สรุปประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 9/1/2562 10:41:26     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:18:46
เปิดอ่าน: 3224 ครั้ง

ในการประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ข้าพเจ้าได้นำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK และได้รับฟังการบบรรยายพิเศษ เรื่อง ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร โดย พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ซึ่งทำให้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายหลายเรื่อง ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่นครพนม 1 โดย ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา ซึ่งได้กล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตของลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 รวมถึงการปรับตัวของเกษตรกรในการแก้ปัญหาดังกล่าว การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง ความสามารถในการแก้หมันของละอองเรณูในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดย ยุวรัตน์ จันทสุข ซึ่งนำเสนอการตรวจสอบการแก้หมันของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพบว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 จึงจัดอยู่ในกลุ่ม B-line ของระบบ WA-CMS การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง การโคลนยีนและผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนจากยีน Mr-RPCH ของกุ้งก้ามกราม โดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล ซึ่งเป็นวิธีการผลิตโกรทฮอร์โมนของกุ้งในแบคทีเรีย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโตของกุ้งต่อไป นอกจากนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายเรื่องที่อยู่นอกศาสตร์ของสาขาวิชาอีก 6 เรื่อง การเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้กว้างขึ้นทั้งในศาสตร์ของสาขาวิชาพันธุศาสตร์และนอกสาขาวิชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต

ข้าพเจ้า นางสาวยุพเยาว์ คบพิมาย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ตามหนังสือขออนุญาตเลขที่ ศธ 0523.4.9.1/338  ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้

ในการประชุมครั้งนี้ข้าพเจ้าได้นำเสนองานวิจัยภาคโปสเตอร์ เรื่อง ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในลิ้นจี่จากลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน matK และได้รับฟังการบรรยายดังต่อไปนี้

1. การบรรยายพิเศษ เรื่อง ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร โดย พันเอก รองศาสตราจารย์ ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ สรุปความได้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งจะทำให้ในอีกประมาณ 7 ปี ข้างหน้ารถยนต์จะเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันเป็นใช้ไฟฟ้า รวมถึงความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลดิจิตอลจะเพิ่มมากขึ้น จะมีการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาเทคโนโลยี sensor เพื่อช่วยเหลือด้านการเกษตรมากขึ้น ดังนั้นการทำการเกษตรจะมีความแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ในอีก 10 ปีข้างหน้าโลกจะมีทิศทางการพัฒนาไปทาง genomic engineering ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางด้านพันธุศาสตร์ในอนาคตที่ควรศึกษาเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

 

2. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่นครพนม 1 โดย ผศ.ดร.กัญลยา มิขะมา สรุปความได้ว่า ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 เป็นพืชหนึ่งในสองชนิดของจังหวัดนครพนมที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้มาซึ่งตราสัญลักษณ์ GI ในจังหวัดนครพนม เกษตรกรประมาณ 300 ราย ปลูกลิ้นจี่นครพนม 1 ประมาณ 1,500 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 1,500 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 30 ล้านบาท แต่เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจึงได้มีการศึกษาถึงผลกระทบของความแปรปรวนของสภาพอากาศต่อผลผลิตของลิ้นจี่นครพนม 1 ในจังหวัดนครพนม โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2559 และศึกษาถึงแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรในสภาวะที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง พบว่า อุณหภูมิของเดือนพฤศจิกายนในปี 2558 มีอุณหภูมิสูง (26.6±7C) และความชื้นสัมพัทธ์สูง (ร้อยละ 75) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ทำให้ลิ้นจี่ออกดอกแต่ไม่ติดผล ดังนั้นในปี 2559 จึงไม่มีผลผลิตลิ้นจี่นครพนม 1 ออกสู่ตลาด เมื่อสำรวจด้านการรับรู้และการปรับตัวของเกษตรกรจำนวน 140 ตัวอย่าง พบว่า เกษตรกรร้อยละ 81.4 รับรู้ถึงผลกระทบ ในด้านแนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกษตรกรแสวงหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตน ได้แก่ 1) การจัดการสวนโดยช่วงลิ้นจี่ออกดอกจะเพิ่มการใส่ฮอร์โมน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี แต่ถ้าลิ้นจี่ไม่ออกดอกจะไม่ใสปุ๋ยเพิ่มเลยเพื่อลดต้นทุนการผลิต 2) เปลี่ยนพันธุ์ลิ้นจี่จากนครพนม 1 เป็นพันธุ์สีเขียว จากสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ไม่ต้องการอุณหภูมิต่ำในการกระตุ้นการออกดอก นอกจากนี้ยังมีการไคโตซานฉายรังสีเป็นอาหารเสริมให้แก่ลิ้นจี่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับคำแนะนำและส่งเสริมจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

3. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง ความสามารถในการแก้หมันของละอองเรณูในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดย ยุวรัตน์ จันทสุข สรุปความได้ว่า เมื่อตรวจสอบความสามารถในการแก้หมันของละอองเรณูระบบ Wild Abortive Cytoplasmic Male Sterility (WA-CMS) ของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบว่าเมื่อผสมข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวที่มีละอองเรณูเป็นหมัน พบว่า รุ่น F1 มีละอองเรณูที่มีชีวิต 93.2 % ซึ่งสูงมากแต่การติดเมล็ดของ F1 เพียง 13.8 % แสดงว่าข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ไม่มียีนแก้หมันของละอองเรณูในระบบ WA-CMS และเมื่อพิจารณาลักษณะการติดสีของละอองเรณู F2 ที่มีชีวิต พบว่า คล้ายกับละอองเรณูที่เป็นหมันของระบบ Boro II-CMS (BT-CMS) ซึ่งมียีนแก้หมัน Rf1A และ Rf1B ซึ่งอยู่บนโครโมโซมที่ 10 ดังนั้นข้าวขาวดอกมะลิ 105 จึงจัดอยู่ในกลุ่ม B-line ของระบบ WA-CMS

 

4. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง การโคลนยีนและผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนจากยีน Mr-RPCH ของกุ้งก้ามกราม โดย ผศ.ดร.กีรวิชญ์ เพชรจุล การศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมายในการผลิตโกรทฮอร์โมนของกุ้งก้ามกรามในแบคทีเรีย เพื่อเป็นอาหารเร่งการเจริญเติบโตของกุ้ง วิธีการศึกษาทำโดย สกัด Total RNA โดยใช้ TRIzol reagent แล้วสังเคราะห์ complementary DNA (cDNA) จากนั้นจึงออกแบบไพรเมอร์สำหรับยีน Mr-RPCH ซึ่งเป็นยีนที่เก็บรหัสโกรทฮอร์โมนของกุ้งก้ามกราม โดยออกแบบไพรเมอร์จากลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนในฐานข้อมูล GenBank แล้วเพิ่มปริมาณยีน Mr-RPCH ซึ่งพบว่าได้ชิ้นดีเอ็นเอหลายขนาด จึงตัดเอาเฉพาะแถบดีเอ็นเอที่มีขนาด 291 คู่เบส แล้วโคลนเข้าสู่เวคเตอร์ pTG19-T นำรีคอมบิแนนท์พลาสมิดเข้าสู่ completent cell ของแบคทีเรีย Escherichia coli DH5แอลฟา แล้วตรวจด้วยเทคนิค colony PCR และ Agarose gel 1% ซึ่งจะพบแถบดีเอ็นเอขนาด 291 คู่เบส จากนั้นจะให้แบคทีเรียผลิตโกรทฮอร์โมน จากการทำงานของยีน ยีน Mr-RPCH เพื่อนำโกรทฮอร์โมนที่ได้ไปเป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโตของกุ้งต่อไป

 

5. การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายเรื่องที่อยู่นอกศาสตร์ของสาขาวิชา ได้แก่

1) การเพาะเมล็ดหญ้าคาทะเล Enhalus acoroides โดยใช้น้ำละลายเกลือที่ความเค็มต่างกัน โดย นายสุเทพ เจือละออง

2) ผลของการอบแห้งตะกอนฟลอคด้วยวิธีอบแห้งแบบพาความร้อน โดย เศรษฐวัฒน์ ถนิมกาญจน์

3) การคัดแยกแบคทีเรียจากตะกอนน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อผลิตพอลีไฮดรอกซี-อัลคาโนเอตจากกลีเซอรอลเหลือทิ้ง จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล โดย รูฮาญา เจะซู

4) ผลของตัวทำละลายต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสาหร่ายไก โดย รัตนาภรณ์ จันทร์ทิพย์

5) องค์ประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบดาหลาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอาง โดย ณัฐวุฒิ หวังสมนึก

6) การดูดซับสีย้อมผ้าโดยเปลือกลำไยที่ผ่านการกระตุ้นทางเคมีและทางความร้อน โดย อ.ดร.นคร สุริยานนท์

 การเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้กว้างขึ้นทั้งในศาสตร์ของสาขาวิชาพันธุศาสตร์และนอกสาขาวิชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:28:28   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง