสริมประสบการณ์
บทความเรื่อง "ดูหนัง ดูละคร แล้วย้อนดูตัว...เรียนรู้ดูงาน แล้วสร้างเสริมประสบการณ์" เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่องราวที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคลากรของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานที่โครงการตามพระราชประสงค์หุบกระพง จ.เพชรบุรี จึงขอนำเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันกันค่ะ
คำสำคัญ : โครงการหุบกระพง  ปาณิศา คงสมจิตต์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  องค์ความรู้  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : อาหาร ท่องเที่ยว กีฬา นันทนาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4262  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 22/5/2560 14:43:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:03:55
เก็บมาคิด...เก็บมาเขียน » จิตอาสา - จิตสาธารณะ...สร้างได้ด้วยตนเอง
การเป็นผู้รับ...เราได้รับอย่างมีความสุขกับสิ่งต่างๆ ที่มีผู้อื่นหยิบยื่นให้แก่เรา แต่เมื่อใดที่มีโอกาสและเราพร้อมที่จะทำได้ การได้เป็นผู้ให้...ย่อมเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า...ลองดูค่ะ แล้วจะรู้ว่าอานุภาพในฐานะแห่งการเป็นผู้ให้ (The Giving) นั้นจะช่วยทำให้เรามีความสุขและเกิดความภาคภูมิใจมากเพียงใด...
คำสำคัญ : คณะผลิตกรรมการเกษตร  จิตสาธารณะ  จิตอาสา  ปาณิศา คงสมจิตต์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ห้องสมุด  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4152  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 20/8/2559 9:38:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:59:05
เก็บมาคิด...เก็บมาเขียน » พักกาย-พักใจ ให้สงบ...เติมพลังให้ชีวิต
การดำเนินชีวิตในยุคศตวรราที่ 21 ต้องมีสติรู้เท่าทันสังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การทำสมาธิเพื่อให้จิตสงบเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้คนเรามีสติรู้เท่าทันพร้อมทั้งมีจิตใจที่เข้มแข็งสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นและมีความสุข การได้พักกาย-พักใจ ด้วยการทำสมาธิเป็นการช่วยเติมพลังให้กับชีวิต...
คำสำคัญ : เข้าพรรษา  คณะผลิตกรรมการเกษตร  ปาณิศา คงสมจิตต์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ศตวรรษที่ 21  ห้องสมุด  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4423  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 11/8/2559 16:25:41  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:03:48
สถานีวิทยุ » วิทยุดิจิตอล คืออะไร
.
คำสำคัญ : mjuradio  radiodigital  วิทยุดิจิตอล  สถานีวิทยุ  สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 23114  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วีระยุทธ แสนสุข  วันที่เขียน 22/6/2559 18:37:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:51:20
การศึกษา » KM พระเอก...ขององค์กร
การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการ"ก้าวแรกการจัดการความรู้(KM the 1 day) ครั้งนี้ นอกจากจะได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้(Knowledge Management) อย่างถูกต้อง ชัดเจน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานในหน้าที่ที่ปฏิบัติได้แล้ว สิ่งที่ได้รับยิ่งกว่านั้นคือมิตรภาพอันงดงามที่ก่อเกิดขึ้นมาะหว่างบุคลากรที่เข้ามารับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน...
คำสำคัญ : KM  Knowledge Management  การจัดการความรู้  คณะผลิตกรรมการเกษตร  ปาณิศา คงสมจิตต์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ห้องสมุด  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3539  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 2  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 25/5/2559 14:55:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 17:58:07
การศึกษา » ฉลาดคิด ฉลาดทำ...รู้เขา รู้เรา ด้วย IQ และ EQ
ผู้ที่มีไอคิว(IQ:Intelligence Quotient) และ อีคิว(EQ:Emotional Quotient)อยู่ในตนเอง มักจะประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้ดีกว่าผู้ที่มีไอคิวสูงๆ เพียงอย่างเดียวและเพราะเหตุใดอีคิวจึงมีความสำคัญ? ในบทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ....
คำสำคัญ : EQ  IQ  ความฉลาดทางสังคม  ความฉลาดสติทางปัญญา  ปาณิศา คงสมจิตต์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  อีคิว  ไอคิว  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3895  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 30/3/2559 11:34:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:23:53
การศึกษา » ความฉลาดทางสังคม(SQ)ในยุคศตวรรษที่ 21
ความฉลาดทางสังคมหรือเอสคิว(SQ:Social Quotient)เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิต เนื่องจากเป็นความสามารถในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่อยู่รอบตัวทั้งผู้คนและสิ่งแวดล้อม จึงทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข...
คำสำคัญ : SQ  ความฉลาดทางสังคม  ปาณิศา คงสมจิตต์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ศตวรรษที่ 21  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  เอสคิว  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6185  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 24/3/2559 14:41:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:40:45
การเผยแพร่ความรู้จากการอบรม » ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2558 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ รับฟังการนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย และรับชมการนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ โดยจะเกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อให้เกิดความร่วมมือในแวดวงของวิชาการต่อไป
คำสำคัญ : การประชุมวิชาการแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3163  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน รุ่งกานต์ ใจวงค์ยะ  วันที่เขียน 17/3/2559 19:39:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 17:48:26
เกร็คความรู้จากการประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ประจำปี 2558
การประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นงานประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้เข้ารับฟังบรรยายในหัวข้อวิจัยต่าง ๆ ทางด้านเกษตร ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัยเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างมากขึ้น สามารถนำเอาองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ต่อยอดและปรับปรุงงานวิจัยของตนเองได้ในอนาคต ามารถสร้างเครือข่ายงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักวิจัยและงานวิจัยทางด้านต่าง ๆ ของประเทศไทยให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
คำสำคัญ : นำเสนอผลงาน  ประชุมวิชาการ  แม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3032  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุภารัตน์ ลีธนัชอุดม  วันที่เขียน 14/3/2559 11:22:25  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 9:36:26
สรุปรายงานการอบรม » สรุปรายงานจากการเข้าร่วม โครงการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
โครงการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๘ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดประชุมวิชาการโดย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๘ ได้มีการเสนอผลงานวิจัยทั้งภาคบรรยาย และภาคโปรสเตอร์ในสาขาต่างๆ มากมาย เช่น สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร สาขาสังคมและมนุษยศาสตร์ จากหลายสถาบัน โดยการเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย ได้มีการบรรยายตามสาขา และห้องที่แยกกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเลือกเข้าฟังได้ตามความสนใจ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในงานวิจัย ทำให้เกิดความรู้และมุมมองที่หลากหลายยิ่งขึ้น ส่วนภาคโปรสเตอร์ ได้มีการจัดแสดงโปรสเตอร์วิชาการ บริเวณจัดงานประชุมฯ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเดินชม และสอบถามงานวิจัย ได้จากเจ้าของผลงานโดยตรง จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานวิจัย และการเรียนการสอนได้
คำสำคัญ : ประชุมวิชาการแม่โจ้ 2558  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5246  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ชมัยพร นิธิกาจณ์พานิช  วันที่เขียน 7/3/2559 14:28:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:47:31
พืชข้างรั้ว-สวนครัวน้อย » อยากความจำดี...ต้องกินใบบัวบก
คนทางภาคเหนือ(เชียงใหม่)เรียกใบบัวบกว่า"ผักหนอก" ทางภาคใต้เรียกว่า"ผักแว่น" แต่ เอ๊ะ...บนดอยสูง ชาวกะเหรี่ยง(แม่ฮ่องสอน)ก็มีเหมือนกัน แต่ที่นั่นเขาเรียกกันว่า "บะหนะเอขาเด๊าะ" สรรพคุณเหลือล้นมากมายเกินจะบรรยาย ลองเข้าไปอ่านดูกันค่ะ
คำสำคัญ : ใบบัวบก  ผักแว่น  ผักหนอก  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4959  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 29/10/2558 11:26:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:00:04
พืชข้างรั้ว-สวนครัวน้อย » หอมกลิ่น...ชมจันทร์
ดอกชมจันทร์ มีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันคือ "บานดึก"เนื่องจากดอกจะบานในช่วงเวลากลางคืนมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน ทำให้นอนหลับและเป็นยาระบายอ่อนๆ รวมทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการอุดมไปด้วย โปรตีน วิตามินบี ซี ฟอสฟอรัสและมีแคลเซียมสูง
คำสำคัญ : คณะผลิตกรรมการเกษตร  ชมจันทร์  พืชผักสวนครัว  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ห้องสมุด  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4452  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 22/10/2558 16:14:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:53:02
พืชข้างรั้ว-สวนครัวน้อย » ความเข้มแข็งและอ่อนโยนใน...กระเจี๊ยบเขียว
ดอกสีเหลือง ที่ขึ้นแซมประปรายอยู่ตามซอกของกิ่งก้านใบ ช่วยทำให้ต้นกระเจี๊ยบเขียวที่มียอดฝักเหลี่ยมยาวรี ตั้งตระหง่านชูฝักเขียวเข้มแข็งท้าทายอยู่บนลำต้น...ดูอ่อนโยนลงเมื่อได้ไปสัมผัส
คำสำคัญ : กระเจี๊ยบเขียว  กระเจี๊ยบมอญ  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4660  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 15/10/2558 16:17:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:09:03
พืชข้างรั้ว-สวนครัวน้อย » พืชข้างรั้ว-สวนครัวน้อย ตอน...ผักเก็งเค็ง
ผักเก็งเค็งมีชื่อเรียกหลายชื่อ บางแห่งเรียกส้มเก็งเค็ง บางคนเรียกส้มปูหรือส้มตะเลงเครง ถ้ายังนึกภาพไม่ออกว่าผักเก็งเค็งมีลักษณะอย่างไรหากบอกว่าคนทางภาคกลางรู้จักกันในนาม "กระเจี๊ยบแดง" หรือ "กระเจี๊ยบเปรี้ยว" ก็ต้องถึงบางอ้อ...กันทันที
คำสำคัญ : กระเจี๊ยบแดง  กระเจี๊ยบเปรี้ยว  ผักเก็งเค็ง  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4612  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 15/10/2558 11:57:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:00:05
บทความที่น่าสนใจ » คู่มือการออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยศรีกุล นันทะชมภู
คู่มือการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือสำหรับการพัฒนา การออกแบบระบบสารสนเทศ การจัดการฐานข้อมูล ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งนักพัฒนาระบบสารสนเทศจากทุกหน่วยงานจะต้องเข้าใจในกระบวนการวิธีการดำเนินงาน เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีแนวนโยบายไม่ให้แต่ละหน่วยงานไปจัดสร้างฐานข้อมูลซ้ำกับที่หน่วยงานกลางได้ดำเนินการ ซึ่งปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดเก็บไว้เป็นศูนย์ข้อมูลกลาง โดยกระบวนการบันทึก แก้ไข หรือปรับปรุงข้อมูลจะอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของข้อมูล เช่น ข้อมูลบุคลากร ให้กองการเจ้าหน้าที่ ข้อมูลทางด้านการเงิน ให้กองคลัง ข้อมูลนักศึกษา ให้สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ เป็นต้น
คำสำคัญ : คู่มือการปฏิบัติงานการออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4061  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 5/10/2558 15:59:36  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 14:05:52
ถอดบทเรียน KM/การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง » สรุปบทเรียนจากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “กฎหมายใกล้ตัว กฎหมายทางด้าน ICT”
เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการทำงานและการเรียนรู้ของบุคลากร เป็นสิ่งจำเป็นในการเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาตนเอง ในหัวข้อ “กฎหมายใกล้ตัว กฎหมาย ICT” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานเครือข่ายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความรู้และสามารถใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการใช้งานในลักษณะไม่ถูกต้อง จะมีผลผูกพันทั้งต่อตัวบุคคลและองค์กร
คำสำคัญ : นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537  พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8531  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ณัฐกฤตา โกมลนาค  วันที่เขียน 21/9/2558 14:50:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:38:38
เรื่องนี้ต้องแบ่งปัน » ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจากกลองหลวงล้านนาไทย
บทความเรื่อง"ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจากกลองหลวงล้านนาไทย"มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมส่งเสริมในด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยบทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารแม่โจ้ปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2558
คำสำคัญ : กลองหลวงล้านนา  ภูมิปัญญา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ศิลปวัฒนธรรม  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4482  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 7/9/2558 15:37:43  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:58:38
Green Life » Green life ตอน..."เรื่องราวของคนรักผัก"
การปลูกพืชผักสวนครัวในแนวเกษตรอินทรีย์ช่วยทำให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัย ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นส่วนหนึ่งของบุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอร่วมส่งเสริมสนับสนุนและสืบสานนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม นำไปบูรณาการสู่การปฏิบัติตามแนวทางของมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนสู่่การเป็น Organic Green and Eco University
คำสำคัญ : คนรักผัก  น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน  พืชผักสวนครัว  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4974  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 15/9/2557 10:44:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:51:48