ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการด้วยระบบสารสนเทศขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้งานระบบตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบสารสนเทศ และเป็นกิจกรรมเพื่อพบปะผู้ใช้งานระบบกับผู้พัฒนาระบบ ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ซึ่งสามารถถอดบทเรียนในครั้งนี้ ได้ดังนี้
1) ระบบสารสนเทศระบบใหม่ ภายใต้ชื่อเว็บไซต์ www.erp.mju.ac.th จะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการ โดยผู้พัฒนาระบบจะปรับปรุงพัฒนาระบบแทนระบบเดิม ที่มีข้อจำกัดในรูปแบบการแสดงผล ด้วยรูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ในลักษณะ Responsive Web Design ที่รองรับการแสดงผลหลากหลายอุปกรณ์ สามารถปรับเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ให้สัมพันธ์กับขนาดของจอภาพได้โดยอัตโนมัติ ทำให้การจัดวางข้อมูลหน้าเว็บไซต์มีระเบียบ สวยงาม
2) ระบบสารสนเทศได้พัฒนาขึ้นจากความต้องการของหน่วยงานเจ้าของข้อมูล และความต้องการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อให้เกิดมาตรฐานข้อมูล และสามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อก่อประโยชน์ในเชิงบริหารและเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ ภายใต้การกำหนดสิทธิเข้าถึงข้อมูลตามหน้าที่รับผิดชอบและคำสั่งมอบหมายงาน ทำให้เชื่อมั่นได้ในความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ
3) ระบบสารสนเทศก่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลของระบบ จากข้อมูลส่วนบุคคล นำไปสู่ข้อมูลระดับหน่วยงาน จนถึงข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยหลายๆ ระบบฐานข้อมูลรวมกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งปัจจุบัน ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ประกอบด้วยระบบย่อย 34 ระบบงาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการและความจำเป็นต่อการใช้งานระบบ
ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน
1. การบ่งชี้ความรู้ |
กระบวนการพัฒนาระบบ เกิดจากความต้องการพัฒนาระบบจากหน่วยงานเจ้าของข้อมูล มาประชุมร่วมกับผู้พัฒนาระบบ เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาระบบ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาระบบให้เป็นระบบสารสนเทศกลางของมหาวิทยาลัยที่มีการใช้งานระบบสารสนเทศและความต้องการใช้ข้อมูลร่วมกัน
|
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ |
การพัฒนาระบบ เกิดจากการประชุมหารือร่วมกันระหว่างเจ้าของข้อมูล และกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ ได้แก่
- บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศที่สามารถเปิดเผยได้เท่านั้น
- บุคลากรภายใน
- อาจารย์
- นักศึกษา
และกำหนดสิทธิการเข้าถึงระบบตามหน้าที่รับผิดชอบและคำสั่งมอบหมายงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แยกเป็นระบบย่อย และสามารถดำเนินการกับข้อมูลในระบบได้ 5 สถานะ ที่ผู้ใช้งานระบบสามารถดำเนินการได้กับข้อมูลของหน่วยงานที่ผู้ใช้งานระบบสังกัดอยู่เท่านั้น คือ อ่าน ลบ เพิ่ม แก้ไข ยืนยัน และสถานะมหาวิทยาลัย คือระดับสถานะที่ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าไปจัดการข้อมูลให้กับหน่อยงานอื่นๆได้ทุกหน่วยงาน โดยจะกำหนดให้กับหน่วยงานเจ้าของข้อมูลหรือผู้ดูแลระบบสารสนเทศกลางระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น
|
3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ |
พื้นฐานการบริหารจัดการข้อมูล ให้เป็นฐานข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัย เกิดจากเจ้าของข้อมูล นำข้อมูลหรือผลงานบันทึกเข้าสู่ระบบ เกิดเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคล หลายๆ คน รวมกันเป็นข้อมูลระดับหน่วยงาน ข้อมูลของหน่วยงานหลายๆ หน่วยงาน รวมกันเป็นข้อมูลระดับมหาวิทยาลัย และข้อมูลระดับมหาวิทยาลัยหลายๆ ระบบฐานข้อมูลรวมกัน จะถูกนำมาสร้างเป็นข้อมูลสารสนเทศ แสดงเป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารตามวัตถุประสงค์การพัฒนาระบบต่อไป ด้วยรูปแบบของตาราง ร้อยละ สถิติ หรือกราฟรูปแบบต่างๆ เรียกว่าเป็นการเชื่อมโยงในระบบ
|
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ |
มีการทดสอบและใช้งานระบบโดยหน่วยงานเจ้าของข้อมูล และเมื่อมีการใช้งานอย่างเป็นทางการ ได้มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบ ด้านการลดการใช้กระดาษ แสดงผลผ่านหน้าหลักของเว็บไซต์ www.erp.mju.ac.th และจัดทำผังการลดขั้นตอนกระบวนงานให้บริการของหน่วยงานด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของสำนักงานอธิการบดี
http://www.center.mju.ac.th/wtms_document.aspx?bID=2929
|
5. การเข้าถึงความรู้ |
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ภายใต้ชื่อเว็บไซต์
www.erp.mju.ac.th ปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบย่อยเพื่อการบริหารจัดการ 34 ระบบ ดังนี้
- ข่าวสารประชาสัมพันธ์
- โครงการ (e-Project)
- งานวิจัย
- ระบบจองห้องประชุม สนอ.
- นักศึกษา (ข้อมูลบางส่วน)
- บทความวิชาการ/หนังสือ/ตำรา
- บริหารผลการปฏิบัติงาน (e-Performance)
- บุคลากร
- แบบสอบถามออนไลน์
- ปฏิทินกลาง
- ประกันคุณภาพ
- ปริญญากิตติมศักดิ์และศิษย์เก่าดีเด่น
- ป้ายโฆษณา
- ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ
- ผลงานนักศึกษาระดับบัณฑิต
- แผนงาน (e-Plan)
- ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
- ระบบจัดการการคลัง
- ระบบการลาออนไลน์
- ระบบความร่วมมือทางวิชาการ
- ระบบจัดการเว็บไซต์
- ระบบจัดการเว็บเทมเพลต
- ระบบจัดเก็บเอกสาร
- ระบบบริหารจัดการของที่ระลึก
- ระบบบริหารจัดการความรู้
- ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)
- ระบบประเมินการเรียนการสอน
- ระบบรับ-ส่งไปรษณีย์
- ระบบแบบสอบออนไลน์
- ระบบหนังสือคำสั่ง
- ระบบออกเลขหนังสือราชการ
- ระบบอาคารสถานที่
- ระบบเอกสารราชการ (e-Document)
- ระบบเอกสารอ้างอิง
|
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
|
จัดฝึกอบรมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบ ไปยังคณะ/หน่วยงาน
1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จังหวัดชลบุรี (18-22 ธันวาคม 2560) และติดตั้งระบบเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561
2. จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการด้วยระบบสารสนเทศ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561
|
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากการสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง |
ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง จากข้อเสนอแนะของผู้ใช้งานระบบ
|