รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : บริการของห้องสมุด
บริการสื่อโสตทัศน์ » KM บริการสารสนเทศภาพยนตร์
สืบเนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปีงบประมาณ 2563 การเติมเต็มความรู้ เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562 มีการกำหนดให้ประเมินโดยการวัดผลความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม (pre-test, post-test) ด้วย ในการเติมเต็มความรู้ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับบริการสารสนเทศภาพยนตร์ นำเสนอในมุมมองผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ไม่ใช่มุมมองผู้ใช้บริการ) ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ดำเนินการพัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ และจัดทำฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST และระบบ Elib เสริมด้วยโปรแกรมสืบค้น Film_OPAC จนทำให้คอลเลคชันภาพยนตร์ของมหาวิทยาลัยจัดอยู่ในอันดับ Top 6 ของประเทศ และการลงรายการบรรณานุกรมหรือการจัดทำข้อมูลภาพยนตร์จัดอยู่ในอันดับ Top 1 ของประเทศ ซึ่งผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถสืบค้นและใช้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้จากระบบ ALIST OPAC (http://opac.library.mju.ac.th) และฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น Elib + Film_OPAC (https://lib.mju.ac.th/film/) ในกระทู้ KM นี้นำเสนอเอกสาร pre-test, post-test ที่ใช้ทดสอบ แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลัง กิจกรรม KM (Pre-test, Post-test) หัวข้อ บริการสารสนเทศภาพยนตร์ 18 พฤศจิกายน 2562 ---------------------------------- ชื่อผู้ทดสอบ …………………………………………………… 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ […] ออนไลน์ […] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ ……………… 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ ……………….. เรื่อง (titles) 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส […] MARC 21 […] RDA […] MetaData […] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) […] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (ตอบได้>1) …………………… ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) …………………… …………………. ………………… ……………… …………………… …………………. ………………… ……………… 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง ……………………. คำค้น ……………………………………………. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) ………………………………………. ……………………………………………. ………………………………………. ……………………………………………. ------------------------ แนวคำตอบ 1. สื่อโสตทัศน์ที่มีบริการในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) [./.] CD […] VDO tape […] เทปคาสเส็ท […] แผ่นเสียง […] สไลด์ […] แผนที่ [./.] ออนไลน์ [./.] Video on demand 2. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด มีรหัส/เลขหมู่/เลขเรียก คือ…CDT… [วิชาการ CDA, CDE, CDS] 3. คอลเลคชันภาพยนตร์ห้องสมุด ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ …3,200.. เรื่อง (titles) [+/- 10% ok] 4. ปัจจุบันห้องสมุดทำรายการภาพยนตร์เช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) […] List รายชื่อและเลขรหัส [./.] MARC 21 […] RDA […] MetaData [./.] AACR2 5. ความละเอียดในการลงรายการภาพยนตร์ของห้องสมุด ม.แม่โจ้ เทียบกับห้องสมุดอื่นๆ (ตอบ>1ข้อ) [./.] Top3 (1ถึง3ของประเทศ) […] Top10 (4ถึง10ของประเทศ) […] ปานกลาง (เหมือนห้องสมุดทั่วไป) […] ด้อยกว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ 6. เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ที่ห้องสมุดมีบริการ มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) …OPAC ALIST……………………. … OPAC Film ฐานภาพยนตร์ดีเด่น …………. …แฟ้มประเภท (genre) ภาพยนตร์ …. … บอร์ดแนะนำ ….……………………………. 7. ช่องทางการค้นหาและให้บริการสารสนเทศภาพยนตร์ มีอะไรบ้าง (เช่น ค้นตามชื่อภาพยนตร์) (basic) ชื่อเรื่อง (+เพิ่ม) ชื่อบุคคล (ผู้กำกับ นักแสดง ฯลฯ) หัวเรื่อง เลขรหัส/หมู่ (add.) ภาพปก เรื่องย่อ ภาพยนตร์ใหม่ ประเภท ประเทศ รางวัล รายได้ Top 10 การเข้าฉาย ปี ถาม บร. 8. ช่องทางการค้นหาสารสนเทศภาพยนตร์ ที่ยังไม่มีบริการมีอะไรบ้าง (ตอบได้ >1) คะแนน Rating กลุ่มผู้ชม บริษัทผู้สร้าง Keyword (Assigned) รางวัล (+) ชื่อตัวละคร Plot คำคม Reference การโยง Thesaurus ภาพยนตร์ใกล้เคียง ภาพ Boolean App. 9. หากจะนำ CD ภาพยนตร์ไปเสนอร่วมกิจกรรม เช่น วันพ่อ วิกฤติเศรษฐกิจ การติดถ้ำ ฯลฯ จะค้นหา ได้จากช่องทาง …หัวเรื่อง ………………. คำค้น …บิดา วิกฤติเศรษฐกิจ ถ้ำ …. 10. ข้อแตกต่างระหว่าง “OPAC ALIST” กับ “OPAC Film ภาพยนตร์ดีเด่น” มีอะไรบ้าง (ตอบได้>1) 1. user interface, design ALIST ค้นสื่อรวมทุกประเภท ; OPAC Film ฐานเฉพาะทาง ค้นง่าย 2. คอลเลคชัน (scope, size) ALIST เฉพาะที่มีในห้องสมุด ; OPAC Film มีนอกเหนือ 3. สถานภาพ Item ALIST เชื่อมกับระบบยืมคืน ; OPAC Film ไม่เชื่อม (พัฒนาได้) 4. อื่นๆ (ระบุ) ………………………………………………………………………………….. ------------------------
คำสำคัญ : KM  การจัดการความรู้  ฐานข้อมูล  ดรรชนี  บริการของห้องสมุด  ภาพยนตร์  สื่อโสตทัศน์  ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2302  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 21/11/2562 9:34:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:49:06
บริการสื่อโสตทัศน์ » ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ภาพยนตร์เป็นทรัพยากรห้องสมุดที่มีคุณค่า สามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ของห้องสมุด ที่มี 5 ประการคือ การให้ความรู้ (education) ข่าวสาร (information) วิจัย (research) ความบันดาลใจ (inspiration) และนันทนาการ (recreation) หรือ EIRIR ได้หลายข้อ โดยเฉพาะด้านการให้ความรู้ นันทนาการพักผ่อนหย่อนใจ และความบันดาลใจ ทิศทางของบริการภาพยนตร์ในห้องสมุดต่างๆ ก็ให้ความสำคัญและมีการจัดซื้อจัดหามาบริการผู้ใช้ในห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พัฒนาคอลเลคชันภาพยนตร์ให้มีจำนวนมากขึ้น และคัดสรรภาพยนตร์ที่มีคุณค่ามาบริการผู้ใช้มากขึ้น จัดระบบสารสนเทศภาพยนตร์ให้มีความละเอียดสำหรับการสืบค้นเรื่องที่ต้องการ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการสืบค้นให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นจากการใช้โปรแกรมสืบค้น OPAC แบบปกติของห้องสมุด โดยตั้งชื่อว่า “ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น” ผู้สนใจสามารถใช้งานบริการสารสนเทศภาพยนตร์ได้ที่ https://lib.mju.ac.th/film/ หรือสามารถพิมพ์คำค้นจาก Google เช่น ฐานข้อมูลภาพยนตร์ หรือ แม่โจ้ ภาพยนตร์ เป็นต้น ระบบสืบค้นของ Google ก็จะแสดงข้อมูลเว็บต่างๆ ซึ่งเว็บเพจฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีอันดับผลการสืบค้นที่ดี สามารถขึ้นเป็นลำดับที่ 1 ของแหล่งข้อมูลในไทยได้ การใช้งานจะมีเมนูต่างๆ ให้ผู้สนใจเลือกค้นหาได้หลากหลายลักษณะ นักศึกษา คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยสามารถเลือกหาภาพยนตร์ที่ต้องการชมหรือใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งจากชื่อเรื่อง หรือจากคำค้นอื่นๆ เช่น รายชื่อภาพยนตร์ดีเด่น รางวัลภาพยนตร์ หัวข้อเรื่องที่ต้องการ เช่น ครู การศึกษา เกษตรกร นักธุรกิจ วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ฯลฯ ข้อมูลโดยละเอียดยังมีอีกมาก และห้องสมุดยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ กับผู้สนใจใช้สื่อภาพยนตร์ไม่ว่าจะเป็นด้านความบันเทิงหรือด้านวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นแง่ส่วนบุคคลหรือแง่การเรียนการสอนทางวิชาการหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามอัธยาศัย หากผู้สนใจมีข้อสงสัยและคำแนะนำใดๆ หรือข้อมูลเพิ่มเติม (ซึ่งผู้เขียน blog มีเอกสารที่เคยเป็นวิทยากรจัดอบรม และเอกสารวิจัยเพื่อพัฒนางาน R2R จำนวนหนึ่ง) กรุณาติดต่อผู้เขียน blog ซึ่งเป็นผู้บริการคอลเลคชันภาพยนตร์ได้ ซึ่งผู้เขียนพร้อมบริการผู้สนใจด้วยความยินดี. [end]
คำสำคัญ : ฐานข้อมูล  ดรรชนี  บริการของห้องสมุด  ภาพยนตร์  สื่อโสตทัศน์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานห้องสมุด
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2260  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุธรรม อุมาแสงทองกุล  วันที่เขียน 18/9/2562 16:49:03  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:48:45