การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
วันที่เขียน 22/3/2567 8:02:36     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:30:53
เปิดอ่าน: 458 ครั้ง

การปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่ทำแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการพัฒนา ซึ่งการพัฒนาตนเองทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดทักษะใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ปรับปรุงการทำงานประจำให้ดีขึ้นได้ ดังนั้น การอบรมเรื่องการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ จึงเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ตรงกับแนวทางการปฏิบัติงานของสายสนับสนุน ที่มีหน้าที่สนับสนุนภารกิจของสถาบันการศึกษา ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัยและพัฒนา การบริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น บทบาทของสายสนับสนุน ช่วยสนับสนุนการดำเนินการของสายวิชาการ และผู้บริหาร เพื่อให้บรรลุภารกิจของมหาวิทยาลัย โดย ช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย เพื่อหาทางเลือก ข้อดีข้อเสีย พร้อมแนวทางการตัดสินใจ ให้กับฝ่ายบริหารหรือสายวิชาการ ให้เป็นไปตามระเบียบและทันสมัย รวมทั้งต้องมีความชำนาญในหน้าที่ของตน

จากการเข้ารับการอบรม ในหัวข้อ การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ ผ่าน Zoom Cloud Meeting เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 โดยงานบริการการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา เข้าร่วมอบรมพร้อมกันทั้งงาน จำนวน 5 คน ได้แก่ นางสาวกฤตาณัฐ ศรีประภา  นางสาวกาลัญญุตา แก้วมาเมือง  นางภาวิณี จีปูคำ  นางสาวฉวีวรรณ ธงงาม  นายขวัญชัย สุขถา  ก่อนการสมัครเข้าอบรม ได้พูดคุยกันในงาน ถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ทุกคนในงาน เข้าใจในสิ่งเดียวกัน และร่วมกันถกประเด็น เสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เมื่อทำความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติงานของงานบริการการศึกษาให้ตรงกันแล้ว จึงได้เข้าร่วมอบรมพร้อมกัน


ในการอบรม ได้รวบรวมเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้น จากท่านวิทยากร ดร.จรงค์ศักดิ์ พุมนวน (นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ) คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (บรรณาธิการวารสารวิชาการ ปขมท.) (กองบรรณาธิการวารสาร Mahidol R2R e-Journal) (คณะกรรมการสมาคม ควอท) โดยในรายละเอียด กล่าวถึงองค์ความรู้ที่เกิดจากการพัฒนา ที่เห็นได้ชัดเจน ในเชิงวิชาการในรูปแบบของผลงานที่สร้างสรรค์ภายใต้บทบาทของสายสนับสนุน คือ คู่มือปฏิบัติงาน งานเชิงวิเคราะห์ งานเชิงสังเคราะห์ งานวิจัยจากงานประจำ เป็นต้น แต่ก่อนที่จะไปถึงการจัดทำผลงานสร้างสรรค์ งานบริการการศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน จึงได้ข้อสรุปของงานว่าควรหาทางเลือก และทำการวิเคราะห์ จากงานที่ทำประจำก่อน สิ่งที่ได้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ต่อไป ซึ่งการวิเคราะห์ ได้ดำเนินการภายใต้หัวข้อการอบรม ในประเด็น เทคนิคการสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการ สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน ที่ทางวิทยากรได้สรุปไว้ ดังภาพเทคนิคการสร้างสรรค์นวัตกรรมการให้บริการ ตาม link : https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjIyNTg4&method=inline   ซึ่ง งานบริการการศึกษาได้วิเคราะห์ปัญหาหน้างาน และแนวทางปรับปรุง/แก้ไข/พัฒนา ตามองค์ประกอบ 1-2

 

จากการวิเคราะห์ปัญหาหน้างาน และได้ข้อมูลปฐมภูมิแล้ว จึงได้แลกเปลี่ยนความคิด และได้ข้อสรุปในการดำเนินการขั้นต่อไป คือการถอดองค์ความรู้ และปัญหา (pain point) รวมถึงแนวทางในการจัดการกับปัญหาต่อไป โดย งานบริการการศึกษาได้ขอความอนุเคราะห์คุณนรพนธ์ ธรรมวิเศษศรี (พิธีกร / วิทยากร / นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ) ช่วยดำเนินการเป็นคุณอำนวย (facilitator) เพื่อถอดความรู้ โดยเลือกถอดความรู้จากงานที่ปฏิบัติร่วมกันแล้วพบประเด็นปัญหา (painpoint) ทำการวิเคราะห์ปัญหา และกลั่นกรองปัญหา แสดงภาพการเลือกปัญหา ตาม link https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjIyNjE5&method=inline  โดย ลำดับงานที่งานบริการการศึกษามีข้อคิดเห็นที่เห็นตรงกันที่สุด คือเรื่องการจัดสอบ ที่พบประเด็นปัญหาหน้างานมากที่สุด

 

จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาจัดกลุ่มปัญหา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ แก้ไขได้ทันที, แก้ไขไม่ได้, แก้ไขได้ โดยใช้เวลาการแก้ไขเล็กน้อย และใช้กระบวนการภายในคณะ, แก้ไข โดยใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งต้องใช้กระบวนการภายนอกคณะ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) แสดงภาพผังก้างปลา ตาม link https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjIyNjQz&method=inline ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการถอดความรู้ พบว่า มีข้อปัญหาที่ต้องจัดการโดยใช้แนวทางการจัดการข้อปัญหาในหมวด แก้ไข โดยใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งต้องใช้กระบวนการภายนอกคณะ (ส่วนกลางมหาวิทยาลัย) มากที่สุด

 

เมื่อได้ถอดความรู้ และได้ข้อปัญหาที่ต้องจัดการร่วมกันแล้ว งานบริการการศึกษาจึงได้ประเด็นการแก้ไข แสดงภาพ mind mapping ตาม link https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjIyNjUz&method=inline ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ได้ จะใช้เป็นข้อมูลในการต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรม ในรูปแบบ งานวิจัยต่อไป

หมายเหตุ
1. การเข้าร่วมการอบรมของงานบริการการศึกษา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการอบรมจำนวน คนละ 1,000 บาท จากคณะบริหารธุรกิจ
2. ข้อมูลดิบที่ได้จากการกลั่นกรอง (ปฐมภูมิ) https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjIyNjcw&method=inline
3. certificate ผ่านการทดสอบ https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=NjIyODEw&method=inline

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1431
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม » รู้หรือไม่ สายfiber optic สามารถย่อโลกให้เล็กลงได้
สายfiber optic หรือ สายใยแก้วนําแสง คือ สายสัญญาณชนิดหนึ่งที่ผลิตมาจากแก้ว หุ้มด้วยใยพิเศษเพื่อป้องกันการกระแทก โดยการส่งข้อมูลของเส้นใยแก้วนำแสง นั้นจะทำงานจาก การแปลงสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าจากอุปกรณ์ต...
Fiber Optic Cable  ไฟเบอร์ออฟติก  สายใยแก้วนําแสง     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ประทีป สุขสมัย  วันที่เขียน 6/9/2567 16:49:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:49:57   เปิดอ่าน 92  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การศึกษาดูงานบริการการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย » KM งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ จากการเข้าศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย วันที่ 3 พฤษภาคม 2567
งานบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มีแผนการพัฒนางานประจำเพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงงานประจำ หรือพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมของงาน จึงได้วางแผนตั้งแต่การขออนุมัติเข้าร่วมอบรม การพัฒนางาน...
KM, งานบริการการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน กฤตาณัฐ ศรีประภา  วันที่เขียน 30/8/2567 14:58:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:04:23   เปิดอ่าน 142  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
อบรมการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ทักษะและพฤติกรรม ปี 2567 » กระบวนการพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการ
การพัฒนางานประจำสู่นวัตกรรมการให้บริการนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม รวมถึงการมีส่วนร่วมจากพนักงานทุกระดับในองค์กร การนำเทคโนโลยีและการปรับปรุงกระบวนการมาใช้ จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้...
การพัฒนา งานประจำ นวัตกรรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานบริการการศึกษา
ผู้เขียน ภาวิณี จีปูคำ  วันที่เขียน 27/6/2567 14:10:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:43:07   เปิดอ่าน 233  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง