ตามหาหม่าล่าผ่านโครงการฝึกอบรมระยะสั้นที่ไต้หวัน
วันที่เขียน 3/4/2561 12:17:38     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 4:38:38
เปิดอ่าน: 4557 ครั้ง

นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ 20 คน ตามหาหม่าล่าจากการเข้าร่วมโครงการรฝึกอบรมระยะสั้นระหว่าง 17 มีนาคม - 24 มิถุนายน 2561 จัดโดย Mechatronics Engineering, College of Engineering, National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

ตามหาหม่าล่าผ่านโครงการฝึกอบรมระยะสั้นที่ไต้หวัน 

โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร สืบค้า

สาขาวิศวรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ระหว่างวันที่ 18 – 21 มีนาคม 2561 ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปส่งนักศึกษาโครงการฝึกอบรมระยะสั้นที่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ซึ่งอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการนี้มี 2 ท่านได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ ซึ่งเป็นผู้นำโครงการนี้มายังมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และตัวผู้เขียนซึ่งเป็นผู้เดินทางไปส่งนักศึกษาที่ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในการนี้มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมโครงการ 20 คน คิดเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิศวกรรมเกษตร 13 คน และสาขาวิศวกรรมอาหาร 4 คน และคณะผลิตกรรมการเกษตร สาขาพืชไร่ 3 คน  การฝึกอบรมระยะสั้นดำเนินการอยู่ในช่วงวันที่ 17 มีนาคม - 24 มิถุนายน 2561 ภายใต้การดูแลของภาควิชา Mechatronics Engineering, College of Engineering, National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมในส่วนที่นักศึกษาต้องรับผิดชอบเองได้แก่ ค่าพาหนะเดินทางระหว่างประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ในช่วง 7,000-9,000 บาท ค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตซึ่งมีค่าใช้จ่ายวันละ 5 NTD ต่อคน ค่าใช้เครื่องปรับอากาศซึ่งมีค่าใช้จ่ายชั่วโมงละ 4 NTD ต่อห้อง (หากมีการใช้งาน) และค่าใช้จ่ายส่วนตัวซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 5000-10,000 บาทต่อคน สำหรับค่าใช้จ่ายที่ NPUST สนับสนุนได้แก่ ค่าหอพัก ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศ ค่าวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ และค่าอาหารสำหรับกรณีมีการเดินทางไปดูงานนอกสถานที่

หลักสูตรการฝึกอบรมประกอบไปด้วย 5 หัวข้อหลักๆ ได้แก่ 1) Factory Operations in Practice 2) Farm Engine 3) Field Motive Machine 4) Proceeded Harvest Primary Products และ 5) Agricultural Facilities โดยแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดดังนี้

1)      Factory Operations in Practice เนื้อหาประกอบไปด้วย basic processing operations in a factory, including welding, fitter, component processing and producing and other relevant skills.

2)      Farm Engine เนื้อหาประกอบไปด้วย structure introduction, basic repair and maintenance of gas and diesel engine for agricultural use.

3)      Field Motive Machine เนื้อหาประกอบไปด้วย knowledge regarding maintenance and operation skills required for field farming and planting related machine and equipment, including basic operation, repair and maintenance to farm tractor, pedestrian tractor, cultivator, plant setting machine, ditch, mower, power sprayer, farm wagon and others.

4)      Proceeded Harvest Primary Products เนื้อหาประกอบไปด้วย introducing skills to operate cleaning, precooling, grading, packaging, restoring, processing farm products, and other applications.

5)      Agricultural Facilities เนื้อหาประกอบไปด้วย introduction to facilities of control and applications of a greenhouse, a network room, and a plants factory. Introduction and application of facilities, equipment in a livestock industry and application of automation process control for Agricultural use.

ในช่วงแรกๆ ของการฝึกอบรม NPUST จัดให้มีการเรียนภาษาจีนฉบับเร่งรัดเพื่อการเอาตัวรอด และการจับคู่บัดดี้ระหว่างนักศึกษาไทย 1 คนกับนักศึกษาไต้หวัน 1-3 คน ในขั้นตอนนี้นักศึกษาไทยต้องแนะนำตนเองเป็นเวลาประมาณคนละ 1 นาทีต่อหน้านักศึกษาไต้หวันประมาณ 100 คน หลังจากนั้นจะมีการจับฉลากประกอบคู่บัดดี้เพื่อช่วยแนะนำนักศึกษาไทยให้สามารถมีชีวิตอยู่ในระหว่างการฝึกอบรมอย่างมีความสุขและมีอุปสรรคน้อยที่สุด ซึ่งทักษะที่นักศึกษาไทยจะต้องใช้คือ ทักษะทางด้านภาษาทั้งภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งการสื่อสาร

ในวันเปิดงานโครงการฝึกอบรมระยะสั้นนี้ จัดขึ้นในวันที่ 20 มีนาคม 2561 NPUST จัดอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งเปิดงานโดยอธิการบดี NPUST ที่ปรึกษาทางด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ คณบดี หัวหน้าภาควิชา และตัวแทนผู้ประกอบการเอกชนที่มีความร่วมมือกับ NPUST รวมทั้งแขกจากมหาวิทยาลัยสุรนารีซึ่งประกอบไปด้วย ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย และนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และคณะผู้ติดตาม พิธีเปิดเป็นไปอย่างเรียบง่าย กล่าวเปิดงานโดยอธิการบดี NPUST ตามด้วย ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน และที่ปรึกษาทางด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หลังจากนั้นจึงเป็นการแลกเปลี่ยนของที่ระลึกระหว่าง อธิการบดี NPUST กับผู้เขียน ซึ่งเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เพียงหนึ่งเดียว

ประโยชน์ที่นักศึกษาไทยคาดว่าจะได้รับจากการเข้าร่วมการฝึกอบรมระยะสั้น ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้แก่ ได้เรียนรู้วิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งการแปรสภาพผลผลิตเกษตรเบื้องต้น ได้ศึกษาวัฒนธรรมอื่นที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของประเทศไทย ได้เพื่อนใหม่ทั้งเพื่อนที่เป็นชาวไต้หวัน และเพื่อนชาวไทยที่เรียนหนังสืออยู่ที่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หรือเพื่อนนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกันเอง ได้ค้นพบตัวตนของตัวเองเพื่อวางแผนการเรียนต่อ และการทำงานในอนาคต ส่วนคณาจารย์ที่เป็นผู้ร่วมโครงการก็ได้เครือข่าย ซึ่งคิดว่าจะมีความร่วมมือทางวิชาการอื่น ๆ อีกต่อไป

วันสุดท้ายของทริป…หลังจากชมนิทรรศการคูโบต้าที่เมืองเกาสงเสร็จแล้ว Dr.Wei-Cheng Chen ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักของโครงการนี้ ขับรถมาส่งผู้เขียนที่สถานีรถไฟ Zuoying เมืองเกาสง เพื่อนั่งรถไฟความเร็วสูง (THSR) กลับไปไทเปกับภาระกิจตามหา “หม่าล่า” ระหว่างทางนั่งรถไฟกลับไทเปนั้นก็รู้สึกใจหายอย่างไรพิกล มีความผูกพันกับคนและสถานที่ และก็ได้คิดว่า “คนไต้หวันเป็นคนดีมาก สุภาพ อ่อนโยน ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่และมีความพยายามถึงแม้จะพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่ง และทำงานอย่างมืออาชีพมาก” พอมองย้อนกลับไปจงพบว่า สิ่งที่พบเห็นในแต่ละทริป…ล้วนเต็มไปด้วยความหมาย และท้ายที่สุดของวันนี้ ผู้เขียนก็ได้กิน “หม่าล่าไต้หวัน” สมใจ ถึงแม้จะใช้เวลารอคิวถึงกว่า 2 ชั่วโมง แต่ถือว่าคุ้ม ราคารวม service charge ตกคนละ 750 NTD ไป 2 คนเลือกเนื้อได้ 4 ชนิดและเลือกน้ำซุปได้ 2 ชนิด แต่ยุ่งยากที่สุดคือ “การปรุงน้ำจิ้ม” ซึ่งชวนปวดหัวมากเนื่องจากมีเครื่องเครากว่า 30 ชนิด สำหรับเครื่องดื่มนั้นมีทั้งชาชนิดต่าง ๆ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเบียร์ไต้หวัน ตบท้ายด้วยไอศครีม Haagen-Dazs และ Movenpick กว่าสิบรสชาติ สำหรับคนที่กลัวน้ำหนักขึ้น (ถึงขั้นนี้แล้วยังกลัวอยู่หรือ) ก็มีบาร์ผลไม้กับขนมเค้กหลากหลายชนิด ท้ายที่สุด หากมีโอกาสกลับไปไต้หวันอีกก็จะแวะไปตามหา “หม่าล่า” อีกเหมือนเดิม

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

https://www.youtube.com/watch?v=9b74Q-HPWyI

 


  

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : เรื่องทั่วไป
Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน » Active listening: ฟังอย่างไรให้ได้ยิน
การฟังเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างบุคคล หลายครั้งที่การสื่อสารนั้นไม่ได้ผล เพราะ "เราฟังแต่ไม่ได้ยิน" การฟังแต่ไม่ได้ยินเกิดขึ้นหลายครั้ง เพราะเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน พูนพัฒน์ พูนน้อย  วันที่เขียน 6/9/2562 16:49:13  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 9:16:34   เปิดอ่าน 3049  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
Creative Commons » จัดการลิขสิทธิ์โลกออนไลน์ ด้วยมาตรฐาน Creative Commons
ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวง กำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญา อนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โด...
creative commons  ลิขสิทธิ์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   เรื่องทั่วไป
ผู้เขียน อำนาจ ชิดทอง  วันที่เขียน 21/6/2562 15:11:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 3:50:12   เปิดอ่าน 94704  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง