ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 440
ชื่อสมาชิก : สมคิด ดีจริง
เพศ : หญิง
อีเมล์ : somkid_d@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 21/4/2554 11:36:00
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 21/4/2554 11:36:00


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรยุคดิจิทอล ซึ่งเป็นการทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือเรียกว่า เกษตรอัจฉริยะ โดยการนำเทคโนโลยี เครื่องจักร หุ่นยนต์ และอื่น ๆ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่ประเทศดิจิทอลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และกล่าวถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และยังได้รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง สมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้ เรื่อง การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด เรื่อง องค์ประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบดาหลาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอาง เรื่อง ผลกระทบของการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในดินปลูกข้าวต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรื่อง ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa เรื่อง การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสจากดินป่า
ข้าพเจ้า นางสาวสมคิด ดีจริง ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความรู้จากการร่วมรับฟังการเสวนา เรื่อง ดิจิทอลพลิกโลกเกษตร โดยพันเอก รองศาสตราจารย์ ดร. เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งวิทยากรกล่าวถึง การทำการเกษตรยุคดิจิทอล ซึ่งเป็นการทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือเรียกว่า เกษตรอัจฉริยะ (smart farm หรือ intelligent farm) โดยการนำเทคโนโลยี เครื่องจักร หุ่นยนต์ และอื่น ๆ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่ประเทศดิจิทอลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และวิทยากรยังกล่าวถึงยุคเทคโนโลยีแห่งอนาคตเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence, AI) ซึ่งจะเข้ามาช่วยการให้เกิดการเรียนรู้และสนับสนุนกิจกรรมที่มนุษย์ต้องการให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น และจะเป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยีทางด้านจีโนมิกส์มาเกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร นอกจากนี้ วิทยากรยังกล่าวว่า หลักสูตรทางด้านการศึกษาที่เปิดสอนนักศึกษาควรเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ - เรื่อง สมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้ โดยอาจารย์สุภักตร์ ปัญญา ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้คือ สมาร์ฟาร์ม เห็ดแม่โจ้นำเทคโนโลยีระบบควบคุมและแจ้งเตือนอัจฉริยะ ผ่านระบบอินเทอเนตโดยอัตโนมัติส่งไปยังสมาร์ทโฟนเพื่อให้ทราบถึงสถานะปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงผลิตเห็ดโดยติดตั้งเซนเซอร์วัดความชื้น และควบคุมระบบการเปิดปิดน้ำ นอกจากนี้ ยังมีระบบจัดเก็บบันทึกข้อมูลความชื้นและอุณหภูมิตลอดระยะเวลาการผลิตเห็ด ผลการวิจัย พบว่า ระบบสมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้ที่สร้างขึ้น สำหรับใช้ในการผลิตเห็ดหลินจือสามารถนำมาใช้ได้ผลดี และมีระดับความพึงพอใจอยูในระดับมาก - เรื่อง การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดโดย สมชาย อารยพิทยา ซึ่งพบว่า การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด สามารถสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้ สมุนไพรในสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติจากอุปกรณ์โทรศัพทย์เคลื่อนที่ได้ - เรื่อง องค์ประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบดาหลาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบใน เครื่องสำอางโดย ณัฐวุฒิ หวังสมนึก พบว่า ใบดาหลามีปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 246.52 มิลลิกรัมของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด โดยมี isoquercitin, catechin และ gallic acid เป็นชนิดเด่น ส่วนฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า สารสกัดใบดาหลามีประสิทธิภาพขจัดอนุมูลเอบีทีเอสและดีพีพีเอชได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าใบดาหลาเป็นแหล่งสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว - เรื่อง ผลิตภัณฑ์วุ้นมะพร้าวในน้ำกระเจี๊ยบแดงและการเก็บรักษา โดย จารุวรรณ มณีศรี พบว่า สูตรที่ใช้อัตราส่วนของกระเจี๊ยบแดงแห้งต่อน้ำและความเข้มข้นของน้ำตาลที่ 1:100/13 % และ 1:150/13 % (w/v) เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด และคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ในช่วง 14 วันแรก มีค่าพีเอชลดลง ปริมาณของแข็งที่ละลายเพิ่มขึ้น ค่าความสว่างเพิ่มขึ้น แต่คุณภาพของผลิตภัณฑ์หลังจาก 14 วัน มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก และคุณภาพด้านเนื้อสัมผัสของชิ้นวุ้นมะพร้าว พบว่า ค่าความแข็งแรงและความยืดหยุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออายุการเก็บรักษานานขึ้น และพบว่า เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ปริมาณจุลินทรีย์ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จึงสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้รับฟังการบรรยายในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เรื่อง ทักษะศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารการแสดงในสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการวิจัยขั้นสูง โดยธนสิน ชุตินธรานนท์ พบว่า ทักษะศตวรรษที่ 21 ที่มีความจำเป็นสูงสุด ประกอบด้วย 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร คุณธรรมจริยธรรม ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาน ตามลำดับ เมื่อนิสิตนักศึกษาสำเร็จการศึกษาในสาขาดังกล่าวแล้วควรเป็นบัณฑิตผู้มีคุณลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ 1) เป็นนักการสื่อสารที่มีคุณภาพ 2) มีจรรยาบรรณและวิจารณทัศน์ และ 3) มีความรู้ด้านการใช้ตัวเลขวิเคราะห์เชิงปริมาณในระดับพื้นฐาน และยังได้ความรู้จากผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ดังนี้ - เรื่อง ผลกระทบของการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในดินปลูก ข้าวต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสมบัติบางประการของดินเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการน้ำแบบขังน้ำ โดยชฎาภา ใจหมั้น พบว่า การใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง ช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากดินภายใต้การปลูกข้าว และยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติบางประการของดิน ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการลดการใช้น้ำในการปลูกข้าว และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ - เรื่อง การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสจากดินป่า โดยขวัญจรัส เชิงปัญญา พบว่า ได้แบคทีเรียที่มีกิจกรรมเอนไซม์เอนโดกลูคาเนส และเซลโลไบโอไฮโดรเลส และเบต้า-กลูโคซิเดสดีที่สุด ซึ่งแบคทีเรียที่คัดเลือกได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่อไป - เรื่อง การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa โดยศรีกาญจนา พบว่า ใบงาขี้ม้อนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกสูงกว่าใบงาขี้ม้อนจากแปลงปลูก และยังตรวจพบปริมาณ Rosmarinic acid สูงสุดเท่ากับ 0.78 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบการเพาะเลี้ยงเนื้
- ยังไม่มีรายการคำถาม
การสรุปความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 "ราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ประเทศไทย 4.0" ณ จ. ตรััง เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลากรและบุคคลทั่วไป
ได้เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 “ราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ประเทศไทย 4.0” ระหว่าง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง ซึ่งได้นำเสนอผลงานวิจัย และได้รับฟึังปฐากถาพิเศษในหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้ง ได้ชมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมซึ่งทำให้ได้รับความรู้ในด้านต่าง ๆ มากมาย และยังได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย การพัฒนาการเรียนการสอน และการบริการวิชาการได้อีกด้วย
ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการแม่โจ้ ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับฟังการบรรยายและชมโปสเตอร์เรื่องที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เรื่อง งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดย รศ. ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล โดยผู้บรรยายกล่าวถึง มหาวิทยาลัยจะปรับเปลี่ยนอย่างไรให้เข้ากับนโยบายประเทศไทย 4.0 เนื่องจากการวิจัยเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทอย่างมากที่จะช่วยพัฒนาประเทศโดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ซึ่งประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560-2579) ซึ่งมีวิสัยทัศน์คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ” ซึ่งผู้บรรยายกล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ น่าจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยยุทธศาสตร์ทางด้านการเกษตรของชาติได้สถาบันอุดมศึกษาของไทยเป็นหนึ่งองค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ตามนโยบายของรัฐบาล และควรขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย 4.0 เช่นเดียวกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยมีพันธกิจด้านการวิจัยและในมหาวิทยาลัย มีนักวิชาการที่มีศักยภาพการขับเคลื่อนงานวิจัย ในการนำมาต่อยอดเพื่อการพัฒนาประเทศได้ และผู้บรรยายยังกล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลก็มีการสนับสนุนงบประมาณในการทำการวิจัยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย และผู้บรรยายเสนอแนะว่าผู้วิจัยควรจะพัฒนาโจทย์วิจัยที่จะตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของชาติ ผู้บรรยายยังกล่าวถึง การทำงานวิจัยในปัจจุบันควรจะมีการบูรณาการงานวิจัยร่วมกันให้มากขึ้น และควรเป็นงานวิจัยที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อช่วยพัฒนาประเทศได้ต่อไป นอกจากนี้ ยังได้รับฟังการบรรยาย เรื่อง สถานการณ์อุตสาหกรรมการแปรรูปแตงกวาดองในตลาดโลก โดยคุณชาติประชา สอนกลิ่น กรรมการบริหาร บริษัท พัลซาร์ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ทำให้ทราบว่าสิ่งสำคัญของการทำอุตสาหกรรมแตงกวาดอง ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ และการเพาะปลูกแตงกวา ระบบของการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น เดิมการบริโภคแตงกวาดองจะนิยมในแถบยุโรป แต่ความต้องการบริโภคแตงกวาดองมีมากขึ้นประกอบกับพื้นที่ทางการเกษตรแถบยุโรปมีน้อยลงและมีแรงงานลดลง แต่ปัจจุบันก็มีปลูกแตงกวาสำหรับดองอยู่ในยุโรปตะวันออกอยู่บ้าง จึงทำให้มีการนำเข้ามาปลูกแถบเอเชียครั้งแรกในประเทศอินเดียและศรีลังกา ซึ่งกระบวนการผลิตแตงกวาดองอาจทำได้ 3 แบบ ได้แก่ Brine processing, Acetic acid processing และ Vinegar processing เรื่องที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ ได้แก่ เรื่อง ผลของสารสกัดจากเมล็ดมะแขว่นที่ผ่านการกลั่นแยกน้ำมันหอมระเหยออกต่อการเจริญของจุลินรีย์ก่อโรค ได้แก่ Escherichia coli (TISTR No.527), Vibrio parahaemolyticus (TISTR No.1596) และ Staphylococcus aureus พบว่า สารสกัดมีคุณสมบัติที่ดีในการต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญของแบคทีเรียแกรมลบ E. coli และ V. parahaemolyticus ได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมบวก S. aureus เรื่อง การคัดแยกแบคทีเรียที่มีศักยภาพสูงในการผลิตไลเปสจากตะกอนน้ำเสียของโรงงานสกัดน้ำมัน พบว่า แยกได้แบคทีเรีย Acinetobacter radioresistens ซึ่งพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ไลเปสของเชื้อนี้ ได้แก่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และใช้น้ำมันปาล์มเป็นแหล่งคาร์บอน ซึ่งน่าจะนำแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ไปประยุกต์ในด้านต่าง ๆ ต่อไป เรื่อง ประสิทธิภาพของสารสกัดจากไซยาโนแบคทีเรีย Oscillatoria sp. ในการยับยั้งเชื้อรา Sclerotium rolfsii สาเหตุโรคเหี่ยวของพริก พบว่า สารสกัดจากเชื้อข้างต้นมีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคเหี่ยวในพริกได้ในระดับห้องปฏิบัติการซึ่งสามารถพัฒนาไปใช้ในระดับแปลงปลูกต่อไป เรื่อง ฤทธิ์ต้านเชื้อราก่อโรคในข้าวของตะกอนที่แยกได้จากรากพาหมี พบว่า ตะกอนที่แยกได้ให้ผลในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคในข้าวได้ เรื่อง การคัดเลือกแบคทีเรียในลำไส้ปลวกที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลส พบว่า ได้แบคทีเรียที่ย่อยสลายเซลลูโลสได้ดีคือ Staphylococcus warneri เรื่อง การทดสอบกิจกรรมเอนไซม์แอสพาราจิเนสและเมไทโอนิเนสของแบคทีเรียเอนโดไฟท์ที่แยกได้จากงาขี้ม้อน พบว่า เชื้อที่ผลิตเอนไซม์นี้ได้สูงสุด คือ Bacillus subtilis และ B. pumilis ซึ่งน่าจะมีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์รักษาโรคได้ เรื่อง ความหลากหลายของจุลินทรีย์ในเครื่องดื่มสกัดจากข้าวกล้อง 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวกล้องหอมแดง และข้าวกล้องหอมนิล พบว่า การฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลททำให้จำนวนยีสต์ และเชื้อราในเครื่องดื่มสกัดจากข้าวกล้องทั่วไปและข้าวกล้องอินทรีย์ผ่านมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข และพบว่า ความหลากหลายของแบคทีเรีย ยีสต์และรา ในเครื่องดื่มสกัดจากข้าวกล้องอินทรีย์ไม่แตกต่างจากข้าวกล้องทั่วไป นอกจากนี้ ประเภทของข้าวกล้องไม่มีผลต่อคุณภาพทางจุลชีววิทยาของเครื่องดื่มสกัดจากข้าวกล้อง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าว ได้แก่ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพข้าวเหนียว กข6 ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงการปลูกข้าวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication; GI) ของจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า คุณภาพของข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ที่ปลูกในพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ GI มีองค์ประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางความหนืดแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนลักษณะเนื้อสัมผัสของข้าวเหนียวหุงสุกจากทุกพื้นที่ที่ศึกษาไม่แตกต่างกันทางสถิติ สารประกอบที่ให้กลิ่นหอม 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ในเมล็ดข้าว พบว่า ไม่แตกต่างทางสถิติ ส่วนคุณสมบัติทางเคมีดิน พบว่า ปริมาณธาตุอาหารที่พบในดินจากแปลงเกษตรกรที่เก็บตัวอย่างข้าวจากอำเภอเขาวง มีอินทรียวัตถุและปริมาณธาตุ P, K, Ca, Mg, Fe และ Mn ต่ำกว่าทุกตำบลในอำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอนาคูแตกต่างกันทางสถิติ จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าคุณภาพข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 จากพื้นที่อำเภอนาคู ตำบลภูแล่นช้าง มีความหอม ความแข็งและความเหนียวไม่แตกต่างจากข้าว
- ยังไม่มีรายการคำถาม
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมืออาชีพ ในวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 ณ ห้องช้องนาง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับฟังการบรรยายเกี่ยวกับ EBSCO Discovery Service (EDS) หรือ EDS search และได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้งานฐานข้อมูล Science direct นอกจากนี้ยังได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้งาน Mendeley ซึ่งเป็นโปรแกรมจัดการไฟล์เอกสาร ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปพัฒนาการเรียนการสอนและงานวิจัยได้ ซึ่งเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การเข้าถึงสารสนเทศ (Information access) เป็นการที่ผู้ใช้สามารถค้นและได้รับสารสนเทศที่ต้องการโดยเครื่องมือช่วยค้นต่างๆ เช่น การเข้าถึงสารสนเทศจากทรัพยากรสารสนเทศของสถาบัน และทรัพยากรสารสนเทศจากอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ ได้แก่ Science Direct, Springer Link, ISI Web of Science :ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลในทางอินเทอร์เน็ตมีมากมาย ผู้ที่ต้องการสารนิเทศควรมีทักษะในการใช้โปรแกรมสืบค้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด จึงได้นำเสนอเทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัย ซึ่งได้รับจากการฝึกอบรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาเผยแพร่เพื่อการประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไป
ข้าพเจ้า นางสาว สมคิด ดีจริง ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ (Liquid drying) เมื่อวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2559 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี และขอนำเสนอสรุปเนื้อหา ดังนี้ การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ (Liquid drying) วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ เพื่อเป็นวัสดุในการเรียนการสอน เพื่อเป็นวัสดุในงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางการค้า อุตสาหกรรม เกษตร อาหาร ยา และสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบธุรกิจการให้บริการ เป็นต้น วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ การเก็บรักษาโดยการทำให้แห้ง การเก็บรักษาโดยการแช่แข็ง วิธีอื่น ๆ เช่น เก็บเชื้อในน้ำมัน เก็บเชื้อในพาราฟินเหลว เก็บเชื้อในน้ำ เก็บเชื้อโดยการเปลี่ยนถ่ายอาหารใหม่ เป็นต้น การพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ ความสำคัญและมูลค่าของจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์ที่รอดชีวิตในกระบวนการเก็บรักษา การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ความบริสุทธิ์ของจุลินทรีย์ เงินทุน จำนวนตัวอย่างจุลินทรีย์ที่เก็บรักษา การให้บริการจุลินทรีย์ ความถี่ในการใช้จุลินทรีย์ วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์แบบแห้ง ได้แก่ การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในดิน (soil) หรือ ใช้ทราย (sand) การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในซิลิกาเจล (silica gel) หรือใช้เม็ดแก้ว (glass bead) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนกระดาษ หรือดิสก์ (paper strip or disc) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนผิววัตถุแห้ง (Predried plug) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนแผ่นเจลาติน (gelatin disc) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยทำแห้งจากของเหลว (Liquid drying หรือ L-drying) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยทำแห้งแบบเยือกแข็ง (Freeze-drying หรือ lyophilization) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยการทำให้แห้ง อาศัยหลักการนำน้ำออก หรือลดความชื้นจากเซลล์จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพแห้ง จะทำให้อัตราเมแทบอลิซึมต่ำลง ทำให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ซึ่งการเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยการทำแห้งจากของเหลว เป็นการทำให้ซัสเพนชันของจุลินทรีย์แห้งภายใต้สูญญากาศโดยไม่ต้องผ่านการแช่แข็ง เทคนิคนี้ใช้เก็บรักษาแบคทีเรีย ฟาจของแบคทีเรย ยีสต์ และราได้นาน โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ไวต่อการแช่แข็งหรือการทำแห้งแบบเยือกแข็ง วิธีการนี้ใช้เก็บเชื้อได้ทุกชนิดยกเว้นเชื้อราที่สร้าง zoospore และ sterile strain มักใช้วิธีการนี้ในการเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ทนความแห้ง และไม่ทนต่อสภาพเย็นจัด วิธีการเก็บเชื้อด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ เพาะเลี้ยงเชื้อในหลอดอาหารและบ่มให้เชื้อเจริญเต็มที่ ผสมเชื้อในสารป้องกันเซลล์ (protective agent) ย้ายส่วนผสมลงหลอดบรรจุเชื้อจุลินทรีย์ (ampoule) ตัดปลายสำลีให้เรียบ ดันสำลีเข้าในหลอด (ลึก 3 เซนติเมตร) ทำให้หลอดแก้วคอด ทำให้แห้งภายใต้สภาวะสูญญากาศนาน 3-4 ชั่วโมง ปิดหลอดภายใต้สูญญากาศ เก็บหลอดเชื้อที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ข้อดีและข้อเสียของการเก็บรักษาเชื้อด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ ข้อดี ข้อเสีย -สามารถเก็บเชื้อให้มีชีวิตได้นาน -วัสดุและอุปกรณ์ราคาแพง -โอกาสกลายพันธุ์เกิดได้น้อย -ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน -โอกาสปนเปื้อนเกิดน้อย -ต้องการบุคลากรที่ชำนาญพิเศษ -ไม่เปลืองพื้นที่เก็บ -เชื้อบางชนิดเก็บโดยวิธีนี้ไม่ได้ -สะดวกต่อการขนส่งทางไปรษณีย์ -ทำให้เชื้อบางชนิดกลายพันธ์ได้ เช่น เชื้อราที่ไม่สร้างสปอร์ จะเก็บโดยวิธีนี้ไม่ได้ ระบบการตรวจคุณภาพเชื้อที่เก็บรักษา - การมีชีวิตภายหลังการเก็บรักษา เช่น ดูจากการเจริญของเชื้อ การนับจำนวนโคโลนี - การปนเปื้อน เช่น ใช้อาหารเฉพาะชนิดของเชื้อ ใช้อาหารสำหรับแบคทีเรียทั่วไป - การตรวจสอบเพื่อยืนยันคุณสมบัติและลักษณะที่ตรงตามชื่อ เช่น ขึ้นอยู่กับ ชนิดของจุลินทรีย์และผู้เชี่ยวชาญ การนำไปใช้ประโยชน์ของการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้ การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย ได้เข้ารับการฝึกอบรม เรื่อง การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ ทำให้ทราบหลักการและวิธีการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย เพื่อช่วยให้เก็บรักษาจุลินทรีย์ได้ยาวนานขึ้น การพัฒนาการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการการอบรมนี้ไปพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ชว 432 การเก็บรักษาจุลินทรีย์ ซึ่งผู้เข้าอบรมจะนำความรู้ไปใช้ในการเขียนเอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นรายวิชาที่ผู้เข้าอบรมเคยเปิดสอนในรายวิชาดังกล่าวและกำลังจะเปิดสอนแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสาขาเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคตต่อไป
- ยังไม่มีรายการคำถาม
ข้าพเจ้า นางสาว สมคิด ดีจริง ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ (Liquid drying) เมื่อวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2559 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี และขอนำเสนอสรุปเนื้อหา ดังนี้ การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ (Liquid drying) วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ เพื่อเป็นวัสดุในการเรียนการสอน เพื่อเป็นวัสดุในงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางการค้า อุตสาหกรรม เกษตร อาหาร ยา และสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบธุรกิจการให้บริการ เป็นต้น วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ การเก็บรักษาโดยการทำให้แห้ง การเก็บรักษาโดยการแช่แข็ง วิธีอื่น ๆ เช่น เก็บเชื้อในน้ำมัน เก็บเชื้อในพาราฟินเหลว เก็บเชื้อในน้ำ เก็บเชื้อโดยการเปลี่ยนถ่ายอาหารใหม่ เป็นต้น การพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ ความสำคัญและมูลค่าของจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์ที่รอดชีวิตในกระบวนการเก็บรักษา การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ความบริสุทธิ์ของจุลินทรีย์ เงินทุน จำนวนตัวอย่างจุลินทรีย์ที่เก็บรักษา การให้บริการจุลินทรีย์ ความถี่ในการใช้จุลินทรีย์ วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์แบบแห้ง ได้แก่ การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในดิน (soil) หรือ ใช้ทราย (sand) การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในซิลิกาเจล (silica gel) หรือใช้เม็ดแก้ว (glass bead) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนกระดาษ หรือดิสก์ (paper strip or disc) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนผิววัตถุแห้ง (Predried plug) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนแผ่นเจลาติน (gelatin disc) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยทำแห้งจากของเหลว (Liquid drying หรือ L-drying) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยทำแห้งแบบเยือกแข็ง (Freeze-drying หรือ lyophilization) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยการทำให้แห้ง อาศัยหลักการนำน้ำออก หรือลดความชื้นจากเซลล์จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพแห้ง จะทำให้อัตราเมแทบอลิซึมต่ำลง ทำให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ซึ่งการเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยการทำแห้งจากของเหลว เป็นการทำให้ซัสเพนชันของจุลินทรีย์แห้งภายใต้สูญญากาศโดยไม่ต้องผ่านการแช่แข็ง เทคนิคนี้ใช้เก็บรักษาแบคทีเรีย ฟาจของแบคทีเรย ยีสต์ และราได้นาน โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ไวต่อการแช่แข็งหรือการทำแห้งแบบเยือกแข็ง วิธีการนี้ใช้เก็บเชื้อได้ทุกชนิดยกเว้นเชื้อราที่สร้าง zoospore และ sterile strain มักใช้วิธีการนี้ในการเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ทนความแห้ง และไม่ทนต่อสภาพเย็นจัด วิธีการเก็บเชื้อด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ เพาะเลี้ยงเชื้อในหลอดอาหารและบ่มให้เชื้อเจริญเต็มที่ ผสมเชื้อในสารป้องกันเซลล์ (protective agent) ย้ายส่วนผสมลงหลอดบรรจุเชื้อจุลินทรีย์ (ampoule) ตัดปลายสำลีให้เรียบ ดันสำลีเข้าในหลอด (ลึก 3 เซนติเมตร) ทำให้หลอดแก้วคอด ทำให้แห้งภายใต้สภาวะสูญญากาศนาน 3-4 ชั่วโมง ปิดหลอดภายใต้สูญญากาศ เก็บหลอดเชื้อที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ข้อดีและข้อเสียของการเก็บรักษาเชื้อด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ ข้อดี ข้อเสีย -สามารถเก็บเชื้อให้มีชีวิตได้นาน -วัสดุและอุปกรณ์ราคาแพง -โอกาสกลายพันธุ์เกิดได้น้อย -ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน -โอกาสปนเปื้อนเกิดน้อย -ต้องการบุคลากรที่ชำนาญพิเศษ -ไม่เปลืองพื้นที่เก็บ -เชื้อบางชนิดเก็บโดยวิธีนี้ไม่ได้ -สะดวกต่อการขนส่งทางไปรษณีย์ -ทำให้เชื้อบางชนิดกลายพันธ์ได้ เช่น เชื้อราที่ไม่สร้างสปอร์ จะเก็บโดยวิธีนี้ไม่ได้ ระบบการตรวจคุณภาพเชื้อที่เก็บรักษา - การมีชีวิตภายหลังการเก็บรักษา เช่น ดูจากการเจริญของเชื้อ การนับจำนวนโคโลนี - การปนเปื้อน เช่น ใช้อาหารเฉพาะชนิดของเชื้อ ใช้อาหารสำหรับแบคทีเรียทั่วไป - การตรวจสอบเพื่อยืนยันคุณสมบัติและลักษณะที่ตรงตามชื่อ เช่น ขึ้นอยู่กับ ชนิดของจุลินทรีย์และผู้เชี่ยวชาญ การนำไปใช้ประโยชน์ของการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้ การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย ได้เข้ารับการฝึกอบรม เรื่อง การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ ทำให้ทราบหลักการและวิธีการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย เพื่อช่วยให้เก็บรักษาจุลินทรีย์ได้ยาวนานขึ้น การพัฒนาการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการการอบรมนี้ไปพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ชว 432 การเก็บรักษาจุลินทรีย์ ซึ่งผู้เข้าอบรมจะนำความรู้ไปใช้ในการเขียนเอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นรายวิชาที่ผู้เข้าอบรมเคยเปิดสอนในรายวิชาดังกล่าวและกำลังจะเปิดสอนแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสาขาเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคตต่อไป
- ยังไม่มีรายการคำถาม
ข้าพเจ้า นางสาว สมคิด ดีจริง ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ (Liquid drying) เมื่อวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2559 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ. ปทุมธานี และขอนำเสนอสรุปเนื้อหา ดังนี้ การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ (Liquid drying) วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ เพื่อเป็นวัสดุในการเรียนการสอน เพื่อเป็นวัสดุในงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางการค้า อุตสาหกรรม เกษตร อาหาร ยา และสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบธุรกิจการให้บริการ เป็นต้น วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ การเก็บรักษาโดยการทำให้แห้ง การเก็บรักษาโดยการแช่แข็ง วิธีอื่น ๆ เช่น เก็บเชื้อในน้ำมัน เก็บเชื้อในพาราฟินเหลว เก็บเชื้อในน้ำ เก็บเชื้อโดยการเปลี่ยนถ่ายอาหารใหม่ เป็นต้น การพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์ ได้แก่ ความสำคัญและมูลค่าของจุลินทรีย์ ปริมาณจุลินทรีย์ที่รอดชีวิตในกระบวนการเก็บรักษา การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ความบริสุทธิ์ของจุลินทรีย์ เงินทุน จำนวนตัวอย่างจุลินทรีย์ที่เก็บรักษา การให้บริการจุลินทรีย์ ความถี่ในการใช้จุลินทรีย์ วิธีการเก็บรักษาจุลินทรีย์แบบแห้ง ได้แก่ การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในดิน (soil) หรือ ใช้ทราย (sand) การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในซิลิกาเจล (silica gel) หรือใช้เม็ดแก้ว (glass bead) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนกระดาษ หรือดิสก์ (paper strip or disc) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนผิววัตถุแห้ง (Predried plug) การเก็บรักษาจุลินทรีย์บนแผ่นเจลาติน (gelatin disc) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยทำแห้งจากของเหลว (Liquid drying หรือ L-drying) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยทำแห้งแบบเยือกแข็ง (Freeze-drying หรือ lyophilization) การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยการทำให้แห้ง อาศัยหลักการนำน้ำออก หรือลดความชื้นจากเซลล์จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ที่อยู่ในสภาพแห้ง จะทำให้อัตราเมแทบอลิซึมต่ำลง ทำให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ซึ่งการเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยการทำแห้งจากของเหลว เป็นการทำให้ซัสเพนชันของจุลินทรีย์แห้งภายใต้สูญญากาศโดยไม่ต้องผ่านการแช่แข็ง เทคนิคนี้ใช้เก็บรักษาแบคทีเรีย ฟาจของแบคทีเรย ยีสต์ และราได้นาน โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ที่ไวต่อการแช่แข็งหรือการทำแห้งแบบเยือกแข็ง วิธีการนี้ใช้เก็บเชื้อได้ทุกชนิดยกเว้นเชื้อราที่สร้าง zoospore และ sterile strain มักใช้วิธีการนี้ในการเก็บรักษาจุลินทรีย์ที่ทนความแห้ง และไม่ทนต่อสภาพเย็นจัด วิธีการเก็บเชื้อด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ เพาะเลี้ยงเชื้อในหลอดอาหารและบ่มให้เชื้อเจริญเต็มที่ ผสมเชื้อในสารป้องกันเซลล์ (protective agent) ย้ายส่วนผสมลงหลอดบรรจุเชื้อจุลินทรีย์ (ampoule) ตัดปลายสำลีให้เรียบ ดันสำลีเข้าในหลอด (ลึก 3 เซนติเมตร) ทำให้หลอดแก้วคอด ทำให้แห้งภายใต้สภาวะสูญญากาศนาน 3-4 ชั่วโมง ปิดหลอดภายใต้สูญญากาศ เก็บหลอดเชื้อที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ข้อดีและข้อเสียของการเก็บรักษาเชื้อด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ ข้อดี ข้อเสีย -สามารถเก็บเชื้อให้มีชีวิตได้นาน -วัสดุและอุปกรณ์ราคาแพง -โอกาสกลายพันธุ์เกิดได้น้อย -ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน -โอกาสปนเปื้อนเกิดน้อย -ต้องการบุคลากรที่ชำนาญพิเศษ -ไม่เปลืองพื้นที่เก็บ -เชื้อบางชนิดเก็บโดยวิธีนี้ไม่ได้ -สะดวกต่อการขนส่งทางไปรษณีย์ -ทำให้เชื้อบางชนิดกลายพันธ์ได้ เช่น เชื้อราที่ไม่สร้างสปอร์ จะเก็บโดยวิธีนี้ไม่ได้ ระบบการตรวจคุณภาพเชื้อที่เก็บรักษา - การมีชีวิตภายหลังการเก็บรักษา เช่น ดูจากการเจริญของเชื้อ การนับจำนวนโคโลนี - การปนเปื้อน เช่น ใช้อาหารเฉพาะชนิดของเชื้อ ใช้อาหารสำหรับแบคทีเรียทั่วไป - การตรวจสอบเพื่อยืนยันคุณสมบัติและลักษณะที่ตรงตามชื่อ เช่น ขึ้นอยู่กับ ชนิดของจุลินทรีย์และผู้เชี่ยวชาญ การนำไปใช้ประโยชน์ของการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้ การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย ได้เข้ารับการฝึกอบรม เรื่อง การเก็บรักษาจุลินทรีย์ในระยะยาวด้วยเทคนิคการระเหยแห้งในสภาวะสูญญากาศ ทำให้ทราบหลักการและวิธีการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัย เพื่อช่วยให้เก็บรักษาจุลินทรีย์ได้ยาวนานขึ้น การพัฒนาการเรียนการสอน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการการอบรมนี้ไปพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา ชว 432 การเก็บรักษาจุลินทรีย์ ซึ่งผู้เข้าอบรมจะนำความรู้ไปใช้ในการเขียนเอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นรายวิชาที่ผู้เข้าอบรมเคยเปิดสอนในรายวิชาดังกล่าวและกำลังจะเปิดสอนแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสาขาเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคตต่อไป
12