Blog : ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ
รหัสอ้างอิง : 1644
ชื่อสมาชิก : ยุพเยาว์ คบพิมาย
เพศ : หญิง
อีเมล์ : yuppayao@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:42:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:42:00

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ
จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การนำวัสดุเหลือทิ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความรู้ด้านการแก้ไขจีโนม และอื่นๆ
คำสำคัญ : การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้  ประชุมวิชาการ  ภาวะโลกร้อน  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 136  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 19/6/2567 16:18:02  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 10:21:38
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการอบรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม
การสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายวิธี หลักการที่สำคัญคือการสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความรู้สึก/ความคิดเห็น นอกจากนี้การสร้างแรงจูงใจจากการแก้ปัญหาในสิ่งใกล้ตัวก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจที่จะแก้ปัญหามากขึ้น
คำสำคัญ : การสอน  ความคิดสร้างสรรค์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 559  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 1/3/2566 16:36:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:44:01
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 21 “พันธุศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: Genetics for Sustainable Development”
การเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 21 นี้ มีการนำเสนอความรู้ครอบคุลมวิชาการด้านพันธุศาสตร์ทุกแขนง ได้แก่ นิติวิทยาศาสตร์ พันธุศาสตร์จุลินทรีย์ พันธุศาสตร์ของเซลล์ พันธุศาสตร์มนุษย์และเวชพันธุศาสตร์ พันธุศาสตร์เกษตรและการประยุกต์ และความรู้ด้านโอมิกส์ โดยได้ฟังการนำเสนอทั้งจากภาคบรรยายและโปสเตอร์
คำสำคัญ : พันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 21  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3986  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 1/8/2562 13:10:24  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:46:52
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ในการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ข้าพเจ้าได้นำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK และได้รับฟังการบบรรยายพิเศษ เรื่อง ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร โดย พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ซึ่งทำให้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายหลายเรื่อง ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่นครพนม 1 โดย ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา ซึ่งได้กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตของลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 รวมถึงการปรับตัวของเกษตรกรในการแก้ปัญหาดังกล่าว การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง ความสามารถในการแก้หมันของละอองเรณูในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดย ยุวรัตน์ จันทสุข ซึ่งนำเสนอการตรวจสอบการแก้หมันของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 จึงจัดอยู่ในกลุ่ม B-line ของระบบ WA-CMS การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง การโคลนยีนและผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนจากยีน Mr-RPCH ของกุ้งก้ามกราม โดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล ซึ่งเป็นวิธีการผลิตโกรทฮอร์โมนของกุ้งในแบคทีเรีย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโตของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายเรื่องที่อยู่นอกศาสตร์ของสาขาวิชาอีก 6 เรื่อง การเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้กว้างขึ้นทั้งในศาสตร์ของสาขาวิชาพันธุศาสตร์และนอกสาขาวิชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต
คำสำคัญ : การแก้หมันของละอองเรณู  ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร  ประชุมวิชาการแม่โจ้  ยีน Mr-RPCH  ลิ้นจี่นครพนม 1  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3267  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 9/1/2562 10:41:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:39:47
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2560
เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA marker) มีประโยชน์มากในการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ เช่น การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอแบบ RAPD (Random amplified polymorphic DNA) ซึ่งมีลำดับเบสสั้น ๆ แบบสุ่มทำให้สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้หลายบริเวณ และในหลายสิ่งมีชีวิต เครื่องหมาย ISSR (Inter-simple sequence repeat)ซึ่งมีลำดับเบสที่จำเพาะกับบริเวณที่เป็นส่วนซ้ำ (ไมโครแซเทลไลต์)ทำให้มีความจำเพาะมากขึ้น ให้ผลการทดลองค่อนข้างเหมือนเดิม ประโยชน์ของเครื่องหมายดีเอ็นเอมีหลากหลาย เช่น การตรวจสอบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และการตรวจสอบลูกผสม เป็นต้น
คำสำคัญ : การตรวจสอบลูกผสม  ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม  เครืองหมายดีเอ็นเอ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4188  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 16/1/2561 13:09:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:36:25
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 20
ปัจจุบันความเทคโนโลยีและความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์ได้พัฒนาไปมาก ดังนั้นจึงมีการประยุกต์ใช้ความรู้ทางพันธุศาสตร์ทั้งในด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ รวมถึงการตรวจวินิจฉัยในคน
คำสำคัญ : array CGH  การปรับปรุงพันธุ์สัตว์  ฐานข้อมูล  พันธุศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4467  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 5/9/2560 10:20:43  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:43:36
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการฟังบรรยายพิเศษเรื่องการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล
เครื่องหมายโมเลกุลระดับดีเอ็นเอมีประโยชน์หลายด้าน เช่น ในด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้แก่ การคัดเลือกลูกผสม การตรวจสอบความบริสุทธ์ของสายพันธุ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ในการระบุสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และการรักษาโรคอีกด้วย
คำสำคัญ : เครื่องหมายโมเลกุล SNP  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6730  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 14/3/2560 9:14:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 14:17:26
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาที่ได้จากการประชุมวิชาการ Genomics and Genetics 2016
ปัจจุบันเทคโนโลยีและการศึกษาทางพันธุศาสตร์มีความก้าวหน้ามาก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเทคนิค/วิธีต่าง ๆ น้อยลง และได้มีการนำความรู้มาใช้ในการรักษาที่จำเพาะกับบุคคล "Precision Medicine" รวมถึงการดัดแปลงดีเอ็นเอ (genome editing)ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งการรักษาโรคทางพันธุกรรม และการปรับปรุงพันธุ์ทางการเกษตร
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4166  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 6/9/2559 14:54:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:33:29
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการ International Organic Symposium 2016
ในปัจจุบันการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากการเกษตรแบบแคมีก่อให้เกิดสารเคมีตกค้างซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามการทำเกษตรแบบอินทรีย์ก็ยังมีปัญหาที่ยังต้องแก้ไข เช่น มีผลผลิตต่ำ ต้องการแรงงานสูง ตลาดมีน้อย เป็นต้น
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4506  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 14/3/2559 16:12:34  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 15:32:05
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 “พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์”
พันธุศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในเชิงวิชาการที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น ด้านการแพทย์ การเกษตร นิเวศวิทยา การอนุรักษ์และศึกษาความหลากหลายชีวภาพ รวมถึงด้านการเรียนการสอน
คำสำคัญ : พันธุศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8836  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 4/9/2558 13:08:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 22:12:06
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » การศึกษาชุดโครโมโซมในเซลล์พืชด้วยเครื่อง Flow Cytometry “Plant DNA Ploidy Analysis with Flow Cytometry”
การศึกษาจำนวนชุดโครโมโซมโดยใช้เครื่อง Flow cytometry อาศัยหลักการการติดฉลากด้วยสารเรืองแสงที่ดีเอ็นเอ แล้วเครื่องจะดูดนิวเคลียสของพืชเข้าไปในหลอด capillary ทีละอัน จากนั้นเครื่องจะยิงแสงเลเซอร์เข้ามากระตุ้นให้สารเรืองแสงปล่อยพลังงานแสงออกมา แล้วโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภายในเครื่องจะประมวลผลปริมาณดีเอ็นเอจากปริมาณแสงที่ถูกปล่อยออกมานั่นเอง ซึ่งวิธีนี้สามารถศึกษาจำนวนชุดโครโมโซมได้ง่ายกว่าวิธีการนับจำนวนโครโมโซมแบบดั้งเดิม
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 12638  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 16/3/2558 11:59:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:05:25
ความรู้จากการเข้าอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าประชุมวิชาการ เรื่อง การศึกษาทางพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing for genetics and genomics studies)
ในอดีตการหาลำดับเบสมีราคาแพงและใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกพัฒนาขึ้น ทำให้การหาลำดับเบสมีราคาถูกลง และใช้เวลาสั้นยิ่งขึ้น ดังนั้นการหาลำดับเบสทั้งจีโนมของสิ่งมีชีวิตจึงทำได้ง่ายและรวดเร็วโดยใช้เครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing)ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้อย่างหลากหลายทั้งในทางการแพทย์และทางการเกษตร
คำสำคัญ : sequencing  ลำดับเบส  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5036  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ยุพเยาว์ คบพิมาย  วันที่เขียน 4/9/2557 18:06:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 16:44:48

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้