สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ประจำปี 2558
วันที่เขียน 14/3/2559 11:22:25     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 15:53:35
เปิดอ่าน: 3080 ครั้ง

การประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นงานประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้เข้ารับฟังบรรยายในหัวข้อวิจัยต่าง ๆ ทางด้านเกษตร ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัยเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างมากขึ้น สามารถนำเอาองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ต่อยอดและปรับปรุงงานวิจัยของตนเองได้ในอนาคต ามารถสร้างเครือข่ายงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักวิจัยและงานวิจัยทางด้านต่าง ๆ ของประเทศไทยให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

การประชุมวิชาการ ประจำปี 2558 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นงานประชุมเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้เข้ารับฟังบรรยายในหัวข้อวิจัยต่าง ๆ ได้แก่ สาขาเกษตรศาสตร์ (ทางด้านพืชศาสตร์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สัตวศาสตร์ ประมงและทรัพยากรทางน้ำ) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการอาหาร สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีการ เสวนาวิชาการ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: วิกฤตหรือโอกาสเกษตรไทย (Climate Change: Crisis or Chance of Thai—Agriculture) โดยวิทยากรผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ซึ่งในการเสวนานี้ได้มีการวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์โดยเฉพาะในภาคเกษตร วิวัฒนาการและการร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ ในการรับมือกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การกำหนดกฎเกณฑ์และสร้างความรับผิดชอบร่วมกันในการป้องกันและดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อย่างไรก็ตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ไม่ได้ส่งผลร้ายเสมอไป อาจมีผลดีต่อการเพาะปลูกพืชบางชนิดได้ ซึ่งในอนาคตประเทศไทยจะต้องมีการศึกษาและวิจัย ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้อาจต้องเริ่มหารือเพื่อกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ต่อไป เพื่อลดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชใช้น้ำน้อยและการทำเกษตรแบบผสมผสาน เป็นต้น  

  ในการเผยแพร่ผลงานวิจัยภาคบรรยายและโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้นำเสนองานวิจัยถ่ายทอดข้อมูลแก่ผู้ร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัยซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัยเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างมากขึ้น สามารถนำเอาองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ต่อยอดและปรับปรุงงานวิจัยของตนเองได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเครือข่ายงานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักวิจัยและงานวิจัยทางด้านต่าง ๆ ของประเทศไทยให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=479
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 11:50:36   เปิดอ่าน 11  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 12:52:57   เปิดอ่าน 126  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง