Blog : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่รับเข้าโดยวิธี ระบบรับตรง ระบบโควตาและระบบแอดมิชชัน ระหว่างปีการศึกษา 2554-2558
รหัสอ้างอิง : 734
ชื่อสมาชิก : อรทัย ใจป้อ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : jaipor@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 14/12/2554 9:40:26
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 14/12/2554 9:40:26

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่รับเข้าโดยวิธี ระบบรับตรง ระบบโควตาและระบบแอดมิชชัน ระหว่างปีการศึกษา 2554-2558
การศึกษา วิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำแนกตามสาขาวิชา และประเภทของการผ่านการสอบคัดเลือก (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ผ่านการคัดเลือกโดยระบบรับตรง ระบบโควตา และระบบแอดมิชชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาการบริหารท้องถิ่น (การปกครองท้องถิ่น) ที่ผ่านการคัดเลือกโดยระบบรับตรง ระบบโควตา และระบบแอดมิชชัน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 1,171 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยบริหารศาสตร์ที่เข้าเรียนตั้งปีการศึกษา 2554-2558 ส่วนมากเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57.2 และเพศชายคิดเป็นร้อยละ 42.8 ในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยบริหารศาสตร์ รับนักศึกษาเข้าเรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21.6 โดยสัดส่วนการรับเข้านักศึกษาระหว่างสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาการบริหารท้องถิ่นเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 50 นักศึกษาที่เข้าเรียนส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายศิลปศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 74.8 มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม(GPA) เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่าง 3.00-3.49 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.7 และเมื่อเข้าเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสะสม(GPAX) ในชั้นปีที่ 1 ระหว่างเรียนที่ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่าง 2.50-2.99 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.7 โดยร้อยละของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามแผนการเรียน คิดเป็นร้อยละ 49.27 ของนักศึกษาที่เข้าเรียนทั้งหมด และเป็นนักศึกษาที่เข้าเรียนโดยระบบรับตรง คิดเป็นร้อยละ 29.9 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยบริหารศาสตร์ รับนักศึกษาเข้าเรียนด้วยระบบโควตามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.38 และในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยบริหารศาสตร์ รับนักศึกษาเข้าเรียนด้วยระบบแอดมิชชันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.78 และปีการศึกษา 2554 วิทยาลัยบริหารศาสตร์ รับนักศึกษาเข้าเรียนด้วย ระบบทดลองเรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.95 ทั้งนี้ นักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ รับเข้าเรียนส่วนมากในระบบแอดมิชชัน คิดเป็นร้อยละ 27.65 สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารท้องถิ่น (การปกครองท้องถิ่น) ส่วนมากรับเข้าเรียนในระบบรับตรง โดยมีผลการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนมากอยู่ระหว่าง 3.00-3.49 คิดเป็นร้อยละ 38.68 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า ปีการศึกษา 2555 นักศึกษามีร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21.60 ทั้งนี้นักศึกษาเพศหญิงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 57.22 และเพศชายมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 42.78 และนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่า นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารท้องถิ่น (การปกครองท้องถิ่น) คิดเป็นร้อยละ 50.04 และร้อยละ 49.96 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามสาขาที่จบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่าร้อยละนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสาขาศิลปศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 74.70 รองลงมาคือสาขาวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 23.40 และสาขาอื่น (สายอาชีพ, การศึกษานอกโรงเรียน) คิดเป็นร้อยละ 1.9 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำแนกตามวิธีการรับเข้าเรียน พบว่า นักศึกษาที่รับเข้าเรียนโดยระบบแอดมิชชัน สำเร็จการศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.72 รองลงมาคือระบบรับตรง คิดเป็นร้อยละ 27.21 และระบบทดลองเรียน คิดเป็นร้อยละ 26.86 และระบบโควตา สำเร็จการศึกษาน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 14.21 สรุปนักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ ที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยระบบรับตรง ระบบโควตา และระบบทดลองเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แยกตามแผนการเรียนพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้