KM ฐานข้อมูลภาพยนตร์ ครั้งที่ 1 : สรุปประเด็นการนำเสนอ
วันที่เขียน 13/4/2563 15:39:51     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:21:52
เปิดอ่าน: 1996 ครั้ง

จากสรุปผล KM ครั้งก่อนที่นำเสนอข้อมูลแบบทดสอบ Pre-test Post-test ซึ่ง เป็นข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม สรุปประเด็นที่ได้นำเสนอในกิจกรรม KM ครั้งที่ 1 มีดังนี้ 1. กลุ่มเป้าหมาย : การจัดกิจกรรมครั้งแรก มุ่งถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรห้องสมุด ที่ทำหน้าที่ให้บริการยืมคืน CD ภาพยนตร์ และ บรรณารักษ์ที่อาจทำหน้าที่บริการและช่วยการค้นคว้าสื่อ CD ภาพยนตร์ หรือ การประยุกต์แนวคิดการวิเคราะห์และทำรายการสื่อ ดรรชนีสื่อภาพยนตร์ ไปใช้ประโยชน์ 2. การวิเคราะห์และทำรายการเอกสาร : โดยที่การสืบค้นสารสนเทศภาพยนตร์ ที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ในการนี้กล่าวถึงเพึยง 2 ประการ คือ (1) โปรแกรมระบบงานห้องสมุด เช่น ALIST, Film_OPAC, Innopac (ตัวอย่าง จากห้องสมุดอื่น) และ (2) ข้อมูลการวิเคราะห์และทำรายการของบรรณารักษ์ ว่ามีความละเอียด ลึกซึ้งเพียงใด มีการออกแบบระบบข้อมูลบรรณานุกรมและดรรชนีที่เอื้อต่อการสืบค้นด้วยช่องทาง ต่างๆ มากน้อยเพียงใด ซึ่งบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ฯ ไม่ว่าจะดูแลสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุดประเภทใด สามารถศึกษาและนำไปพัฒนางานตนเองได้ โดยที่โปรแกรมห้องสมุดอาจ เป็นเงื่อนไขที่บรรณารักษ์ปรับเปลี่ยนได้ยาก แต่งานวิเคราะห์และทำรายการเอกสารของ บรรณารักษ์เองอยู่ในเงื่อนไขที่บรรณารักษ์สามารถปรับเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับ โปรแกรม Film_OPAC ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาขึ้นนี้ เป็นเครื่องมือช่วยการ บริการผู้ใช้ได้สอดคล้องกับสารสนเทศสื่อภาพยนตร์มากกว่าระบบโปรแกรม ALIST ที่ห้องสมุด ใช้งานอยู่ หรือโปรแกรมระบบงานห้องสมุดต่างๆ ที่ออกแบบมาโดยเน้นหนังสือเป็นหลัก (เช่น Innopac) 3. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด : กรณีสื่อ CD ภาพยนตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย แม่โจ้ สามารถพัฒนาขนาดคอลเลคชัน (size or scope) จำนวนประมาณ 3,200 ชื่อเรื่อง จัดอยู่ในลำดับ 6 (โดยประมาณ) ของประเทศ ส่วนการพัฒนาสารสนเทศภาพยนตร์ หรือข้อมูล บรรณานุกรมสื่อ มีความละเอียดมากกว่าห้องสมุดแห่งอื่น จัดอยู่ในลำดับ 1 ของประเทศ โดยใน ส่วนฐานข้อมูล Film_OPAC เอง เมื่อสืบค้นจาก Search engine คือ Google ด้วยคำค้น เกี่ยวกับ ฐานข้อมูลภาพยนตร์ พบว่าฐานข้อมูลของห้องสมุดคือ Film_OPAC นำเสนอในลำดับ ต้นๆ ในผลลัพธ์การค้นของ Google 4. ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น หรือ Film_OPAC เป็นผลลัพธ์จากงานพัฒนาคอลเลคชัน และ งานวิเคราะห์และทำรายการสื่อภาพยนตร์ ซึ่งประสิทธิภาพการสืบค้นและนำเสนอสารสนเทศภาพยนตร์ ด้วยช่องทางสืบค้นและดรรชนีต่างๆ นั้น ได้มีการนำเสนอความรู้ระดับพื้นฐาน และได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กันในระดับเบื้องต้น เช่น ดรรชนีแบบจัดเตรียมรายการไว้ให้ (directory search) ดรรชนี ระบุคำค้น (word search) ของสารสนเทศภาพยนตร์ต่างๆ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อนักแสดง ชื่อผู้กำกับ ประเทศ ประเภทภาพยนตร์ (genre) รางวัลภาพยนตร์ รายได้ภาพยนตร์ เนื้อหาภาพยนตร์ ที่ค้นได้จากคำ keywords และหัวเรื่อง โดยเทียบเคียงระบบ Film_OPAC กับ ALIST ด้วย 5. ตามหลักการ KM 4 ระดับคือ (1) Know what (2) Know how (3) Know why (4) Care why นั้น กิจกรรม KM ครั้งนี้มุ่งเพียง Know what ว่าข้อมูลภาพยนตร์ในระบบ โปรแกรม ALIST และ Film_OPAC คืออะไร ให้ข้อมูลอะไร และ Know how ในส่วนวิธี การสืบค้นด้วยดรรชนีต่างๆ ระดับเบื้องต้น (basic) อย่างสังเขปเท่านั้น ส่วนความรู้ ที่เป็น Know how ที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น วิธีการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ วิธีการจัดซื้อจัดหาสื่อ วิธีการวิเคราะห์และทำรายการ หรือการจัดทำดรรชนีเป็นอย่างไร และความรู้ ระดับ Know why ว่าสาเหตุใดจึงทำดรรชนีเช่นนั้น ตลอดจนความรู้ระดับ Care why ว่า ระบบดรรชนีและโปรแกรมมีข้อจำกัดอย่างไร และจะพัฒนาระบบดรรชนีต่อไปเช่นไรนั้น จะมี การนำเสนอในกิจกรรม KM ในอนาคต. ---end

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
คู่มือ » การสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST
คู่มือปฏิบัติงานเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในส่วนของการสร้างรายการบรรณานุกรมบทความวารสาร จากโปรแกรมวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials Control Module) และโปรแกรมระบบ Catalog...
บทความวารสาร  รายการบรรณานุกรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 21/8/2567 11:34:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:42:44   เปิดอ่าน 164  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ
การวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์จำนวนทรัพยากรสารสนเทศประเภทประเภทหนังสือตั้งแต่สำนักหอสมุดเปิดให้บริการ ถึงเดือน ธันวาคม 2565 แยกตามหมวดหมู่ ของสำนัก...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:49:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:59:06   เปิดอ่าน 144  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การเพิ่มรูปภาพปกหนังสือและการสแกนหน้าสารบัญหนังสือ
การลงรายการบรรณานุกรมหนังสือของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะต้องมีการเพิ่มรายการบทคัดย่อ เรื่องย่อ สาระสังเขป และสารบัญของหนังสือต่าง ๆ ที่จะต้องนำเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST สำหรับรูปภาพปก...
การเพิ่มปกหนังสือ  สแกนสารบัญ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:37:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:30:55   เปิดอ่าน 103  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » การสร้างรายการทรัพยากรวารสาร (item) เพื่อการยืม-คืน
ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวารสารเย็บเล่มออกเป็น 4 แนวทางด้วยกันคือ 1) การเย็บเล่มวารสารในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Alist 2) เย็บเล่มวารสารโดยการสร้างรายการทรัพยากรเป็นรายฉบับ 3)การเย็บเล่มวารสารจากการถ่า...
item  ทรัพยากรวารสาร  ยืม-คืน  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 20/8/2567 14:25:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:14:00   เปิดอ่าน 54  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
คู่มือ » คู่มือปฏิบัติงานการสร้างรายการทรัพยากรของวารสาร (item)
ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ คือระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (ALIST) ในส่วนของการลงทะเบียนที่เป็นการลงรับวารสารในส่วนของโมดู Serical C...
item  รายการทรัพยากรวารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานห้องสมุด
ผู้เขียน จิณาภา ใคร้มา  วันที่เขียน 18/6/2567 9:47:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:25:24   เปิดอ่าน 224  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง