การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการจัดการขยะมูลฝอยนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และเป็น
สาเหตุหนึ่งของปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก๊าซมีเทน (CH4) ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในขยะมูลฝอยแบบไม่ใช้ออกซิเจนถือเป็นก๊าซเรือนกระจกหลักที่สำคัญ โดยพบว่าวิธีการกำจัดขยะ มูลฝอยโดยการเทกองและการฝังกลบก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนมากเป็นอันดับที่สามของการปล่อยก๊าซมีเทนที่เกิดจากการกิจกรรมของมนุษย์ และวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยโดยการเผาในที่โล่งซึ่งใช้กันมากในประเทศกำลังพัฒนานอกจากจะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกแล้วยังทำให้เกิดอนุภาคหรือผงเขม่าที่เรียกว่า Black carbon ซึ่งเป็นมูลสารที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเป็นอันดับที่ 2 รองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นอกจากนี้ยังมีก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากภาคการจัดขยะมูลฝอย ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ซึ่งเกิดจากการการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในเครื่องจักรที่ใช้ในการรวบรวม การคัดแยกและการขนส่งขยะมูลฝอย ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการขยะมูลฝอยจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
การจัดการขยะมูลฝอยและความเชื่อมโยงกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านสารบรรณให้เกิดประโยชน์ และนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการทำงานของหน่วยงาน
- เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติด้านดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
- ผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อเศรษฐกิจและสังคม
- สถานการณ์ด้านก๊าซเรือนกระจกและกรอบความร่วมมือด้านความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- กลไกและเครื่องมือต่างๆ ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในระดับโลกและระดับประเทศ
- ประโยชน์ของธุรกิจในการบริหารจัดการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
- การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร) แนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจก และประโยชน์ที่จะได้รับจากการรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
- ฝึกปฏิบัติการจำแนกแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก